บันทึกฉบับที่ 6


นวัตกรรมเพื่อนการพัฒนาการศึกษา

สารสนเทศที่จำเป็นต่อการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาที่ประกอบด้วย ( 1 ) ระบบสารสนเทศพื้นฐานของสถานศึกษา  ( 2) ระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับผู้เรียน ( 3 ) ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิชาการ

( 4 ) ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ ขอให้ท่านเสนอตัวอย่างรายงานในระบบสารสนเทศเหล่านี้มาอย่างละหนึ่งรายงาน พร้อมทั้งอธิบายว่ารายงานเหล่านี้ต้องการข้อมูลอะไรบ้าง และจำนำไปใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาได้อย่างไร

สารสนเทศที่จำเป็นต่อการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาสารสนเทศ

สารสนเทศที่จำเป็นต่อการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา  ประกอบด้วย

( 1) ระบบสารสนเทศพื้นฐานของสถานศึกษา

(2) ระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับผู้เรียน

(3)ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิชาการ

(4) ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ

ตัวอย่างรายงานระบบสารสนเทศเพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา

1) ระบบสารสนเทศพื้นฐานของสถานศึกษา

                1.1  ข้อมูลทั่วไปของสถานศึกษา

                1.2  สภาพการบริหารและการจัดการตามโครงสร้างการบริหารและภารกิจ

                1.3  ศักยภาพของสถานศึกษา

                1.4 ความต้องการของสถานศึกษา

                1.5 แนวโน้มการพัฒนาท้องถิ่น

                1.6 แนวทางการจัดการศึกษา

                โรงเรียนบ้านห้วยปริก ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ตำบลห้วยปริก  อำเภอฉวาง   จังหวัดนครศรีธรรมราช

ข้อมูลนักเรียน จำนวนนักเรียนทั้งหมด    185   คน  สารสนเทศตามความต้องการในการพัฒนา จากการวิเคราะห์ข้อมูลความต้องการในการพัฒนา ครู  บุคลากร  นักเรียน  ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนและผู้เกี่ยวข้อง โดยการใช้แบบทดสอบถามความต้องการในการพัฒนาโรงเรียน การพัฒนาระบบบริหารและการจัดการ

                อันดับ 1 โรงเรียนจัดวางระบบการบริหารจัดการที่ดี บรรยากาศและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนกระบวนการปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาโรงเรียนบ่งบอกถึงการกระจายอำนาจและการมีส่วนร่วมรับผิดชอบคล่องตัว ตลอดจนวัฒนธรรมองค์กรที่ผนึกกำลังสร้างสรรค์แบบกัลยาณมิตร

                อันดับ 2 โรงเรียนพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้เข้มแข็งลดความเสี่ยงขจัดภัยอุปสรรคที่ก่อปัญหาให้นักเรียน  ตลอดจนการช่วยเหลือส่งเสริมนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ 

อันดับ 3 โรงเรียนมีแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการที่เกิดจากการมีส่วนร่วม และการยอมรับของผู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการพัฒนาเอกลักษณ์ตามความต้องการของชุมชนและความสอดคล้องกับเจตนารมณ์และทิศทางของโรงเรียน

2) ระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับผู้เรียน

                2.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน

                2.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน

                2.3 ผลงานและการแสดงออกของผู้เรียน

                2.4 รูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน

2.3 ผลงานและการแสดงออกของผู้เรียน โครงการการทำปุ๋ยหมักจากธรรมชาติ (โบกาฉิ)กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2550

ผู้จัดทำโครงงาน                  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

อาจารย์ที่ปรึกษา                  นายเสริม   สุขเยาว์

ความเป็นมาและความสำคัญของโครงการ

                ในปัจจุบันสภาพแวดล้อมได้ถูกทำลายโดยสารเคมีมากมายและเป็นพิษต่อร่างกายเป็นอย่างมากเกิดโรคภัยร้ายแรงเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว โครงงานการทำปุ๋ยหมักจากธรรมชาติ (โบการฉิ) จึงเกิดขึ้นเพื่อมุ่งใช้ทรัพยากรที่มีอยู่และไม่มีค่า คือมูลสัตว์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ และมีมูลค่าของผลิตภัณฑ์สมาชิกในครอบครัว สามารถช่วยเหลือกันได้เป็นอาชีพเสริมรายได้ให้กับครอบครัสและเป็นหลักเศรษฐกิจพอเพียง

วัตถุประสงค์ของการศึกษา

                1  เพื่อให้ครอบครัวมีรายได้เพิ่มขึ้น (ลดต้นทุนในการผลิต )

                2.เพื่อสร้างมูลค่าของผลผลิตจากวัสดุที่ไร้ค่า

                3. เพื่อแก้ปัญหารายได้ไม่พอกับรายจ่าย

                4. เพื่อให้สมาชิกในครอบครัวได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์สูงสุด

                5. เพื่อเป็นการพัฒนาอาชีพของคนในชุมชน

กิจกรรมการดำเนินงาน

1.       การเลือกวัตถุดิบในการทำปุ๋ยหมักธรรมชาติ

2.       ขั้นตอนการทำปุ๋ยหมักธรรมชาติ

3.       การวางแผนการจัดจำหน่าย

4.       การทำบัญชีรับ- จ่าย

ประโยชน์ที่ได้รับ

                สามารถนำความรู้ที่ได้จากการนำโครงการทำปุ๋ยหมักธรรมชาติ (โบกาฉิ ) ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน สร้างรายได้ให้กับครอบครัวและเป็นหลัก

 

2. ด้านการพัฒนาผู้เรียน

                อันดับ 1 นักเรียนทุกคนใช้ภาษาไทยในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพนักเรียนกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสมตามกาลเทศะ

                อันดับ 2  นักเรียนทุกคนอ่านและแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง นักเรียนทุกคนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ตามที่โรงเรียนกำหนด

                อันดับ 3 นักเรียนทุกคนใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้

3. ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิชาการ

                3.1  หลักสูตรและการเรียนการสอน

                3.2  การวัดและประเมินผลการเรียน

                3.3  การพัฒนากิจกรรมแนะแนว

                3.4 การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

                3.5  การวิจัยในชั้นเรียนโครงการวิจัยในชั้นเรียน

                                1 ชี่อเรื่องงานวิจัย การสร้างชุดฝึกทักษะการอ่านหนังสือไม่ออกสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านห้วยปริก

                                2  คณะผู้วิจัย ครูกลุ่มสาระภาษาไทย

3  ความสำคัญของปัญหาจากการประเมินของ  สมศ.พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจองนักเรียนต่ำและมีประสิทธิภาพด้านการอ่านของนักเรียนยังอยู่ในระดับปรับปรุง สาเหตุเนื่องจากนักเรียนอ่านหนังสือไม่ออก จึงส่งผลกระทบต่อการเรียนในรายวิชาต่างๆ ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำไปด้วย ผู้วิจัยมองเห็นความสำคัญของปัญหานี้ จึงได้จัดทำวิจัยเรื่องนี้เพื่อแก้ปัญหานักเรียนอ่านหนังสือไม่ออก โดยจัดทำชุดฝึกทักษะการอ่านหนังสือภาษาไทยของนักเรียนชันประถมศึกษาปีที่ 3

4 วัตถุประสงค์ของการวิจัย

                4.1 เพื่อสร้างแบบฝึกทักษะการอ่านหนังสือภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

                4.2 เพื่อหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาไทย ระดับชันประถมศึกษาปีที่ 3

5. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

                5.1 ได้ชุดทักษะการอ่าน    จำนวน   20  ชุด

                5.2 นักเรียนได้ชุดฝึกทักษะ สามารถอ่านหนังสือออกเพิ่มขึ้นร้อยละ  70 ของนักเรียนที่อ่านหนังสือไม่ออก หมายถึงนักเรียนที่ครูผู้สอนภาษาไทยปรับพื้นฐานระบุว่าเป็นผู้อ่านหนังสือไม่ออก

 

6.       ขอบเขตของการวิจัย  ศึกษาเฉพาะนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่อ่านหนังสือไม่ออก โรงเรียนบ้านห้วยปริก

7.       ข้อตกลงเบื้องต้น         -

8.       กรอบแนวคิดในการวิจัย

นิยามคำศัพท์

        ชุดฝึกทักษะการอ่าน หมายถึง แบบฝึกทักษะการอ่าน ที่ผู้วิจัยทำขึ้น ให้นักเรียนที่อ่านหนังสือ ใช้ฝึกการอ่าน

        นักเรียนอ่านหนังสือไม่ออก หมายถึง นักเรียนที่ครูผู้สอนภาษาไทยปรับพื้นฐานระบุว่าเป็นผู้อ่านหนังสือไม่ออก

9.       ระเบียบวิธีวิจัย วิธีการดำเนินการวิจัย

9.1    พัฒนาชุดฝึกทักษะการอ่านโดยมีขั้นตอนดังนี้

-          สร้างชุดฝึกทักษะการอ่าน

-          ตรวจสอบผล

-          ปรับปรุงจนได้แบบฝึกที่มีคุณภาพ

9.2    ประชากร คือนักเรียนที่อ่านหนังสือไม่ออกของระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านห้วยปริก

9.3    ตัวแปรที่ศึกษาค้นคว้า ตัวแปรต้น ชุดฝึกทักษะการอ่าน     ตัวแปรตาม ความสามารถในการอ่านของนักเรียน

9.4    วิธีการรวบรวมข้อมูล

-          ข้อมูลนักเรียนที่อ่านไม่ออก

-          นักเรียนที่ครูสอนปรับพื้นฐาน ป.3 ระบุว่าเป็นผู้อ่านหนังสือไม่ออก

-          ข้อมูลผลการอ่านของนักเรียน

-          แบบฝึกทักษะการอ่านของนักเรียน

9.5    เครื่องมือการวิจัย

-          แบบสัมภาษณ์สาเหตุการอ่านหนังสือไม่ออก

-          แบบสอบถามข้อมูลนักเรียน

-          แบบบันทึกผลการอ่าน

9.6    การวิเคราะห์ข้อมูล

-          หาค่าเฉลี่ยคะแนนการอ่านของนักเรียนแต่ละคน

-          หาค่าร้อยละของนักเรียนที่อ่านหนังสือออกตามเกณฑ์ที่กำหนด

 

 

9.7    การรายงานข้อมูล

-          ใช้ตาราง

-          ใช้แผนภูมิ

10. ระยะเวลาและแผนการดำเนินงาน

4. ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ

                4.1  สภาพบรรยากาศการเรียนรู้

                4.2 ทรัพยากรและสิ่งอำนวยความสะดวก

                4.3 การพัฒนาบุคลากร

                4.4 ความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษากับผู้ปกครองและชุมชนโครงการหลัก โครงการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา

                                1. สอดคล้องแผนงานหลักของโรงเรียน

                                2.  สนองยุทศาสตร์ของโรงเรียน

                                3. ลักษณะโครงการ/ กิจกรรม ต่อเนื่อง

                                4. แผนกลยุทธ์สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

                                5. สนองกลยุทธ์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช  เขต 2

                                6. สอดคล้องกับมาตรฐาน สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาด้าน

                               การเรียนการสอน

                                7. หลักการและเหตุผล

                                                การปฏิรูปการศึกษามีการพัฒนารูปแบบใหม่ๆที่ต้องให้บุคลากรต้องเรียนรู้เพื่อที่จะได้รอบรองการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจึงต้องจัดให้มีโครงการนี้เพื่อให้บุคลากรมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และนำความรู้มาใช้ปฏิบัติให้เหมาะสมและมีบุคลากรอย่างเพียงพอในหน่วยงาน จากการสำรวจความต้องการการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาอยู่ในระดับมากเพื่อให้ครูและบุคลากรในโรงเรียนได้มีความรู้ความสามารถในด้านจัดการเรียนรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับการอบรงเชิงปฏิบัติการเพื่อครูได้มีผลงานในการพัฒนาคุณภาพ มีประสิทธิภาพและได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ

                                8. วัตถุประสงค์

                                                1. เพื่อให้มีระบบการนิเทศภายใน

                                                2. เพื่อให้ครูได้รับการส่งเสริมให้มีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนรู้

                                                3. ส่งเสริมให้ครูได้พัฒนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพิ่มพูนประสบการณ์วิชาชีพ ใน

                                             รูปแบบวิธีการต่างๆ เช่นการอบรมเชิงปฏิบัติการ

                                                4. เพื่อส่งเสริมให้ครูได้ผลงานในการพัฒนาคุณภาพ ตลอดจนได้รับการยกย่องเชิด

                                              ชูเกียรติ

 

9.       เป้าหมาย

1.       ด้านปริมาณ

1.1    ครูทุกคนได้รับการประชุม ,อบรม สัมมนา

1.2    มีครูจ้างเพียงพอตามความต้องการของโรงเรียน

2.       ด้านคุณภาพ

ครูทุกคนได้รับการส่งเสริมพัฒนาในด้านการอบรมศึกษาดูงานอย่างทั่วถึงและมีอัตราส่วนครู : นักเรียนอย่างเพียงพอ

10.    ตัวชี้วัด

อัตราส่วนครู : นักเรียน , ร้อยละของครู / บุคลากรที่ได้ปฏิบัติงานตรงตามความรู้ความสามารถ

...............................................................................................................................อ้างอิง

แผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา   2550  โรงเรียนบ้านห้วยปริก

คำสำคัญ (Tags): #บริหารการศึกษา
หมายเลขบันทึก: 167953เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2008 14:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท