วงปี่พาทย์นางหงส์


เครื่องดนตรีวงปี่พาทย์นางหงส์

วงปี่พาทย์นางหงส์   

                 เป็นวงปี่พาทย์อีกชนิดหนึ่งที่นำเอาวงปี่พาทย์ไม้แข็งมาประสมกับวง ปี่ชวา - กลองมาลายู ( หรือที่เรียกว่า วงบัวลอย )  ซึงประกอบด้วย
                 1. ปี่ชวา                 
                 2. กลองมาลายู    ( ตีด้วยไม้งอๆ )     
                 3. ฆ้องเหม่ง                  
                 ประสมกับวงปี่พาทย์  โดยเปลี่ยนแปลงรูปแบบดังนี้
                 --  เอาตะโพน – กลองทัดออก     ในวงปี่พาทย์ออก  ใช้กลองมาลายู มาตีแทน
                 --  เอาปี่ใน ในวงปี่พาทย์ออก  ใช้ปี่ชวา เป่าแทน   
                 --  เอาฆ้องเหม่งในวงปี่-กลองออก  เพราะมีฉิ่ง  เป็นเครื่องควบคุมจังหวะอยู่แล้ว
                 เรียกวงประสมนี้ใหม่ว่า “ ปี่พาทย์นางหงส์ “ซึ่งเรียกตามชื่อหน้าทับที่ใช้ตีกำกับใน  “ เพลงเรื่องนางหงส์ “ ซึ่งเป็นเพลงบรรเลงอันเป็นพื้นฐานของวงปี่พาทย์วงนี้  โดยจะใช้บรรเลงประกอบพิธีกรรมในงานอวมงคล หรืองานศพ         สำหรับรูปขนาดของวงเช่นเดียวกับวงปี่พาทย์ไม้แข็ง  เพียงแต่เรียกชื่อใหม่ว่า   “ วงปี่พาทย์นางหงส์เครื่องห้า  “     วงปี่พาทย์นางหงส์เครื่องคู่    และวงปี่พาทย์นางหงส์เครื่องใหญ่ 
                 วงปี่พาทย์นางหงส์เครื่องคู่   ประกอบด้วย
                 1. ปี่ชวา                 
                 2. ระนาดเอก                   
                 3. ระนาดทุ้ม                  
                 4. ฆ้องวงใหญ่             
                 5. ฆ้องวงเล็ก                 
                 6. กลองมาลายู             
                 7. ฉิ่ง                       
                 8. ฉาบ                

                 เนื่องจากไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัดในการเกิดของวงปี่พาทย์นางหงส์  และยังไม่สามารถหาหลักฐานที่แน่นอนของการประสมวงนางหงส์  ว่าเกิดขึ้นในสมัยใด  แต่ในปัจจุบันปรากฏลักษณะรูปวงนางหงส์เป็น ๒ แบบ คือ แบบหนึ่งใช้ตีด้วยกลองมาลายู  และอีกแบบหนึ่งใช้ตีด้วยกลองทัด   ทั้งสองแบบใช้หน้าทับที่คล้ายคลึงกัน  ผิดกันแต่วิธีการตีเท่านั้น
                 สำหรับหน้าที่ของเครื่องบรรเลงในวงปี่พาทย์นางหงส์  เครื่องดนตรีโดยทั่วไปมีวิธีบรรเลงและหน้าที่เช่นเดียวกับวงปี่พาทย์ไม้แข็ง
                 --   ปี่ชวา  เป่าดำเนินทำนองถี่ๆบ้าง  เสียงยาวบ้าง จนเกิดเป็นลักษณะและวิธีการเป่าที่เรียกว่า“ ทางปี่ชวา “   คือวิธีการดำเนินทำนองเฉพาะของปี่ชวา        
                 --   กลองมาลายู   ตีด้วยไม้งอๆด้วยมือข้างหนึ่ง  สอดสลับกันทั้งสองลูก  เรียกเป็นหน้าทับว่า “ หน้าทับนางหงส์ “    และหน้าทับ “ นางหน่าย “        
                 สำหรับโอกาสใช้ของปี่พาทย์นางหงส์  คืองานศพ  ใช้ได้ทั้งงานสวดพระอภิธรรม    และงานฌาปนกิจศพ
 

 

คำสำคัญ (Tags): #ปี่พาทย์
หมายเลขบันทึก: 169344เขียนเมื่อ 6 มีนาคม 2008 13:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 20:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)
“กำสรวลส่งเสด็จ”

แว่วปี่พาทย์นางหงส์ส่งเสด็จเสร็จ
ดุจจะเด็ดดวงใจไทยทุกถิ่น
พญาโศกกำสรดสลดจินต์
ทุกข์โศกสิ้นเกินใจรับได้ทัน

พระเอยพระพี่นางฯมาห่างหาย
แทบวางวายโหยละเหี่ยเพราะเสียขวัญ
ไทยทั้งผองนองน้ำตาด้วยจาบัลย์
สุดโศกศัลย์หลัดหลัดความพลัดพราย

โลกธาตุสะท้อนสะเทือนเหมือนรับรู้
คร่ำครวญอยู่หวั่นไหวไม่ขาดสาย
ปฐพีร่ำไห้ไม่เว้นวาย
เดือนดาวรายร่วงฟ้าร่วมอาลัย

พระเสด็จสู่พิมานสถานทิพย์
แม้ไกลลิบสรวงสวรรค์อยู่ชั้นไหน
ขอถวายบุญกุศลมงคลชัย
เกิดชาติใดขอพบพระบารมี

เย็นยะเยียบเงียบเหงาเศร้าดวงจิต
ไทยทั่วทิศน้ำตานองหม่นหมองศรี
ร่วมไว้ทุกข์ทั้งทิวาและราตรี
ด้วยภักดีถวายอาลัยอาวรณ์

ยุทธ โตอดิเทพย์
นายกสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย

 

อ่านกลอนของ อาจารย์ ยุทธ โตอดเทพย์ ผมกำลังสงสัยอยู่ว่า ปี่พาทย์นางหงส์ คืออะไร

แล้ว ส่งเสด็จ อย่างไร
ส่งเสด็จด้วย บทเพลงนี่เอง

ขอบคุณอาจารย์ยงยุทธ ยอดมงคล ครับผมที่นำเอาเกร็ดความรู้มาเผยแพร่ ครับ

สวัสดีครับ

ขอบคุณ

P กวินทรากร

  • ขอบคุณที่แวะเข้ามาเยี่ยมชมครับ
  • ยินดีครับอาจารย์
  • แวะมาเยี่ยมกันใหม่นะครับ
  • แล้วจะแวะไปทักทายครับ
  • ขอบคุณครับ

อยากทราบประวัติความเป็นมาของวงปี่พาทย์นางหงส์ค่ะ

ใช้เครื่องดนตรีอะไรบ้างคะ ขอรูปภาพประกอบด้วยได้ไหมคะ

ขอบคุณค่ะ

ให้นักเรียนหาข้อมูลวงดนตรีไทยต่างๆๆๆ ของคุณครับ

ขอวงปี่พาทย์เฉยๆ

อยากได้เนื้อเพลงปี่พาทย์นางหงส์ขร๊ะ

เป็นเครื่องดนตรีไทยที่เป็นธรรมชาติดีมาก

อยากทราบว่าทำไมถึงใช้ปี่ชวามาบรรเลงในวงนี้ค

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท