ลปรร.การจัดทำแผนและการบริหารแผนจัดซื้อจัดจ้าง ฉบับที 1


แผนจัดซื้อจัดจ้าง

คุณศรีวิภา กล่าวเปิดงานว่างานวันนี้เกิดขึ้นได้เพราะทีมงาน โดยเฉพาะคุณขนิษฐา ได้เล็งเห็นสิ่งที่มีความซับซ้อนในเนื้องาน โดยเฉพาะเรื่องการทำแผน ว่าทำอย่างไรจึงจะดีขึ้น แล้วแนะนำทีมงานจากสำนักจัดการความรู้ คุณฉัตรลดา และคุณวิมล ทีมงานของกองแผนงาน คุณมด คุณอ้อย พี่ต้อม

ได้แนะนำผู้เข้าประชุมว่า ให้เล่าเรื่องความสำเร็จเล็ก ว่ากว่าจะทำแผนจัดซื้อจ้างได้สำเร็จ เริ่มอย่างไร ใครช่วยเหลือบ้าง  จะให้เล่าทุกคน แต่จะเชิญเจ้าหน้าที่จากกรมอื่น ๆ มาเล่าเป็นกรณีศึกษา

- คุณเสน่ห์ พานิชย์            เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป               กองการแพทย์ทางเลือก

กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

- คุณนวลพร ฟักเล็ก          เจ้าพนักงานธุรการ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร     

- คุณพรรณี เทียนทอง       นักวิชาการพัสดุ 8ว            กองคลัง กรมอนามัย

การฟังที่ดีคือฟังการเล่าของเพื่อนก่อน อย่าขัด อย่าคิดว่าเราอาจจะทำได้ดีกว่า ให้เปิดใจตัวเอง ฟังเรื่องเล่าให้ไหลไปทีละเล็กละน้อย กว่าจะสำเร็จมีใครเป็นตัวประกอบ เพื่อเติมเต็ม ท่านเอาจจะเหมือนหรือต่าง แล้วนำไปต่อยอด

คาดหวังว่าเมื่อเสร็จจากการประชุมนี้แล้ว ท่านจะได้แนวทางการจัดทำแผนว่าเขามีเทคนิคอย่างไร เวลา สตง.ตรวจเจอปัญหา จะสามารถแก้ไขปัญหาอย่างไร เล่าเรื่องอุปสรรคได้บ้างแต่ต้องไม่จมอยู่กับความทุกข์ ควรเล่าเรื่องที่แก้ไขสำเร็จแล้ว

เช้าฟังเรื่องเล่า เก็บเกี่ยวเทคนิคเข้าไป แล้วจะมีเจ้าหน้าที่จาก สตง.มาแนะวิธีคิด ช่วงบ่ายจะมีการจัดกลุ่มให้ท่านเล่า

เชิญผู้เล่า และเชิญคุณฉัตรลดา คุณวิมล เป็น facilitator

 

ท่านแรก คุณเสน่ห์ พานิชย์

เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป 6 กองการแพทย์ทางเลือก กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

แนะนำหน่วยงาน กองการแพทย์ทางเลือก มีทั้งหมด 52 อัตรา มี 5 กลุ่มงาน กองแพทย์ทางเลือกขึ้นกับกรมพัฒนาแพทย์แผนไทย เกิดมา 4 ปีกว่า อาจจะสงสัยว่าทำอะไร ทำทุกอย่างที่ไม่ใช่แพทย์แผนไทย แพทย์ทางเลือก เช่น โยคะ การปรับสมดุลย์โครงสร้างร่างกาย จะส่งเสริมป้องกันรักษา ฟื้นฟู ทำคู่กับแพทย์แผนปัจจุบัน        การจัดทำแผนจัดซื้อจัดจ้าง กลับไปแล้วคิดได้มา 1ป 6 ช

1ป คือ เราต้องมีการปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ปี 2546 และประกาศใช้ 29 มค46 ให้ทุกหน่วยงานจัดทำแผนจัดซื้อ/จ้าง สาระสำคัญของประกาศคือ กำหนดให้ทุกหน่วยงานจัดทำแผนจัดซื้อจัดจ้าง โดยแยกแผนครุภัณฑ์ที่เกิน 50000 บาท ที่ดินเกิน 1 ล้านบาท ดูตามแบบฟอร์มในประกาศได้ทุกท่านคงเห็น ถ้าจะสังเกตจะเห็นว่าในประกาศจะไม่พูดถึงเรื่องแผนการจัดซื้อวัสดุ จะมีแต่ครุภัณฑ์ กำหนดให้จัดทำแผนให้เสร็จภายใน 15 ตค แล้วส่ง สตง.หรือ สตง ภูมิภาค

          นอกจากทำตามประกาศแล้วต้องทำตามระเบียบพัสดุด้วย

ช1 ช่วยบริหารการจัดซื้อจัดจ้าง โดยเราจะได้พัสดุที่มีคุณภาพ ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ ตรงเวลาการใช้งาน

ช2 ช่วยบริหารความเสี่ยงในการจัดซื้อจัดจ้าง เรื่องความคุ้มค่า ซื้อแล้วเหมาะสมกับราคาหรือไม่ ใช้ประโยชน์หรือเปล่าคุ้มค่าหรือไม่ ใช้ไม่ได้เนื่องจากไม่ทันเวลา เนื่องจากไม่พิจารณาให้ดี ถ้าใช้อย่างคุ้มค่าความีประสิทธิภาพจะตามมา แล้วจะตรวจสอบได้อย่างโปร่งใส เปิดโอกาสให้ผู้ขายให้แข่งขันกันหรือเปล่า มีการล็อคร้านใดร้านหนึ่งหรือเปล่า ตรวจสอบได้ว่าเมื่อมีการดำเนินการแล้วมีการเก็บอย่างเป็นระบบ เมื่อประชาชนหรือ สตง.ต้องการทราบข่าวสาร เราก็สามารถนำให้ตรวจสอบได้ ตาม พรบ.ข้อมูลข่าวสาร เราจะมีการเผยแพร่ผ่าน net

ช3 ช่วยในการติดตามควบคุม กำกับ แผนให้สำเร็จ เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ ช่วย จ.พัสดุได้มาก

ช4 ช่วยประหยัดงบประมาณของทางราชการ เราจะมีการจัดซื้อตามแผน โดยสำรวจพัสดุของทุกหน่วยงานรวมกันมาจัดซื้อ ก็จะได้ราคาที่ถูกลงประหยัด งปม ได้อีกทางหนึ่ง สิ่งที่ จ.พัสดุต้องการ คือ

ช5 - ช่วยลดงานของเจ้าหน้าที่พัสดุ 

ช6 - ช่วยในการคำนวณต้นทุนได้ ทั้งของโครงการและส่วนสนับสนุน

คุณศรีวิภา ถาม อยากทราบว่าคิดได้อย่างไร เป็น 1 ป 6 ช

ตอบ    ได้มาจากการไปอบรม จากตำรา แล้วคิดว่าจะพูดอย่างไรให้ที่ประชุมเข้าใจ อาจจะมีมากกว่านี้ก็ได้

คุณศรีวิภา :ถาม ไม่มีแผนไม่ได้หรือ

ตอบ ต้องมีเพราะ สตง.มาตรวจ มีช่วงที่เราทำไม่ได้ สตง.บอกว่าคุณต้องทำ จึงได้จัดทำแผนทั้งระดับกรม กอง แต่จะไม่มีวัสดุ ครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ในส่วนของกรมได้รับงบเวลาขอครุภัณฑ์ไปจะได้มาในระดับกรม เราจะไปช่วยทำแผนให้ ส่วนแพทย์แผนไทยจะจัดซื้อเอง

คุณฉัตรลดา : ตอนแรกเราไม่มีแผน แล้วพอ สตง.มาให้ทำก็ทำได้ อยากให้เล่าว่าทำอย่างไร จึงออกมาเป็นหน้าตาอย่างนี้ แผนรัดกุมได้ขนาดนี้

ตอบ พอฝ่ายคลังแจ้งให้ทำแผน เราก็มาพิจารณาว่าจะทำแผนอะไรบ้าง ก็มาคุยกันว่า เงินที่ได้รับจัดสรรมาจะทำแผนอย่างไร ก่อนอื่นก็มาดูว่าการทำแผนซือจ้างต้องเตรียมอะไรบ้าง ขั้นแรกก็ดู งปม.ได้รับจัดสรรอะไรบ้าง มีงบค่าวัสดุด้วย ก็ได้ไปหารือผู้บริหารว่าเราต้องทำแผนจัดซื้อจัดจ้างเพื่อขอความเห็น อนุมัติจัดทำแผน ขอทราบแนวทาง ผอ. ว่าเราจะทำแผนตรงนี้ ถ้าเห็นด้วยเราก็จะทำแผนตามนี้แล้วมาดูว่ารายการวัสดุทั้งหมดมีเท่าไหร่  ปีนี้ก็ได้ทำให้สอดคล้องกับระบบ GFMIS ว่ามีการแบ่งประเภทเป็นอย่างไรบ้าง มี 2 ระบบ เวลาซื้อจ้าง ทางคลังจะบอกไว้ว่าลักษณะนี้เป็นวัสดุสิ้นเปลืองหรือเป็นวัสดุคงคลัง ถ้าเป็นคงคลังเป็น I ถ้าเป็นสิ้นเปลืองเป็น K วัสดุที่ใช้เป็นการประจำ วัสดุใดเป็นการประชุม ก็มากำหนดเป็นวัสดุกลาง วัสดุใดเป็น I ตัวใดเป็น K เช่น กระดาษ ซอง หมึกต่าง ๆ ทุกหน่วยใช้ร่วมกัน จะทำเป็นค่า K วัสดุอื่นเป็น I แล้วก็มาดูว่าปีนี้ ผอ.มีนโยบายว่าให้จัดสรรวัสดุรายหัว รายกลุ่มงาน บริหารก็กลับมาคิดว่าตีเป็นรายหัวต้นทุนต่อหน่วยของ เจ้าหน้าที่ในกองมีเท่าไหร่ ต้องมาแยกว่าราชการเท่าไหร่ พนักงานราชการเท่าไร่ ลูกจ้างเท่าไหร่ กลุ่มงานให้ 3000 บาท ข้าราชการ 2000 พนักงานราชการ/ลูกจ้าง 1000 แล้วจัดสรรตามนั้น จัดสรรเสร็จเสนอ ผอ.เห็นชอบแล้วแจ้งเวียนรายการที่แยกเป็นค่า K ค่า I แล้วมาแบ่งเป็น 6 เดือนแรกว่าเท่าไหร่ จะให้ซื้อรายไตรมาส หรืออย่างไร ก็สรุปว่าเป็น 6 เดือนแรก 6 เดือนหลัง แล้วแจ้งให้ทราบ บริหารก็มาจัดทำแผน ก่อนทำแผนจะแจ้งเวียนให้ทราบเป็นหนังสือและติดบอร์ดประชาสัมพันธ์เพือแก้ปัญหาว่ามีคนว่าไม่รู้เรื่อง ไม่เห็น ทุกหน่วยงานไม่มีปัญหา ก็ดำเนินการต่อ จัดทำแผน โดยสำรวจความต้องการของทุกหน่วยงาน มีหนังสือเวียน มีรายการให้ 6 เดือนแรกต้องการวัสดุอะไรบ้าง 6 เดือนหลังมีอะไรบ้าง บางหน่วยงานส่งเกินก็มาดูเฉลี่ยให้ บางทีก็ต้องมีการยืดหยุ่นบ้าง เพราะถือว่าต้องแจ้งยอดเงินให้เขาทราบว่าใช้เงินไปเท่าไหร่ เกินเท่าไหร่ นำมารวบรวมข้อมูลทั้งหมด เข้าสู่กระบวนการจัดซื้อ/จ้าง ตั้งแต่ขอความเห็นชอบ ขอใบเสนอราคา ส่งมอบงาน ตรวจรับของ จนผู้ใช้ได้รับของ จะทำแผนกำกับไว้หมด ในทีมมี 2 คน หัวหน้ากับลูกทีม เป็นลูกจ้างชั่วคราว ต่อมาเป็นพนักงานราชการ บ้านอยู่ถึงสมุทรปราการแต่เขารักทำงานตรงนี้ก็ภูมิใจ เพราะช่วยเราได้มาก จากที่ไม่เคยทำมาก่อน ก็สอนจนเขาสามารถทำได้ บางครั้งเขาก็น้อยใจบ้างแต่ตอนนี้เขาเข้าใจขึ้นว่าทำไมต้องทำอย่างนี้ ช่วยงานจนประสบความสำเร็จ สตง.เข้าตรวจก็ชมว่าคุมวัสดุได้ค่อนข้าง complete มาก ทำไมหน่วยงานอื่นไม่ทำอย่างนี้บ้าง ก็คิดว่าเวลาชมทำไมชมแต่เบื้องหลัง แต่เวลาอะไรไม่ดีกลับทำเป็นรายงาน

คุณศรีวิภา : สิ่งดีก็พูดในเวทีนี้ สตง.อาจจะไม่ชื่นชม แต่เราชื่นชมเองก็ได้ อะไรที่คิดว่าถูกจ้ำจี้จ้ำไชแล้วยังทำอยู่ต่อได้อยากให้เล่า

น้องลูกทีมตอบ คิดว่าสงสารพี่เขาว่ามีพี่เสน่ห์กับพี่การเงิน เลยอยากอยู่ช่วยพี่เขา

คุณฉัตรลดา :- ทำไมถึงคิดอยากช่วย

น้องลูกทีมตอบ เห็นพี่เขางานเยอะรับงานจากทุกฝ่าย

คุณศรีวิภา/คุณฉัตรลดา- ไม่คิดหรือว่าทำไมต้องใช้เรา

คุณเสน่ห์ - เห็นศักยภาพว่าเขาสามารถทำได้ ดูว่าใครถนัดเรื่องใด ก็คอยส่งเสริมเขา เขาจะได้มีความรู้ติดตัว เวลาไปทำงานที่อื่นก็มีประสบการณ์ ถ้าเขามีความรู้อยู่กับตัวเขาก็ยังสามารถทำงานได้เมื่อไปอยู่ที่อื่น

คุณศรีวิภา : ให้คิดว่าทำไมจึงต้องเป็นท่าน เพราะท่านเป็นผู้มีความสามารถ อยากทราบเรื่องแผนว่าแชร์วัสดุอย่างไร ทำไมจึงแชร์แต่วัสดุกลาง แล้วทำอย่างไรเขาจึงยอมรับได้

- ได้พิจารณาแล้วมีวัสดุอะไรที่ใช้ในส่วนกลางจริง ๆ วัสดุใดใช้แล้วสิ้นเปลืองจริง ๆ วัสดมีเป็นหลายร้อยรายการ บางหน่วยเป็นพัน ก็อยากให้เขายอมรับในสิ่งที่เราคิดด้วย และจากประสบการ์ที่ได้คุยกับ สตง เขาพูดว่าวัสดุสิ้นเปลือง ค่าเช่าบ้านต่าง ๆ วัสดุมีเยอะมากต้องเก็บให้เป็นระบบ แล้วมันมีอะไรบ้าง พวกยางลบ ดินสอ เป็นวัสดุสิ้นเปลือง แล้วมีวิธีคิดแบบ GF เข้ามาจึงได้นำมาคิดว่าถ้าเราจะทำแบบนี้ เวียนหน่วยงานตามนี้ ตอนนี้ยังไม่พบหน่วยงานไหนมีปัญหาอะไรแจ้งมา ถ้ามีก็จะนำมาคุยกันแล้วแก้ไขปัญหาต่อไป

คุณศรีวิภา : ใช้วิธีการเวียนอย่างเดียวหรือ หรือไปแอฟโพทเป็นหน่วย ๆ

ตอบ หลังจากแบ่งเป็นกลุ่มงาน แบ่งเป็นรายหัวแล้ว จากที่เขาไม่เคยได้ต้นทุนต่อหน่วย รู้สึกว่าเขาพอใจ มีอิสระที่จะได้ซื้อรายการวัสดุอะไรในวงเงินเท่าไหร่ พอเวียนและติดบอร์ด ปชส.แล้วคุณก็ต้องเคารพกติกา

 

หมายเลขบันทึก: 171382เขียนเมื่อ 17 มีนาคม 2008 23:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท