ประสบการณ์ในเวทีการสร้าง-พัฒนาเครือข่ายการทำงานส่งเสริมการเกษตร


ผมมีโอกาสไปเป็นวิทยากรกระบวนการร่วมกับอาจารย์ศักดา ทวิชศรี(นักวิชาการอิสระ)และทีมงาน

 

 

ประสบการณ์ในเวทีการพัฒนาเครือข่ายการทำงานส่งเสริมการเกษตรในด้านการผลิตและการตลาดสินค้าเกษตร

 

 

 

เมื่อวันที่ 18-20 กุมภาพันธ์  2551   ผมมีโอกาสไปเป็นวิทยากรกระบวนการร่วมกับอาจารย์ศักดา ทวิชศรี (นักวิชาการอิสระ)และทีมงาน   ณ.ห้องประชุม (ชั้น4 ) ตึกสหกรณ์ออมทรัพย์ข้าราชการกรมส่งเสริมการเกษตร   ซึ่งมีบุคคลเป้าหมายประกอบด้วย  เจ้าหน้าที่ส่วนกลางจากสำนักพัฒนาเกษตรกร   สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร   สำนักพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตร   สำนักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี   และกองวิจัยและพัฒนาส่งเสริมการเกษตร รวมทั้งเจ้าหน้าที่จากสำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขต 6 เขต รวมทั้งเจ้าหน้าที่จากสำนักงานเกษตรจังหวัด ที่รับผิดชอบงานด้านยุทธศาสตร์ งานส่งเสริมการผลิต และงานส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร

 

 

 

 

การวางกระบวนการในการจัดเวทีทั้ง 3 วันมีเป็นขั้นตอนดังนี้

 

 

ขั้นที่1.  เป็นการตั้งคำถามนำ ประกอบกับใช้เทคนิค AIC ด้วย คือโดยอาจารย์ศักดา ได้ให้ทุกคนเขียนเล่าประสบการณ์ด้านเครือข่ายในระดับพื้นที่ สรุปลงกระดาษ A4.  จากนั้นได้ออกคำถามนำต่ออีกคือ ให้ทุกคนนำคำตอบที่สรุปได้จากคำถามที่1   เดินออกไปแลกเปลี่ยนกับผู้เข้าสัมมนาที่อยู่ต่างหน่วยงาน  ต่างจังหวัด  ต่างหน้าที่  แล้วให้สรุปเป็นของกลุ่มร่วมกัน โดยให้ตัวแทนทุกกลุ่มที่เกิดขึ้น ออกไปนำเสนอข้อสรุปที่ได้  พร้อมกับมีการจับประเด็นลงบัตรคำ นำไปติดไว้ที่กระดานหน้าห้อง พร้อมจัดหมวดหมู่จากข้อมูลที่ๆได้  พร้อมได้บันทึกสรุปข้อสังสัยเกี่ยวกับเครือข่ายไว้ด้วย

 

 

 

 

ขั้นที่ 2.  เป็นการนำเสนอเรื่องเล่าจากกรณีศึกษาด้านเครือข่าย  8  จังหวัดประกอบด้วย กรณีศึกษา จังหวัดกำแพงเพชร  น่าน  หนองคาย   สุพรรณบุรี  พัทลุง  ชุมพร  ระนอง และสมุทรสงคราม

 

  

 

ขั้นที่ 3.  การนำเสนอทางวิชาการด้านแนวคิดเครือข่าย     วิทยากรโดย รศ.ดร.เบญจมาศ  อยู่ประเสริฐ    จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ประกอบด้วยประเด็นที่สำคัญคือ  แนวคิดเครือข่าย    ความหมายของเครือข่าย   เครือข่ายคืออะไร    ทฤษฏีแนวคิดที่ใช้ในการอธิบายเครือข่าย  ความจำเป็นในการสร้างเครือข่าย  ประเภทและรูปแบบของเครือข่าย  ทำอย่างไรให้เกิดเครือข่าย  กระบวนการสร้างเครือข่าย   การจัดการเครือข่ายตามวงจรชีวิตเครือข่าย   ปัจจัยหลักในการพัฒนาความเข้มแข็งของเครือข่าย   และประเด็นสำคัญในการวิเคราะห์เครือข่าย

 

 

 ขั้นที่ 4.   การแบ่งกลุ่มย่อย ออกเป็น 6 กลุ่มประกอบด้วยเจ้าหน้าที่จากเขตต่างๆ และส่วนกลาง ได้ช่วยกันระดมความคิดเพื่อออกแบบของกระบวนการทำงานในการจัดเวทีเครือข่ายระดับเขต ซึ่งแต่ละเขตจะต้องจัดจำนวน 3 ครั้ง แต่ละจังหวัดต้องจัดเวทีเครือข่ายระดับจังหวัดๆละ 2 ครั้ง   แต่ละอำเภอต้องจัดเวทีเครือข่ายระดับอำเภอๆละ 1 ครั้ง

 

 

 

ขั้นที่ 5. ผู้แทนแต่ละเขตทุกเขต นำเสนอข้อสรุปที่ได้ออกแบบกระบวนการของการดำเนินงานด้านเครือข่ายในระดับเขต พร้อมกำหนด Action Plan  ที่จะต้องไปเสริมหนุนการทำงานด้านเครือข่ายในการผลิตและการตลาดสินค้าเกษตร ของจังหวัด และอำเภอ ต่อไป

 

 

 

 

ขั้นที่ 6.  การสรุปภาพรวมของการจัดเวทีเครือข่ายการทำงานส่งเสริมการเกษตร ด้านการพัฒนาเครือข่ายในการผลิตและการตลาดสินค้าเกษตร ตามที่ได้จัดไปแล้วจำนวน 3 วันนี้ ซึ่งมีผู้ที่ทำหน้าที่สรุป จำนวน 3 รายคือ 1.ผม(สายัณห์ ปิกวงศ์ ) ได้สรุปโดยใช้Mind Mapping 2. คุณศิริวรรณ หวังดี ได้สรุปใช้ลักษณะModel  และตารางวิเคราะห์ โดยมุ่งเน้นการบันทึกงานและองค์ความรู้ จากงานที่ได้ลงAction ในระดับพื้นที่ และระดับกลุ่มอาชีพเป็นต้น 3. อาจารย์ศักดา ทวิชศรี ได้สรุปกระบวนการ เนื้อหา และสิ่งที่จะต้องดำเนินการและพัฒนาต่อยอดทั้งในระดับกรม   เขต   จังหวัด และระดับกลุ่ม

 

 

 

ขั้นที่7.  สุดท้ายของการจัดเวทีเครือข่ายการทำงานส่งเสริมการเกษตร   มีท่านรองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ( ท่านอภิชัย จึงประภา ) ได้เข้ามาฟังผลสรุปจาการจัดเวทีทั้ง 3 วัน   ซึ่งมีคุณภาณี บุญเกื้อกูล   จากสำนักส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร ได้สรุปนำเสนอ จากนั้นท่านรองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ได้ให้แนวทาง   มอบนโยบาย   ให้ขวัญและกำลังใจ  แก่ผู้ข้าร่วมเวทีสัมมนาฯ ในครั้งนี้ด้วย

 

 

          สรุปบทเรียนที่ได้จาก การจัดเวทีการพัฒนาเครือข่ายการทำงานส่งเสริมการเกษตร ในด้านการผลิตและการตลาดสินค้าเกษตร ในครั้งนี้ นับว่าเป็นการพัฒนาแนวคิด และการพัฒนาวิธีการทำงานร่วมกัน โดยเริ่มจากในระดับกรม เขต และจังหวัด ไปจนถึงระดับชุมชนและกลุ่มอาชีพ ซึ่งโดยหลักการแล้วเรานักส่งเสริมการเกษตรจะต้องทำงานร่วมกัน  ตามกระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วม ตั้งแต่รวมคน  ร่วมคิด  ร่วมทำ   ร่วมประเมิน และร่วมรับผลประโยชน์  กรมส่งเสริมการเกษตร จะต้องลงไปเสริมหนุน การทำงานในระดับเขต และจังหวัด   เขตทุกเขตก็จะต้องลงไปเสริมหนุนการทำงานในระดับจังหวัด อำเภอ และพื้นที่  ตลอดจนร่วมมือกันในการประสานงานการทำงานร่วมกับหน่วยงาน  ภาคี ที่เกี่ยวข้อง นี่เป็นความคาดหวังว่าจะเกิดการทำงานส่งเสริมในมิติใหม่ พร้อมที่จะช่วยกับขับเคลื่อนต่อไปในอนาคต หรืออาจจะเป็นแค่ความฝันก็เป็นได้ครับ...

          สิ่งที่กระผมดีใจมากที่สุด ก็คือทีมงานเครือข่ายการทำงานส่งเสริมการเกษตรที่เรามีแนวคิดในการพัฒนางานส่งเสริมการเกษตรในลักษณะคิดเชิงอนาคตและนำการจัดการความรู้ มาเป็นเครื่องมือในการทำงาน ตลอดจนส่งเสริมการเรียนรู้ เพื่อพัฒนา Competency  ร่วมกับนักส่งเสริมการเกษตรในระดับปฏิบัติการ เพื่อช่วยกันขับเคลื่อนไปสู่การเป็นนักส่งเสริมการเกษตรมืออาชีพต่อไป ครับผม....

 

หมายเลขบันทึก: 167097เขียนเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2008 14:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 09:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ...พี่สายัณห์

  • ขอบคุณมากๆเลยคะ..ที่นำเรื่องราวดีดีมาเล่าอย่างละเอียดทำให้เห็นภาพอย่างชัดเจน
  • เรื่องนี้คุณตา(ภานี)เคยมาเป็นวิทยากรจัด Workshopที่ลำพูนประมาณ 2 ปีที่ผ่านมาเพื่อให้เชื่อมโยงและเกิดเครือข่ายกับโครงการ Food Safety
  • หากทั้งทางกรม เขต จังหวัด อำเภอ ตำบล มีการเสริมหนุนร่วมกันทำงานกันทุกระดับอย่างนี้
  • ...ความฝันเป็นจริงแน่นอนค่ะ...ผลสุดท้ายเพื่อให้เกิดประโยชน์กับพี่น้องเครือข่ายชาวบ้านของเราต่อไปนะคะ
  • ขอบคุณอีกครั้งค่ะ

                           สาวหละปูนเจ้า

  • ขอบคุณน้องประหยัด
  • ดีใจ๋ขนาด ที่ได้มาแวะแอ่วหากั๋น  และได้อู้กั๋นตวย
  • เท่าที่ทราบ ณ.วันนี้ กรมฯได้นำเครือข่ายไว้ในระบบส่งเสริมการเกษตรด้วย
  • เป็นสิ่งที่ดี แต่เราก็คาดหวังไว้ว่า การนำแนวทางการทำงานแนวระนาบ มาใช้ในองค์กรให้มากขึ้น น่าจะเป็นสิ่งที่มีประโยชน์
  • เป็นไงละ ใกล้จะเรียนจบ ดร.หรือยัง   คงจะได้ร่วมกันพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร และส่งเสริมเจ้าหน้าที่ เป็นนักส่งเสริมมืออาชีพต่อไปในอนาคต
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท