“ฅอ” ฅน หายไปไหน เหลือแต่ “คอ” ควาย ?


เมื่อเช้าหารือ และติดตามความก้าวหน้าโครงการสัมมนาวิชาการ "วัน ฅน คุณภาพ" 27-28 มีนา 51

กลับมากถึงบ้านว่างๆ ก็นึก ก็คิด ไว้ว่าจะหาคำตอบต่างๆนานา ว่า ทำไมไม่เขียนว่า "ฅน" ทำไมเขียน "คน" แทน

ค้นหาในอินเทอร์เน็ตก็มีหลายคำตอบ หลายสาเหตุ เช่น

  • ในสมัยจอมพลป.พิบูลสงคราม มีการเข้าเป็นพันธมิตรกับฝ่ายญี่ปุ่นในช่วง สงครามโลกครั้งที่ 2 และเนื่องจาก ทางกองทัพญี่ปุ่นมีกฏบังคับให้เด็กเรียนหนังสือ โดยจะให้ใช้ภาษาญี่ปู่นในการเรียน การสอนแทน ภาษาไทย เพราะอ้างว่า ภาษาไทยมีอักษรมากเกินไป ทำให้เรียนยาก จึงทำการสังคยานา(ก็ว่าได้) ปรับปรุงมาเป็นอักษรที่สะกดคำในปัจจุบัน แต่ยังคงตัวอักษร 44 ตัวไว้คงเดิม ภายหลังสงครามเลิก แต่ไม่ทราบเพราะเหตุใดผู้ที่เลือกใช้ ค แทน ฅ อาจเป็นเพราะไม่อยากให้ ควายมาเป็นคน แต่ลืมไปว่าคนเลยกลายเป็นควายแทน ผู้ที่เกิดก่อนสมัยสงครามอย่างคุณตา ของดิฉัน ซึ่งเสียไปแล้วในวัย 95 ปี เวลาเขียนจดหมายก็ยังใช้ ฅ ฅนแทนอยู่

  • "ฅ พยัญชนะตัวที่ห้าในพวกพยัญชนะไทย นับเป็นพวกอักษรต่ำ อ่านว่า "คอ" เรียกชื่อว่า "คอกัณฐา" หรือ "คอคน" ออกเสียงอย่างเดียวกับ คอ (คอคิด) เดิมมีที่ใช้อยู่คำหนึ่ง คือ " ฅอ" ที่หมายความว่า คอคน หรือคอสัตว์ มาบัดนี้ใช้ ค (คอคิด) หมดแล้ว เพราะฉะนั้นนับว่าไม่มีที่ใช้เลย และตัว ฅ นี้ ตั้งขึ้นในภาษาไทย ไม่มีในภาษาบาลีสันสกฤต บางท่านกล่าวว่าความประสงค์ตั้งขึ้นสำหรับใช้คำไทยที่ออกเสียง คอ ทั่วไป เช่น คำ, คน, ควบ เป็นต้น เพราะตัวคอคิดนั้นตั้งขึ้นแทนตัว ค บาลี ซึ่งมีเสียงเหมือน G ในคำ God ไม่ตรงกับเสียง ค ไทย แต่ไทยออกเสียง ค บาลีไม่ชัด กลายเป็นเสียง ค ไทยไปหมด เลยใช้ตัว คอคิด ทั้งในเสียงบาลีและเสียงไทย ตัว ฅ กัญฐานี้จึงไม่มีที่ใช้
    นับว่าหนังสือปทานุกรม ได้ให้ความหมายของ ฃ (ขวด) และ ฅ (คน) ค่อข้างชัดเจนดีมาก ข้อสำคัญก็คือบอกว่าตัว ฅ (คน) นั้นใช้หมายถึง คอของคนหรือคอของสัตว์เท่านั้น หาได้ใช้เขียนคำว่า "คน" ไม่ ส่วนพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๔๙๓ ได้ให้คำอธิบายคำว่า ฃ (ขวด) และ ฅ (คน) ไว้เพียงสั้นๆ ดังนี้ "ฃ พยัญชนะตัวที่สามนับเป็นพวกอักษรสูง แต่เดี๋ยวนี้เลิกใช้แล้ว" "ฅ พยัญชนะตัวที่ห้านับเป็นพวกอักษรต่ำ เดี๋ยวนี้เลิกใช้แล้ว" คงจะเป็นเพราะพจนานุกรม ฉบับ พ.ศ.๒๔๙๓ บอกว่า "เดี๋ยวนี้เลิกใช้แล้ว" นี้เองจึงทำให้คนเข้าใจผิดคิดว่าได้มีการประกาศเลิกใช้เป็นทางการแล้ว แม้แต่พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๒๕ ก็บอกไว้เช่นเดียวกับพจนานุกรม ฉบับ พ.ศ.๒๔๙๓ ทุกประการ สาเหตุที่ทำให้เลิกใช้ ฃ (ขวด) และ ฅ (คน) นั้น คงเนื่องมาจากพิมพ์ดีดภาษาไทยในสมัยแรก ๆ นั่นเองที่แป้นอักษรไม่มี ฃ และ ฅ เนื่องจากก้านอักษรมีไม่พอกับจำนวนสระพยัญชนะและวรรณยุกต์ในภาษาไทย จึงต้องตัดคำบางคำหรือเครื่องหมายตัวออกไปบ้าง

เป็นต้น

อ้างอิงเว็บ

http://th.answers.yahoo.com/question/index?qid=20080220031858AAGraml

แต่สำหรับผมนั้น ไม่สำคัญว่าจะเขียน  "ฅน" หรือ "คน" ถ้า "ฅน" หรือ "คน" นั้นมีคุณภาพ ก็ OK

และโดยส่วนตัว ผมชอบ "ฅ ฅน" มากกว่า "ค ควาย" จะเขียนยากหน่อย พิมพ์ยากจากแป้นพิมพ์ ซึ่งอยู่ด้านขวา คู่กับ "ฃ ฃวด" เหนือ Enter   

หมายเลขบันทึก: 167759เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2008 19:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เรียนท่าน jack ใช้ ฅ ฅน มีหยักหยัก ลอนลอน เหมือน สมอง ไงท่าน หาก สมองไม่ Gyri and Sulsi คงคิดได้ไม่ต่างกับ รูปนี้ ครับ

Sustainabledevelopment_jj8oct2007v2

เรียน ท่านอาจารย์จิตเจริญ

ขอบคุณครับภาพ

รอยหยักผมว่ามีทุกคน

แต่รอยยัก เพื่อคิดการพัฒนา นั้น คงไม่มีทุกคนครับ

 

  • แม้แค่ "คน" กับ "ฅน" ก็น่าคิด น่าค้น จนงงไป
  • แม้จะแตกต่างกันไป แต่เมื่อทำงานร่วมกันแล้วต้องคงต้องตั้งเป้าหมายเดียวกัน ร่วมกันค่ะ
สวัสดีครับคุณน้อง สิ่งแรกที่อาจบ่งบอกถึงคุณภาพของ คน หรือ ฅน ผมคิดว่า คือ การเข้าใจบทบาท หน้าที่ตามชื่อตำแหน่ง หรือ สิ่งที่ได้รับมอบหมาย
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท