โครงการพัฒนาเทคนิคการให้คำปรึกษา ฯ (Counseling)


ความเข้าใจที่มากขึ้นเกี่ยวกับการ Counseling

สวัสดีสมาชิกชาว Blog ทุกท่านค่ะ .... ดิฉันได้มีโอกาสไปเข้าร่วมโครงการพัฒนาเทคนิคการให้คำปรึกษาสำหรับบุคลากรฝ่ายกิจการนิสิต เมื่อวันที่  6 - 7  มีนาคม  2551  มาค่ะ  ซึ่งในโครงการ ฯ
ดังกล่าวได้มีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ และมากด้วยประสบการณ์มาอย่างท่าน รองศาสตราจารย์
ดร.ทิพยวรรณ  กิตติพร และ ท่านรองศาสตราจารย์กิติมา  ศศะนาวิน มาบรรยายและเล่าประสบการณ์ให้กับผู้เข้าอบรมในครั้งนี้ค่ะ    

        อันที่จริงก่อนการเข้าอบรมในครั้งนี้ของดิฉัน  เกี่ยวกับการ Counseling  นั้นคือ   การพูดคุยและรับฟังปัญหาทั่ว ๆ ไป หลังจากนั้นผู้ให้คำปรึกษาก็กล่าวถ้อยคำที่เป็นกำลังใจให้กับผู้ที่เข้ารับคำปรึกษาเท่านั้น 

            แต่หลังจากการเข้าร่วมโครงการฯ นี้ ความเข้าใจของดิฉันเปลี่ยนไปมากเลยค่ะ  และก็ทำให้ถึงความสำคัญของ Counseling มากขึ้นด้วย  ซึ่งก็จะขออนุญาตเล่าแบบไม่เป็นเชิงวิชาการนะค่ะ (เพราะว่าไม่ถนัดค่ะ) อย่างแรกเกี่ยวกับผู้ที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ให้คำปรึกษานั้นไม่ได้เป็นกันง่าย ๆค่ะ  (สำหรับดิฉัน)   ก็คือว่า จะต้องเป็นผู้ที่เข้าใจตนเอง  (ซึ่งบางทีก็ยังงง ไม่ค่อยเข้าใจในตนเองก็มีค่ะ)  มีการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง เป็นผู้ที่จัดการกับอารมณ์ที่ไม่พึงปรารถนาได้  มีความจริงใจในการช่วยเหลือผู้อื่น  ซื่อสัตย์ เป็นธรรมชาติ  และมีความหนักแน่นในตนเอง หรือเป็นผู้ที่มีสุขภาพจิตดี  เข้าใจผู้อื่น มีความสามารถในการเข้าใจปัญหา มองเห็นแนวทางในการแก้ปัญหา ไวต่อความรู้สึกของผู้อื่น  ไม่ประเมินผู้อื่นด้วยกฎเกฎฑ์ของตน มีความอดทน และที่สำคัญสุด ๆ เลยก็คือ  การรักษาความลับค่ะ  นี่เป็นคุณสมบัติฉบับย่อ ๆ ของผู้ที่จะทำหน้าที่ผู้ให้คำปรึกษาที่ดีนะค่ะ                                                    นอกจากนี้  รศ.กิติมา  ได้ฝึกอบรมผู้เข้าร่วมโครงการฯ  เกี่ยวกับการสังเกตท่าทาง และความรู้สึกของผู้เข้ารับคำปรึกษาในกรณีต่าง ๆ  เพื่อให้เข้าใจและมองให้เห็นถึงปัญหาที่แท้จริง   (ตรงนี้อยากจริง ๆ ค่ะ)  เพราะบางทีผู้ที่เข้ามาหาเรานั้นก็มีหลายอย่างแตกต่างกันไป                  

            สำหรับจุดมุ่งหมายของการให้คำปรึกษามีดังนี้ค่ะ    ซึ่งจุดมุ่งหมายจะแบ่งเป็น 2 ระยะ  คือ ระยะยาว และระยะสั้น ซึ่งจะเกี่ยวข้องโดยตรงการการช่วยให้ผู้มาขอรับคำปรึกษาได้มองเห็นปัญหา อุปสรรค จนสามารถวิเคราะห์ได้ว่าอะไรคือสาเหตุ  และสามารถลงมือปฏิบัติเพื่อการแก้ปัญหา  การจัดการกับความทุกที่เกิดขึ้น การปรับตัว การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เหมาะสม และจะนำไปสู่จุดมุ่งหมายระยะยาว นั่นคือ มีทักษะชีวิตในทุก ๆ มิติตลอดจนการพัฒนาตนเอง  นำไปสู่การดำเนินชีวิตที่สงบ เย็น เป็นประโยชน์และสร้างสรรค์  (จากคู่มือประกอบการอบรมฯ)                                      

             เรื่องหนึ่งที่อยากจะนำมาเล่าสู่ให้ทราบกันค่ะ เกี่ยวกับผลการวิจัยและการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กไทยยุคใหม่ พบว่าเด็กไทยส่วนหนึ่งมักจะไม่ค่อยมีความเชื่อมั่นในตนเอง จิตใจอ่อนแอ  ขาดความรักในจิตใจ ขาดความเชื่อใจมนุษย์  ขาดความชื่นชมและเชื่อมั่นในตนเอง กลายเป็นคนโหยหาความรักจากคนอื่น  ค่อนข้างระแวง ขี้เหงา รอคอยความสุขไม่เป็น ต้องการความรวดเร็ว ขาดความยับยั้งชั่งใจ ตัดสินใจง่ายบนพื้นฐานความสุขด้วยการเสพวัตถุสิ่งของราคาแพง  ทำงานหนังไม่เป็น  ขี้เกียจ  ชอบสบาย  อ่อนแอ  ไม่ค่อยสนใจ เรื่องศาสนา ไม่เชื่อเรื่องบาปบุญคุณโทษ ไม่ใส่ใจเรื่องการทำบุญ ห่างเหินวิถีชีวิตดั้งเดิม  ขาดการเชื่อมโยงมองปัญหาสังคม การเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรมไม่ออก  มีความสับสน  มองเหตุผลเข้าข้างตนเอง เคารพตัวเองน้อยลง  ในขณะเดียวกันก็มีความคิดแบบเสรี  ปล่อยเนื้อปล่อยตัว มีเพศสัมพันธ์ง่าย  รวดเร็ว เปราะบาง ซึ่งทำให้มีความแตกแยกง่าย มีการทำแท้ง ฯลฯ  ซึ่งงานวิจัยนี้หลาย ๆ คนก็อาจจะทราบอยู่บ้าง                        ในที่นี้ดิฉันขออนุญาตแสดงความคิดเห็นว่า อาจจะเป็นเพราะสภาพสังคมที่ก้าวกระโดด  ที่มีแต่การแข่งขัน แย่งชิง ทำให้ผู้ปกครองต้องเคร่งเครียดอยู่กับการแข่งขัน หารายได้มาจุนเจือครอบครัว  จึงอาจจะไม่ค่อยมีเวลาในการดูแล ให้คำปรึกษาแก่ลูก ๆ หลาน ๆ ที่อยู่ในวัยหัวเลี้ยวหัวต่อ  ซึ่งเป็นวัยที่มีความเสี่ยงและมีความเปราะบางทางอารมณ์ค่อนข้างมาก  บวกกับสภาพสังคมที่มีแต่การแข่งขัน กดดัน วัยรุ่นไทยจึงยิ่งต้องการผู้ที่เข้าใจ ให้ความรักความอบอุ่น ซึ่งก็ไม่ใช่ใคร คือ คนในครอบครัวนั่นเอง  หากคนในครอบครัวไม่สามารถจะเป็นที่พึ่งพิงได้  จึงทำให้วัยรุ่นหันไปพึ่งพิงบุคคลอื่นๆ  เช่น เพื่อน หรือดารา นักร้อง ดังที่ท่านเห็นได้ในปัจจุบัน     

              และอีกสิ่งหนึ่งที่ดิฉันประทับใจจากการอบรมในครั้งนี้ คือ วิทยากรท่านแนะนำว่า  การแสดงความรักในครอบครัวเป็นสิ่งสำคัญมาก (หรือสามารถนำไปใช้ได้ในการให้คำปรึกษา ซึ่งก็แล้วแต่กรณีและสถานการณ์นะค่ะ)  เป็นสิ่งที่แสดงออกได้ไม่ยากเลยค่ะ   และคิดว่าทุกท่านก็ทำได้แน่นอนกับบุตรหลานของท่าน เพื่อเป็นการสร้างเกราะคุ้มกันในหัวใจให้กับพวกเค้า  โดยที่ท่านไม่ต้องพยายามสรรหาคำอธิบาย ว่ารักพวกเค้ามากเพียงใด  นั่นคือ  การกอดค่ะ   สิ่งเหล่านี้เป็นการป้องกันการเกิดปัญหา  และง่ายกว่าการแก้ปัญหา  ดังนั้น  "วันนี้คุณกอดคนในครอบครัวของคุณกันแล้วรึยังค่ะ"

"ความรักใด ก็ไม่มั่นคงเที่ยงแท้ และเสมอเหมือน เท่ากับความรักของพ่อแม่"

หมายเลขบันทึก: 171266เขียนเมื่อ 17 มีนาคม 2008 11:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 17:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอเรียนรู้ด้วยคนได้ไหมคะ

อยากได้เอกสารประกอบการอบรมจังเลย

ขอโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยคนนะครับ

วัยรุ่นทุกวันนี้ เป็นเหมือนดังที่ว่ามาจริง ๆ ต้องการความรวดเร็ว รอคอยความสุขไม่เป็น ต้องการความรวดเร็ว และมองไม่เห็นคุณค่าของตนเอง

มองอีกมุมหนึ่ง เราจะโทษแต่วัยรุ่นอย่างเดียวก็ไม่ได้ เพราะวัยรุ่นก็มีลักษณะนิสัยที่เลียนแบบมาจากบุคคลในสังคมเหมือนกัน เช่น พ่อแม่ ครู เพื่อน หรือแม้แต่บุคคลที่ตนเองชื่นชอบ (ทั้งดี / ไม่ดี) ซึ่งอาจเป็นไปได้ ถ้าเด็กเลียนแบบพฤติกรรมที่ชอบและดี เด็กก็จะมีพฤติกรรมที่มีแนวโน้มเป็นคนดี เห็นคุณค่าในตนเอง มีเหตุผล รอคอยความสุขได้ เห็นความสุขบนพื้นฐานของความเอื้ออาทรต่อกัน

แต่ถ้าเด็กได้รับวัฒนธรรมจากสังคมที่แวดล้อมเขาอยู่นั้น ซึ่งไม่จำเป็นต้องบอกว่า ส่วนไหนที่ไม่ดี เด็กยอมรับเชื่อวัฒนธรรมการกระทำพฤติกรรมที่ไม่ดี แต่มองว่าดี หรือ เก๋ เท่ห์ (เข้าใจผิด) ก็จะทำให้เด็กมีพฤติกรรมที่แสดงออกไปในทางที่ไม่ดีได้

หรือแม้แต่ ถ้าเราไปชื่นชมพฤติกรรมที่ไม่ดีของเด็กแล้ว ยิ่งจะทำให้เด็กเข้าใจว่า สิ่งที่ตนเองทำนั้นดี ถูกต้อง

เช่น เด็กหญิง ร้องไห้งอแง กระทืบเท้า โยเย หน้าบูดบึง อ้อน ร้องเสียงดัง อยากได้ของเล่นบนห้าง หรือ แหล่งชอปปิ้งที่มีคนเยอะแยะ

ถ้าคุณเป็นแม่หรือผู้ปกครอง ที่พาเด็กนั้นไปด้วย พฤติกรรมเช่นนี้เกิดขึ้น คุณควรจะทำอย่างไร เพื่อให้เด็กหยุดพฤติกรรม หรือ ให้เด็กเข้าใจว่าการทำพฤติกรรมเช่นนี้มันไม่ถูกต้อง

ซึ่งความเป็นจริงแล้ว โดยส่วนมากผู้ปกครองหรือพ่อแม่ อาจจะตามใจลูก (ซื้อให้) หรือ ซื้อให้ เพราะอาจชาวบ้านที่ยืนดู (กลัวได้รับความอับอาย) ถ้าคุณตามใจหรือซื้อให้เพราะกลัวได้รับความอับอาย แสดงว่าคุณน่ะ รักตนเองมากกว่ารักเด็ก

หรือว่า คุณจะห้ามปรามลูกเพื่อให้หยุดร้องในขณะนั้น คุณจะทำอย่างไร

ผมอยากแสดงให้เห็นว่า การร้องไห้งอแง เป็นการแสดงพฤติกรรมเรียกร้องความสนใจของเด็กที่มีความต้องการอยากได้ (ใจเร็ว) รอคอยความสุขไม่เป็น ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้ปกครอง และ ผู้ให้คำปรึกษา หรือบุคคลในสังคมจะต้องเข้าใจว่า

ทำไมเด็กร้องไห้โยเยทุกครั้งที่ต้องการอยากได้ของเล่นหรือสิ่งที่ตนเองต้องการ

ทำไมเด็กไม่หยุดร้องเมื่อได้สิ่งที่ต้องเองอยากได้ แต่ไม่ได้ หรือ ได้สิ่งอื่นทดแทน แต่ไม่ค่อยพอใจ

การได้รับ หรือ ไม่ได้รับนี้ มีผลต่อพฤติกรรมของเด็กในวัยรุ่น และ เป็นผู้ใหญ่ ด้วยนะครับ

ยังไงก็ขอฝากแลกเปลี่ยนด้วยนะครับว่า พฤติกรรมของวัยรุ่น หรือ วัยเด็ก มีผลต่อวัยผู้ใหญ่ทั้งสิ้น เราจะทำอย่างไรให้เป็นวงจรที่สามารถให้เด็กวัยรุ่นของเรามีพฤติกรรมที่มีเหตุผล ไม่แสดงอารมณ์ก้าวร้าวรุนแรง หรือแสดงในทางที่เหมาะสมได้ เราจะทำอย่างไรให้เด็กพวกนี้ได้รู้ว่า สิ่งที่เขากำลังทำอยู่นั้นมันไม่ถูกต้อง เราจะทำอย่างไรที่จะให้ผู้ปกครองหรือพ่อแม่เข้าใจว่าสิ่งที่เขากำลังทำกับเด็กนั้น เป็นการฆ่าเด็กทางอ้อม โดยส่งเสริมไม่ให้เด็กเป็นคนที่คิดเป็น ทำเป็นในสิ่งที่เหมาะสมกับความต้องการของสังคม

ขอบคุณครับที่มีโอกาสได้แสดงความคิดเห็น แม้ว่าจะไม่ค่อยรู้เรื่องนะครับ

และผมอยากได้ ไฟล์ หรือ เอกสารประกอบการอบรมบ้างครับ

อยากได้เอกสารอบรมบ้างครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท