จากหนังสือ "ดั่งกันและกัน.."


แนวคำสอนของติช นัท ฮันห์ เป็นพุทธที่เต็มไปด้วยความรักต่อเพื่อนมนุษย์ เป็นคำสอนให้เราทำดี มี "สติ สมาธิ ปัญญา" สงบและตื่นรู้ในทุกอิริยาบท เราจึงสามารถอบอุ่นอยู่ในโลกที่เราอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้

หนังสือเล่มหนึ่งที่เราซื้อมาจาก "ร้านหนังสือ"   คือ หนังสือชื่อ "ดั่งกันและกัน: จากตาสู่ใจ ธรรมะใกล้มือ"  ของ สมคิด ชัยจิตวนิช และนันทจิตรา    ปกหน้าคือภาพของไถ่ติช นัท ฮันห์

  • "โลกทั้งใบเป็นหนึ่งเดียว  เป็นดั่งกันและกัน
  • ฉันเป็นเช่นนั้น  เพราะเธอเป็นเช่นนั้น"

                                           ติช  นัท  ฮันห์

แนวคำสอนของติช นัท ฮันห์  เป็นพุทธที่เต็มไปด้วยความรักต่อเพื่อนมนุษย์  เป็นคำสอนให้เราทำดี มี "สติ สมาธิ ปัญญา"  สงบและตื่นรู้ในทุกอิริยาบท  เราจึงสามารถอบอุ่นอยู่ในโลกที่เราอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้  มิได้เน้นให้ปลีกตัวออกจากโลกเพื่อหาความสงบโดยลำพัง..  ท่านเน้นการกำหนดจิต ระลึกรู้ลมหายใจเข้าออกในทุกกิจกรรมของการดำเนินชีวิตปกติ...จากเช้าถึงค่ำ

สายน้ำในชีวิต

"เมื่อล้างมือ  เราอาจใคร่ครวญและภาวนาว่า

  • น้ำไหลลงรดมือ
  • ขอให้ฉันใช้มือนี้อย่างเป็นประโยชน์
  • เพื่อดูแลรักษาโลกอันล้ำค่านี้

เมื่อแปรงฟัน เราระลึกว่า

  • ยามแปรงฟันและล้างปาก
  • ฉันขอตั้งจิตอธิษฐานว่า จะพูดแต่ความจริงและด้วยวาจาแห่งรัก
  • เมื่อปากของฉันหอมกรุ่นด้วยวาจาอันงดงาม 
  • ดอกไม้จะบานสะพรั่งในสวนแห่งใจฉัน

เมื่อล้างหน้า จงตั้งใจว่า

  • จะมอบใบหน้าอันเบิกบานสดชื่นให้แก่ทุกคนที่พบเห็น

เมื่ออาบน้ำ  จงตั้งใจว่า

  • จะใช้กายนี้ทำประโยชน์เพื่อความถูกต้องและรับใช้ผู้อื่นและโลก"

 

"ศีล"

คำสอนเรื่อง "ศึล" ของท่าน ก็มีการตีความที่น่าสนใจมาก

"ศึล คือข้ออบรมสติ เชื้อเชิญให้ฝึกปฏิบัติ มากกว่าที่จะเป็นกฎข้อห้าม มีบทลงโทษ แต่ละข้อหมั่นมองให้ลึกซึ้ง ใคร่ครวญ ฝึกปฏิบัติ..... การหมั่นระลึกรู้ อบรมสติอยู่เสมอ ทำให้ศีลละเอียดลึกซื้งขึ้นเรื่อยๆ"

"ศึลทั้ง ๕ ข้อ เป็นเรื่องเดียวกัน  หากเราไม่มั่นใจ...ให้เลือกสักหนึ่งข้อที่เรามั่นใจว่าปฏิบัติได้ดีที่สุด...ท้ายที่สุด  พลังแห่ง "สติ" จะขยาย และเราสามารถปฏิบัติศีลได้ทุกข้อเอง"

  • ศีลข้อที่ ๑  ปกป้องชีวิต
  • ศีลข้อที่ ๒ เคารพในทรัพย์สินผู้อื่นและสาธารณะ
  • ศีลข้อที่ ๓ ความรักความสัมพันธ์ในครอบครัว
  • ศีลข้อที่ ๔ สื่อสารด้วยความรักและกรุณา
  • ศีลข้อที่ ๕  บริโภคด้วยสติและปัญญา

เมื่อศีลเป็นข้ออบรมสติมากกว่าข้อห้าม  เราจึงปฏิบัติศีลด้วยสติ และมีความละเอียดลึกซึ้งอยู่ในความหมายที่ละเอียดลึกซึ้งของศีลทั้งห้าข้อนั้น

  • "สำหรับมนุษย์คนหนึ่ง
  • ถ้าเขาผู้นั้นเป็นมนุษย์ที่แท้จริงได้
  • นั่นก็เพียงพอแล้ว
  • ที่จะทำให้ทั้งโลกสดชื่นรื่นเริง"

                                     ติช นัท ฮันห์

 

ในวัยเด็ก เราชอบอ่านเต๋าหรือเซน  แต่เราได้ว่างเว้นจากการอ่านหนังสือแนวเต๋าหรือเซนมานาน   เมื่อได้อ่านได้เห็นภาพในหนังสือเล่มนี้ก็รู้สึกว่าได้รื้อฟื้นหลายสิ่งที่เคยมี แต่ได้หล่นหายไปจากชีวิต...

ช่วงชีวิตหนึ่ง  เราสามารถมี "ความสงบ" อยู่ท่ามกลางบรรยากาศอึกทึก  ความสุขจึงหาได้ง่ายดายในทุกอิริยาบทของชีวิต   ปัจจุบัน  บางครั้งเรากลับ "ไม่สงบ" อยู่ในท่ามกลางบรรยากาศที่เงียบสนิท

"หากเธอสามารถนำใจกลับมาหากายได้ เธอจะสามารถสัมผัสถึงความมหัศจรรย์ของชีวิต ที่ดำรงอยู่ในปัจจุบันขณะ"

"เธอคือนิพพาน ไม่มีอะไรที่เธอจะต้องไขว่คว้า ไม่มีอะไรที่เธอจะต้องพยายามบรรลุ การแสวงหานิพพานเหมือนกับปลาที่กำลังเสาะแสวงหาน้ำ  หยุดเสาะแสวงหา  เธออาจจะตระหนักรู้ได้ว่า เธอได้อยู่ในนิพพานแล้ว  นิพพานอยู่ที่นี่ เพียงเธอ "ตื่น" และเปิดตาออกดู"

หมายเลขบันทึก: 167012เขียนเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2008 23:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 19:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สำหรับตัวเองที่ยังห่างไกลจากคำว่า "การหลุดพ้น" และยังคงเวียนว่ายอยู่ในวัฎฎะ

หลวงปู่ นัท ฮันห์ ให้คำสอนที่เป็นจริงกับการใช้ชีวิต . . . การหายใจอย่างมีความสุข

 

สวัสดีค่ะ คุณ piglet

ถ้าเรามีความสงบสุขอยู่ในชีวิตประจำวัน ได้ทำดีกับคนอื่นๆ ... ก็น่าจะเป็นชีวิตที่ดีแล้วค่ะ

รักษาสุขภาพนะคะ  เป็นกำลังใจให้เสมอ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท