อนุทินส่วนตัว ๑ มี.ค. ๕๑


สภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
              ประชุมครั้งที่ ๓๐๔   
              ผมกลับเข้าเป็นกรรมการสภา มอ. อีกวาระหนึ่ง หลังจากว่างเว้นไป ๖ ปี  
คำขวัญ “๔๐ ปี มอ.  บ่มเพาะคนดี ชี้นำสังคม สั่งสมปัญญา พัฒนางานวิจัย”

ปัญหาการอยู่ร่วมกันในคณะใหม่ที่มีอาจารย์จากต่างสาขาวิชามาอยู่ด้วยกัน
            **บทเรียน ม. วิจัย  การใช้พลังความต่างในสาขาวิชาการ    กระบวนการสรรหาคณบดีที่จะช่วยทำความเข้าใจเชิงกระบวนทัศน์
             Dialogue  vs  monologue  การฟังซึ่งกันและกัน จนเข้าใจคนอื่น    ถ้าทำไม่เป็นจะได้ monologue

วิธีทำให้คำแนะนำในสภาฯ นำไปสู่การปฏิบัติ
             อธิการบดีนำเสนอวิธี institutionalize งานนี้
1. มี สนง. สภามหาวิทยาลัย  มีปัญหาการแยกกับฝ่ายบริหาร
2. วิธีนำเสนอในสภาฯ    มอ. เสนอวิธีนี้ก่อน
             เป็นเรื่องการทำหน้าที่กำกับโดยสภาฯ   vs  การที่ CEO ใช้กลไกกำกับในการขับเคลื่อนฝ่ายบริหารในระดับต่ำลงมา     ช่วยเคลื่อน from policy to practice
จรัส  เคยถามผู้บริหาร ได้ความเห็นว่าสภาฯ ไม่เข้าใจ มอ.    ให้ความเห็นเชิง generic เท่านั้น
ประธาน  สภาฯ – ฝ่ายบริหาร มอ. ไม่มีปัญหา เพราะองค์ประกอบของสภาฯ มีผู้บริหารมาเป็นกรรมการทั้งหมด

คณะทันตแพทยศาสตร์
ตั้งปี ๒๕๒๖   อายุ ๒๕ ปี
        นำเสนอผลงานปี ๒๕๔๗ – ๒๕๔๙  ช่วงที่ ผศ. ทพ. สุทธิพงศ์ เชาวนาศัย เป็นคณบดี (เวลานี้เป็นคณบดีคณะนิติศาสตร์) 
         วิสัยทัศน์  “เป็นสถาบันชั้นนำทางวิชาการด้านทันตแพทยศาสตร์ระดับประเทศ ในปี ๒๕๕๐” 
จัดเป็นคณะที่โดดเด่นของ มอ.
ภาคภูมิใจด้าน
      • หลักสูตร competency – based เริ่ม ๒๕๕๐
      • คุณภาพบัณฑิต จากการประเมินของนายจ้าง โดยเฉพาะด้านคุณธรรมจริยธรรม    คณะเน้นส่งเสริมกิจกรรม นศ.  ชมรม นศ. 
     • เด่นด้านความเป็นนานาชาติ    และการเชื่อมโยงกับชุมชน 
     • หลักสูตรปริญญาเอกร่วม  มอ. – แมนเชสเตอร์   
     • เครือข่ายบริการผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่ และผู้มีความพิการใบหน้า 
     • บริการทันตกรรมเคลื่อนที่
     • โครงการพัฒนาอารมณ์และจิตวิญญาณ   
**คำถาม   ผมคิดไว้ แต่ไม่ได้ถาม

     • เป็น part of the whole สำหรับ มอ. อย่างไร
     • เป็น part of the whole สำหรับทันตแพทยศาสตร์ไทย อย่างไร
     • วิสัยทัศน์ในอนาคต เป็นอย่างไร

        ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตภาครัฐ สูงกว่าภาคเอกชน สะท้อนให้เอาใจใส่วิธีจัดการฝึกอบรม นศ. ให้ตรงความต้องการของนายจ้างมากขึ้น
       วิธีตรวจสอบความพึงพอใจ ไม่ควรถามตรงๆ ต้องมีวิธีถาม
       การมี facilities ให้มี visiting scholars จาก ตปท. มาร่วมทำงานวิชาการได้อย่างสะดวก
       วิ่ง ๓ ทาง
            1.  Professionalism
             2.  Academic
             3.  Inter & Community

ความพึงพอใจของนายจ้างและผู้ใช้บัณฑิต
             เพื่อพัฒนาหลักสูตร การเรียนการสอน
             ต่อบัณฑิต ปี กศ. ๒๕๔๘
             ภาพรวม  พึงพอใจมาก
             คะแนนสูงสุด ด้านคุณธรรมจริยธรรม
             ๓ ด้านที่คะแนนสูงสุด  ซื่อสัตย์สุจริต  ประพฤติตนอยู่ในศีลธรรมอันดี  อยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข
             ๓ ด้านที่คะแนนต่ำที่สุด  ภาษาอังกฤษ  การจัดการ   ภาวะผู้นำ
             เปรียบเทียบกับปี ๔๖  ๔๗  ไม่แตกต่างกัน
             คณะทันต ครองอันดับ ๑ เกือบทุกมิติ
**ควรทำ KM ลปรร. ปัจจัยของความสำเร็จ

วิจิตร ณ ระนอง  
          ๓ ด้านที่เข้มแข็ง คือด้านที่ผู้ใช้เอาใจใส่มากที่สุด 
เจตนา - จรัส
          ทำไมด้านแพทย์ไม่โดดเด่น     จริงๆ แล้วคณะแพทยศาสตร์ มอ. โดดเด่นในกลุ่มโรงเรียนแพทย์ในประเทศไทย
วรากรณ์
           ต้องตีความอย่างระมัดระวัง    เข้าใจความแตกต่าง

รายงานประจำปีการประเมินคุณภาพ ปี ๒๕๔๙
มอ. ใช้ขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพ
ภาพรวม ดีมาก ทั้ง ๙ มาตรฐาน
เอาข้อมูลไปทำ internal BMK    ทำ KS แนวปฏิบัติที่ดี   **เวที KS หา external BP มาใช้ในเรื่องยากๆ
**ประเด็นของการ generate data & info เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนา    formative attitude ไม่ใช้ summative ได้-ตก
**แปลง factual สู่ strategic/developmental analysis
    รวมเป็น population เดียว  ในขณะที่จริงๆ แล้ว เป็นคนละ population    ใช้วิธีคิดเดียวกันอาจจะไม่ได้ประโยชน์
**การเถียงเกณฑ์ เพราะเกณฑ์กลางไม่ดีสำหรับเรา
นักสิทธ์
         ผลการประเมินของ สมศ. มอ. อยู่ที่ top 3 – 4 น่าภูมิใจมาก
         สมัย ๓๐ ปีก่อน ขาด อจ.   ขาดเงิน   แต่ นศ. คุณภาพดี    เวลานี้ตรงกันข้าม  มี อจ.   มีเงิน   แต่ นศ. คุณภาพต่ำ

เรียนรู้จากการอภิปรายหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการ
       คำถามของผู้ทรงคุณวุฒิ เรื่อง Postmodernism เป็นการกระตุกวิธีคิด ที่ไม่ใช่กระบวนทัศน์เดิม
       ศาสตร์ด้านการจัดการองค์กรที่ไม่ค้ากำไร
       อจ. ที่มีผลงานวิจัย case study  
       อจ./คณะ ยังไม่มีวัฒนธรรมวิจัย    ใช้ นศ./หลักสูตร สร้างวัฒนธรรมวิจัย
       เป็นเรื่องของการจัดการการเรียนรู้ระดับบัณฑิตศึกษา

สภามหาวิทยาลัยเข้าไปยุ่งกับการจัดการ โดยอนุมัติการจัดจ้าง
               สมควรหรือไม่  

ศูนย์ประชุมนานาชาติเฉลิมพระเกียรติของมหาวิทยาลัย
              เพื่ออะไร    เพื่อสร้างโอกาสให้แก่พื้นที่  หรือเพื่อ internal use
              ต้องการเน้น Economic return  vs.  financial return    เอามากำหนดตลาด  เป้าหมาย  positioning ของกิจการ
              ควรจัดให้หน่วยนี้เป็นหน่วยพิเศษ แยกจากส่วนอื่นของ มอ.  มีข้อบังคับของตนเอง เขียนให้ชัด     และระบุให้ชัดว่า มอ. เข้าไปใช้ได้อย่างไรบ้าง

ศึกษาอนุภาคเพื่อเข้าใจจักรวาล
        นี่คือ big science on small particles เพื่อเข้าใจธรรมชาติของจักรวาล    โดยเฉพาะความเข้าใจ dark matter และ dark energy     มีนักวิทยาศาสตร์กว่า ๑,๐๐๐ คน จากกว่า ๕๐ ประเทศ เข้าร่วม http://ngm.nationalgeographic.com/2008/03/god-particle/achenbach-text เป็นการลงทุนมโหฬารด้าน particle physics นานาชาติ     สร้างห้องปฏิบัติการลึก ๑๐๐ เมตรใต้ดิน    มีวงแหวนขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๐ ฟุต เป็นวงใหญ่มโหฬารเส้นรอบวง ๑๗ ไมล์  อยู่ระหว่างเจนีวาของสวิสกับฝรั่งเศส    มีอาคาร detector อยู่ที่วงแหวนเป็นระยะๆ     อาคารที่ใหญ่ที่สุดสูงกว่าหอไอเฟล ชื่อ ATLAS

         อีกไม่กี่เดือน ห้องปฏิบัติการจะเริ่มลงมือทดลอง     อนุภาคจะถูกเร่งความเร็วจนเกือบเท่าความเร็วแสง ในทิศทางตรงกันข้าม     แล้วจับมาชนกันพลังงานจะกลายเป็นสสาร ที่ไม่เสถียร จึงสลายตัวให้อนุภาคใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีในโลก

         เครื่องมือนี้เรียก LHC – Large Halon Collider 

GNH – Gross National Happiness
ภูฏาน
http://ngm.nationalgeographic.com/2008/03/bhutan/larmer-text
         เริ่ม GNH ปี 1972
         อ่านบทความนี้ได้รู้จักประเทศภูฏาน ไม่รู้จัก GNH     แต่สามารถค้นได้จาก http://en.wikipedia.org/wiki/Gross_national_happiness  http://www.youtube.com/watch?v=CXJwNSkdTH0


นักรบโพธิสัตว์
www.WisdomAtWork.com  
         แนวทางหนึ่งของการรบกับกิเลสตัณหาของตนเอง     เพื่อไปสู่ความหลุดพ้นแนว contemplative science 
         Dr Joel & Michelle Levey มาเป็นวิทยากรฝึกปฏิบัติและคุณอุไปเข้ารับการอบรมด้วย     เธอเล่าไว้ที่ http://gotoknow.org/blog/uraiman/168073
เว็บไซต์ ที่น่าสนใจ www.sciammind.com

หมายเลขบันทึก: 168818เขียนเมื่อ 3 มีนาคม 2008 13:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท