นักวิจัยสิงห์คะนองนา (ถอดองค์ภูมิหลวงพ่อสมาน)


ปราสาทพระธาตุพนมอินทร์แปลง


 

     บ้านเเก่นท้าว ต.เม็กดำ อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม ในอดีตที่ผ่านมามีท้าวพระยาก้อนคำและท้าวแก่นคำ ทั้ง 2  คน เป็นคนนครเวียงจันทร์ ได้มาขายทองโดยมีเกวียนเป็นพาหะนะ ใน พ.ศ. 1283  บ้านแก่นท้าวมีหนองน้ำอยู่รอบ ๆ คือ หนองใหญ่ หนองดินสอ หนองหาด มีปูปลานาน้ำอุดมสมบูรณ์ และมีป่าไม้ชื่อว่าป่าขนวน     เป็นทางที่พ่อค้าพักอาศัยชั่วคราว ท้าวพระยาก้อนคำกับพระยาแก่นคำได้มาพักและได้สร้างบ้านแห่งนี้ขึ้นมา แต่ก่อนท้าวพระยาก้อนคำกับท้าวแก่นคำเป็นคนเมืองบาท้าว มาได้ภรรยาที่บ้านแจ้งจันทร์โคกจันทร์  ทุกวันนี้เรียกว่า นครเวียงจันทร์  บ้านแก่นท้าวจึงได้เป็นบ้านแก่นท้าวจากนั้นมา และมีแม่น้ำลำพังชูลอบข้าง มีเมืองฝางอยู่ทางทิศตะวันตก มีเมืองแล้งเมืองเสือทางทิศตะวันออก มีเมืองปะหลานอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีเมืองขมิ้นอยู่ทางทิศเหนือ เมืองพุทไธสงอยู่ทางทิศตะวันตก

     บ้านแก่นท้าวเป็นบ้านที่มีจิตใจถือเอาคุณธรรมเป็นหลัก และประกอบการค้าขายมาตลอด บ้านเหล่าและบ้านแก่นท้าวเป็นบ้านนายฮ้อยค้าขายเป็นพ่อค้าเกวียนร้อยเล่ม และเป็นหมู่บ้านที่ไม่ชอบแย่งชิงของกัน และไม่ชอบมีเรื่องมักจะถือเอาด้านอภัยซึ่งกัน และกันมาตลอด ลูกหลานยังปฏิบัติสืบต่อกันมา วางการค้าเป็นส่วนใดส่วนหนึ่ง มักจะมีผลสำเร็จ การศึกษายังอำนวยประโยชน์อยู่ แต่ไม่ค่อยจะเป็นข้าราชการครู แต่มักจะมีคนทำงานในกระทรวงการคลัง เรียนจบมาแล้วมักจะไปทำงานที่อื่น มิฉะนั้นเลยไม่มีคนเรียนจบอยู่ที่บ้าน ส่วนใหญ่คนไม่รู้กิตติศัพท์บ้านแก่นท้าว

     ตอนหลังยังมีพระสงฆ์ตามมาพาลูกหลานสร้างบ้านแก่นท้าวให้ใหญ่ขึ้นอีกรอบที่  2  พระสงฆ์รูปนี้เดิมชื่อ (จู)  มาภายหลังได้ชื่อ หลวงพ่อพระครูศรีหราชชื่อนี้เป็นชื่อพระราชทานของพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ราชการที่ 5  ตอนที่พระองค์เสด็จเยี่ยมบ้านแก่นท้าวปี พ.ศ. 2302 บ้านแก่นท้าวจึงได้ศักดิ์สิทธิ์อยู่ทุกวันนี้  ลูกหลานจึงได้นับถือต่อมาและได้จัดงานที่วัดบ้านแก่นท้าวประจำทุกปี  มีการปิดทองพระพุทธรูปในวันสงกรานต์จนถึงทุกวันนี้ด้วยความอยู่เย็นเป็นสุข มีพระธาตุอยู่หน้าโบถส์ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า ฝ่ายหัวอกข้างซ้าย และมีพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์ประจำวัดบ้านแก่นท้าวตลอดมา ชาวบ้านแก่นท้าวได้กราบไว้พระสารีริกธาตุแทบทุกวันนี้

      ต่อมา หลวงพ่อสมาน โอภาโส  สร้างเพิ่มเติมให้ใหญ่ขึ้น จึงมาหาที่สร้างใหม่ในนามของพระธาตุเดิม ชื่อว่า ปราสาทพระธาตุพนมอินทร์แปลง  ตั้งอยู่ที่ทางเข้าบ้านแก่นท้าวด้านซ้ายมือ เพื่อเป็นที่กราบไหว้ สักการบูชา หรือเป็นที่ท่องเที่ยวพักผ่อน และเป็นที่ทำบุญของคนทั่วไป  หลังจากถวาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ครบรอบ 84 พรรษา ก็ทำการเปิดงานให้คนได้รู้จักทั่วไป ภายในประเทศ  หรือต่างประเทศ

      บ้านแก่นท้าวนับถือศาสนาพุทธ คิดเป็น ร้อยละ ร้อย ของประชากรในหมู่บ้านทั้งหมดในหมู่บ้านกาปฏิบัติจะเป็นในลักษณะแบบ สืบทอดจากบรรพบุรุษ และชาวบ้านยังคงปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธศาสนา คือ ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว และการปฏิบัติพระสงฆ์ บำรุงสนสถาน มาตลอดจนทำให้วัดเจริญรุ้งเรืองตามลำดับ โดยเห็นได้จากการแบ่งกลุ่มตามวันทั้งเจ็ดวัน ไปทำบุญเพลที่วัดเป็นประจำ และทุกวันพระชาวบ้านนิยมไปฟังเทศน์อยู่เสมอ ช่วงเข้าพรรษาจะมีชาวบ้านจำศีลภาวนาเป็นประจำไม่เคยขาด

     วัดถือได้ว่าเป็นศาสนสถานที่สำคัญ สำหรับประกอบงานบุญ งานประเพณี และพิธีกรรมทางศาสนา บ้านแก่นท้าวที่ร่วมกับหนองดินสอ บ้านนาเจริญ บ้านน้อยพัฒนา มีวัดอยู่ 1 แห่ง คือ วัดสวนตาลวรารามบ้านแก่นท้าวและที่พักสงฆ์ คือ ศูนย์ปฏิบัติธรรมบ้านแก่นท้าว วัดเป็นศูนย์กลางของชุมชนในการเป็นแกนนำทางวัฒนธรรมตามฮีตสิบสองครองสิบสี่ และเป็นที่ตั้งศูนย์เด็กก่อนเกณฑ์ ชุมชนให้ความอุปถัมภ์ในช่วงที่วัดต้องการปัจจัยเพื่อสร้างโบสถ์ ประตูโขง หอระฆัง กำแพง เมรุ ศาลา ชุมชนก็จะช่วยกันบริจาคและจัดหาผ้าป่า กฐิน มาทอดถวายทุกปีจนกว่าจะแล้วเสร็จ ลูกหลานที่ไปทำงานกรุงเทพฯ หรือต่างจังหวัด ตลอด คหบดีที่ไปต่างถิ่น จะจัดหาผ้าป่า กฐิน มาทอดถวายวัดในหมู่บ้านตนเองในช่วงเทศกาลต่าง ๆ

     ชุมชนบ้านแก่นท้าวมีวัดสวนตาลเป็นศูนย์รวมจิตใจ และเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจที่ทำให้ชุมชนบ้านแก่นท้าวมีความสงบสุข มีความอยู่เย็นเป็นสุข ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน วัดสวนตาลมีหลวงพ่อพระครูศรีหราช ที่เป็นที่นับถือของชาวบ้านในเขตนี้ก็นับถืออยู่ ถึงแม้ หลวงพ่อพระครูศรีหราช จะมรณภาพไปนานแล้วก็ตาม ชาวบ้านแก่นท้าวและชาวบ้านในเขตนี้ก็ยังนับถือท่านมาจนถึงทุกปัจจุบันนี้ จึงทำให้คนในชุมชนบ้านแก่นท้าวเป็นคนสมถะ อ่อนน้อมถ่อมตน สงบเงียบ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เพื่อนบ้านที่มาเยือน เห็นได้จากการนำน้ำดื่มมาเตรียมไว้บริการ ขณะที่นิสิตเข้าไปสัมภาษณ์

 

หมายเลขบันทึก: 171063เขียนเมื่อ 15 มีนาคม 2008 23:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 23:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท