การสร้างเครื่องมือวัดผลสัมฤทธิการเรียนรู้


มีอะไรจะให้หนูเล่นสนุกไหมจ้ะ แอบปรับกิจกรรมให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้เรียน

งานวิจัยในชั้นเรียนหากทำเป็นระบบ ตามที่วางแผนการวิจัยไว้ ผลที่ได้สุดยอดมากเลย สนุกและน่าตื่นเต้นมากที่เห็นความเปลี่ยนแปลงจากพฤติกรรมของผู้เรียน สายตาที่มองดูเรามักจะมีคำถามว่ามีอะไรจะให้หนูเล่นสนุกไหมจ้ะ การจัดกิจกรรมในชั้นเรียนให้สัมฤทธิผลมีหลายรูปแบบมีผู้ทรงความรู้เขียนไว้เป็นทฤษฎีจำนวนมากลองศึกษาและแอบปรับกิจกรรมให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้เรียนในชั้นของเรา ไม่มีใครรู้จักธรรมชาติของลูกศิษย์ดีเท่ากับครูผู้สอนที่ใกล้ชิด บางที่คุณอาจจะเป็นผู้ค้นพบทฤษฎีการสอนอันใหม่ที่ไม่เหมือนใครก็ได้ใครจะรู้ ที่สำคัญจริงไหมที่ว่ากิจกรรมการเรียนที่จัดขึ้นในชั้นเรียนทำให้ผู้เรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม บอกด้วยความรู้สึกไม่ได้ต้องบอกด้วยหลักฐานที่ชัดเจนแม่นยำ นั่นก็คือเครื่องมือที่จะมาใช้วัด โดยทั่วไปเรามักจะใช้ข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ เราต้องสร้างข้อสอบให้ตรงกับวัตถุประสงค์การเรียนที่ต้องการให้เกิดขึ้น เช่นวัดความจำ ความเข้าใจ การนำไปใช้ เป็นต้น ขั้นตอนนี้ต้องให้ผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำโดยดูจากข้อสอบว่าสามารถวัดได้จริงหรือไม่ จากนั้นก็นำไปทดสอบกับกลุ่มที่เคยเรียนมาแล้วในเนื้อหานี้ นำผลที่ได้มาตรวจสอบหาค่าความเชื่อมั่นโดยทั่วไปต้องได้ค่าใกล้หนึ่ง ถือว่าดีมาก และหาค่าอำนาจจำแนกคนเก่งออกจากคนอ่อน ค่าอำนาจจำแนกต้อง 0.2 ขึ้นไป และ หาค่าความยากง่าย ต้องอยู่ระหว่าง 0.2-0.8 จึงจะถือว่าข้อสอบชุดนี้มีความเป็นมาตรฐาน สูตรในการหามีอยู่ในโปรแกรม spss หรือคิดด้วยวิธีดั้งเดิมคิดด้วยมือมีวิธีการคิดในตำรามากมายที่เกี่ยวข้องกับการวัดและประเมินผล ตัวเลขทุกตัวจะบอกความหมายประสิทธิภาพของข้อสอบได้ออย่างดีเยี่ยม

หมายเลขบันทึก: 170312เขียนเมื่อ 11 มีนาคม 2008 13:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 13:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

แบบทดสอบที่พัฒนาได้นั้น สมมุติ ถ้าเด็กทำข้อสอง ไม่ถูก หมายความว่าอย่างไร เด็กมีปัญหาอะไรบ้าง บอกได้ไหมว่าเด็กตอบด้วยความคิด เดา หรือตอบแบบเรื่อยเปื่อย

ถ้าตอบคำถามเหล่านี้ไม่ได้ แบบทดสอบจะมีประโยชน์อะไรหรือ?

คิดว่า ถ้าเด็กตอบแบบทดสอบโดยไม่ต้องดูข้อทดสอบเลย เด็กจะได้คะแนนไหม? และคะแนนที่ได้นั้นหมายถึงอะไร? และถ้าเด็กสอบแล้วได้คะแนนต่ำ ท่านจะแก้ไขเด็กของท่านตรงไหน? อย่างไร?

แบบทดสอบ ดีหรือไม่ดีอยู่ที่ผู้ตอบว่า 1. คิดหรือไม่? 2. ตัดสินใจด้วยข้อมูลที่ตนมีหรือไม่? 3. คิดเองหรือเปล่า? และหวังได้ไหมว่าเด็กที่ตอบแบบทดสอบจะมีคุณลักษณะดังกล่าวครบ ทุกครั้งที่สอบ ทุกคน และทุกข้อ ซึ่งถ้าไม่ได้ ข้อทดสอบก็ไม่มีโอกาสวัดเที่ยงและตรงได้เลย เพราะคนไม่ใช่เครืองจักรที่พลิกแพลงไม่เป็น

ทำไม่คิดที่จะวัดตามที่ได้ยิน ได้เห็น ได้สัมผัสล่ะ หรือไม่เชื่อตาตัวเอง วัดดูจากการทำงาน การคิดในการทำงาน และที่เกิดจากการทำงานไม่ดีกว่าหรือ?

ฝากให้คิดนะ เพราะข้อสอบของท่าน สามารถทำให้ได้คะแนนแตกต่างกันได้อย่างหลากหลาย ในการทำหลายๆ ครั่ง

 

คุยอย่างครูรู้ไม่หมด

เรียนคุณผู้สนใจขอบคุณสำหรับคำแนะนำ สิ่งที่สำคัญของการสอนหนังสือคือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียน และบรรยากาศการเรียนการสอนที่ต้องการให้เกิดขึ้นในชั้นเรียนของเรา ถือว่าเป็นความสุขของครูผู้สอน แต่อย่างไรก็ตามสิ่งที่เกิดขึ้นครูจะเป็นผู้รู้อยู่คนเดียวในห้องเรียน วิธีการที่จะไปเล่าให้คนอื่นฟังและเห็นด้วยกับการสอนของครูก็ต้องผ่านการวิจัยในชั้นเรียน การวิจัยเป็นการเก็บข้อมูลอย่างเป็นระเบียบระบบ ดังนั้น จึงยังต้องอาศัยเครื่องมือในการเก็บข้อมูล โดยส่วนใหญ่ยังคงใช้ข้อสอบเป็นตัววัด ข้อสอบมีหลายประเภท ที่จะวัดผู้เรียนขึ้นอยู่กับสิ่งที่เราต้องการวัด แม้แต่การวัดด้วยการคิดในการทำงานก็มีการสร้างแบบวัด กว่าที่จะนำมาทดสอบได้ข้อสอบเหล่านี้จะต้องผ่านการวิเคราะห์หลายขั้นตอน เหมือนกรองสิ่งที่ไม่ต้องการออกไป เหลือสิ่งที่ต้องการวัดได้จริง งานวิจัยในชั้นเรียนเหมือนตำราทำอาหารที่มีสูตรเป็นมาตรฐานให้ทำ ถ้าทำตามแบบนี้จะได้หน้าตาอาหารแบบนี้นะ แต่รสชาติอาจไม่เป็นอย่างที่เราคิด ที่นี้ก็อยู่กับผู้ที่นำไปใช้เตรียมโน่นนิด เตรียมนี่หน่อยให้เหมาะกับผู้รับประทาน แต่อย่างไรเราก็ได้อาหารที่ต้องการเหมือนกับที่ได้กิจกรรมการเรียนการสอนส่วนการวัดก็เอาไปปรับตามความเหมาะสม ยินดีที่ได้รู้จักนะค่ะคุณผู้สนใจ

เราต้องคิดบนพื้นฐานของความเป็นจริง ซึ่งผู้สอนต้องการให้ผู้เรียนแสดงพฤติกรรมตอบสนองต่อสิ่งเร้า (ซึ่งก็คือแบบทดสอบ)

 การที่ผู้เรียนทำข้อสอบ ไม่ถูก  ในข้อใดหมายความว่า ผู้เรียนมีข้อบกพร่องอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่นความไม่เข้าใจในเนื้อหานั้น (ซึ่งหมายถึงกรณีที่ข้อสอบมีความเที่ยงตรง)

ส่วน การเดา นั้นมีโอกาสเกิดขึ้นได้ในกรณีที่ผู้เรียนไม่มีความรู้ในเรื่องนั้น ซึ่งถ้าเดาถูกจะได้คะแนนในข้อนั้น หากเดาผิดก็จะไม่ได้คะแนน ซึ่งเป็นไปตามสมการ  X = T + E  คะแนนที่ได้ = คะแนนจริง + คะแนนคลาดเคลื่อน 

เนื่องจากคะแนนอยู่ในระดับช่วง ไม่มีศูนย์แท้ และคะแนนที่เกิดจากการวัดต้องนำมาเทียบกับเกณฑ์

เครื่องมือวัดผลการศึกษามีหลากหลายชนิด ซึ่งผู้สอนต้องพิจารณาเลือกว่าเมื่อไรจะใช้เครื่องมือชนิดใดมาวัด เพื่อให้วัดได้ตรงตามจุดประสงค์ของการวัด และการวัดมิใช่วัดเพียงครั้งเดียวแล้วสรุปผล

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท