ภาคผนวก ก--ตารางจำแนกผู้ทรงสิทธิในระบบกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพ--ต่อ


กฎหมาย

บทบัญญัติ

ผู้ทรงสิทธิ

พระราชบัญญัติ

พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533

(รก.2533/161/1/1 กันยายน 2533)

 

มาตรา 4  พระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บังคับแก่

(1)[1]  ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราวรายวัน และลูกจ้างชั่วคราวรายชั่วโมง ของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่น ยกเว้นลูกจ้างชั่วคราวรายเดือน

(2)  ลูกจ้างของรัฐบาลต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ

(3)  ลูกจ้างของนายจ้างที่มีสำนักงานในประเทศ และไปประจำทำงานในต่างประเทศ

(4)  ครูหรือครูใหญ่ของโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน

(5)  นักเรียน นักเรียนพยาบาล นิสิตหรือนักศึกษา หรือแพทย์ฝึกหัดซึ่งเป็นลูกจ้างของโรงเรียน มหาวิทยาลัย หรือโรงพยาบาล

(6)  กิจการหรือลูกจ้างอื่นตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา

มาตรา 5  ในพระราชบัญญัตินี้ ลูกจ้าง หมายความว่า ผู้ซึ่งทำงานให้นายจ้างโดยรับค่าจ้าง ไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร แต่ไม่รวมถึงลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับงานบ้านอันมิได้มีการประกอบธุรกิจรวมอยู่ด้วย

หมวด 1 การเป็นผู้ประกันตน

มาตรา 33 [2]  ให้ลูกจ้างซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่าสิบห้าปีบริบูรณ์และไม่เกินหกสิบปีบริบูรณ์เป็นผู้ประกันตน

    ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนอยู่แล้วตามวรรคหนึ่ง เมื่อมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ และยังเป็นลูกจ้างของนายจ้างซึ่งอยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ถือว่าลูกจ้างนั้นเป็นผู้ประกันตนต่อไป

 

 

 

 

 ลูกจ้าง

 

 

 

 

 

 

 

 

ลูกจ้าง

 

 

 

 

 

ลูกจ้าง

 

พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535

()

 

มาตรา 4 ผู้ประสบภัย หมายความว่า ผู้ซึ่งได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัย เนื่องจากรถที่ใช้หรืออยู่ในทางหรือเนื่องจากสิ่งที่บรรทุกอยู่ในรถนั้น และหมายความรวมถึงทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัยซึ่งถึงแก่ความตายด้วย

 

 

ผู้ประสบภัย

 

พระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535

(รก.46/109/1/10 เมษายน 2535)

 

หมวด 2 การควบุมบริษัท

มาตรา 29 “……ไม่ว่าผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยจะใช้สิทธิดังกล่าวนี้ประการใดหรือไม่ย่อมไม่เป็นเหตุให้บริษัทพ้นความผิดที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้….”

 

 

ผู้เอาประกันภัย

หรือ

ผู้รับประโยชน์

 

พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535

()

 

หมวด 2 การควบคุมบริษัท

มาตรา 29 วรรคสาม “..ผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ตามกรมประธรรม์ประกันภัย มีสิทธิเลือกให้บริษัทต้องรับผิดในการชำระหนี้... 

 

 

ผู้เอาประกันภัยหรือ

ผู้รับประโยชน์

 

พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537

()

 

หมวด 1 บททั่วไป

มาตรา 7 “การเรียกร้องหรือการได้มาซึ่งสิทธิหรือประโยชน์ตามพระราชบัญญัตินี้ไม่ตัดสิทธิหรือประโยชน์ที่ลูกจ้างพึงได้ตามกฎหมายอื่น

 

 

 

ลูกจ้าง

 

พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545

(รก. 2545/ 116/119 / 18 พฤศจิกายน 2545)

 

หมวด 1 สิทธิในการรับบริการสาธารณสุข

มาตรา 5 วรรคหนึ่ง บุคคลทุกคนมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพตามที่กำหนดโดยพระราชบัญญัตินี้

 

 

บุคคลทุกคน

 

พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550

()

 

หมวด 1 สิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพ

มาตรา 5 วรรคหนึ่ง บุคคลมีสิทธิในการดำรงชีวิตในสิ่งแวดล้อมและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ

 

 

บุคคล



[1] แก้ไขโดยพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ 2) .. 2537

[2] แก้ไขโดยพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ 2).. 2537

หมายเลขบันทึก: 169137เขียนเมื่อ 5 มีนาคม 2008 07:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 20:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท