ตอบคุณภาวิณี (วันที่ 4 มี.ค. 2551) ---ปัญหาของคนไร้รัฐที่จะเข้าสู่สิทธิในการรับรองสถานะบุคคลในทะเบียนบุคคลของรัฐ


แหะ แหะ ตอนแรกว่าจะตอบกลับเป็นการส่วนตัวทาง e-mail แต่โดน อ.แหวว แนะนำว่าควรตอบให้ประชคมได้อ่านกันอย่างถ้วนหน้า ก็เลยนำมาลงในบล็อกนี้

 

ปุจฉา : อยากทราบถึงว่าเด็กไร้สัญชาติ เมื่อเขาไร้สัญชาติแล้วเขามีสิทธิในเรื่องไดบ้างที่เขาควรจะได้รับ และนอกจากสิทธิที่เขาควรจะได้รับแล้วเขาเจอปัญหาอะไรบ้างค่ะที่เขาไร้สัญชาติ คือว่าตอนนี้กำลังศึกษาถึงเด็กไร้สัญชาติอยู่ค่ะ

วิสัชนา :

ถึงคุณ paewinee (และท่านผู้อ่านทุกท่าน)
 
ก่อนอื่นต้องขออธิบายก่อนนะคะว่าเด็กไร้สัญชาติ คือ บุคคลที่ไม่มีรัฐใดในโลกยอมรับที่จะให้สัญชาติ ดังนั้นแต่เด็กกลุ่มนี้อาจจะไม่ไร้รัฐก็ได้
หากมีรัฐหนึ่งรัฐใดให้การยอมรับเขาเข้าสู่ระบบทะเบียนราษฎร แต่ในทางกลับกันเด็กไร้รัฐย่อมจะเป็นเด็กไร้สัญชาติไปด้วยโดยปริยายค่ะ
 
อย่างไรก็ดีในเมือ่เด็กกลุ่มนี้ถือเป้นมนุย์คนหนึ่ง ดังนั้นเขาจึงมีศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์เหมือนกับพวกเราทั่วไปๆ
(ไปอ่านดูรายละเอียดเรื่องนี้ได้ในหนังสือ อ.บรรเจิด สิงคะเนติ) ย่อมมีสิทธิมนุษยชนขั้นพิ้นฐานเหมือนกับพวกเรา ได้แก่
สิทธิในชีวิต เนื้อตัวร่างกาย ทรัพย์สิน เลือกถิ่นที่อยู่ เดินทาง ก่อตั้งครอบครัว การแสดงความคิดเห็น ฯลฯ
(อันนี้ไปดูเพิ่มเติมในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน1949  กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง สิทธิทางการเมือง 1966 ฯลฯ
รวมถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 )
 
สำหรับประเทศไทยแล้วการยอมรับคนเหล่านี้เข้าสุ่ระบบทะเบียนราษฎร อาจทำได้หลายวิธีโดยดูจากจุดเกาะเกี่ยวที่มีกับประเทศไทย
(อ่านเพิ่มเติม)
 
ส่วนปัญหาที่เขาเผชิญ ได้แก่ ปัญหาในการเข้าสู่สิทธิเหล่านั้น เช่น กรณีของประเทศไทย
การเข้าสู่สิทธิในหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า แม้ว่าจะไม่มีกฎหมายหรือนโยบายตัวใดห้ามคนไร้สัญชาติ เป้นผู้มีสิทธิ
แต่ในความเป็นจริงแล้วคนกลุ่มนนี้กลับมิอาจเข้าถึงสิทธิดังกล่าวได้อย่างแท้จริง กล่าวคือ มีทางปฏิบัติบางประการกีดกันสิทธิของคนกลุ่มนี้ เช่น
การเอาสิทธิในหลักประกันสุขภาพไปผูกติดกับการเป็นผู้มีสัญชาติไทย --- แน่นอนเมื่อไร้สัญชาติก็ไม่มีสิทธิ
ผูกติดกับการมีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก --- แม้คนไร้สัญชาติจำนวนหนึ่งจะสามารถเข้าสู่ระบบทะเบียนราษฎรและมีเลขประจำตัว 13 หลักก็ตาม 
และผูกติดกับการมีชื่อในทะเบียนบ้าน --- แม้ว่าตามความเป็นจริงจะมีคนไร้สัญชาติจำนวนไม่น้อยมีชื่อในทะเบียนราษฎรก็ตาม
แต่คนเหล่านี้ก็ยังไม่อาจเข้าสู่ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าได้อยู่ดี (ติดตามดูความเคลื่อนไหวของประชาคมนักวิจัย เรื่องสิทธิในสุขภาพ หลักประกันสุขภาพของคนไร้รัฐในประเทศไทย health for stateless ได้ที่ http://gotoknow.org/blog/health4stateless-kitiwaraya และที่ http://gotoknow.org/planet/team-on-health4stateless ค่ะ)
 
ที่กล่าวมานี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของปัญหาที่คนไร้สัญชาติต้องเผชิญค่ะ
ส่วนข้อมูลอื่นๆสามารถดูได้ที่ www.archanwell.org ของท่าน รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ สายสุนทร  
 
 
 
 
กิติวรญา รัตนมณี
 
--------------------------------------------------------------------------------------------------

ปล.ก่อนหน้านี้คุณภาวิณีได้ส่ง e-mail สอบถาม อ.แหวว สามารถติดตามอ่านได้ที่ http://gotoknow.org/blog/stateless-and-nationalityless-management-by-law/167403

หมายเลขบันทึก: 169072เขียนเมื่อ 4 มีนาคม 2008 19:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

http://www.archanwell.org

โดนไวรัสค่ะ

กระจกเงา คนดูแลเว็บกำลังไล่กำจัดไวรัสค่ะ ยังไม่รู้ว่า จะต้องใช้เวลาอีกเท่าไหร่

แต่ตามอ่านงานได้จาก link นี้ค่ะ

http://gotoknow.org/file/archanwell/view/153844

หรือที่คุณไหมว่า

เรื่องสิทธิในบริการสาธารณสุข โดยเฉพาะสิทธิในหลักประกันสุขภาพ ต้องตามดูที่นี่

http://gotoknow.org/planet/rdm-meeting-room-on-health4stateless

 

น่าจะตั้งชื่อบันทึกให้สื่อเนื้อหาของเรื่องว่า "คุยกับคุณภาวิณีเรื่องปัญหาของคนไร้รัฐที่จะเข้าสู่สิทธิในการรับรองสถานะบุคคลในทะเบียนบุคคลของรัฐ"

บางสิทธิก็มี แม้ไม่มีเลข ๑๓ หลัก

บางสิทธิ ก็เข้าไม่ถึง เมื่อไม่มีเลข ๑๓ หลัก

บางสิทธิ ก็เข้าถึงได้ เพราะ มีเลข ๑๓ หลัก

บางสิทธิ ก็ไม่มี เมื่อไม่มีเลข ๑๓ หลัก

เลข ๑๓ หลักนี้ สำคัญมากใช่ไหม

ทำตัวเป็นกามนิตสาวหรือไง

ตอบคำถามสุดท้ายก่อนนะคะ

เลข 13 หลักสำคัญค่ะ เพราะในฐานข้อมูลเลข 13 หลักของกรมการปกครองจะเป็นตัวบอกสถานะบุคคลของของคนๆนั้น

เช่น เป็นคนไทย หรือต่างด้าว เข้าเมืองชอบหรือไม่ชอบ มีสิทธิอาศัยชั่วคราวหรือถาวร เป็นต้น

ดูประกอบตัวอย่างได้ใน ข้อมูลกลุ่ม/ประเภทของผู้ถือบัตรประจำตัวและเลขประจำตัวประชาชนประเภทต่างๆ 

ค่ะ

 

บางสิทธิก็มี แม้ไม่มีเลข ๑๓ หลัก

เช่น สิทธิในการศึกษา ที่ทางกระทรวงสาะรณสุขมีระเบียบออกมาตั้งแต่ปี 2535 ?ให้บุคคลทุกคนสามารถเข้าเรียนในสถานศึกษาได้แม้ไม่มีเลข 13 หลัก และต่อมาในปี 2548 ?ก็ได้ออกระเบียบเพิ่มเติมให้ทางสถานศึกษาออกหนังสือรับรองผลการศึกษาโดยไม่มีหมายเหตุต่อท้ายว่าเป็นบุคคลผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียน(อันนี้ไม่แน่ใจ พ.ศ.ที่ออกระเบียบ)

สิทธิขั้นพื้นฐาน : สิทธิในชีวิตเนื้อตัวร่างกาย ถือครองทรัพย์สิน แสดงความคิดเห็น

สิทธิในการก่อตั้งครอบครัว

สิทธิในการย้ายถิ่นฐาน

สิทธิในกระบวนการยุติธรรม

เป็นต้น

 

บางสิทธิ ก็เข้าไม่ถึง เมื่อไม่มีเลข ๑๓ หลัก

เช่น สิทธิในหลักประกันสุขภาพ ตามที่กล่าวไปแล้ว

สิทธิในการรับทุนการศึกษา เนื่องจากไม่มีเลข 13 หลัก จึงไม่อาจเปิดบัญชีนาคารได้ จึงไม่อาจรับทุนการศึกษาได้ (เพราะส่วนใหญ่จะให้ทุนโดยผ่านบัญชีธนาคาร)

สิทธิในการทำธุรกรรมทางการเงินกับธนาคารพาณิชย์ เช่นเปิดบัญชี ฝากเงิน กู้ยืมเงิน เนื่องจากทาง ธปท.มีประกาศ สนส.15/2544 ลงวันที่ 24 ธ.ค. 2544 กำหนดแนวปฏิบัติในการรับฝากเงินเพื่อป้องกันการฟอกเงิน โดยประกาศถึงธนาคารพาณิชย์ให้รับฝากเงินแก่ผู้ฝากซึ่งสามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นใคร ชื่ออะไร อยู่ที่ไหน มีอาชีพอะไร และมีสถานที่ติดต่อได้ชัดเจน และหากมิใช่ผู้มีสัญชาติไทย หรือนิติบุคคลสัญชาติไทย(จดทะเบียน) ก็ต้องมีหนังสือเดินทาง ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือเอกสารอื่นที่ออกให้โดยองค์กรที่น่าเชื่อถือมาเป็นหลักฐานในการขอเปิดบัญชีธนาคาร

ซึ่งแม้จะมีเลข 13 หลัก แต่ถ้าขึ้นต้นด้วย 0(ต่างด้าวเข้าเมืองผิด กม. เป็นบุคคลตามยุทธศาสตร์จัดการปัญหาสถานะและสิทธิฯ 18 มกราคม 2548) หรือ 00 (แรงงานต่างด้าว สัญชาติพม่า ลาว กัมพูชา)

สิทธิในการทำประกันชีวิต

เป็นต้น

ที่อ.แหววถามหนูว่าเรียนที่ ไหน เรียนอะไร จบแล้วจะไปทำมาหากินอะไร ?

           หนูเรียนอยู่คณะสังคม เอกวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ที่มหาลัยราชภัฎเชียงราย จบมาหนูยังไม่รู้จะทำงานอะไรเลยค่ะ ทำงานเกี่ยวกับ ngo ก็ดีจะได้ช่วยเหลือคนที่ด้อยกว่าเรา

            ทำสารนิพนธ์ก็ปวดหัวมากสับสนวุ่นวายเจาะประเด็นไม่ได้ค่ะ และไม่มีเวลาที่จะศึกษาเต็มที่เพราะจะต้องฝึกประสบการณ์ไปด้วยน่ะค่ะ อ.แหววขา

ดีใจค่ะที่คุณภาวิณีแวะเข้ามาเยี่ยมอีกครั้ง

ไหม

 

ที่โรงเรียนก็กำลังประสบปัญหาแบบนี้อยู่ค่ะ

ขอบคุณที่ให้ความรู้ ความชัดเจน

จะรอติดตามอ่านข้อมูลข่าวสารใหม่ๆค่ะ

 

สวัสดีค่ะคุณครูเอ ยินดีที่ครูแวะเข้ามาค่ะ

ที่ว่า"โรงเรียนของครูกำลังประสบปัญหาแบบนี้" ครูลองเล่าให้พวกเราฟังหน่อยนะคะ เผื่อจะได้ช่วยกันคิด

 

 

ตามไปช่วยครูเอคิดเรื่องเด็กชายสันติสุข มาแล้วค่ะ ที่

http://gotoknow.org/blog/jantaluck/167815 แหะ แหะ

แบบว่าลากเอาอาจารย์แหววไปร่วมด้วยช่วยกันอีกคนค่ะ  

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท