ส่งเสริมพื้นที่การเล่นของเด็ก : ความท้าทายการคิดนอกกรอบของนักการศึกษา


ในส่วนของการสร้างพื้นที่สำหรับการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้สำหรับเด็ก รัฐ ในฐานะเป็นผู้กำหนดนโยบาย ที่ชัดเจนในเรื่องของการแบ่งพื้นที่เดิมที่มีอยู่เพื่อนำมาพัฒนาให้เป็นพื้นที่สำหรับการเรียนรู้สำหรับเด็ก การสร้างพื้นที่ใหม่ ๆ ที่ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้สำหรับเด็ก และการส่งเสริมให้ทั้งภครัฐและเอกชน จัดทำโครงการหรือกิจกรรมที่เป็นการสร้างพื้นที่สำหรับการเรียนรู้ผ่านการเล่นของเด็ก ๆ

ส่งเสริมพื้นที่การเล่นของเด็ก : ความท้าทายการคิดนอกกรอบของนักการศึกษา

 

สมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน(องค์กรสาธารณประโยชน์) ดำเนินกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านการเล่นให้แก่เก ๆ มาโดยตลอดเมื่อเอ่ยถึงคำว่า "เล่น''  ผู้ใหญ่อย่างเรา ๆ ท่าน ๆ มักไม่ค่อยชอบใจนัก เพราะดูจะไม่เป็นงานการ เสียเวลาเปล่า  แต่สำหรับเด็กๆแล้ว   การเล่น   เป็นสิ่งหนึ่งที่ยิ่งใหญ่ในชีวิตเลยทีเดียว การเล่นของเด็กเป็นสิ่งสุดวิเศษ ที่ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และกระบวนการพัฒนาการได้เป็นอย่างดี

 

ทำไมหนูต้องเล่น  ?...ก็มันสนุกนี่นา...

การเล่นช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ตัวเอง  การเล่นเป็นสิ่งสำคัญ  ที่มีบทบาทกระตุ้นให้เด็กเกิดการรับรู้ที่ดีที่สุด   ในขณะที่เด็กเล่นนั้น  มีงานวิจัย  พบว่า คลื่นสมองของเด็กจะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี  สมองจะพัฒนาและช่วยเสริมการรับรู้ให้มีคุณภาพ  ทำให้เด็กจดจำได้นานและมีความเข้าใจเพิ่มขึ้น  การเล่นจึงน่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่ ทำให้เด็กรักการเรียนรู้   ดังนั้นหากพ่อแม่ยอมรับได้ว่า   เด็กทุกคนต้องเล่น   นั่นหมายถึงว่า พ่อแม่ได้พยายามให้สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับลูก แล้วเด็ก ๆ ได้อะไรจากการเล่น ?  เป็นคำถามที่ผู้ใหญ่หลาย ๆ คนเองก็ยังอยากรู้และค้นหาคำตอบอยู่ตลอดเวลา

 

คุณค่าจากการเล่น

การเล่นช่วยให้เด็กได้การเรียนรู้    มีพัฒนาการในการควบคุมตัวเอง  ทั้งในแง่ทักษะทางร่างกาย และการประสานกันของส่วนต่างๆ  เด็กได้ฝึกใช้สายตา  ฝึกฟัง   ฝึกการใช้ประสาทสัมผัสต่างๆ  สรุปได้ดังนี้

1.             ช่วยพัฒนาสติปัญญาและความคิดสร้างสรรค์

2.             ช่วยฝึกความกล้า  ความมั่นใจในตัวเอง

3.             ช่วยสร้างเสริมนิสัยที่ดี  เช่น   รู้จักรักษาของ    รู้จักอดทนรอบคอบ   การเข้าสังคม

4.             ช่วยเสริมสร้างสุขภาพจิตที่ดี

5.      ช่วยให้กล้ามเนื้อส่วนต่างๆได้ออกแรง  วงการแพทย์พบว่า  ขณะเด็กเล่น  และนอนหลับตลอดกลางคืนนั้น  เป็นช่วงที่มีฮอร์โมนซึ่งช่วยในการเจริญเติบโต (Growth  hormone) หลั่งออกมามาก  ทำให้เด็กเจริญเติบโตเร็ว

นอกจากนี้  การเล่นทำให้เรารู้จักลูกมากขึ้น  เวลาเล่นลูกจะแสดงออกมาให้เราเห็นว่า  เขาเป็นเด็กอ่อนโยนว่าง่าย  หรือก้าวร้าว    มีสมาธิ หรือสนใจสั้น   และแสดงถึงความถนัดต่างๆ ซึ่งพ่อแม่จะได้หาทางช่วยเหลือหรือส่งเสริมให้เหมาะสมแต่เนิ่น ๆ

 

แต่ในสังคมไทยเองยังไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการเล่นของเด็กเท่าที่ควร พื้นที่สำหรับที่จะใช้ให้เด็กเล่น น้อยกว่าพื้นที่ ที่จะนำไปสร้างสาธารณูปโภคต่าง ๆ ทั้งรถไฟฟ้าบนดิน ใต้ดิน ในเมืองและชานเมือง โดยที่ผู้ใหญ่เองไม่ได้คิดถึงการแบ่งพื้นที่ หรือการสร้างพื้นที่สำหรับเด็กเอาไว้เลย การสร้างเมืองสร้างโลกทุกวันนี้เน้นให้บริการเฉพาะผู้ใหญ่เพียงเท่านั้น ละเลยและมองข้ามเด็กที่เป็นพลเมืองกลุ่มหนึ่งไปโดยสิ้นเชิง

รศ.อภิญญา เวชยชัย อดีตคณบดีคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึงการสร้างโลกที่เหมาะสมสำหรับเด็กว่า "ในความเป็นจริง โลกทุกวันนี้ผู้ใหญ่เป็นเจ้าของ เป็นโลกที่ผู้ใหญ่ได้สร้างโลกไว้แล้วและมีเด็กเป็นส่วนประกอบ หากมองเชิงอนาคตการสร้างโลกที่เหมาะสมสำหรับเด็ก ควรเป็นโลกที่เด็กทุกคนได้รับการตอบสนองความจำเป็นพื้นฐานของชีวิตอย่างเหมาะสมและนำไปสู่การเท่าเทียมกัน เด็กได้มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ เสียงของเด็ก ความคิดของเด็กมีคนรับเอาไปคิดต่อ คุณค่าของเด็กได้รับการบันทึกจดจำ ไม่ใช่การบันทึกเฉพาะภัยร้ายของเด็ก ทุกวันนี้คุณค่าของเด็กที่ปรากฏในสาธารณะเป็นเชิงลบ นำเสนอเด็กในฐานะมูลค่ามากกว่าคุณค่าควรเป็นโลกที่เด็กมีพื้นที่ทำกิจกรรม มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับวัยพัฒนาการ ไม่เร่งรัดให้เด็กโตเกินตัว เหมือนทุกวันนี้เด็กกลายเป็นผู้ใหญ่ในเวทีประกวดต่างๆ ซึ่งจริงๆ แล้วเด็กควรใช้ชีวิตวัยเด็กได้อย่างมีความเข้าใจ รับรู้เรื่องราวของตัวเองทุกวิถีความคิดอย่างลึกซึ้ง ผู้ใหญ่ต้องทำงานหนักในการปรับเปลี่ยนกลไกต่างๆ ที่อยู่แวดล้อมเด็ก โดยเริ่มต้นที่การปรับระบบแวดล้อมเด็ก โดยแบ่งเด็กเป็นสองกลุ่ม คือ เด็กทั่วไป และเด็กที่อยู่ในสภาวะยากลำบาก

 

ระบบสวัสดิการที่เด็กทุกคนควรได้รับ ควรสอดคล้องกับความต้องการทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญาของเด็ก ซึ่งต้องเชื่อมโยงค่อยประทับและเปลี่ยนคุณค่าในใจของเด็ก

เพื่อให้เด็กเข้าใจตัวเองเรียนรู้ที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณค่าและลึกซึ้งมากขึ้นโดยทุกฝ่ายต้องร่วมมือกัน

 

หากมองในรูปธรรมต้องมองถึงยุทธศาสตร์ 3 ระดับ คือ

 

ระดับนโยบาย คือ องค์กรหรือหน่วยงานที่ทำงานเกี่ยวข้องกับเด็ก ต้องผลักดันให้นโยบายเด็กเป็นวาระของชาติ วาระที่จะบอกว่าเป้าหมายคือ มนุษยชาติรุ่นใหม่ ไม่ใช่นโยบายของกระทรวงใดกระทรวงเดียว งานของเด็กต้องเป็นงานที่ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม ต้องร่วมกันคิด ไม่ใช่ต่างฝ่ายต่างทำ ไม่ทำกันแบบแยกส่วน คิดให้บรรสารสอดคล้อง อาศัยนโยบายที่สอดคล้องและเชื่อมโยงกัน

 

ระดับกลาง คือ ผู้ปฏิบัติงานขององค์กรที่เกี่ยวพันกับเด็ก ต้องกลับมาทบทวนตัวเอง ดูว่าตัวเราขณะนี้ปัญหาเปลี่ยนไปมาก เรายังคงใช้ความรู้ชุดเก่ากับการทำงานปัญหาใหม่และซับซ้อนมากขึ้นหรือไม่ การสร้างทีมงานสหวิชาชีพ เพื่อให้เกิดพันธมิตร เกิดจิตใหญ่ซึ่งเป็นจิตที่คิดร่วมเพื่อเด็ก เปิดพื้นที่ของเด็กในจุดของเรา กลับมาทบทวนดูว่าต้องสร้างระเบิดใหม่ของเรา

 

ระดับสาม คือ การทำงานกับเด็ก ครอบครัว และชุมชน ผู้ปฏิบัติงานควรเปลี่ยนความคิดในการทำงาน เปลี่ยนจิตจากการคิดถึงตัวเรา มาเป็นการคำนึงถึงคนอื่นหรือส่วนรวมมากขึ้น ทำตัวเชื่อมโยงในทุกระดับ เปลี่ยนจิตจากตัวเราเป็นเขา จะเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการสร้างสังคมที่น่าอยู่สำหรับเด็ก โลกที่น่าอยู่สำหรับเด็กไม่ใช่จากเราคนเดียวแต่เกิดจากจิตของผู้ใหญ่ทุกคนที่คิดทำด้วยกัน

 

เชื่อได้ว่าผู้ใหญ่ทุกคนล้วนมีเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็ก มุ่งหวังให้เด็กเติบโตขึ้นเป็นคนดีและเป็นพลเมืองที่ดีของสังคม ดังนั้น เพื่อให้ได้คนดีและพลเมืองที่ดีสิ่งที่สำคัญอยู่ที่การสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีและเอื้อต่อการเติบโต ต่อการพัฒนาของเด็ก ด้วยการสร้างโลกที่เหมาะสมสำหรับเด็ก (World Fit for Children) นั่นเอง

การก่อสร้างสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ในยุคใหม่นี้ รัฐ จะต้องคำนึงถึงผู้ที่จะเข้ามาใช้งานหรือได้ประโยชน์จากระบบสาธารณูปโภคนั้นอย่างทั่วถึง โดยเฉพาะเด็ก ควรมีการแบ่งสัดส่วนของพื้นที่ให้เป็นพื้นที่สำหรับเด็กที่เข้ามาใช้งานร่วมกับผู้ใหญ่ให้เขาสามารถใช้ประโยชน์ได้พร้อม ๆ กับผู้ใหญ่ด้วย

ในส่วนของการสร้างพื้นที่สำหรับการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้สำหรับเด็ก รัฐ ในฐานะเป็นผู้กำหนดนโยบาย ที่ชัดเจนในเรื่องของการแบ่งพื้นที่เดิมที่มีอยู่เพื่อนำมาพัฒนาให้เป็นพื้นที่สำหรับการเรียนรู้สำหรับเด็ก การสร้างพื้นที่ใหม่ ๆ ที่ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้สำหรับเด็ก และการส่งเสริมให้ทั้งภครัฐและเอกชน จัดทำโครงการหรือกิจกรรมที่เป็นการสร้างพื้นที่สำหรับการเรียนรู้ผ่านการเล่นของเด็ก ๆ

จากที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่า  เรื่องการเล่นของเด็ก  ไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ อีกต่อไป ที่สำคัญหากเรามีพื้นที่ให้เด็กได้เล่นได้อย่างจินตนาการที่แต่ละคนมี ในอนาคต บ้านเมืองของเราก็จะสามารถพัฒนาไปได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ อันเนื่องมาจากเด็กได้รับการส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ที่เหมาะสมแก่พัฒนาการตามวัย ทำให้กระบวนการคิดเป็นระบบและนำไปสู่การสร้างสรรค์จินตนาการที่ไม่รู้จบ ท้ายที่สุด ประเทศชาติก็จะได้รับประโยชน์จากการเล่นของเด็กที่ผู้ใหญ่สนับสนุนและส่งเสริมอย่างเป็นระบบ

 




สำนักเลขาธิการ สมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน(องค์กรสาธารณ ประโยชน์) 
50/357 หมู่บ้านพนาสนธิ์ 2 ถนนนิมิตใหม่ 
แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร 10510
โทรศัพท์/โทรสาร 0 2914 5146

ประสานงาน 086 687 0902, 086 628 2817
www.issarachon.com
 
หากท่านสนใจจะร่วมสนับสนุนกิจกรรมของสมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน

สามารถโอนเงินสดเข้าบัญชีออมทรัพย์
 
ธนาคารกรุงไทย สาขาปิ่น เกล้า
ชื่อบัญชี สมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน
เลขที่บัญชี 031 - 0 - 03432 - 9

ธนาคารกสิกรไทย สาขาปิ่นเกล้า
ชื่อบัญชี สมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน
เลขที่บัญชี 706-2-33411-2
 
ธนาคารไทยพานิชย์ สาขาย่อย รามอินทรา
ชื่อบัญชี นายนที สรวารี
เลขที่บัญชี 171-221450-1

และแฟ๊กซ์ใบโอนเงินมาที่ สมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน ระบุว่าสนับสนุนกิจกรรมหรือโครงการใดของสมาคมฯ

หากคุณมีเพื่อน หรือคนรู้จัก กรุณาบอกต่อ ถึง สิ่งดีดี ที่เขา จะได้มีโอกาส มีส่วนร่วมในการสร้างสังคมดีดี ร่วมกันกับ คุณ

หวังว่า คุณ จะเป็นส่วนหนึ่งของ การสร้างโอกาสให้สังคมได้

อิสรชน : ไร้กรอบ ไร้กาลเวลา ไร้ความคาดหมาย ไร้ความคาดเดา มีแต่ความสม่ำ เสมอในทุกสิ่งที่คิดและทำ

หมายเลขบันทึก: 167309เขียนเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2008 12:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 พฤษภาคม 2012 20:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท