การคุ้มครองผู้บริโภคกับตลาดทางตรง


พรบ.ขายตรงและตลาดแบบตรงให้การคุ้มครองเราเพียงใด

 

        ในการค้นคว้าเพื่อให้ได้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ.2545ทำการเปรียบเทียบกฎหมายเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคของต่างประเทศให้เห็นความต่างในบทบัญญัติของกฏหมายและแนวทางการปฏิบัติ  ศิริทิพย์ แสงทอง (2549) ได้ทำการศึกษาการคุ้มครองผู้บริโภคตามพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ.2545โดยเปรียบเทียบในประเด็นของสัญญา  สิทธิในการบอกเลิกสัญญาและผลภายหลังการบอกเลิกสัญญา และทำการศึกษาเชิงกฏหมายเปรียบเทียบกับกฏหมายของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน กฏหมายประเทศญี่ปุ่น และกฏหมายประเทศมาเลเซีย ซึ่งผลการศึกษาพบปัญหาการคุ้มครองผู้บริโภคตามพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ.2545 ใน 3 ประเด็นใหญ่ คือ

        1.ปัญหาในเรื่องคำนิยาม

        พระราชบัญัติฉบับนี้ไม่ได้มีการให้คำนิยามคำว่า "ผู้ประกอบธุรกิจขายตรง" อันเป็นบุคคลที่มีความสัมพันธ์ในทางกฏหมายตามพระราชบัญญัติ

        2.ปัญหาในเรื่องการตีความ

        กฏหมายไม่ได้มีการบัญญัติกำหนดหน้าที่ของผู้จำหน่ายอิสระ ตัวแทนขายตรง หรือผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงให้มีความชัดเจนในทางปฏิบัติในกรณีการจัดทำและส่งมอบเอกสารสัญญาซื้อขาย ทำให้ผู้บริโภคอาจไม่ได้รับความคุ้มครองอย่างเต็มที่ ตลอดจนไม่มีการกำหนดหน้าที่ผู้ขายในการแจ้งสิทธิการบอกเลิกสัญญาแก่ผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภคไม่ได้รับทราบสิทธิดังกล่าวเพียงพอ

        3.ปัญหาในเรื่องการขาดบทบัญญัติของกฏหมายบางประการ

        การที่ยังไม่ได้มีการกำหนดประเภท ราคา หรือชนิดของสินค้าหรือบริการ ที่ผู้บริโภคไม่สามารถใช้สิทธิในการบอกเลิกสัญญาได้ อาจทำให้เกิดปัญหาแก่ผู้บริโภคในการปฏิบัติในการคืนสินค้าหรือบริการที่ไม่มีความชัดเจน ซึ่งผู้บริโภคอาจถูกโต้แย้งการใช้สิทธิ

        ทิพยรัตน์ มุขยวงศา (2547) ได้ศึกษาในประเด็นการบังคับใช้พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรงโดยศึกษาเฉพาะกรณีตลาดแบบตรง การศึกษาทำการเปรียบเทียบหลักกฏหมายของสหภาพยุโรป กฏหมายของประเทศอังกฤษและกฏหมายของประเทศออสเตรเลีย โดยศึกษาเฉพาะตลาดแบบตรงและสรุปเปรียบเทียบกับกฏหมายของไทย พบว่าพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ.2545ของไทยมีปัญหาในทางปฏิบัติดังนี้

        1.ประเด็นเรื่องเอกสารการซื้อขายและคำรับประกัน ที่กฏหมายกำหนดระบุเกี่ยวกับเรื่องของภาษาที่ใช้ไว้อย่างชัดเจนว่าต้องเป็น "ภาษาไทย" เท่านั้นจะเป็นภาษาอื่นไม่ได้

        2.ประเด็นเรื่องการไม่มีข้อยกเว้นเกี่ยวกับการจดทะเบียนผู้ประกอบธุรกิจ

        3.ประเด็นเรื่องการไม่มีข้อกำหนดยกเว้นเกี่ยวกับการใช้สิทธิคืนสินค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับสินค้าที่ไม่สามารถคืนให้แก่กันได้ เช่นกรณีการซื้อขายซอฟแวร์หรือ ring-toneลงมือถือ

        4.ประเด็นเรื่องการไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการห้ามส่งสินค้า หรือบริการที่ผู้บริโภคไม่พึงประสงค์ ทำให้ผู้บริโภคถูกรบกวนสิทธิความเป็นส่วนตัวที่จะได้อยู่อย่างสงบ

หมายเลขบันทึก: 167245เขียนเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2008 09:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 01:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

กลยุทธ์การขายตรงในปัจจุบันมีรูปแบบไหนบ้างคะ

กลยุทธ์การขายตรงในปัจจุบัน บริษัทขายตรงยังคงวิเคราะห์ตลาดตามแบบ 4P แต่ปัจจุบันจะเน้นมากตรง P=Promotion โดยจะเห็นได้จากบริษัทขายตรงทั้งหลายทุ่มงบโฆษณามากมายทางTVและนำดารา/นางแบบมาเป็นPresenter นอกจากนี้กลยุทธ์ขายตรงที่นับว่าเป็นประเด็นปัญหาในทางคุ้มครองบริโภคมากมักเป็นประเด็นการโฆษณาเกินจริง(ตามรายงานของสคบ.ปี2550รอบ6เดือน) ดังนั้นควรเสริมความรู้ผู้บริโภคให้รู้เท่าทันกลยุทธ์ของการขายตรงนะครับ

 

ในด้านกฎหมายในทุกฉบับที่เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค ย่อมไม่สามารถที่จะให้การคุ้มครองผู้บริโภคด้านทั้งหมด เหตุเพราะสภาพความก้าวหน้าของสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้กฎหมายไม่สามารถพัฒนาได้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น หลักในการคุ้มครองผู้บริโภคจึงไม่สามารถใช้หลักกฎหมาย (Law enforcement) อย่างเดียวได้ จะต้องใช้หลักการ empowerment คือการเสริมสร้างศักยภาพผู้บริโภค ด้วย

อนึ่ง หากจะใช้กฎหมายเป็นหลัก กฎหมายควรจะมีการกำหนดไว้อย่างกว้างๆ แล้วให้มีบทบัญญัติที่ให้สามารถเพิ่มเติมได้ในภายหลัง โดยการเพิ่มเติมนี้จะต้องทำอย่างมีส่วนร่วม

 

 

กลยุทธ์การขายตรงในปัจจุบัน บริษัทขายตรงยังคงวิเคราะห์ตลาดตามแบบ 4P แต่ปัจจุบันจะเน้นมากตรง P=Promotion โดยจะเห็นได้จากบริษัทขายตรงทั้งหลายทุ่มงบโฆษณามากมายทางTVและนำดารา/นางแบบมาเป็นPresenter นอกจากนี้กลยุทธ์ขายตรงที่นับว่าเป็นประเด็นปัญหาในทางคุ้มครองบริโภคมากมักเป็นประเด็นการโฆษณาเกินจริง(ตามรายงานของสคบ.ปี2550รอบ6เดือน) ดังนั้นควรเสริมความรู้ผู้บริโภคให้รู้เท่าทันกลยุทธ์ของการขายตรงนะครับ

 

กลยุทธ์การขายตรงในปัจจุบัน บริษัทขายตรงยังคงวิเคราะห์ตลาดตามแบบ 4P แต่ปัจจุบันจะเน้นมากตรง P=Promotion โดยจะเห็นได้จากบริษัทขายตรงทั้งหลายทุ่มงบโฆษณามากมายทางTVและนำดารา/นางแบบมาเป็นPresenter นอกจากนี้กลยุทธ์ขายตรงที่นับว่าเป็นประเด็นปัญหาในทางคุ้มครองบริโภคมากมักเป็นประเด็นการโฆษณาเกินจริง(ตามรายงานของสคบ.ปี2550รอบ6เดือน) ดังนั้นควรเสริมความรู้ผู้บริโภคให้รู้เท่าทันกลยุทธ์ของการขายตรงนะครับ

 

กลยุทธ์การขายตรงในปัจจุบัน บริษัทขายตรงยังคงวิเคราะห์ตลาดตามแบบ 4P แต่ปัจจุบันจะเน้นมากตรง P=Promotion โดยจะเห็นได้จากบริษัทขายตรงทั้งหลายทุ่มงบโฆษณามากมายทางTVและนำดารา/นางแบบมาเป็นPresenter นอกจากนี้กลยุทธ์ขายตรงที่นับว่าเป็นประเด็นปัญหาในทางคุ้มครองบริโภคมากมักเป็นประเด็นการโฆษณาเกินจริง(ตามรายงานของสคบ.ปี2550รอบ6เดือน) ดังนั้นควรเสริมความรู้ผู้บริโภคให้รู้เท่าทันกลยุทธ์ของการขายตรงนะครับ

 

ผมว่าระบบแบบนี้ยังได้ผลระดับหนึ่งเท่านั้น

แต่การ empowerment  ผู้บริโภค  ยังจำเป้นต้องทำเป็นคู่ขนาน

 

 

ผมคิดว่าการขายตรงควรมีคุณธรรมมากกว่านี้นะ การค้าทำให้คนเราเห็นแก่ได้และหาประโยชน์ส่วนตัวมากจนเกินพอดี

เมื่อหลวมตัวก็ต้องจ่ายค่าสมัครเสียค่าสมาชิก แล้วเราก็ไม่ได้อะไรอย่างที่เขาโปรโมทในตอนแรกเลย ทำงัยดีคะ

มีความคิดเห็นว่า พรบ.ขายตรง สร้างปัญหาให้แก่การคุ้มครองผู้บริโภคเป็นอย่างมาก เนื่องจาก การที่ผู้ขายมีโอกาสให้ข้อมูลที่ไม่เป็นจริง โดยมีโอกาสที่จะให้ข้อมูลเกินจริงและโอ้อวดสรรพคุณของสินค้าและบริการสูง เพื่อกระตุ้นยอดขายของตนเอง

บางครั้งเพราะกลยุทธ์ทางการตลาดส่งผลให้คนเรากลายเป็นสมาชิกการขายตรงโดยไม่รู้ตัว

     แล้วท่านคิดว่ามีทางออกที่จะช่วยให้กลุ่มวิชาชีพให้ตกเป็นเครื่องมือของธุรกิจการค้า โดยเฉพาะเภสัชกร แพทย์ พยาบาล ทันตแพทย์ หรือยังครับ

ไม่ว่ากลยุทธิ์จะจูงใจให้คนอยากใช้สินค้าขนาดใดแต่เมื่อเห็นความจริงว่ารายได้ที่มาจากการขายตรงเกิดการเบียดเบียนผู้บริโภคในขั้นสุดท้ายให้จ่ายแพงกว่าต้นทุนสินค้าจริงไม่รู้เท่าไร น่าจะทำให้เกิดการยับยั้งความโลภลงได้ค่ะ

ถ้าผู้บริโภคเข้มแข็งและมีศักยภาพเพียงพอ ก็จะสามารถปกป้องตนเองได้ในระดับหนึ่งค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท