การจัดการหนี้สิน


คนไทยโดยรวมนั้น ดีอยู่อย่างหนึ่งคือไม่ค่อยเบี้ยวหนี้ หากแต่ว่าการเป็นหนี้ ทำให้จมอยู่ในความทุกข์ สติ-จิตใจไม่แจ่มใส [อิณสูตร]

ผมมีอดีตคนขับรถอยู่คนหนึ่ง งานการดีมาก ขยันขันแข็ง คล่องแคล่ว รู้จักถนนหนทาง บอกอยากจะบวช อยากจะแต่งงาน ผมก็เป็นเจ้าภาพให้ แต่เขามีหนี้พนัน(ฟุตบอล) ในที่สุดเมื่อหาทางออกไม่ได้ ก็ยักยอกครับ หน้าที่การงานจึงจบลงตรงนั้นในทันที

หนี้สินคือการยืมเอาสิ่งที่คิดว่าจะมีในอนาคตมาใช้ในปัจจุบัน ในการนี้ก็จ่ายดอกเบี้ยให้เจ้าหนี้ตามแต่จะตกลงกัน

ในมุมของการเงิน มักคิดกันว่าไม่มีเงินกู้ก็เหมือนไม่มีเครดิต แต่การกู้ซึ่งต้องเสียดอกเบี้ย คือการแบ่งส่วนที่เราหามาได้ด้วยความยากลำบาก ไปให้กับเจ้าหนี้ เพียงแต่เจ้าหนี้ยกย่องว่าเราเป็นลูกหนี้ (ทาส) ชั้นดี

ในการจัดการองค์กรนั้น กระแสเงินสด จะเป็นตัวที่บอกได้ดีกว่ากำไรขาดทุน ว่ากิจการจะยังคงอยู่ได้หรือไม่ ในส่วนขององค์กรธุรกิจนั้น มีมืออาชีพปฏิบัติงานอยู่ด้วยกฏหมาย มาตรฐานวิชาชีพ และกฏระเบียบในการควบคุมอยู่แล้ว ยังไม่น่าห่วงเท่าไหร่

เรื่องที่น่าเป็นกังวลคือหนี้สินของพนักงาน ซึ่งมักไม่ค่อยเปิดเผย และไม่สามารถดูโดยรวมได้เนื่องจากเป็นเรื่องส่วนบุคคล

อย่างในบริษัทที่ผมทำงานอยู่ ได้ทราบว่ามีแชร์วงเล็กที่เล่นกันเองอยู่เหมือนกัน มี "ปัญหา" คือไม่ค่อยมีคนยอมเปีย อันนี้หากดูโดยรวม ก็จะเห็นว่าโดยพนักงานไม่น่าจะเดือดร้อนเรื่องเงินมากนัก แต่เพราะว่ามีวงแชร์อยู่จริง แปลว่ามีความจำเป็นในบางขณะสำหรับบางคนเช่นกัน

เรื่องนี้พูดยากครับ คนเราถ้าไม่อับจนหนทาง ก็คงไม่ยอมเป็นหนี้ แต่ว่าการก่อหนี้นั้น ส่วนใหญ่เป็นปัญหาทัศนคติที่ต้องการได้มาในขณะที่ตนยังไม่พร้อม; บางเรื่องดูว่าเป็นเรื่องจำเป็นเช่นบ้านอยู่อาศัย ค่าเทอมลูก ฯลฯ ในความจำเป็นนั้น ก็ยังแยกแยะได้เป็นความจำเป็นกับความอยากได้อีกเช่นกัน

เรื่องนี้ มีคำแนะนำให้พิจารณาครับ

ถ้าไม่เป็นหนี้ได้ ก็อย่าเป็น

เมื่อเป็นหนี้ก็ต้องเสียดอกเบี้ย แม้จะเหมือนเป็นการเอาความมั่งคั่งในอนาคตมาใช้ในตอนนี้ แต่สิ่งที่เราหาได้ส่วนหนึ่ง ก็ต้องเอาไปใช้หนี้ (เงินต้นบวกดอกเบี้ย) ซึ่งดอกเบี้ยที่จ่ายไม่ได้เป็นส่วนที่ทำให้ชีวิตเราดีขึ้น ถ้าไม่จ่ายดอกเบี้ยได้ (โดยการไม่เป็นหนี้) ก็ไม่ต้องเสียส่วนนี้ไปเปล่าๆ

เมื่อปี 2547 บริษัทผมเชิญ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนามาบรรยายปาฐกถาพิเศษเรื่องไอทีกับเศรษฐกิจพอเพียง ท่านก็ยังกล่าวชมปรัชญาการบริหารของบริษัท ที่ไม่ทำอะไรเกินตัว และไม่มีหนี้สินตลอดมา

ช่วยพนักงานออกจากภาวะหนี้

ถึงการช่วยเหลือจากภายนอก จะเป็นการแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้า แต่ในเวลาที่คนเดือดร้อนแสนสาหัส จะนั่งดูเฉยๆ ก็ใช่ที่ อย่างไรก็ตาม ก็น่าจะคุยกันด้วยว่าการแก้ไขจากภายนอกนั้น เป็นเพียงการบรรเทาที่ทำได้ชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น หากจะแก้ปัญหาถาวร ตัวลูกหนี้เองนั่้นแหละที่จะต้องแก้ไขตัวเอง

การที่คนเราไม่กล้าเปลี่ยนแปลงเป็นเพราะความศรัทธาในตัวเองหายไป เกรงว่าจะไม่ได้รับการนับหน้าถือตา ใช้จ่ายเกินกำลังตน พยายามจะมีในสิ่งที่ไม่พร้อมจะมี

ลิงก์ภาษาอังกฤษข้างบน แนะนำไว้ 6 อย่างครับ [ไม่แนะให้ทำตามทั้งหมด แต่ขอให้ลองไตร่ตรองดู]

  1. ลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับบ้านอยู่อาศัย ในสหรัฐนั้น การเช่าต่อค่อนข้างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นผู้เขียนใช้เงินสะสมไปดาวน์บ้านไว้สองหลัง อยู่เองหนึ่งหลัง และให้เช่าอีกหนึ่งหลัง เงินค่าเช่าเอามาชำระค่าผ่อนบ้านทั้งสองหลังได้เกือบหมด ทำให้ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยลดลงมาก
  2. เมื่อได้เงินมา จ่ายตัวเองก่อน หมายความว่ากันเงินเดือนที่รับมา 10% ไว้เป็นเงินเก็บก่อนเสมอ นำเงินส่วนนี้ไปฝาก (ลงทุนด้วยความเสี่ยงต่ำ) ที่ให้ดอกเบี้ยสูงกว่าดอกเบี้ยออมทรัพย์; เมื่อเงินก้อนนี้โตขึ้นเรื่อยๆ ก็แยกเป็นสามกอง: (1) กองเงินฉุกเฉิน เช่นการเจ็บป่วย (2) กองสำหรับชำระหนี้ (3) กองสำหรับการเกษียณอายุ หากยังมีเงินเหลือ หลังจากหักค่าใช้จ่ายประจำวัน ก็นำไปลงทุนหรือจ่ายคืนหนี้ 
  3. มีชีวิตอยู่ในมาตรฐานต่ำกว่าที่คิดว่าควรจะเป็น เขาใช้ปรัชญาจากหนังสือ The Wealthy Barber ซึ่งแยกสิ่งที่ต้องการออกจากสิ่งที่จำเป็นต้องมี เมื่อจะซื้ออะไรก็ตาม ถามตัวเองง่ายๆ ว่าของนี้ เราต้องการหรือว่าอยากได้โดยไม่มีความจำเป็นกันแน่ ซึ่งเขาพยายามจำกัดการซื้ออยู่เฉพาะสิ่งที่จำเป็น ซึ่งเมื่อตัดค่าใช้ที่ไม่จำเป็นออกไปแล้ว เหลือเงินมากกว่าเก่า 15-20%
  4. รายได้พิเศษต่างๆ จัดสรรตามข้อ 2. หมด ไม่ว่าจะเป็นโบนัส ค่าล่วงเวลา รายได้พิเศษ ฯลฯ เมื่อได้รายได้เหล่านี้มาเป็นลาภ ก็ทำให้มันเป็นลาภจริงๆ คือทำตามข้อ 2 เรื่องนี้เป็นวินัยทางการเงินครับ ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนวิถีชีวิตเพื่ออวดใคร ใครจะชื่นชมเราหรือไม่ ก็ไม่ได้ทำให้ตัวเราเปลี่ยนแปลงไป แต่ถ้าเราได้เงินมาแล้วใช้จ่ายแบบไม่คิด ตัวเราและครอบครัวนั่นแหละที่จะทุกข์ยาก แล้วคนอื่นก็ไม่ได้เดือดร้อนไปด้วย
  5. เร่งจ่ายคืนหนี้  ดอกเบี้ยเดินอยู่ตลอดเวลา และเดินอยู่บนเงินต้น ดังนั้นเมื่อมีกำลังจ่ายคืนต้องรีับจ่าย เพื่อลดเงินต้นเพื่อที่จะลดดอกเบี้ย ดอกเบี้ยเงินกู้คือพยาธิที่ดูดของเราออกไปตลอดเวลาครับ ต้องรีบกำจัด; ผมเคยถามอดีตคนขับรถว่าจ่ายหนี้บัตรเครดิตอย่างไร เขาบอกว่าจ่ายเท่าที่เค้าแจ้งให้จ่าย จึงบอกไปว่านั้นผิดนะ เค้าก็เถียงว่าตัวเขาเป็นลูกหนี้ชั้นดี แต่ผมแย้งไปว่าเป็นทาสชั้นดีที่ทำงานเหนื่อยยากแทบตายแต่ไปทำให้เจ้าหนี้รวยต่างหาก
  6. ไม่มีการรวยติดจรวด เงินเก็บและการลงทุนต่างๆ พยายามมองเป็นการลงทุนระยะยาว ใช้วิธีเก็บเล็กผสมน้อย ผลตอบแทนการลงทุนมองเป็นเปอร์เซ็นต์ครับ ดังนั้นจึงไม่ต้องอ้างว่ามีเงินนิดเดียวเลยไม่หาช่องทางการลงทุึน เช่นแทนที่จะฝากธนาคารเอาดอกเบี้ยออมทรัพย์ (ให้ดอกเบี้ยน้อยกว่า 1%) ก็สามารถไปซื้อกองทุนตราสารหนี้ซึ่งอาจะได้ดอกเบี้ยถึง 4% หรือมากกว่า; แต่ว่าถ้ามีหนี้ธนาคารดอกเบี้ยเงินกู้ MLR 7% หนี้บัตรเครดิต 18% หนี้นอกระบบสูงกว่านี้มาก -- ดังนั้นถ้ามีหนี้ เร่งจ่ายคืนให้เร็วที่สุดครับ

 นอกจากนี้ ยังมีอีกนิดหน่อยครับ

  • อย่าเป็นหนี้นอกระบบ ซึ่งดอกเบี้ยจะสูงมาก และมักจะเกี่ยวข้องกับผู้มีอิทธิพล ครอบครัวจะลำบาก
  • บัตรเครดิตใช้อำนวยความสะดวก แต่ต้องจ่ายดอกเบี้ยสูงมาก ดังนั้นหากมีเงินไม่พอจนต้องผ่อน ก็แปลว่ากำลังจะใช้เกินกำลังแล้ว
  • วินัยทางการเงิน เป็นเรื่องจำเป็นมาก การเก็บออมก็จำเป็นเช่นกัน ทั้งนี้เพื่อที่เราจะมีชีวิตที่ดีพออยู่ได้ไม่ลำบากในวันที่เรี่ยวแรงถดถอย ทำงานหนักเหมือนวัยหนุ่มสาวไม่ได้อีก

มีเรื่องที่องค์กร จะช่วยเหลือพนักงานให้ออกจากภาวะหนี้สินได้บางเรื่อง เช่นสหกรณ์ หรือสวัสดิการเงินกู้ หลักการคือเมืองไทยมีช่องว่างระหว่างดอกเบี้ยเงินฝากกับดอกเบี้ยเงินกู้อยู่สูง ดังนั้นหากจัดให้ผู้ฝากเงินได้รับดอกเบี้ยที่สูงขึ้นในขณะที่ผู้กู้เสียดอกเบี้ยในอัตราที่ถูกลง ก็จะเป็นประโยชน์ด้วยกันทั้งสองฝ่าย ใช้เงินเดือน/เงินสะสมค้ำประกันได้ ผมไม่คิดว่าการมีผู้ค้ำประกันจะเป็นทางออกที่ดี

คำสำคัญ (Tags): #หนี้สิน
หมายเลขบันทึก: 171142เขียนเมื่อ 16 มีนาคม 2008 13:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ขอบพระคุณค่ะ พี่ Conductor

ตอนนี้หนิงมีหนี้เยอะเลยค่ะ  อิอิ  แถมเร็วๆนี้ก็จะมีหนี้ก้อนโตอีกแล้ว 

แต่มีกำลังใจนะคะ  เพราะว่า ตอนนี้หนี้สินกับทรัพย์สิน  คิดๆดูแล้ว เจ๊า..กันค่ะ

พอไหว พอไหว

คุณหนิง: ไม่มีคำแนะนำใดที่ใช้ได้ครอบจักรวาลนอกจากให้ยืนอยู่บนความเป็นจริงเท่านั้นครับ ในตอนที่เราก่อหนี้นั้น ทุกอย่างดูจำเป็นทั้งนั้น แต่ว่าจะจำเป็นจริงหรือไม่ ก็อยู่ที่เราพิจารณาครับ

จำกัดการกู้ไว้ไม่ให้เกินกำลังในการผ่อนชำระ และหาที่ดอกเบี้ยถูกนะครับ แล้วหากเลี่ยงไม่ได้จริงๆ เมื่อเจอแหล่งเงินกู้ใหม่ ก็นำมาชำระคืนแหล่งเงินกู้ที่ดอกเบี้ยสูง (refinance)

แต่ถ้าไม่กู้ได้ ก็จะเป็นการไม่เบียดเบียนตัวเองและผู้อื่น (ผู้ค้ำประกัน/ครอบครัว) ครับ

กลับมาขอบพระคุณอีกรอบค่ะพี่Conductor
หนิงไม่ชอบเสียดอกเบี้ยสูงๆหรอกค่ะ (งก) และไม่เคยยืมเงินนอกระบบค่ะ  แค่เป็นหนี้สหกรณ์มหาลัย(ซื้อบ้าน) นี่ก็เยอะแล้ว...

แต่ตอนนี้รถ(ปี 92)ที่ใช้อยู่มันเกเรบ่อยค่ะ  คาดว่าจะต้องมีหนี้ใหม่เพิ่มอีกแหงๆ  ก็ศีกษาอยู่ว่า  เราจะเอาระบบพลังงานทดแทนแบบไหนดี   และกำลังคำนวณว่า  ถ้าเริ่มตอนนี้จะผ่อนชำระถึงตอนไหน ณ.จุดไหนเราได้ดอกเบี้ยที่รับได้(ถูกๆ อิอิ )

ที่หนิงว่า พอไหวๆ เพราะว่า หนี้แรกเป็นหนี้ซื้อบ้าน มูลค่าของทรัพย์สินเพิ่มขึ้นๆ แต่มูลค่าของจำนวนเงินที่เราผ่อนชำระนั้นมันจะลดลง  เพราะแปดพันเมื่อสามปีก่อนมูลค่าเงินไม่เท่าแปดพัน ณ.วันนี้ค่ะ

แต่การซื้อรถยนต์เนี่ย...คิดนาน  อิอิ เพราะมูลค่าลดลง สมคำว่า..รถ (พ้องเสียง)  แต่ถ้าไม่ซื้อก็ รู้สึกรำคาญใจ  เวลาเค้าเกเรอ่ะค่ะ

Just in TIME - literally.

One of the 10 Ideas That Are Changing The World - is to live within our means. It is a simple mantra to say before we make a decision for things that we think we have to have.

Thanks to Dave Ramsey - the get-out-of-debt guru - this is what he said that I like "Debt is Dumb!"

Myth: Debt is a tool and should be used to help create prosperity.
Truth: Debt is not a tool; it is a method to make banks wealthy, not you.

Debt is dumb. Most normal people are just plain broke because they are in debt up to their eyeballs with no hope of help. If you're in debt then you're a slave, in the sense that you do not have the freedom to use your money to help change your family tree.....It takes a lot of will, discipline, courage and help to slay the debt monster. But it can be done. Imagine how much you could put toward retirement if you just didn't have a stinking car payment? This is how the wealthy build their wealth. Debt is really dumb."

 

 

เป็นบทความที่เตือนสติได้ดีมากครับ

สวัสดีครับ คุณ Conductor

 

  • ผมตามไปอ่าน link ที่ฝรั่งเขียน มีประเด็นหนึ่ง ที่คิดว่า ต้องนึกถึงตลอด
  • โครงสร้างภาษีสหรัฐ เอื้อการซื้อและผ่อนอสังหาริมทรัพย์มาก จนคนสามารถใช้ตรงนี้เป็นช่องทางในการสั่งสมสินทรัพย์ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • แต่ไม่ใช่ในเมืองไทยครับ
  • ในเมืองไทย โครงสร้างภาษีเอื้อให้กับการลงทุนในหุ้น
  • ต่างกันครับ
  • สิ่งที่ดีที่สุดของฝรั่ง อาจไม่ดีที่สุดจริงของไทยก็ได้
  • แต่โดยวิธีคิด ตามนั้น เป็นวิธีคิดที่ฉลาด

 

ส่วนเรื่องที่ว่า...

Myth: Debt is a tool and should be used to help create prosperity.
Truth: Debt is not a tool; it is a method to make banks wealthy, not you.

  • ผมเห็นแย้ง
  • ผมเห็นว่า
  • หนี้เป็นเครื่องมือ สร้างความมั่งคั่งได้
  • แต่...
  • น้อยคน จะมั่งคั่งเพราะก่อหนี้
  • ต้อง "ลงตัว" จริง ๆ
  • คนส่วนใหญ่ จะตายเพราะหนี้
  • หนี้เพื่อบันเทิง ตายเร็วสุด

ยกตัวอย่าง

  • สมมติผมมีสวนผลไม้แบบ "สมรม" ประเภทไม่ต้องดูแลใส่ปุ๋ยรดน้ำ แต่ละปี มีพ่อค้ามาเหมาสวน ในราคาที่ทำให้เหลือกินเหลือเก็บ
  • ส่วนเกินที่เก็บได้ สมมติว่าผมไปซื้ออสังหาแบบผ่อน 30 ปี (=ก่อหนี้) ในวงเงินที่ "ยิ่งกว่าแน่ใจว่าผ่อนได้" กรณีนี้ ก็เท่ากับผมได้อสังหาริมทรัพย์นั้นมาแบบ "เกือบฟรี"
  • แต่ห้ามมี "เซอร์ไพรซ์" ระหว่างนั้น
  • ไม่งั้น โดนยึด
  • แบบนี้ จะถือว่า ผมทำให้แบงค์รวย ผมจน หรือเปล่า
  • ผมว่าไม่
  • อาจทำให้รวยทั้งสองฝ่ายก็เป็นไปได้
  • แต่ห้ามมี "เซอร์ไพรซ์" ระหว่างนั้น...

เราพลาด blog นี้ไปได้อย่างไรนี่!

วันนี้ต้องหาเงินไปจ่ายหนี้พนันบอล350,000ยังไม่มีซักบาททำไงดี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท