การส่งเสริมโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอย่างเหมาะสม


โฆษณาเกินจริง

 

           ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (Dietary Supplement Products) เป็นหนึ่งในทางเลือกของผู้ที่สนใจดูแลสุขภาพหรือแม้แต่ผู้ที่มีอาการเจ็บป่วย ในประเทศไทยมีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมากขึ้น ปี 2000 อุตสาหกรรมการผลิตอาหารเสริมในโลก เติบโตอย่างรวดเร็ว มียอดจำหน่ายถึง 17.1 พันล้านดอลล่าร์   จากการสำรวจพบว่าคนอเมริกันมากกว่า 158 ล้านคน รับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (Levitt,2001)  

          ในทางธุรกิจ เจ้าของผลิตภัณฑ์ ต้องการที่จะขายสินค้าตัวเองให้ได้มากที่สุด หนึ่งใน กลยุทธ์ที่ผู้ขายนำมาส่งเสริมการขายเพื่อเพิ่มยอดจำหน่าย คือ การโฆษณา  การโฆษณาเป็นการสื่อสารที่มีอิทธิพลอย่างมากในยุคนี้  เป็นเครื่องมือในการสื่อสารการตลาดเพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีวัตถุประสงค์ในการให้ความรู้  เพื่อการจูงในให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความต้องการ หรือเกิดความรู้สึกที่ดีต่อสินค้าและส่งผลให้เกิดพฤติกรรมการซื้อ  การโฆษณาถือว่าเป็นเครื่องมือการส่งเสริมการขายที่ดี หากผู้ทำการโฆษณามีจรรยาบรรณ โฆษณาโดยใช้ข้อมูลที่เป็นจริง แต่สำหรับธุรกิจผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร มักพบการโฆษณาที่มีลักษณะเกินจริง โฆษณาให้ผู้บริโภคเข้าใจว่าผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเป็นยา สามารถป้องกัน บำบัด บรรเทารักษาโรคได้  จะเห็นได้จากจากสถิติการรับเรื่องร้องเรียน สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ส่วนใหญ่เป็นการโฆษณาเกินจริง  

 

       จากการศึกษาที่ผ่านมา มีผู้ทำการศึกษาวิจัยหลายท่านได้ศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร พบว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ค่าใช้จ่ายในการซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารต่อครั้งเฉลี่ย 1,481.70 บาท  (วิไลลักษณ์ ทองปั้น, 2546)  ประชาชนประเทศไทยส่วนใหญ่ร้อยละ 70 (จินดา บุญช่วยเกลื้อกุล, 2543)  มีความรู้ความเข้าใจไม่ถูกต้องเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารครั้งแรกเพราะอยากทดลอง ซึ่งได้รับอิทธิพลจากการโฆษณา ร้อยละ 37.9 (การสำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารเสริมสุขภาพ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, 2541) และเชื่อคำโฆษณา (กันยารัตน์ ดัจฉวารี , 2537) ว่าผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจะช่วยบำรุงร่างกายให้มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ ร้อยละ 83.9 (จินดา บุญช่วยเกลื้อกุล, 2543)  โดยเหตุผลของการรับประทานเป็นเพราะวิตกกังวลว่าร่างกายได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน กลัวเกิดโรคภัยไข้เจ็บ บางท่านก็เชื่อว่าผลิตภัณฑ์เสริมอาหารช่วยรักษาโรค หรือช่วยให้ร่างกายสมส่วน ผิวพรรณ สวยงามขึ้นแหล่งความรู้ที่ได้รับ จากแพทย์ พยาบาล เภสัช เพื่อนแนะนำและสื่อสิ่งพิมพ์ ก่อนการซื้อผลิตภัณฑ์จะพิจารณาดูที่เครื่องหมาย อย. แหล่งที่ซื้อมากที่สุดคือร้านขายยา (วิไลลักษณ์ ทองปั้น,2546: รุจีลาวัณย์ ศรีจินดา,2546:อัปสร อีซอ:จอมขวัญ ครุการุณวงศ์ :ธงชัย เอกอารยะชน,2546:ธีรยา นิยมศิลป์,2548:ชนกนาถ ชูพยัคฆ์,2542: จินดา บุญช่วยเกลื้อกูล,2543) ซึ่งผู้ที่มีแนวโน้มหลงเชื่อได้ง่ายคือ ผู้ที่มีอาการเจ็บป่วยอยู่ และผู้สูงอายุ ซึ่งมีอาการเจ็บป่วยเรื้อรัง และหมดหวังกับการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ

    จะเห็นได้ว่าโฆษณามีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของผู้บริโภค หากผู้ทำโฆษณาไม่มีจรรยาบรรณ ให้ข้อมูลที่เป็นเท็จต่อผู้บริโภค โฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารว่ามีสรรพคุณเป็นยา  ทำให้ผู้บริโภคที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ หลงเชื่อคำโฆษณา ละเลยการดูแลสุขภาพ เสียโอกาสที่จะได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง รวมทั้งสูญเสียเงินทอง

     แนวทางควบคุมกำกับการโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในประเทศไทย

1.       ภาครัฐ  สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค ต้องร่วมมือกันในการเข้มงวดตรวจสอบดูแลการโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอย่างใกล้ชิด และเพิ่มช่องทางการแจ้งเบาะแส ที่สะดวกรวดเร็ว และให้รางวัลสำหรับผู้ที่ทำการแจ้งเบาะแส  รวมทั้งแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย ในเรื่องบทลงโทษให้หนักขึ้น เพื่อผู้ที่ทำผิดกฎหมายเรื่องการโฆษณาจะได้กลัวไม่กล้าทำผิดกฎหมาย

2.  ภาคเอกชน 

    -  บริษัทผู้ผลิต  สร้างความตระหนักให้เกิดความรับผิดชอบต่อสังคม  และให้รางวัลแก่บริษัทที่ทำดี เพื่อเป็นแบบอย่างให้กับบริษัทอื่นๆ   

      -    นักโฆษณา สร้างจิตสำนึกให้นักโฆษณา ต้องมีจรรยาบรรณ โฆษณาด้วยข้อมูลที่เป็นความจริง

    -  แหล่งสื่อต่างๆ เช่น หนังสือพิมพ์  นิตยสาร โทรทัศน์ เป็นต้น  ต้องตรวจสอบโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทุกครั้งก่อนที่จะอนุญาตให้ทำการโฆษณา

3. ภาคประชาชน ประชาชนต้องมีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เพื่อเป็นภูมิคุ้มกันให้ตนเองไม่ให้ถูกเอารัดเอาเปรียบ และไม่หลงเชื่อการโฆษณาที่เกินจริงการ

4. ภาควิชาชีพ เช่น บุคลากรทางการแพทย์ จากการศึกษาที่ผ่านมาแหล่งที่ผู้บริโภคได้รับความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร คือ แพทย์ พยาบาล และเภสัช บุคลากรทางการแพทย์ต้องให้ข้อมูลทางวิชาการที่ถูกต้องแก่ผู้บริโภค

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 167308เขียนเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2008 12:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 16:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)
ปัญหาโฆษณาเกินจริงเป็นปัญหาที่ถูกรายงานมากใน สคบ. น่าจะมีวิธีการที่เหมาะสมในการจัดการนะครับ

โฆษณาเกินจริงที่เราเห็นในทีวีทุกวันๆมีเยอะมากกว่า 50 % เลยนะคะ จะแก้ไขยังงัยดี

โฆษณาต้องเกินจริง จริงหรือเปล่า ถ้าโฆษณาเป็นเนื้อหาธรรมดาเรียบง่าย จะมีคนสนใจใหม ถ้าจุดประสงค์เพื่อการหลอกลวง เราจะทราบได้อย่างไร คำตอบอาจอยู่ที่พลังผู้บริโภค และการปลูกฝังตั้งแต่เด็กให้รู้จักป้องกันตนเอง

เราจะลดการโฆษณาเกินจริงได้อย่างไร

สำคัญมากเลยเรื่องการสร้างพลังผู้บริโภคเพื่อให้สามารถเท่าทันกลยุทธ์ของนักการตลาด มิเช่นนั้นก็จะควบคุมไม่ได้

ผมว่าต้องเน้นที่ประเด็นการโฆษณาเกินจริงครับ

เป็นเรื่องที่ทำได้ยากแต่ก็ต้องทำ จึงอยากให้กฎหมายที่ออกมาใช้หลักการตลาดในการทำงานเพื่อออกกฎหมายให้เท่าทันสื่อเพื่อการควบคุม

เป็นเรื่องสำคัญ ที่นักคุ้มครองผู้บริโภคต้องรู้เท่าทัน

ในการรณรงค์กลุ่มวิชาชีพมีแนวทางอย่างไรบ้างครับ

ในการรณรงค์กลุ่มวิชาชีพมีแนวทางอย่างไรบ้างครับ

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบางทีก็คล้ายๆแฟชั่นเสื้อผ้า มีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆตามแต่จะโปรโมทตัวไหนอย่างเช่น โสม กระชายดำ กวาวเครือ ฮวานง็อก ปัญจขันธ์ แป๊ะตำปึง เป็นต้น ทำให้จะเข้มงวดกวดขันห้ามใช้ห้ามโฆษณาก็ดูยังไม่เป็นเรื่องรุนแรง ประกอบกับโรคหลายๆอย่างไม่มีทางรักษา ก้ต้องหาทางออกทดแทนเหล่านี้ แต่จะทำอย่างไร ให้ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ประโยชน์ได้จริง ได้เป็นผลิตภัณฑ์ทางเลือกของผู้บริโภคแบบไม่ต้องโฆษณาก็รู้ว่าต้องใช้ 

ควรให้ข้อมูลกับผู้บริโภคว่าผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ใช้ได้เพียงป้องกันการเจ็บป่วย และเป็นการเสริมสุขภาพทางเลือก ฉลากห้ามมีข้อบ่งใช้ในการรักษาโรคอย่างเด็ดขาด  brochure สามารถเสนอผลการศึกษาทางคลินิคที่เชื่อถือได้ แต่ห้ามยก case ที่เป็นโรคแล้วใช้ผลิตภัณฑ์

  • คุ้มครองผู้บริโภคได้ก็ดีสิครับ..
  • เห็นแต่คุ้มครองผู้ผลิต
  • คนกินก็พอกัน
  • กินแล้วดีขึ้น..เพราะอะไร..
  • มีผลข้างเคียงไหม..ไม่เคยนึก
  • รึ..ว่าไม่ได้สอนกันมา...ว่าต้องนึก
  • หน่วยงานกลางก็ต้องชี้แนะ..
  • การแยก
  • ระหว่างอาหารเสริมที่ดี
  • กับไม่ดี
  • อย่าเหมารวมว่าไม่ดี
  • หรือดีหมด
  • ถ้าไม่ดีมีมาตรการฉันใด
  • ถ้าดีส่งเสริมต่อหน่อยไหม
  • อาเมน

เจี๊ยบมีบล็อกด้วยรึเนี่ย สู้ๆจ๊ะ ว่างๆจะเขียนมั่งดีกว่า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท