เรียนรู้วัฒนธรรมชุมชน : พิธีอัญเชิญพระอุปคุตให้มารักษางานปอยหลวง


กิจกรรมของชุมชนในแต่ละพื้นที่นั้นคงจะยังมีอีกมาก หากพบเจอก็อย่าลืมนำมาบันทึกแลกเปลี่ยนกันด้วยนะครับ
          ได้เขียนบันทึกเกี่ยวกับวัฒนธรรมของชาวบ้าน  ซึ่งเป็นวัฒนธรรมของชาวล้านนาที่ได้สืบทอดกิจกรรมต่างๆ เกี่ยวกับการจัดงานปอยหลวงพระวิหาร ของชาวบ้านใหม่  ตำบลท่าขุนราม  อำเภอเมืองกำพงเพชร  บันทึกแรกเป็นบันทึกที่เกี่ยวกับการทำรั้วกั้น(รั้วราชวัตร)  เรียนรู้วัฒนธรรมชุมชน : ราชวัตร (รั้วกั้น)    และการทำถืมตอง เรียนรู้วัฒนธรรมชุมชน : การทำถืมตอง 
          อีกกิจกรรมหนึ่งที่คนเฒ่าคนแก่ได้ร่วมกันทำก่อนที่จะมีการจัดงานปอยหลวงก็คือ การอัญเชิญพระอุปคุต เพื่อให้มารักษางานปอยหลวงครั้งนี้  ไม่ให้มีปัญหาอุปสรรคใดๆ  เพราะความเชื่อของชาวบ้านเชื่อว่าพระอุปคุตเป็นพระที่มีฤทธิ์  สามารถปราบมารต่างๆ ได้  หากจัดพิธีอัญเชิญให้มาปกปักษ์รักษางานแล้ว จะทไห้งานปอยหลวงครั้งนี้ดำเนินไปด้วยความราบรื่นไร้อุปสรรค
          เมื่อมีโอกาสได้เรียนรู้กิจกรรมของชาวบ้าน  จากคนเฒ่าคนแก่ผ่านการปฏิบัติในครั้งนี้ ทำไห้ผมต้องไปค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมครับ  ซึ่งก็พอจะหาได้ในเว็บเกี่ยวกับ   ตำนานพระอุปคุต  และนอกจากนี้ ยังมีคำอธิบายไว้ในเว็บไซต์เกี่ยวกับประเพณีล้านนา- ประเพณีปอยหลวง  ที่ http://www.lannaworld.com/believe/poyloung.htm   ข้อความตอนหนึ่งกล่าวว่า 
 

"  สิ่งพิเศษที่จะต้องจัดเตรียมก่อนที่จะมีงานปอยหลวงตามความเชื่อในโบราณประเพณี เมื่อจะมีงานพิธีต้องมีศักดิ์สิทธิ์ปกป้องคุ้มครองให้งานดำเนินไปโดยราบรื่นไม่มีปัญหาหรืออุปสรรคใด ๆ ให้เดือดร้อน จึงมีการอัญเชิญพระอุปคุตมาคุ้มครองงาน พระอุปคุตนี้ได้ชื่อว่าเป็นอรหันต์ที่อาศัยอยู่ในสะดือทะเลเป็นผู้ที่สามารถปราบพระยามารที่อาจมาทำลายพิธีทำบุญนี้ได้

ในการอัญเชิญอุปคุตนนั้น ชาวบ้านนำขบวนแห่ไปอัญเชิญพระอุปคุตไปที่แม่น้ำแล้ว ให้ตัวแทนลงไปงมก้อนหินขึ้นมาแล้วถามคนที่รอบนฝั่งว่า"ใช่หรือไม่" เมื่อคนบนฝั่งบอกว่าไม่ใช่ก็งมหาต่อไปอีกสองสามครั้ง จนคนบนฝั่งบอกว่าใช่แล้ว ก็เชิญก้อนหินที่สมมุติว่าเป็นอุปคุตไปใส่พานที่เตรียมมาด้วย จากนั้นก็พากันแห่เพื่อนำไปไว้บนหออุปคุตที่สร้างคล้ายศาลเพียงตา หลังคามุงด้วยผ้าขาวซึ่งจะตั้งไว้ที่ข้างวิหาร บาตร กรวยดอกไม้ ธูป เทียน คนโทน้ำและสำรับอาหาร ๑ สำรับ และประตูรั้วปักสัปทนแทนร่มกันแดดกันฝน และจะต้องถวายสำรับอาหารทั้งมื้อเช้า และเพล เมื่อเสร็จงานปอยหลวงแล้วก็จะมีพิธีอัญเชิญอุปคุตกลับไปสู่แม่น้ำที่นำมานั้น"

             ลำดับกิจกรรมในการอัญเชิญพระอุปคุตของคนเฒ่าคนแก่ที่ผมได้มีโอกาสเข้าไปเรียนรู้ในครั้งนี้ (ครั้งแรกในชีวิตครับ)  ผมขอนำเสนอเรียงตามลำดับของกิจกรรม ดังนี้

          กิจกรรมก่อนวันงานนั้น  คนเฒ่าคนแก่จะต้องจัดเตรียมที่อยู่-ที่พำนักสำหรับพระอุปคุตก่อน   โดยการทำสถานที่คล้ายกับบ้านจำลอง   คล้ายโต๊ะที่มีเสา 4  ต้น  ทำหลังคารูปโค้งด้วยผ้าขาว     และก่อนวันงานจะมีการจัดเตรียมหินก้อนใหญ่จากฝายท่ากระดานจำนวน 1 ก้อน เพื่อนำมาสมมติเป็นพระอุปคุต  โดยนำไปไว้ในคลองสวนหมากข้างๆ สำนักสงฆ์เกาะแก้วทรายทองสถานที่จัดงานปอยหลวง

          ในวันเริ่มของงานปอยหลวงในช่วงเช้า  คนเฒ่าคนแก่ก็จะชาวกันแห่ไปอัญเชิญพระอุปคุตที่แม่น้ำ(คลองสวนหมาก)  โดยมีประสงห์เป็นผู้นำ  เมื่อไปถึงที่ที่ได้นำพระอุปคุต(สมมติ) มาไว้    พระสงฆ์ก็จะอ่านคำอัญเชิญพระอุปคุต  เมื่อใกล้จะจบการอ่านคำอัญเชิญก็จะมีคนลงไปอัญเชิญพระอุปคุตขึ้นมาจากน้ำ  เพื่อที่จะขึ้นมารักษางานปอยหลวงไม่ให้มีปัญหาอุปสรรคใดๆ

51031705
การอ่านคำอัญเชิญพระอุปคุต และการอัญเชิญพระอุปคุตขึ้นจากน้ำ

51031706
นำพระอุปคุต (ที่สมมิตจากหินแม่น้ำ) มาไว้ในพานทองที่จัดเตรียมไว้

51031707
จากนั้นก็อัญเชิญพระอุปคุตขึ้นจากแม่น้ำ

51031708
มีขบวนแห่พระอุปคุตจากแม่น้ำ(คลองสวนหมาก) นำโดยพระสงฆ์

51031709
สถานที่ตั้งของพระอุปคุตในบริเวณใกล้ๆ กับพระวิหารที่จัดงานปอยหลวง  (ซึ่งหลายท่านอาจเคยเห็นแต่คงไม่รู้ว่ามันคืออะไร)

          เป็นอีกบันทึกหนึ่งที่ได้บันทึกเกี่ยวกับกิจกรรมจากความเชื่อของชาวบ้านที่พวกเราคนทำงานกับชุมชนไม่ควรมองข้าม เพราะการที่เราจะก้าวไปข้างหน้าที่เรียกกันว่าการพัฒนานั้น หากเรามองข้ามตัวตนของเรา ไม่ย้อนมองอดีตว่าเราคือใคร  อยู่กันอย่างไร เดินกันมาอย่างไร  ฯลฯ  ทำให้การที่เราจะก้าวไปข้างหน้ามักจะหลงทาง หรือหกล้มหัวคะมำอยู่เสมอ

          กิจกรรมของชุมชนในแต่ละพื้นที่นั้นคงจะยังมีอีกมาก  หากพบเจอก็อย่าลืมนำมาบันทึกแลกเปลี่ยนกันด้วยนะครับ 

บันทึกมาเพื่อการ ลปรร. ครับ

วีรยุทธ  สมป่าสัก  17  มีนาคม  2551

 

 

หมายเลขบันทึก: 171320เขียนเมื่อ 17 มีนาคม 2008 15:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

น้องสิงห์ครับ

                      

เป็นภาพที่หาดูยากมาก ถึงมากที่สุด และมีความหมายทางจิตใจมาก

  • คนโบราณนั้นหากงานใดที่มีพระคุรเจ้าเข้ามาร่วมด้วยนั้น เป็นงานที่มีศีล มีศรัทธา มีความเคารพ มีจตใจอย่างสูงเข้ามาร่วมในงานนั้น เพราะพระคุณเจ้าคือผู้ทรงศีล  เห็นไหมคนโบราณนั้นเมื่อพระเดินผ่าน ผู้ชายต้องยืนหยุดห่างออกไปเป็นเมตร ก้มกราบนิมนต์ให้พระคุณเจ้าเดินทางโดยสดวกไปก่อน หากเป็นสตรีจะนั่งพับเพียบติดดิน อันเป็นลดตัวลงต่ำสุดเพื่อนิมนต์ให้พระคุรเจ้าเดินผ่านไปก่อน พร้อมพนมมือไหว้ผู้เป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า นี่คือความนอบน้อมที่สุดต่อศาสนา ต่อผู้สืบต่อศาสนา  ดังนั้นกิจกรรมใดที่มีพระมาเกี่ยวข้องเช่นนี้จึงเป็นงานพิธีที่มีความหมายยิ่งนัก มีคุณค่ายิ่งนัก
  • เดี๋ยวมาต่อ

มาขอบคุณ..ท่านสิงห์ฯมากๆครับ

  • ประเพณีแปลกดี ไม่เคยได้ยินมาก่อน ได้ความรู้มากครับ
  • แถวบ้านเวลามีงาน ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจยกกรงเหล็กหรือที่เขียนติดไว้ว่า"ที่พักนักเลง" มาตั้งไว้หน้างานครับ
  • ขอบคุณนะครับ

P

 

  • สวัสดีครับพี่บางทราย
  • "เป็นภาพที่หาดูยากมาก ถึงมากที่สุด และมีความหมายทางจิตใจมาก"  เห็นด้วยมากครับ
  • เพราะภาพเหล่านี้  เป็นภาพที่เกิดตามธรรมชาติมากๆ ที่ผมโชคดีที่ยังมีโอกาสได้เห็น และบันทึกไว้(แต่คนทั่วๆ ไปที่ไม่สนใจก็จะไม่รู้ว่ามันคืออะไร และมีความสำคัญทางด้านจิตใจอย่างไร)
  • เป็นทุนเดิมของชุมชนนี้ที่ยังมีให้ได้เห็น  และคิดไปไกลว่าคงอีกนานที่จะได้เห็น หรืออาจจะไม่ได้เห็นอีกเลย
  • ผมจะลองศึกษา และตามประเด็นลงไปให้ได้ไกลที่สุดว่ายังมีอะไรที่ซ่อนอยู่ที่เรายังมองไม่เห็นอีก
  • ขอบพระคุณมากครับ

P

 

  • สวัสดีครับพี่ สะ - มะ - นึก -กะ
  • อิอิ....คนสมัยนี้เขามีความละอายต่อบาปน้อยครับ เลยต้องใช้ตำรวจซึ่งก็คงควบคุมได้แค่เปลือก
  • แต่ชาวบ้านเขาใช้ความเชื่อและใช้ทางด้านจิตใจมาคอยควบคุมกำกับ
  • ขอบพระคุณมากครับ
  • สวัสดีค่ะ
  • เดิมเข้าใจว่างานปอยหลวงน่าจะเป็นประเพณีทางจังหวัดภาคเหนือตอนบน
  • เข้าใจเอาเองว่า กำแพงเพชรน่าจะมีประเพณีที่ค่อนไปทางพื้นบ้านภาคกลาง
  • มาได้ความรู้ว่าที่กำแพงเพชรก็มีปอยหลวงด้วย
  • ซ้ำยังได้รู้เรื่องราว ความรู้เกี่ยวกับพระอุปคุตอีก
  • น่าสนใจและเป็นประโยชน์จริงๆ ค่ะ
  • ขอบคุณที่นำมาแบ่งปันนะคะ

P

 

  • สวัสดีครับ อ.ดวงพร
  • อาจารย์เข้าใจถูกแล้วครับ ที่กำแพงเพชรประเพณีค่อนไปทางภาคกลาง
  • แต่ที่นี่เป็นชุมชนที่อพยพไปจากจังหวัดลำปางครับ จึงยังมีงานปอยหลวง
  • แต่งานปอยหลวงที่นี่จะร่วมกันจัดแต่ที่วัดเพียงแห่งเดี่ยวครับ ไม่มีการจัดเลี้ยงที่บ้านเหมือนทางบ้านเรา
  • ขอบพระคุณมากครับ
นาย ธนาพงศ์ วศืนธนาวัฒน์

ผมบูชาพระอุปคุตมานานแล้วแต่ไม่เข้าใจว่าเรื่องราวทั้งหมดแต่หลังจากที่อ่านข้อมูลแล้วสบายใจมากเพราะเป็นมรดกจากคุณพ่อและรู้สึกเสียดายอีกองค์ นั้นคือ อีเป้อ ตอนนั้นจำได้ว่ามีคนนำมาขายให้กับคุณพ่อ สมัยนั้น 30,000บาท ไม่ใช่เงิน เมื่อประมาณ 40 ปีที่แล้ว ผมรักษามาตลอดและเวลาเดินทางไกล้ผมจะต้องนำติดตัวตลอดมีอยู่ครั้งหนึ่งวันนั้นจำได้ว่าพาลูกไปรับปริญญาเสร็จแล้วต่อด้วยการพาลูก ๆ ไปเที่ยวทะเล และ ผมได้ลงเล่นน้ำกับลูกชายพอขึ้นจากเล่นน้ำตกใจมากเพราะพระอุปคุตที่ผมติดได้หายจากสร้อยคอแต่ด้วยบุญหรืออะไรไม่ทราบผมไสกางเกงและได้เอาชายเสื้อเข้าในกางเกงเล่นน้ำเป็น 2-3 ชั่วโมงแต่องค์พระได้อยู่ในชายเสื้อพอถอนออกองค์พระได้ตกต่อหน้าของกระผมด้วยความดีใจมากปัจจุบันห้วงมากยิ่งได้อ่านข้อมูลจากครูบาอาจารย์ยิ่งรักและห้วงมากแต่รูปภาพขององค์พระจะไม่เหมื่อนตามที่แจ้งในเอกสารเพราะองค์พระของผมจะเป็นปรางนั่งสมาธิและมีรูปประคำห้อยคอถ้ามีรูปที่มากกว่านี้จะดีจะได้เปรียมเทียมเพื่อดูเป็นแนวทางแต่องค์พระจะมีความพิเศษคือเวลาที่เราบูชาจะมีเหมื่อนมีน้ำเปียหรือชุมตลอกเวลา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท