รายการ Human talk วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2551


Human talk

พิธีกร : สวัสดีครับท่านผู้ฟังครับ ขอต้อนรับเข้าสู่รายการ Human Talk ทุกเช้าวันอาทิตย์แบบนี้ ทาง FM 96.5 MHz 6 โมงเช้าถึง 7 โมงเช้า เรากลับมาเจอกันใน 1 รอบสัปดาห์ กับศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์และผมจีรวัฒน์ ตั้งบวรพิเชฐ เช้านี้ก็เป็นเรื่องราวที่อาจารย์ได้หยิบยกขึ้นมาพูดคุยในหนังสือพิมพ์แนวหน้าฉบับเมื่อวานนี้กันนะครับ ซึ่งอาจารย์พาดหัวไว้ว่า ขอพูดเรื่องทุนมนุษย์อีกครั้ง ซึ่งเรื่องของทุนมนุษย์ หรือ Human capital หลายท่านที่อยู่ในแวดวงทรัพยากรมนุษย์คงเข้าใจคำนี้ดีเพราะว่า เป็นหลักพื้นฐานเลยที่พูดถึงเรื่องการลงทุนในมนุษย์ เรื่องของการศึกษา เรื่องอะไรต่าง ๆ เหล่านี้เพื่อทำให้มนุษย์มีมูลค่าความสามารถสูงขึ้นนะครับ อย่างที่เราเข้าใจตาม model เดิม ซึ่งหลังจากนั้นก็มีการพูดถึงทุนในอีกหลาย ๆ รูปแบบ ซึ่งอาจารย์เองได้เคยพูดถึง 8 K's ด้วยกัน ทุน 8 อย่างด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นทุนทางด้านจริยธรรม ทุนแห่งความสุข ต่าง ๆ ซึ่งถือว่าเป็น model ใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นมาเพื่อตอบว่า มนุษย์นี่จริง ๆ แล้ว ไม่ได้มีแค่ทุน Human capital  เท่านั้นนะครับที่จะทำให้มีมูลค่าที่สูงขึ้นได้ ซึ่งหลักการต่าง ๆ เหล่านี้ อาจารย์ได้อยากกลับไปย้อนพูดคุยอีกครั้งหนึ่งในบทความเมื่อวานนี้ครับ โดยรวมอาจารย์ได้เกริ่นถึงเรื่องของแนวความคิดใหม่ ๆ ที่พูดถึงมนุษย์ในด้านทรัพยากรมนุษย์ อาจารย์ได้เกริ่นไปถึงช่วงสมัยที่อาจารย์ยังเป็น ผอ. สถาบันทรัพยากรมนุษย์ที่ธรรมศาสตร์นะครับ ช่วงที่ก่อตั้งขึ้น อาจารย์มองเห็นเรื่องความสำคัญของทรัพยากรมนุษย์มากกว่าคำว่าแรงงาน มากกว่าคำว่าประชากรหรือบุคลากร ทำให้เป็นเรื่องที่กว้างขึ้น มีความเชื่อมโยงกันมากขึ้น ในเรื่องของมนุษย์ ในส่วนของมูลค่าทรัพย์สินของตัวเรา จริง ๆ แล้วสามารถเพิ่มพูนคุณค่า เพิ่มพูนมูลค่าได้ ก็มีหลายประการด้วยกัน อาจารย์ได้เล่าถึงงานที่เพิ่งผ่านไปเมื่อเดือนที่แล้วนะครับ ถึงงานที่มีการประชุมกันที่ศศินทร์นะครับ ซึ่งมีท่านอาจารย์หลายท่านเลยทีเดียวมาร่วมในครั้งนี้ แล้วก็แต่ละท่านก็พูดถึงเรื่องทุนมนุษย์ในเมืองไทย มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน  มีการพูดคุยกัน แล้วก็มีการปะทะกันระหว่างแนวความคิดของ 8 K's กับ 8 H's ซึ่งเดี๋ยวอาจารย์คงได้มาขยายกันต่อว่า 8 K's ประกอบด้วยอะไรบ้าง และ 8 H's ประกอบด้วยอะไรบ้าง ซึ่งหลักการต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่พูดคุยถึงเรื่องของทุนของมนุษย์ด้วยกันนี่แหละ เรื่องของการเพิ่มพูนมูลค่า คุณค่ามนุษย์ด้วยกันว่ามีอะไรบ้าง ตามแนวความคิดของกูรูแต่ละท่าน ซึ่งอย่างขอยกตัวอย่างสั้น ๆ อย่างในส่วนของ H มีคำว่า Harmony มีคำว่า Head มีคำว่า Hand มีคำว่า Heart อย่างนี้เป็นต้น อย่างในคำว่า Hand ในที่นี้หมายถึงอะไร อย่างไรบ้าง จะได้มาขยายความต่อนะครับ และในฝั่งของ K บ้าง 8 K's ประกอบด้วยอะไรบ้าง ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ อาจารย์มองว่ายังเป็นจุดยืนที่สำคัญของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อยู่ ซึ่งท่านที่อยู่ในแวดวงทรัพยากรมนุษย์ก็ดี คงได้ใช้บริบทต่าง ๆ เหล่านี้เต็มที่ แต่ในขณะเดียวกัน บางท่านที่ฟังรายการ Human talk อยู่ อาจจะมองว่า ไม่ได้ทำงานสายทรัพยากรมนุษย์ ต้องเข้าใจเรื่องพวกนี้ด้วยหรือ มันเกี่ยวข้องอะไรกับเราหรือเปล่า จริง ๆ แล้วในทุก ๆ สายนะครับ จริง ๆ เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์หมดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ถูกไหมครับ อย่างเช่น สมมตทำงานอยู่สายบัญชีนะครับ ท่านก็จะมีบุคลากรที่อยู่ในสังกัดของท่านนะครับ หรือท่านเป็น SME นะครับ ก็จะมีบุคลากรที่อยู่ในสังกัดของท่าน ผมเคยได้อ่านบทความอยู่บทความหนึ่ง รู้สึกจะเป็นท่านพารณนะครับ ได้กล่าวไว้ว่า ถ้าผู้นำองค์กรหรือ CEO ที่เก่ง ยังประสบความสำเร็จ ไม่มีทางเลยที่เขาเหล่านั้นจะไม่ประสบความสำเร็จด้านทรัพยากรมนุษย์ อันนี้เป็นคำพูดที่น่าสนใจ เพราะว่าผู้นำหรือผู้ที่ประสบความสำเร็จ หลักการหนึ่งที่เป็นส่วนที่ผลักดันให้เขาและองค์กรของเขาประสบความสำเร็จได้ก็คือ ส่วนของการบริหารทรัพยากรมนุษย์หรือผู้ร่วมงานนั่นเอง ฉะนั้นไม่ว่าท่านจะเป็นใครก็แล้วแต่ ย่อมเกี่ยวข้องกับมนุษย์โดยทางตรงและทางอ้อมมากน้อยแค่ไหนก็ขึ้นกับสายงานของท่าน แต่อย่างน้อยที่สุด ต้องเกี่ยวข้องแน่นอน ฉะนั้น ถ้ามองว่า เราเป็น เรามีทีม เราเป็นผู้จัดการ เราเป็นหัวหน้างาน หรือเป็นผู้บริหาร ไม่ว่าสายงานใดก็ตาม การดูแลทรัพยากรมนุษย์ในสายของท่าน นั่นก็คือการที่ท่านจะต้องรู้พื้นฐานของการบริหาร

ศ.ดร.จีระ : สวัสดีครับคุณจีรวัฒน์ ขอโทษที เมื่อกี้อยู่ในพิธีเปิดงานวิ่ง 113 ปีของทวีธาภิเษก เลยอยากให้เห็นบรรยากาศ เขาจัดกันตรง คุณจีรวัฒน์ถ้าเคยวิ่ง ตอนนี้เขาจัดตรงลานเอนกประสงค์ พระราม 8 เคยเห็นใช่ไหม จะเห็นแม่น้ำ แม่น้ำเยอะเลย แล้วเผอิญผมก็เลยถือโอกาสร่วมงานกับเขาในฐานะนายกสมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ แล้ววันนี้ทวีธาภิเษกเขาก็จัด เผอิญท่านประธานมูลนิธิก็คือท่านพลตำรวจเอกเสรีพิสุทธิ์ ท่านก็เป็นตำรวจที่เป็นตัวอย่างที่ดี  

พิธีกร : ท่านชอบวิ่งด้วยเหมือนกันใช่ไหมครับ

ศ.ดร.จีระ : ท่านเป็นนักวิ่งด้วย ท่านไม่ชอบให้คน ตำรวจมีพุง เพราะวันนี้ท่านผู้ฟังครับ เราจะทำงาน แล้วเรามีสุขภาพที่ไม่พร้อมนี่นะ เรื่องพัฒนาคน เรื่อง Human talk ถ้าเราไม่ cover เรื่อง Health มันก็คงไม่รอด ดังนั้นผมก็เลยขอเล่าให้ฟังว่าวันนี้ก็ตื่นเช้าขึ้นมาก็มาที่นี่เลย แต่ผมก็ขอตัวท่านเสรี เมื่อกี้ไปทักทายท่านแล้ว ว่าผมคงไม่สามารถจะเดินได้ เพราะเป็นช่วงเวลาที่ผมจะต้องออกวิทยุพอดี  

พิธีกร : ท่านอาจารย์เช้านี้ก็สดใสเลยทีเดียวนะครับอาจารย์

ศ.ดร.จีระ : อากาศดีมากเลย แล้วก็เขามากันเยอะ แล้วก็โครงการพวกนี้ จีรวัฒน์คงทราบนะว่า สสส. เขาจะช่วย คณะกรรมการเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพ เขาก็มีงบประมาณช่วยเหลืออยู่ แล้วเขาก็มีเสื้อ มีอะไร เดี๋ยวเขาก็จะเดินกัน ผมก็ต้องขอตัวเขามาออกวิทยุกับท่านผู้ฟัง เพราะว่าจริง ๆ แล้ว ทุกวันอาทิตย์ ท่านผู้ฟังก็คงทราบดีว่า ทำมาเกือบ 10 ปีแล้ว ก็ถือว่าเป็นกิจกรรมที่ผมถือว่าสำคัญ เพราะว่ามีผู้ฟังที่สนใจ ติดตามอยู่ตลอดเวลา พวกเราเองจะต้องทำงานให้มันได้ผล เพราะว่าในยุคสังคมข่าวสารนี่ ถ้าเรามีรายการที่ทำให้เขาได้คิด วิเคราะห์ และตรงประเด็น ก็จะเป็นประโยชน์ อย่างวันนี้นี่ สำหรับจุดแรกที่ผมอยากจะพูด ก็คือว่า ถึงเวลาแล้วที่คนไทยทุกอายุขัยนะ ต้องเอาจริงกับเรื่องสุขภาพ แล้วก็คงไม่ใช่ไปหาหมอ เวลามีความเจ็บป่วยเท่านั้น ผมคิดว่าการป้องกันสำคัญที่สุดเลย สำหรับตัวผมเอง เนื่องจากผมอายุ 45 ผมก็โชคดีที่ได้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จุดเริ่มต้นตอนที่ผมทำ คุณจีรวัฒน์ ถึงแม้ผมจะเป็นนักกีฬา ผมก็ทำได้ลำบาก เพราะว่าพอเราโตขึ้นมา ก็ทำงานเยอะ อาจจะบ้างาน เสร็จแล้วเราก็ลืมไปว่า ร่างกายเราจะต้องปรับตัว ก็หลังจากนั้นผมก็มีโอกาสได้เรียนรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกาย แล้วก็ทำมาอย่างสม่ำเสมอ ความจริงแล้วถ้าวันไหนผมได้ออกกำลังกายประมาณ 1 ชั่วโมง มีการยก weight  มี aerobic นิดหน่อย ตัวเองนะครับ ทำตัวเอง ไม่ได้ไปที่ไหน เพราะว่าผมไม่ได้มีเวลาไปวิ่งแบบเพื่อน ๆ บางคนที่อยู่ที่โปโล ใช่ไหมครับ เขาจะมีกลุ่ม Early life วิ่งกันเป็นคณะเลย ผมจะวิ่งที่หน้าบ้านผม แล้วก็จะเดินกับวิ่ง เฉลี่ยประมาณ 1 ชั่วโมง เพราะฉะนั้นตอนเช้า ๆ นี่ ผมก็จะไม่อยากให้ใครมารบกวนผม เดี๋ยวผมจบอันนี้แล้ว ผมกลับบ้าน ผมก็จะไปวิ่งต่อ อยากให้ท่านผู้ฟังที่ติดตามความรู้ของผม อาจจะมีมุมมองในเรื่องอะไรนะ ทุนทางปัญญา ทุนทางมนุษย์ อะไรอย่างนี้ ขอให้ความสนใจเรื่องสุขภาพเยอะ ๆ  เพราะว่ามันช่วยเรามากเลย ทำให้ร่างกายเรา fresh แล้วก็มีพลัง เพราะฉะนั้นก็ขอเรียนให้ทราบ คุณจีรวัฒน์ก็โชคดีนะได้ออกกำลังตั้งแต่อายุน้อย ๆ  แล้วทำไมคุณถึงตัดสินใจออกกำลังกายตั้งแต่อายุน้อย ๆ

พิธีกร : เชื่อว่าอย่างนี้ครับ อาจารย์ครับ ร่างกายที่ดี จะทำให้เราสามารถทำอะไรได้อย่างเต็มที่เหมือนกัน คือเรื่องของทำงาน ความคิด ความสามารถ สติปัญญาต่าง ๆ เราก็จะดี ถ้าเราอยู่ใน เรียกว่า อยู่ในร่างกายที่พร้อมสมบูรณ์ พร้อมทำทุกอย่าง ทุกอย่างก็สามารถเกิดขึ้นได้

ศ.ดร.จีระ : ผมเรียนท่านผู้ฟังนิดหนึ่ง ตอนผมหนุ่ม ๆ ผมก็จะเป็นหวัดบ่อย แล้วก็มีความรู้สึกว่า อาจจะช่วงนั้นอาจจะเป็นแล้วก็หายได้ เพราะว่าร่างกายยังแข็งแรงอยู่ ตอนหลัง ๆ นี่ผมก็ไม่ได้ค่อยได้มีหวัดอะไรมากนัก เพราะว่าร่างกายมัน absorb ได้ แล้วก็ถ้าเราไม่พักผ่อนให้พอ ความจริงผมเคยพูดอยู่เสมอว่า เวลาพูดถึงการทำงานอย่างมีความสุข ผมจะพูดเรื่อง Health เป็นจุดเริ่มเลย แล้วก็การพักผ่อนให้พอ เพราะว่าคนเรา ถ้าเราไม่พักผ่อนให้พอ คิดว่าเรานอนแค่ 2 ชั่วโมง 3 ชั่วโมง มันก็ไม่ได้ คือนอนยังไงก็นอนให้อิ่ม แล้วก็ลึก สัก 4 -5 ชั่วโมงก็พอ อย่างผมเองผมนอนไม่เยอะนะ ถ้าผมได้นอนประมาณ 5 ชั่วโมง หรือ 4 ชั่วโมงนี่ แต่ขอให้นอนแบบลึก แล้วก็รุ่นเราหมายถึงรุ่น 60 ของผม บางครั้งเขานอนไม่หลับ ยิ่งอายุมาก ก็นอนไม่หลับ เรื่อง Sleep ก็จะเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ผมคิดว่าสำคัญ และน่าจะเป็นวิทยาศาสตร์ของการนอนด้วย ที่ให้คนไทย รู้วิธีการนอน แต่ผมสังเกตดูว่า เมื่อไรก็ตามที่ผมทุรนทุราย ผมจะใช้ธรรมะเข้าช่วย คือคิดว่า โลกเราก็เป็นอย่างนี้ เกิดมาก็จะเป็นอย่างนี้ มีปัญหาอะไรก็ปล่อยวาง ปล่อยให้จิตใจ ตอนหลัง ๆ ที่ผมเห็นคือการสวดมนต์ สวดมนต์นี่ก็มาแรง ความจริงวันก่อนที่ผมไปที่ลิเบีย  ผมก็ได้พบกับผู้นำมุสลิมหลายคน เขามักจะถามว่า  พวกเราที่เป็นพุทธ ไม่ค่อยเคร่งเรื่องการสวดมนต์ แต่บางทีเราก็มองพวกมุสลิมว่า ละหมาดเยอะแยะ วันหนึ่ง 5-6 ครั้ง 7-8 ครั้ง ความจริงแล้วผมคิดว่าเขาทำได้ดีนะ เพราะการสวดมนต์ทำให้ ผมขอเสนอเรื่องการสวดมนต์ด้วย ทำอย่างจริงจัง เราเป็นพุทธที่ไม่มีวินัย อยู่ตรงไหนก็ได้ ถ้าเป็นมุสลิมเขารุนแรงมาก ก็ฝากบรรยากาศ เมื่อกี้ก็ได้คุยกับท่านเสรีพิสุทธิ์ ก็สำหรับผมเองกับท่านก็ช่วยกันหลายเรื่อง แล้วก็บางเรื่องก็จะเล่าให้ฟังทีหลังด้วย

พิธีกร : เมื่อวานผมได้ไปร่วมกิจกรรม Kid education  ของเอ็มโพเรียม จัดร่วมกับเอเชียบุคส์ น่าสนใจเหมือนกัน เขาก็ปลูกฝังเริ่มจากเด็ก ๆ เรื่องการให้เด็กมีสติ รู้ตัวตลอดเวลาว่า ทำอะไร

ศ.ดร.จีระ : การรู้ตัวเอง จิตใจนิ่ง ผมเองกว่าจะรู้ตัวเอง ผมก็แก่พอดี เพราะว่าความเก่งหรือความฉลาดมันไม่พอ มันก็ต้องรู้ limit ของตัวเอง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้มาจากประสบการณ์ มันไม่ได้มาจากการเรียน  คือคนเรียนเก่ง แต่ว่าไม่รู้จักตัวเอง มีเยอะแยะ แล้วก็สำคัญที่สุดสำหรับทฤษฎีของผม คือนอกจากเก่งแล้วต้องยั่งยืน 20 เก่ง 30 เก่ง 40 เก่ง คือบางที พ่อแม่ เวลามองลูก จะมองลูกระยะสั้น ขอให้เขาเรียนได้ ขอให้เขาพอจะเข้ามหาวิทยาลัยได้ ขอให้เขามีงานทำได้ แต่เขาลืมไปว่า ถ้ามีงานทำได้ ก็ต้องมีความสุข ก็ต้องก้าวไปข้างหน้า ตอนลูกเขาอายุ 40 50 60 เพราะฉะนั้น เรื่องตัว S ของผมหรือ Sustainability กลายเป็นทุนที่สำคัญ เพราะว่า การลงทุนระยะสั้น เพื่อทำให้เรารอดในระยะยาวสำคัญ ทฤษฎีนี้มันก็คือ ทฤษฎีการใฝ่รู้ คือ Live-long Learning  กลายเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดของคน ถ้าเราใฝ่รู้ เรามีความรู้ทันเหตุการณ์ ทันโลก มันก็อยู่ในโลกนี้ได้ อย่างคุณจีรวัฒน์รู้ไหมว่า ตัวอย่างหนี่งที่ผมอยากเรียนท่านผู้ฟังให้ทราบ คือเวลาอยู่กับผม ผมจะยกตัวอย่าง เมื่อวันพฤหัสนี่ก็เป็นวันหยุดใช่ไหม ผมก็เอานักเรียนปริญญาโทของราชภัฏสวนสุนันทา ซึ่งหลักสูตรนี้ผมช่วยเขามา 4 ปีแล้ว ซึ่งจีรวัฒน์ คงได้ฟังอยู่แล้วว่า บางครั้งผมเล่าให้ฟัง หลักสูตรนี้เกิดมาจาก คุณอัษฎางค์ ปาณิกบุตร ท่านไปช่วยอยู่ แล้วคุณรู้ไหมว่า ราชภัฏ ข้อดีเขาก็คือ ถึงเขาจะสู้จุฬา ธรรมศาสตร์ ไม่ได้ แต่ความจงรักภักดี ความกตัญญูของเขาต่อครูนี่สูงนะ เพราะฉะนั้นสิ่งหนึ่งที่เป็นจุดอ่อนของเขาคือ โลกทัศน์เขาไม่กว้าง ผมก็เอาเขาขึ้นรถบัสไป ไปที่พัทยา จุดแรกผมพาเขาไปในร้านหนังสือ เหมือนครั้งหนึ่งที่ผมเคยเอาเด็กไปดูที่ kino ของคุณ คือเวลาที่เขาเข้าไปในร้านหนังสืออย่างบุคจี ท่านผู้ฟังที่ยังไม่เคยไปดู ร้านบุคสจี จะเห็นหนังสือพิมพ์ Magazine แล้วก็หนังสือฝรั่ง ร้านเขาเป็นร้านหนังสือฝรั่ง แล้วเขาก็ได้เห็น หนังสือ Times Magazine , Newsweek เดี๋ยวนี้มันจะ print ออกมาแบบคอมพิวเตอร์ จะเป็น London Times หรือจะเป็นอะไรนี่ จะเป็น ภาษาเยอรมัน เขาก็เข้าไปดูในร้าน เขาตกใจเลยนะ คนไทยไม่เคยรู้ว่าการอ่านหนังสือนี่เป็นอย่างไร เพราะฉะนั้นการที่เราได้ติดตามความรู้ที่ทันสมัย มันไม่ได้มาจากหนังสือพิมพ์ไทยเท่านั้น มันไม่ได้มาจากโทรทัศน์ มันมาจากการที่เรา แน่นอน ถ้าเราใช้ Internet เป็นก็คงช่วยได้เยอะ แต่ถ้าสิทธิ์ของคนไทยที่จะติดตามกิจกรรมต่าง ๆ ทาง Internet ผมว่ามีไม่ถึง 10 % มั้ง เพราะฉะนั้นก็เวลาให้เขาเห็นร้านหนังสือเหล่านี้ เขาก็จะไปหยิบเอาหนังสือเล่มหนึ่ง ท่านผู้ฟัง เผอิญผมให้เขาไปอ่านเมื่ออาทิตย์ที่แล้วนี่เอง เป็นหนังสือของลูกของ Stephen Covey เล่มใหม่สุดเลยนะ คุณรู้ไหม เขาใช้คำว่า The speed of trust เล่มนี้จีรวัฒน์ ก็น่าจะไปอ่านดู เพราะตอนหลัง ๆ เวลาคนพูดกันถึงภาวะผู้นำ เขายังไม่เน้นถึงเฉพาะคนนี้มีตำแหน่งอะไร คนนี้เก่งอะไร เขาเน้นถึงสิ่งที่เราสะสมบารมีมา ถึงว่าไม่มีตำแหน่ง แต่เราทำงานเพื่อส่วนรวม ทำความดี เก่งด้วย แก้ปัญหาด้วย และสะสมมานาน ความชื่นชมของคนในองค์กรต่อคนเหล่านั้นจะมีสูงขึ้น แกมาบอกว่า พอแกไปเจอหนังสือเล่มนี้ อํอ อาจารย์ซื้อมาจากแถวนี้เอง คือหนังสือของเราเป็นหนังสือที่ทันสมัย นิดหนี่งครับก่อนจบ ท่านผู้ฟังที่ติดตามเวลาผมจัดสัมมนาในโรงแรม ผมก็จะเปลี่ยนห้องโรงแรมเป็นห้องสมุด เป็นบรรยากาศการเรียน ผมก็จะเอาหนังสือของผมเอง จะมี Magazine ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย ไปตั้งไว้ ผมเรียกเป็น Mobile Library  มันก็แปลกนะ ปรากฏว่าหลายคนก็ตกใจว่า อ๋อเดี๋ยวนี้เขามีหนังสือดี ๆ กันหรือ คือ วิธีการสอนคนนี่ บางทีต้องให้เขาเห็นของจริง ก็เลยได้เห็นว่าคนไทยถ้ามีโอกาสแล้ว น่าจะ share สิ่งเหล่านี้ให้เขาด้วย  

พิธีกร : กลับมาพบกันอีกครั้งในช่วงที่สองของรายการ Human Talk กับศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์และผม จีรวัฒน์ ตั้งบวรพิเชฐ

ศ.ดร.จีระ : สำหรับท่านที่เพิ่งฟัง วันนี้ก็มีบรรยากาศของการออกกำลังกาย เพราะว่าผมมาร่วมเปิดงานทวีธาภิเษก 113 ปี วิ่งมาราธอน ซึ่งประมาณเดือนพฤษภาคม เทพศิรินทร์ก็จะมีด้วย เพราะว่าเราไปขอความช่วยเหลือจากพี่อุดมศิลป์ ท่านเป็นรองประธาน สสส. อยู่ ตอนนี้ทางสมาคมเราก็ต้องทำกิจกรรมเพื่อสุขภาพด้วย เมื่อกี้ท่านเสรีพิสุทธิ์ ก็เลยมาเปิด ผมในฐานะเทพศิรินทร์ ก็มาร่วมกับทวีธาภิเษก ความจริง ทวีธาภิเษกช่วงนี้ดังนะ จีรวัฒน์ นอกจากท่านเสรีแล้ว โรงเรียนนี้เคยผลิตนายกอยู่ 2 คนนะ จีรวัฒน์ลองคิด ลองทายซิว่าเป็นใคร   

พิธีกร : ตอนนี้ยังนึกไม่ออกครับ

ศ.ดร.จีระ : เหมือนเชียร์ทวีธาภิเษกอยู่ ท่านแรกคือ ท่านสัญญา ธรรมศักดิ์ ผมต้องเรียนท่านผู้ฟังว่า ผมโตมาที่ธรรมศาสตร์นี่ เหมือนเป็นลูกท่านเลย ท่านเป็นนักกฎหมาย ที่มาเป็นอธิการบดีและท่านก็รู้จักคุณพ่อผมดี และอีกตนหนึ่งคือ สุจินดา คราประยูร ไม่ใช่เล็ก ๆ นะ แล้วคุณลองนึกดู บางทีเรานึกว่า สวนกุหลาบ เทพศิรินทร์ อัสสัม อะไรนี่ จริง ๆ แล้ว ทวีธาภิเษกเขาก็เป็นโรงเรียนที่น่าสนใจนะ เป็นโรงเรียนที่อยู่มาแล้ว 113 ปี เขารักกันนะ อย่างวันนี้อธิบดีกรมปกครองท่านปัจจุบันก็ศิษย์เก่าที่นี่ แล้วก็เป็นตำรวจเยอะนะที่นี่ ก็เลยขอเล่าบรรยากาศ และเมื่อกี้เราก็เลยพูดกันถึงเรื่อง Health ขึ้นมา เรื่องสุขภาพอนามัย  ท่านผู้ฟังก็ ถ้าบ้าทำงานก็อย่าลืมเรื่องสุขภาพ ผมรับประกันได้เลย   ถ้าเป็นการลงทุนเรื่องสุขภาพ คุ้มค่ามหาศาลเลย  ถ้ามีสุขภาพแล้วมีความรู้ เกิดมูลค่าเพิ่มแน่นอน แต่ถ้ามีความรู้แล้ว สุขภาพไม่ดี เขามีทฤษฎีใหม่ เรียกว่า Get thing done ทำให้สำเร็จ วันก่อนมีหนังสือเล่มหนึ่ง มี Head มี Heart แล้วก็มี Guts , Guts ในที่นี้ก็คือ ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ต้องมุ่งมั่นเอาชนะให้ได้ คนไทยนี่บางทีมีทุกอย่างเลย แต่ว่าขาดความมุ่งมั่น ขาดเกาะติด ขาดการติดตาม ผมขอเล่าให้ฟังนิดหนึ่ง อย่างสด ๆ ร้อน ๆ เลย ใน website ของแนวหน้าซึ่งมีบทความผมลง มีผู้หญิงคนหนึ่งเขียนมาถึงผม เขาเขียนดีมากเลย อยากรู้ว่า อาจารย์พูดเรื่อง 5 H 5 K 8 K หนูไม่ได้อ่านมติชน อ่านบทความของอาจารย์อะไรนี่ มันแปลว่าอะไรอย่างนี้ คือบางทีเราเขียนก็เขียนเพราะว่าตัวเราเองรู้ แต่ท่านผู้ฟังไม่ค่อยรู้ มันก็ทำให้เป็นความสำเร็จอย่างหนึ่งว่า Feedback นี่สำคัญ สำหรับท่านผู้นี้ ผมก็จะตอบท่านในหนังสือพิมพ์ผมคราวหน้า คือ Guts นี่ก็คือว่า ทำทุกอย่าง ถ้ามีอุปสรรค  ผมว่า Guts ส่วนหนึ่งมาจาก Feedback ของลูกค้า อย่างคุณจีรวัฒน์อยู่ที่ Emporium นี่ คุณเก่งให้ตาย คุณทำอะไรไป คุณไม่มี Reaction  จากลูกค้า อย่างผมโชคดี ผมทำอะไรผมใช้ระบบ เขาเรียกอะไรนะ ต้องรับฟังความคิดเห็นของลูกค้าอยู่เสมอ (Two way communication) ผมว่าการเรียนหนังสือของคนรุ่นใหม่ในยุคผม ผมต้องเรียนจากลูกศิษย์ ผมไม่มีวันหาความรู้ด้วยตัวเอง ฉะนั้น Guts ส่วนหนึ่งน่าจะคือ เวลามีอุปสรรคแล้วต้องเอาชนะมัน ต้องแก้ปัญหา ต้องทำให้ครบ จีรวัฒน์ คือคนไทยหยิบหย่ง ไม่เอาจริง แล้วก็เวลาเราเรียนหนังสือ เราอาจจะเรียนเก่งใช่ไหม แต่พอเจอปัญหาในองค์กร ปัญหาการขัดแย้ง ปัญหาการอิจฉาริษยากัน ปัญหาบัตรสนเท่ห์ อะไรอย่างนี้ เขาเรียกอะไร ป็อกใช่ไหม   กีฬากับสุขภาพ ผมคิดว่ามันช่วยทำให้ Guts เขาเรียกอะไร ความอดทน ความอดกลั้น ความสามารถในการเอาชนะอุปสรรคนี่ คือผมเองผมผ่านมาเยอะ ฉะนั้นก็ตอนนี้ก็เลยคิดว่าทฤษฎี Guts ของเขาน่าจะเป็นทฤษฎีแบบ Jack Welch ก็คือ Execution ให้ได้ คืออันนี้ก็เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ในการทำงาน ผมถึงบอกพ่อแม่บางคน โอ๋ลูกซะจนเกินไป เลี้ยงอย่างกะไข่ในหิน พอเขาออกไปสู่โลกภายนอกจริง ๆ เขาไม่ประสบความสำเร็จ อย่างในญี่ปุ่นวันนี้ก็มีคนฆ่าตัวตายเยอะแยะ เพราะโลกของการทำงาน เป็นโลกที่ทารุณมากนะครับ  ท่านผู้ฟัง มันยาก ยิ่งมันจะยากต่อไปเรื่อย ๆ  ฉะนั้นมี Head มีทุนทางปัญญา เราก็พูดเยอะแล้วใช่ไหม จีรวัฒน์ มีคุณธรรม จริยธรรม ก็พูดเยอะแล้ว แต่ Guts นี่ บางทีไม่ค่อยได้พูดกัน แล้วบางทีก็ไม่รู้จะสอนยังไง เพราะครูมัธยมของเราบางคนก็รู้แต่วิชาการ แต่ไม่รู้ในภาคปฏิบัติ อย่างเทพศิรินทร์ของเรา เราทำได้ดี เพราะว่าเรามีเชียร์กับลูกเสือ การเชียร์นี่สำคัญมากเลย เราเป็นโรงเรียนที่เก่งมากเรื่องเชียร์  และเรื่องลูกเสือของเราก็สุดยอดเลย เพราะฉะนั้นเด็กรุ่นใหม่ อย่าบ้า อย่าบ้า คือบ้าเรียนก็ OK ไม่ได้ว่า แต่ว่าจะต้องเป็นคนที่มีความสามารถในทุก ๆ เรื่อง ก็คิดว่าเรื่อง Health ก็เป็นเรื่องหนึ่งที่เราจะให้ความสนใจ แล้วก็พี่อุดมศิลป์ ซึ่งก็เป็นศิษย์เก่าเทพศิรินทร์ ท่านก็ดูแลกองทุนเยอะเลย ท่านดูแลอยู่เยอะ ท่านก็เป็นสมาชิกของ 96.5 ด้วยนะ จีรวัฒน์ พี่อุดมศิลป์ท่านพูดเรื่อง classical music หลายคนก็คง พูดถึงรายการ 96.5 อีกอันหนึ่ง ซึ่งผมแอบไปฟังมาเมื่อคืนวันเสาร์ก็คือ รายการของคุณชวรงค์ กับคุณประกาศิต ซึ่งจีรวัฒน์ถ้ามีเวลาก็ฟัง พูดถึง เขาเรียกอะไรนะ กระทู้สดในวิทยุ และล่าสุดเขาก็พูดกัน เชิญคุณสุริยะใสมา พูดถึงเรื่องการปลดคุณสุนัย ซึ่งเป็นวิทยุที่กล้าหาญมาก เพราะตอนนี้หลาย ๆ คน ก็คงวิตกใช่ไหมว่า การเมืองจะเป็นอย่างไร จะกล้าพูดไหม จะมีการจัดการสื่อไหม อะไรนี่ สองท่านนี่ก็โป๊ะเชะเลย เมื่อคืนนี้ก็อยากชมเชยว่า วิทยุเราก็ต้องกล้าพูด แล้วเราก็ต้องเป็นกลาง คือกล้าแต่เป็นกลาง ผมเองผมไม่มีปัญหากับใคร ถ้าใครเขาไม่เห็นกับแนวคิดผม ผมก็ขออภัยด้วย แต่ว่าผมจะพูดความจริง ผมจะไม่ Bias

พิธีกร : เมื่อต้นรายการผมได้เกริ่นถึงบทความในหนังสือพิมพ์แนวหน้าฉบับเมื่อวานนี้ครับ อาจารย์ครับ ที่อาจารย์พูดถึง ขอพูดเรื่องทุนมนุษย์อีกครั้ง เกริ่นไปคร่าว ๆ เรื่อง 8 K 8 H เอ๊ะ มี 8 K แล้วมี 8 H ด้วย

ศ.ดร.จีระ : คือเผอิญคุณดีพัก เจน แกเป็นนักการตลาด เป็นคณบดีของ North Weston จีรวัฒน์ก็คงรู้ที่ศศินทร์ แกก็มาที่เมืองไทยบ่อย ๆ แล้ววันนั้น แกพูดมาประมาณเดือนหนึ่งแล้ว หนังสือพิมพ์มติชนก็มาลงว่า นักคิดท่านนี้ น่าสนใจ ผมก็เลยชมเชยเขาไปว่า มีนักการตลาดแต่วิเคราะห์เรื่องทุนมนุษย์ อย่างเขามีทฤษฎีอันแรกเลย ผมชอบเขานะ เขาเรียกว่า 5 P แต่ผมจำในบทความได้แค่ 4 P เขาบอกว่า อันแรกคือ People มองคน P ที่สอง อันนี้ดีมากเลย เขาเรียก Potentiality แกบอกว่า People ต้องมีศักยภาพ ต้องใช้ให้เต็มที่ แล้วอันที่สาม ใช้ในทางธุรกิจเลย ต้องมี Profitability อย่างคุณจีรวัฒน์อยู่ที่ Emporium เขาต้องไล่คุณออกนะ ถ้าคุณไม่มี profit และสุดท้าย เขาใช้คำว่า Prosperity   Prosperity ในที่นี้ พูดเหมือนพระเจ้าอยู่หัว คือมีความสุข มีความรุ่งเรือง แต่มีความสมดุลในชีวิต Prosperity กับ Profitability นี่มันคนละตัว อันนี้ผมก็ชมเขา ทีนี้นักข่าวก็พูดต่อไปว่า เขามีทฤษฎี 5 H's ซึ่งท่านผู้ฟังลองฟังดูนะครับ 5 H's ของเขา ซึ่งในหนังสือพิมพ์ Mention ไปแค่ 4 อัน อันแรกก็ Harmony สองก็คือ Head อันที่สามคือ Health และอันสุดท้ายก็คือ Hand คือเผอิญไปตรงกับคุณหญิงทิพาวดี ซึ่งท่านพูดเรื่อง 8 H's มา จีรวัฒน์ก็คงทราบเรื่องนี้มาแล้ว ทฤษฎีของคุณหญิงทิพาวดี ผมก็เลยถามเอ๊ะ คุณเจนนี่แกไปลอกมาจากคุณหญิงหรือเปล่า ก็ถามมาเฉย ๆ เผอิญในหนังสือพิมพ์เขาก็ไปอธิบายคำว่า Hand ผิด คือ Hand นี่ตามหลักแล้วมันควรจะแปลว่า ทำอะไรทำจริง เป็นมืออาชีพ เขาไปอธิบาย Hand ว่า คนไทยโอบอ้อมอารี มีวัฒนธรรม ความจริงแล้ว อันนั้นคุณหญิงทิพาวดี  เขาเรียกว่า Heritage อย่าง Emporium ของคุณนี่ โอบอ้อมอารี มาจากการฝึกคนไทยให้มี Heritage เพราะฉะนั้น ผมก็เลยบอกในบทความนี้ ที่พูดอีกครั้งหนึ่งไม่ใช่เรื่องใหม่อะไร ชื่นชมที่ North Weston มีนายเจน คือคนอินเดียมันเก่งอยู่แล้ว ก็มาพูดเรื่องคน ผมก็ไม่ว่า แต่ผมก็จะเตือนเขาเรื่อง ทุนมนุษย์ มันจะต้อง Reflect ถึงวัฒนธรรมของแต่ละประเทศ เพราะการมีทุนอย่างเดียวมันก็ไม่พอ คุณก็รู้อยู่แล้ว มีเงินอย่างเดียวก็ไม่พอ ก็ต้องใช้ทุนให้ไปสู่ความเป็นเลิศ ก็ต้องมีการพูดถึงวัฒนธรรมองค์กร คือผมบอกว่า คนไทย เวลาฝรั่งพูด เราก็ชื่นชมเขา ความจริง ฝรั่งคนนี้ก็ต้องบวกแขกด้วยเพราะเป็นแขก ความจริงผมก็ชื่นชมเขา แต่ว่าผมเชื่อว่า ในโลกนี้มีคนพูดเรื่องทุนมนุษย์อีกเยอะ รวมทั้งคุณหญิงทิพาวดี แล้วก็จีระ หงส์ลดารมภ์ ก็เลยเล่าให้เขาฟัง คือนักข่าวบางคน เขาอาจจะเขียนดีแล้ว ลอกเขามาดีแล้ว แต่เขาลอกผิด เขาใช้คำว่า Hand แปลว่า โอบอ้อมอารี ความจริงแล้ว ผมไม่ทราบว่าคุณเจน ขูดถึงคำว่า Heritage หรือเปล่า แต่คุณหญิงทิพาวดีในฐานะที่ท่านเป็นนักวัฒนธรรมศาสตร์ ท่านก็มองอะไรที่ผมเรียกว่า Intangible ท่านมองอะไรที่เป็นเรื่องของวัฒนธรรมก็เลยเล่าให้ฟังไป ความจริงมีคนหนึ่งเขียนกลับมาบอกว่า อาจารย์ก็พูดดี แต่ดูเหมือนว่าสับสน เพราะว่าผมอาจจะพูดเกี่ยวกับหลาย ๆ เรื่อง เพราะฉะนั้นคนที่เป็นลูกศิษย์ผมก็จะเข้าใจ เผอิญคุณหญิงทิพาวดีท่านมีทฤษฎี 8 H's มันไม่ได้มีอย่างเดียว มันเป็นหนังสือออกมาแล้ว แล้วก็ไปเปรียบเทียบกับ 8 K's จีรวัฒน์ก็เรียน 8 K's มาแล้ว ของผมก็คือทุนมนุษย์ ทุนทางปัญญา ทุนจริยธรรม ของผม K ในที่นี้ก็มาจากคำว่าทุน ก็เลยเล่าให้เขาฟัง แต่ว่า ท่านผู้ฟังครับเวลาที่เหลืออยู่ ผมก็จะขอเวลากับท่านผู้ฟัง แล้วก็คุณจีรวัฒน์ช่วยกันวิเคราะห์นโยบายของรัฐบาล เวลาเหลือเท่าไร 10 นาทีได้ไหม    

พิธีกร : ประมาณ 10 นาที

 

คำสำคัญ (Tags): #human talk
หมายเลขบันทึก: 168079เขียนเมื่อ 29 กุมภาพันธ์ 2008 02:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ต่อ ....................

ศ.ดร.จีระ : เพราะว่าผมคิดว่าการมีสภาครั้งนี้ การเริ่มต้นของสภาผู้แทนครั้งนี้  คุณจีรวัฒน์ลองสังเกตดู ถ้าเทียบกับยุคคุณทักษิณ ผมว่าสภาชุดนี้ภายใต้การนำของคุณสมัคร ก็เป็นสภาที่ค่อนข้างจะมีเกียรตินะ คุณสมัครท่านก็จะไปฟัง ท่านเคยเป็นอะไรนะ ผู้คร่ำหวอดทางสภาผู้แทน ท่านก็จะยกย่องสภา ผมคิดว่าเป็นครั้งแรกที่ผมรู้สึกว่านายกรัฐมนตรีกับรัฐมนตรีก็ให้น้ำหนักกับการคุยกันในสภาค่อนข้างจะมาก และประเด็นที่สอง ผมขอชมเชย ผมไม่ได้ฟังทุกครั้งนะ จีรวัฒน์ ผมก็ไม่ทราบว่าจีรวัฒน์ฟังแค่ไหน แต่ผมฟังทุกครั้งโดยมากผมจะฟังทางวิทยุ ในการประชุมครั้งนี้มีอยู่ด้วยกัน 3 ฝ่าย ใช่ไหม คือฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน และก็มีสนช.ด้วย คือวุฒิที่ยังไม่ได้เลือก ได้รับเลือกมาสมัยเผด็จการ แต่สนช.คุณจีรวัฒน์รู้ไหม ถึงเขาจะมาจากเผด็จการ แต่ข้อดีของเขาคือ มีความรู้ เพราะฉะนั้นคนที่ได้รับเลือกจาก สนช.ไม่ได้รับเลือกตั้งก็จริง เขาแต่งตั้งก็จริง แต่เขามีความรู้ เพราะฉะนั้นบางเรื่องที่เขาพูด เขาเอา Database เอาไอ้ฐานสังคมฐานความรู้มาเล่าให้ฟัง ผมว่า สส. บางคนฟังแล้วเขาก็ได้ประโยชน์นะ ก็จะติงไว้เรื่องเดียวก็คือ อาจารย์วุฒิพงษ์ ซึ่งจีรวัฒน์คงไม่ได้ติดตามเรื่องนี้ ท่านเป็นนักวิชาการสายพันธมิตร ท่านลุกขึ้นไปพูด ท่านก็จะไปมอง สส. เหมือนกับเขาติเรือทั้งโกลน หมายถึงเขาห่วยหมด คือผมว่าการ อย่างผมเอง ผมอยู่กับ สส. ได้ ผมอยู่กับผู้นำท้องถิ่นได้ คือบางเรื่องดีเราก็ต้องยกย่องเขา ความจริงบางเรื่องเขาเก่งกว่าผมนะ สส.นี่ เขาลงไปถึงฐานประชาชน เขามีข้อมูล เขาเข้าใจความต้องการของประชาชน  คุณอภิสิทธิ์ก็ลุกขึ้นมาโต้ตอบคุณวุฒิพงษ์ด้วย  คือจะให้เห็นว่า การที่เราเป็นคนอยู่ข้างนอก เป็นคนมีความรู้ไปได้ ดร. มา เรียนที่หนึ่งประเทศไทย แล้วดูถูกคนอื่นเขานี่ เขาไม่ทำกันแล้ว จีรวัฒน์ เข้าใจไหม เหมือนกับวิทยุของเรา เราจะไม่ดูถูกใคร ฉะนั้นการที่ท่านวุฒิพงษ์ ท่านลุกขึ้นมาพูด ตัวท่านเองก็คิดว่าท่านถูก ท่านก็รู้ว่า สส. บางกลุ่มใช้ไม่ได้ ก็เราก็รู้กัน ใช่ไหม แต่คำพูด จีรวัฒน์ ผมคิดว่าคำพูด ยุคต่อไปต้องเป็นคำพูดที่ไม่เชือดเฉือนกัน ผมก็เลยมีความมั่นใจ ซึ่งผมจะออกวิทยุไปแล้ว ผมเขียนไปแล้ว ผมอยากให้สภาผู้แทนราษฎร สำหรับท่านที่เป็น สส. ฟังนะครับ รวมทั้ง สว.ด้วย อยากให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ เท่านั้น คือที่เป็นอยู่ขณะนี้ มันไม่เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ คือ ลักษณะมีข้อมูลเยอะ แต่มันไม่ได้เอาข้อมูลเหล่านั้นไปแก้ปัญหาอย่างแท้จริง คือมันไปเรื่องของการเมือง เป็นเรื่องของเอาชนะคะคาน ล้างค้นล้างแค้นกัน ผมว่าต่อไปนี้ อย่าง Library of congress   จีรวัฒน์ลองคิดดูที่สภาผู้แทนในอเมริกา กลายเป็นห้องสมุดที่ยิ่งใหญ่ที่สุด มีใครบ้างวันนี้จะบอกว่า ฉันจะไปวิจัยที่สภาผู้แทนราษฎร ใช่ไหม แล้วก็สถาบันพระปกเกล้าก็ดี อะไรก็ดี ตั้งขึ้นมา ผมว่ามันไม่ค่อยได้ผล เพราะว่าเป็นการไปเน้นวิชาการทางด้านการเมืองมากเกินไป แล้วก็คนไปเรียน ส่วนมากก็ไปเรียนเพราะว่าได้รับเกียรติ เป็นสมาชิกของปกเกล้า ความจริงแล้วสถาบันพระปกเกล้า น่าจะเป็นการสร้างสังคมการเรียนรู้ให้ สส. กับประชาชนได้มาแบ่งปันความคิดเห็นกัน ฉะนั้นใจผมในยุคของคุณสมัครนี่ ของคุณยงยุทธนี่ เรื่องอื่นผมไม่ทราบนะ จะเป็นครั้งแรกที่ผมคิดว่าเราจะได้ความรู้จากสภา แล้วความรู้เหล่านี้มันดีนะ ขณะผมฟังคราวนี้ มันเป็นบรรยากาศซึ่งโต้ตอบกัน คนที่เขามีนโยบาย คนที่เขาโต้ตอบกัน บางคนเขาอยู่ในพื้นที่ใช่ไหม เขาจะรู้มากกว่าเรา จีรวัฒน์ลองฟังดูสิ ผมคิดว่า หลายคนถ้าฟังรายการครั้งนี้เพื่อความมัน โปรดฟังอีกครั้งหนึ่งนะครับ ผมได้ความรู้มาก ๆ เลย รายการครั้งนี้ ผมก็เลยคิดว่าเป็นครั้งแรกที่ผมรู้สึกมีความหวังว่า ตราบใดก็ตามมีคุณสมัครเป็นนายกนี่ เรื่องอื่นผมไม่ทราบนะ แต่ผมคิดว่า ผมเชื่อได้ว่า ให้คุณค่ากับการ Debate กันในทางสภา อย่าง 6 ตุลา เขาพูดกันเยอะ วันอังคารนี่เขาจะกระทู้แล้ว และผมเชื่อว่าคุณสมัคร แกไปตอบ ถ้าเป็นยุคคุณทักษิณแกก็ไม่ไป ผมเชื่อว่าในฐานะที่เขาเป็นนักธุรกิจมาก่อน เขาก็มองสภาไม่ออก เพราะฉะนั้นวันนี้ผมคิดว่าเราได้ยกระดับการ  Debate กันในสภา และผมอยากให้มันเป็นแหล่งความรู้ของการเมือง ใช่ไหม และการเมืองก็ไปกระทบประชาชนค่อนข้างจะมากด้วย ผมมีความมั่นใจว่า ผมก็รู้จัก สส.ดีนะ ผมคิดว่าถ้าเราสร้างบรรยากาศให้เขาใฝ่รู้ แม้กระทั่งหลายคนก็ทราบดี กรรมาธิการที่ไปนอก ก็ไม่ได้หาความรู้จริง แต่ว่าอยู่ที่วิธีการมากกว่า อยู่ที่ใครจะนำไป จะได้ความรู้จริง ๆ ไหม ความจริงความรู้วันนี้มีเสน่ห์จะตาย อยู่ที่สร้างบรรยากาศให้เขาสนใจมากกว่า เพราะฉะนั้นก็คิดว่า สาระบางอย่างที่ได้พูดกันยังมีมากมาย ผมก็ขอสรุปในบทความผม ผมอยากเห็น แล้วก็ชื่นชมโครงการเรื่องชลประทาน ผันน้ำจากแม่น้ำโขง ผมคิดไว้นานแล้วเรื่องนี้ว่า เอ๊ะทำไมภาคอิสานนี่ สมัยคุณทักษิณอยู่ตั้ง 6 - 7 ปี ไม่เห็นทำเรื่องชลประทาน ระบบที่เป็นระบบใหญ่เลย แล้วก็มีท่อส่งผ่านไปยังที่ต่าง ๆ เพราะคุณรู้ไหมที่ขอนแก่นก็ดี ซึ่งผมเคยเป็นกรรมการสภาอยู่ ที่มหาสารคามก็ดี หรือที่มหาวิทยาลัยอุบล เขามีวิศวกรรมแหล่งน้ำติดอันดับโลกเต็มเลย เขานี่เก่งมากเลยเรื่องภาคเกษตรกับเรื่องชลประทาน เขาพร้อมจะทำ แต่นักการเมืองนี่ไม่เอาจริง ชอบไปหลอกเขา ให้โคไปอีกล้านตัว ให้คนกู้ แล้วกู้ไปสองหมื่น รวมรวมแล้วก็เจ็ดแปดหมื่นล้าน เอามาทำชลประทาน อีกสักสองหลายแสนล้านนี่ก็คุ้มแล้ว และระหว่างที่ยังไม่ทำ คุณจะให้ประชานิยมไปผมก็ไม่ว่า แต่จีรวัฒน์ลองคิดดู ให้ประชานิยมไปเรื่อย ๆ แล้วไม่มีโครงการผันน้ำขึ้นมา แล้วเขาจะไปพึ่งใคร ใช่ไหม อันนี้ผมคิดว่าคุณสมัคร ท่านต้องเรียกว่า ท่านเป็นคนที่มองเรื่อง Infrastructure ได้ดี แล้วก็ผมขอชื่นชมท่าน ส่วนอีกเรื่องหนึ่งที่ผมฝากไว้ก็คือ เรื่องภาคใต้  ภาคใต้ก็ขออย่าไปรื้อฟื้นอะไรใหม่ อย่ามีนโยบายใหม่ ไปดูเรื่องการศึกษา ไปดูเรื่องการมีงานทำ ไปดูเรื่องให้โอกาสคนพุทธ คนมุสลิม เขามีโอกาสทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง แล้วทำอย่างต่อเนื่อง ศอบต.ของท่านพระนาย พัฒนาจิตวิญญาณของคนเหล่านั้น ผมคิดว่าน่าจะไปได้ ส่วนเรื่องการศึกษา แน่นอนต้องเน้นจากปริมาณมาสู่คุณภาพ ไม่ควรจะเน้นเฉพาะให้ทุน ให้ทุน ควรจะเน้นเรื่องการบริหารจัดการของโรงเรียน เน้นเรื่องการพัฒนาครูอย่างจริงจัง ลดเรื่องหนี้ครูอย่างจริงจัง แล้วสุดท้ายคือเรื่องศักยภาพการแข่งขัน ก็จะกลับมาประเด็นทุนมนุษย์ ศักยภาพการแข่งขันยุคใหม่ ไม่ว่าจะเป็น SME หรือภาคเกษตร หรือราชการ อยู่ที่การลงทุนในการสร้างศักยภาพของมนุษย์ในองค์กรเหล่านั้น แล้วก็ต้องทำจริง ๆ ถ้าทำจริงได้ ผมก็ขอฝากเรื่องนี้ไว้ให้ท่านรองนายกฯสุวิทย์ด้วย เพราะท่านจะดูแลเรื่องศักยภาพการแข่งขันในภาคอุตสาหกรรม และก็ต้องฝากให้ท่านดูในภาคบริการด้วย ไม่ว่าเรื่อง Health care เรื่องการท่องเที่ยว การแข่งขันของเรานี่ จีรวัฒน์ เราไม่ได้เก่ง อย่างที่เราคิดนะ คือเรามีโอกาสเยอะ แต่เราไม่ได้แข่งขันกับเขาอย่างแท้จริง และวันหนึ่งเราก็จะอ่อนแอไปเรื่อย ๆ ก็เลยฝากประเด็นเหล่านี้ไว้

พิธีกร : ครับขอบคุณครับอาจารย์ครับ ก็ได้เนื้อหาที่น่าสนใจสำหรับสัปดาห์นี้ ในสัปดาห์หน้าก็คงพูดคุยอย่างต่อเนื่องในเรื่องของทุนมนุษย์ แล้วก็เรื่องของการติดตามนโยบายต่าง ๆ ของรัฐบาล ซึ่งอาจารย์จะวิเคราะห์ในแง่มุมที่เป็นประโยชน์ต่อท่านผู้ฟัง ในหลาย ๆ ด้านด้วยกัน ในวันนี้ก็ต้องฝากไว้สำหรับบทความในหนังสือพิมพ์แนวหน้าฉบับเมื่อวานนี้ของอาจารย์นะครับ น่าสนใจมาก ๆ แล้วมาพูดคุยกันต่อในสัปดาห์หน้า วันนี้ผมจีรวัฒน์ ตั้งบวรพิเชฐ  ขอลาไปก่อน สวัสดีครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท