ลปรร.การจัดทำแผนและการบริหารแผนจัดซื้อจัดจ้าง ฉบับที 3


แผนจัดซื้อจัดจ้าง

ท่านต่อไปมาจากกรมอนามัย คุณพรรณี เทียนทอง หรืออาจารย์พรรณี นักวิชาการพัสดุ 8ว จากกองคลัง กรมอนามัย  

เล่าว่ากรมอนามัย ไม่เหมือนกรมอื่น อาจจะเหมือนบางอย่าง แต่เทียบกับ งปม.ที่ได้รับ กรมอนามัย เริ่มทำแผนตั้งแต่ปี 46 ได้ไปอบรมการบริหารจัดหาพัสดุภาครัฐ เพิ่มประสิทธิภาพจัดโดย กรมบัญชีกลาง กับจุฬา แผนที่กรมอนามัยทำเป็นแผนงบลงทุน พอไปอบรมมา มีร่าง ระเบียบ กระทรวงการคลัง พ.ศ... แล้วมีการพูดเรื่องการทำแผนตามระเบียบข้อ 13 แต่ไม่มีใครลงลึกไปจัดทำแผนงบอื่น ๆ ทุกงบ จึงถามท่านรองโสภณ ว่าเราจะนำร่องทำแผนหรือไม่ มีรายละเอียด วัตถุประสงค์ ปรึกษากับคุณโต ผอ.กองแผน พอทำไปแล้วด้วยความอยากจะทำ คิดว่าต้องคิดนอกกรอบ กรมติดตาม งปม.ในภาพรวมของทุกงบรายจ่าย มันเกิดขึ้นทุกเดือน ก็จะมาดูภาพรวมว่าในการทำงบประจำเท่าไหร่ ปีนี้มีการตามเข้มงวด แผนนอกจาก 7 ประเด็นที่ กรมบัญชีกลางกำหนดไว้ หน่วยงานใดที่มีงบลงทุนไม่เท่าไหร่ แต่ที่ไม่มีจะเห็นว่าตรงนี้เป็นระเบียบ ผลก็ล้อตามงบลงทุนแต่ไม่เข้มงวด แต่จะติดตามในที่ประชุมกรม ทำไปว่าเบิกเท่าไหร่ได้ตามเป้าหรือไม่ สิ้นปีแล้วยังมีการซื้อการจ้างอีก แต่ปีนี้ มีมติกรมบัญชี สนย.ติดตามว่าทุกหน่วยต้องก่อหนี้ทุกงบรายจ่ายเหมือนงบครุภัณฑ์ 70เปอร์เซ็นต์ ภายในเดือนมค. เราจะมารอใครไม่ได้ ต้องช่วยตัวเอง เพื่อให้ยอดมันทันสมัยได้ จึงได้ปรับปรุงแบบรายงานผล แล้วให้แจ้งว่าให้ระมัดระวังว่าเมื่อท่านก่อหนี้แล้วท่านต้องส่งมากองคลังเพื่อคุมในระบบ GF เพื่อกองคลังออกเลขให้ กรมอื่นเขาไม่ทำให้ แต่กรมอนามัยต้องเอามาทำให้ ต้องควบคุมทั้งแผนทุกแผน แผนวัสดุสำนักงาน วัสดุคอม จึงได้เวียนแผนออกไปเพิ่ม แผนวัสดุต่างๆ นำมารวมกันเพื่อประหยัดในการซื้อรวมทั้งกรม เห็นแนวทางของคุณเสน่ห์ แล้วคิดเหมือนกันว่าอาจจะทำเป็นต้นทุนต่อหน่วย ต่อหัว ส่งบัญชี ส่ง ตรวจสอบภายในจะเกิดตัว I ตัว K เนื่องจากเราคีย์เป็นค่าใช้จ่ายหมด I เป็นการคีย์เป็นคงคลัง กลับไปจะนำไปปรับใช้ อีกอย่างเวลาทำสัญญาภาพใหญ่แล้ว มีการเก็บพัสดุไว้ในคลังเยอะมาก จะต้องมีการบริหารจัดการให้ส่งเป็นงวด ๆ หรือจะทำสัญญาจะซื้อจะขายดี แต่พอทำเป็นสัญญาจะซื้อจะขาย หรือเป็นงวดแล้วมีผลต่อการรายงานการติดตามของกรมบัญชีกลางจะไม่ได้ตามเป้า มีการขัดแย้งไปมา คิดว่าท่านกลับไปต้องรายงานผลแล้ว เพราะกรมจะติดตามเดือนหน้า

          การคิดทำแผน ต้องคิดคนเดียว ทุกอย่างที่มีในมือต้องทำให้สำเร็จ ถ้าอะไรไม่รู้ก็จะถามผู้รู้ กองคลังอาจจะไปหยิบของท่านมาดูก็ได้ อะไรทำดีเราจะลุยไม่รอ ให้ลงมือทำไปผิดถูกค่อยมาดูกันว่าทำไม ตามฟอร์มใหม่ต้องมีการบันทึกเลข PO เพราะจะมีการเก็บยอดจาก PO  ในส่วนกลางจะไม่ต้องกรอก ขบ. ศูนย์ต้องกรอก แต่การติดตามยากลำบาก เพราะไม่ได้รับความร่วมมือเท่าไหร่ ก็ขอความร่วมมือด้วย

คุณฉัตรลดา : เรื่องการสื่อสารแผนไปสู่หน่วยงานต่างๆ ทำอย่างไร ที่คิดว่ารันไปได้ด้วยดี

ตอบ สมัยท่านโสภณ ท่านติดตามแป็นรายเดือน แต่ท่านประดิษฐ์ไม่ตามเป็นเดือน แต่ได้ติดตามกับกองคลัง ท่านคิดว่าในการติดตามให้เก็บจากระบบ GF ใครไม่ส่งระบบ GF ก็จะไม่มียอดโชว์ในระบบ  ได้มีการสอบถามเข้ามาว่าทำอย่างไร เพราะศูนย์ไม่เคยส่งแผนฯ เลย ส่งอย่างไร วิธีการจัดการกับหน่วยงานก็ต้องให้กรมดำเนินการ ออกเป็นหนังสือกรม ให้ผู้บริหารช่วยติดตาม ถ้ามีปัญหาก็ส่งมาที่กระดานสนทนา หรือโทรสอบถามได้ แต่เวทีการประชุมทำแผน ได้คุยตั้งแต่สมัยท่านโสภณแล้ว แต่ได้เปลี่ยนแปลงปีนี้ให้เข้ากับระบบ GFMIS ได้ กรมอื่น ๆ เขาเลิกระบบบัญชีแล้ว กรมสุขภาพจิตนำร่องเลิกทำบัญชีมือแล้ว แต่ต้องไปศึกษาว่าเขาทำอย่างไร เลิกได้อย่างไร เพื่อลดงานเรา

       เป็นอย่างไรบ้างคะการบริหารแผนที่ท่านต่าง ๆ ได้เล่าให้ฟัง พอจะเป็นแนวทางให้นำไปปรับใช้ได้บ้างหรือเปล่า ใครสนใจเรื่องการจัดทำแผนโดยเจ้าของประกาศ ขอให้ติดตามใน.ลปรร.การจัดทำแผนและการบริหารแผนจัดซื้อจัดจ้าง ฉบับที่ 4 ต่อไปนะคะ

หมายเลขบันทึก: 171386เขียนเมื่อ 17 มีนาคม 2008 23:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 พฤษภาคม 2012 16:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ไม้นี้ "... วิธีการจัดการกับหน่วยงานก็ต้องให้กรมดำเนินการ ออกเป็นหนังสือกรม ให้ผู้บริหารช่วยติดตาม ..." น่าจะเป็นไม้เด็ดจริงๆ นะคะ

นอกจากตามด้วยหนังสือกรมแล้ว   ยังสิ้นเปลืองค่าโทรศัพท์อีก ในการไม่ส่งตามเวลา เช่น กรมประชุม  19 มีค. 51  กำหนดส่งรายงาน 15 ของทุกเดือน    17มีค51ยังไม่ส่ง  พัสดุ กองคลัง  ต้องลุยโทร  ว่าขณะนี้แต่ละกอง   ศูนย์ อยู่ในขั้นตอนไหน   เสียทั้งเวลา  ค่าใช้จ่าย  แก้ไม่ได้    ช่วยแนะนำด้วย  คะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท