8 หลักคิด พิชิตเป้าหมาย


เรื่องของโมเดลธุรกิจหากพบว่ารูปแบบธุรกิจที่ดี ควรจะนำมาใช้โดยไม่ต้องคิดใหม่ ถึงแม้จะเป็นการลอกเลียนความสำเร็จของคนอื่นแล้วนำมาสร้างสิ่งที่แตกต่างและโดดเด่น แต่ไม่ใช่การลอกเลียนแบบสินค้า ซึ่งเราอาจจะสามารถมองเห็นการเลียนแบบรูปแบบธุรกิจได้มากมายในธุรกิจ แฟรนไชส์ และในธุรกิจขายตรง

หลักคิดสำหรับผู้ประกอบการในการทำธุรกิจครับ

1. สร้างรูปแบบธุรกิจ (Business Model) โดยต้องอาศัยรูปแบบการคิดที่เป็นระบบและมองให้ทะลุ เพื่อจะได้สร้างและรักษาธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการที่จะทำได้นั้น ผู้ประกอบการต้องขจัดความคิดเดิมที่ว่าตนเองสามารถมองภาพธุรกิจได้ และสามารถทำได้เองโดยไม่ต้องมีรูปแบบที่แน่นนอนแต่อย่างไร ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ผู้ประกอบการหลายท่านขาดความรู้ในเรื่องของกระบวนการทางธุรกิจว่าจะสามารถทำในภาพที่ตนเองคิดอยู่อย่างนั้นได้อย่างไร แม้การทำกิจกรรมทางธุรกิจของ SME ในช่วงเริ่มต้นไม่ใช่เรื่องยากเมื่อดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจที่มีมิติมากขึ้นจะต้องอาศัยวิธีและกระบวนการคิดและการจัดการที่เป็นระบบเพื่อให้สามารถทำดำรงธุรกิจให้ยั่งยืนได้

2. รู้จักการเลียนแบบและมองให้เป็น เช่น เรื่องของโมเดลธุรกิจหากพบว่ารูปแบบธุรกิจที่ดี ควรจะนำมาใช้โดยไม่ต้องคิดใหม่ ถึงแม้จะเป็นการลอกเลียนความสำเร็จของคนอื่นแล้วนำมาสร้างสิ่งที่แตกต่างและโดดเด่น แต่ไม่ใช่การลอกเลียนแบบสินค้า ซึ่งเราอาจจะสามารถมองเห็นการเลียนแบบรูปแบบธุรกิจได้มากมายในธุรกิจ แฟรนไชส์ และในธุรกิจขายตรง

3. คิดถึงความต้องการของลูกค้า โดยต้องตอบให้ได้ว่าทำไมลูกค้าจึงมาซื้อสินค้าหรือใช้บริการ ก่อนที่จะคิดแต่ว่าเราต้องการขายสินค้าอะไร

4. เข้าใจการตลาดอย่างถ่องแท้ให้ได้ รวมทั้ง ต้องมองว่าการสร้างแบรนด์เป็นส่วนสำคัญของความสำเร็จที่ยั่งยืน เพราะแบรนด์ คือบันไดสู่การเติบโตของธุรกิจ

5. สร้างเครือข่ายที่ดี การมีเครือข่ายที่ดีนั้นเกิดประโยชน์ได้หลายทางทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยเน้นที่การช่วยเหลือกันละกันเป็นหลัก ส่วนผลประโยชน์ที่จะได้รับจากเครือข่ายนั้น เป็นผลพวงที่จะเกิดขึ้นตามมา

6. ยอมรับการเปลี่ยนแปลงและยอมออกจากเขตสุขสบายและปลอดภัย ( Comfort Zone) ด้วยการพยายามมองหาสิ่งใหม่ๆ เพื่อรองรับอนาคต และท้าทายตัวเอง ไม่กอดแน่นอยู่กับสิ่งเดิมๆ ที่คิดว่าดีอยู่แล้ว หรืออ้างเงื่อนไขข้อจำกัดมากมาย

7. เปิดโลกทัศน์ใหม่ว่า Entrepreneur มีหลายรูปแบบ ในรูปแบบของนักลงทุน (Capitalist) ซึ่งจะสร้างธุรกิจขึ้นมาให้เติบโตระดับหนึ่ง ถ้ามีความจำเป็นต้องหาผู้ร่วมทุนก็ต้องทำโดยไม่เสียดายหรือยึดติด เพื่อจะนำเงินมาใช้ในสิ่งที่ฝันหรือจิ๊กซอว์ทางธุรกิจที่ใหญ่กว่าเดิม หรือในรูปแบบที่ต้องขายกิจการออกไปหากได้ราคาที่เหมาะสม เพราะทางธุรกิจต้องมีการแข่งขัน ต้องพบกับฐานเงินทุนที่ใหญ่กว่า หรือมีต้นทุนต่ำกว่า และความสำเร็จเมื่อวานไม่ได้บอกอะไรไปมากกว่าฐานรากที่ดี แม้ว่าสามารถเคยประสบความสำเร็จได้ด้วยตัวเอง แต่ไม่ได้หมายความว่าวันนี้คนทำคนเดียวแล้วจะสำเร็จ

8. ใช้เงินอย่างถูกต้อง ยึดอยู่กับธุรกิจหลักให้มั่นคงก่อน เพราะโดยทั่วไปเมื่อมีรายได้จากการประกอบธุรกิจแรกหรือดำเนินการไปซักระยะพอเห็นโอกาสในธุรกิจหรือโอกาสในเรื่องอื่นๆ ที่ดีกว่าก็ดึงเงินจากธุรกิจเก่าออกไปลงทุนในธุรกิจใหม่เสียจนหมด แม้ว่าการลงทุนในสิ่งที่ใหม่ที่เห็นโอกาสอยู่นั้นไม่ใช่เรื่องผิด แต่ต้องทำให้เป็น ต้องแยกระบบการเงินออกเป็นสัดส่วน ไม่ปะปนกันเพื่อไม่ให้ธุรกิจที่ดีต้องหยุดการพัฒนาหรือเสียหาย หากอีกธุรกิจล้มเหลว

บุริม โอทกานนท์

หมายเลขบันทึก: 167213เขียนเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2008 07:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท