นาฬิกาชีวภาพของมนุษย์


"วิธีดูแลเรื่องเวลาในการพักผ่อนเพื่อส่งผลต่อสุขภาพภายใน เพื่อให้สุขภาพกายดีในระยะยาวด้วย ให้ร่างกายเกิดเป็นความเคยชินเป็นนาฬิกาชีวภาพของชีวิต ซึ่งหากทำได้อย่างต่อเนื่อง รับรองได้ผลแน่ เพราะเป็นศาสตร์เก่าแก่กว่า 5,000 ปีที่ชาวจีนเชื่อถือกันมานาน เป็นทฤษฎีการดูแลสุขภาพของคนจีน "
นาฬิกาชีวภาพของมนุษย์ โดย คุณสุทราภรณ์ ชอุ่มชัยศิริ
ยิ่โลกและเทคโนโลยีเจริญไปมากยิ่งขึ้นเท่าใด สังคมของเรา อากาศของเรา อาหารของเรา ก็ดูเหมือนจะเป็นอันตรายมากตามไปด้วย จนทำให้มีโรคแปลกๆใหม่ๆเกิดขึ้นมากมาย หรือไม่ก็มีโรคที่เคยหายไปพักใหญ่แล้วกลับมาระบาดอีก โรคบางโรคเคยเป็นในผู้ใหญ่ ปัจจุบันนี้ก็ลุกลามมาเป็นในเด็ก ในผู้ที่อายุน้อยลงเรื่อยๆเรียกว่าหากไม่ดูแลตัวเอง เผลอหน่อยเดียวก็อาจจะมีโรคถามหาเอาได้ง่ายๆ  ดังนั้นคนในสังคมเมืองหลวงใหญ่ทั่วไป โดยเฉพาะกรุงเทพฯอย่างบ้านเรานั้น ต้องใส่ใจต่อสุขภาพกันให้มากๆเข้าไว้ ถ้าไม่อยากเจ็บป่วยง่ายๆโดยเฉพาะญาติผู้ใหญ่นั้น ร่างกายอาจอ่อนแอง่ายกว่าคนหนุ่มสาว จึงควรต้องใส่ใจดูแลท่านเป็นพิเศษหรือมอบแต่สิ่งดีๆให้กับท่านได้ทราบ
นอกจากต้องดูแลตัวเองเรื่องสุขภาพด้วยการเลือกรับประทานอาหาร และออกกำลังกายแล้ว ยังมีวิธีดูแลเรื่องเวลาในการพักผ่อนเพื่อส่งผลต่อสุขภาพภายใน เพื่อให้สุขภาพกายดีในระยะยาวด้วย ให้ร่างกายเกิดเป็นความเคยชินเป็นนาฬิกาชีวภาพของชีวิต ซึ่งหากทำได้อย่างต่อเนื่อง รับรองได้ผลแน่ เพราะเป็นศาสตร์เก่าแก่กว่า 5,000 ปีที่ชาวจีนเชื่อถือกันมานาน เป็นทฤษฎีการดูแลสุขภาพของคนจีนซึ่งบอกว่าร่างกายของคนเราหมุนเวียนสร้างพลังงานเป็นช่วงๆ ดังนี้
เวลา 21:00 - 23:00 . ร่างกายจะสะสมพลังงานรวม พลังงานของร่างกายจะสร้างในช่วงนี้เท่านั้น ฉะนั้นควรพักผ่อนเข้านอนเวลา 3 ทุ่ม ถ้าหากไม่เข้านอนช่วงเวลาดังกล่าว ร่างกายจะมีพลังงานเพื่อช่วยเหลือกระบวนการให้ร่างกายทำการสะสมพลังงานได้ไม่เต็มที่ ผลก็คือจะทำให้ร่างกายมีพลังงานสะสมไม่เพียงพอในการฟื้นฟูอวัยวะต่างๆให้สะอาดแข็งแรงสำหรับวันต่อไป
เวลา 23:00 - 01:00 น. พลังงานที่สร้างขึ้นจะเคลื่อนเข้าสู่ถุงน้ำดี ล้างถุงน้ำดีทำให้ถุงน้ำดีแข็งแรงย่อยไขมันที่จะเปลี่ยนรูปไปเป็น ฮอร์โมน กล้ามเนื้อ กระดูก เส้นเอ็น ไขสมอง และน้ำหล่อเลี้ยงในร่างกายทั้งหมด การย่อยไขมันของร่างกายเกิดขึ้นในช่วงนี้เท่านั้น
      หากไม่พักผ่อนช่วงนี้ ไขมันดังกล่าวจะตกตะกอนอยู่ตามร่างกาย เช่น ถุงไขมันใต้ตา  มีพุง สมองเลอะเลือนง่าย ปวดไหล่ ปวดท้องง่ายบริเวณลำไส้ใหญ่ ท้องเสียหรือท้องผูกง่าย

เวลา 01:00 - 03:00 น. พลังงานจะเคลื่อนเข้าสู่ตับ ตับจะเริ่มทำงานโดยใช้พลังงานที่สะสมไว้ ตับจะสะสมอาหารสำรองให้ร่างกายและกำจัดของเสียตลอดจน ผลิตน้ำดีและส่งไปเก็บที่ถุงน้ำดี
       ถ้าช่วงนี้ไม่หลับนอนยังทำงานอยู่ ร่างกายจะสูญเสียพลังงานที่สะสมไว้ ตับจะอ่อนแอลง สภาวะการสะสมพลังงานสำรองลดลง การผลิตน้ำดีลดลง ส่งผลกระทบต่อการทำงานของตับอ่อน เป็นผลให้การผลิตอินซูลินลดลงด้วย โรคที่จะเกิดขึ้นคือ โรคเกี่ยวกับความดันโลหิตแปรปรวน โรคเกาต์ โรครูมาตอยส์ ภูมิคุ้มกันบกพร่อง เบาหวาน หัวใจ กระดูกเสื่อม


เวลา 03:00 - 05:00 . พลังงานจะเคลื่อนเข้าสู่ปอด ถ้าปอดแข็งแรง ผู้นั้นจะหลับสนิท ถ้าเป็นโรคปอดหรือสูบบุหรี่จะรู้สึกไม่สบายตัวและจะถูกปลุกให้ตื่นในช่วงนี้จะไอและหายใจขัด


เวลา 05:00 - 7:00 น. พลังงานจะเคลื่อนเข้าสู่ลำไส้ใหญ่เป็นช่วงที่เราต้องถ่ายอุจจาระ ร่างกายต้องเอาของเสียทิ้งให้หมดก่อนเจ็ดโมงเช้า ถ้าไม่ออกกำลังกายในช่วงนี้หรือได้ขับถ่าย ร่างกายจะเริ่มดูดซึมของเสียเข้าสู่ระบบเลือด นี่เป็นสาเหตุให้เกิดริ้วรอยบนใบหน้า เกิดไขมันที่เสียๆ ควรออกกำลังกายช่วงนี้ เพื่อให้ลำไส้ใหญ่ขยับตัวและเพิ่มศักยภาพในการขับเคลื่อนของเสียออกไปจากร่างกาย


เวลา 07:00 - 09:00 น. กระเพาะอาหารจะย่อยได้สูงสุดในช่วงนี้เท่านั้น ช่วงอื่นๆทำงานได้น้อยกว่า กระเพาะอาหารต้องการอาหารและหลั่งน้ำย่อยมากที่สุด
          ผู้ที่ไม่รับประทานอาหารเช้าจะมีโอกาสเป็นโรคกระเพาะอาหาร และจะเกิดโรคหัวใจด้วย เพราะไม่ได้สารอาหารสำหรับทุกอวัยวะเพื่อกลับไปสร้างพลังงานรวม


เวลา 09:00 - 11:00 น. ม้ามจะเริ่มเก็บพลังงานสำรอง เก็บสารอาหารจากการย่อยของกระเพาะอาหาร ถ้าเราไม่ได้รับประทานอาหารเช้า ร่างกายจะดึงพลังงานสำรองออกมาใช้ พลังงานรวมจะหายไป ร่างกายจะอ่อนเพลียไม่มีเรี่ยวแรง

เวลา 11:00 - 13:00 น. พลังงานจะเคลื่อนที่ไปที่หัวใจ ถ้าร่างกายไม่ได้สารอาหาร หัวใจจะทำงานลำบาก หัวใจวายได้ง่ายในช่วงนี้

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 16939เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2006 00:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 23:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท