น้อยศรี
นาย พัชรินทร์ พัช รักษาพราหมณ์

ขยะร้อยล้าน


ขยะเปรียบเสมือนเงาตามตัวของมนุษย์

ปัจจุบันกระแสของการลดการใช้ปุ๋ยเคมีกำลังมาแรง เพราะเชื่อว่านอกจากจะทำให้เกิดการเสียดุลยการค้าแล้ว ยังคิดว่าจะทำให้การทำการเกษตรระยะยาวไม่ยั่งยืน เพราะมีการทำให้ดินเสียได้ นอกจากนี้แล้วยังปรากฏว่าจะเสียเงินต้นทุนมกในการปลูกพืชครั้งใดครั้งหนึ่งหากมีการใช้ปุ๋ยเคมีอย่างเดียว ปัญหาที่จัดได้ว่าเป็นปัญหาใหม่ที่สุดในชุม ครัวเรือน หรือเมืองใหญ่ ๆ ควบคู่ไปกับการเพิ่มของประชากร และความเจริญก้าวหน้าในสังคมปัจจุบัน ครัวเรือนก็ยังทำให้ปัญหานี้รุนแรงมากขึ้น นั่นคือปัญหาขยะล้นเมือง ส่งกลิ่นเหม็นเป็นที่รับเกียจ และทำลายสภาพแวดล้อม การแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน มีทางออก ซึ่งนอกจากจะแก้ได้แล้ว ยังมีประโยชน์กลับคืนมาอีกต่อนั่นคือมาแปรรูปทำปุ๋ยหมัก เรียกได้ว่าได้ผล 2 ต่อในเวลาเดียวกัน

ขยะเปรียบเสมือนเงาตามตัวของมนุษย์ มนุษย์แต่ละคนจะผลิตขยะต่อวันต่อปีจำนวนมากโดยเฉพาะเมืองใหญ่ๆ นั้นเมื่อเอาปริมาณขยะแต่ละคน แต่ละครอบครัวแต่ละชุมชนมารวมกันก็มหาศาล เมืองใหญ่ ๆจะมีปริมาณขยะวันละเป็นพัน ๆ ตัน แต่ขยะเหล่านี้บางอย่างก็สามารถแก้ปัญหาได้โดยการกลับนำมาใช้ใหม่เช่นการแยกเอากระดาษ พลาสติก แก้ว และของที่ใช้ได้ กลับนำมาใช้ ซึ่งก็มีการนำไปขายเป็นของเก่า ซึ่งวิธีการแบบนี้เป็นวิธีการที่ลดปัญหาขยะได้ปริมาณหนึ่ง แต่ขยะเน่าเสียที่เรียกว่าขยะอินทรีย์นั้น ส่วนใหญ่ไม่เป็นที่ต้องการของคนแยกคนเก็บขยะ ซึ่งไม่รู้จะเอาไปทำอะไร การเก็บรักษายากเพราะส่งกลิ่นเหม็นเน่ามีแมลงรบกวน ไม่ทิ้งไปกองที่ไหนคนก็ไล่ ขยะเหล่านี้ถ้าเราลองมาพิจารณาดูจะเห็นได้ว่ามีประโยชน์อย่างมากถ้าหากเรารู้วิธีกำจัดมันอย่างถูกต้อง ลำพังกำลังมนุษย์ที่มีแต่จะไถกลบฝังดิน หรือเผานั้นคงไม่ทันกับปริมาณที่มีการผลิตขยะในแต่ละวันแต่ละชั่วโมง ต้องใช้ทั้งเครื่องมือ แรงงาน และเงิน เป็นจำนวนมาก จนกระทั่งต้องยอมแพ้ในหลายชุมชน หรือเมืองใหญ่ ๆ วิธีการหนึ่งที่มนุษย์ทำไม่ได้แต่สิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ในดินที่เรียกว่าจุลินทรีย์ทำได้ ซึ่งในดินในอากาศ ในน้ำ เป็นที่อยู่อาศัยของจุลินทรีย์ต่าง ๆ เหล่านี้

จุลินทรีย์ที่มีอยู่ตามธรรมชาตินั้น มีทั้งผู้ร้ายและผู้ดี พวกผู้ร้ายก็จะทำให้เกิดผลเสีย ส่วนผู้ดีก็ต้องทำให้เกิดผลดีขยะที่ถูกทิ้งจากบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ร้านอาหาร ตลาดสด โรงงาน หรือชุมชนนั้น ความจริงแล้วถ้าเป็นขยะอินทรีย์ซึ่งเรียกว่าขยะย่อยได้เราก็จะอาศัยจุลินทรีย์เป็นตัวย่อย เมื่อย่อยแล้วขยะก็สลายลง กลายเป็นปุ๋ยอินทรีย์ต่อไปได้ เมื่อเป็นปุ๋ยก็เท่ากับเป็นการนำมาใช้ใหม่ เกิดประโยชน์ต่อพืชและต่อมนุษย์ต่อไป จุลินทรีย์ที่มีอยู่ตามธรรมชาตินั้นจะทำงานได้ก็ต้องมีปัจจัยหลายอย่างเช่นต้องมีอาหาร(ขยะ)ต้องมีอุณหภูมิ ความชื้นพอเพียง เรื่องต่าง ๆ เหล่านี้พอทำได้ แต่จุลินทรีย์ตัวไหนล่ะที่เหมาะสม สามารถทำงานได้ดีและรวดเร็ว ไม่ส่งกลิ่นเหม็นเป็นเรื่องสำคัญ ถ้าหากจะอาศัยจุลินทรีย์ที่มีอยู่ตามธรรมชาติก็คงจะไม่ได้เพราะตัวดี ๆ เด่น ๆ เรียกได้ว่าจุลินทรีย์ชั้นดีนั้นมักจะสู้จุลินทรีย์ตัวร้ายไม่ได้ จึงได้มีการนำเอาสายพันธุ์จุลินทรีย์ชั้นดี มารวบรวมเป็นหัวเชื้อขึ้นมาได้ทำการเพาะเลี้ยงคัดแยก และบำรุงในห้องปฏิบัติการจุลินทรีย์ เพื่อให้ได้มาซึ่งจุลินทรีย์ตัวดี ๆ ได้แก่พวกที่ชอบย่อยในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ กัน พวกไม่ทำให้เกิดกลิ่น จึงได้มาซึ่งหัวเชื้อชั้นดี ซึ่งได้ผลผลิตออกมาแล้วโดยมันจะทำหน้าที่ย่อยสลายขยะก้อนโตๆ (หมายถึงขยะอินทรีย์) ให้กลายเป็นปุ๋ยหมักได้ในเวลาเร็วกว่าปกติ เมื่อเปรียบเทียบกับจุลินทรีย์พวกอื่น ๆ เพราะนอกจากจะมีเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และยีสต์แล้ว ยังมีเชื้อราพระเอกก็คือ ไตรโคเดอร์ม่าอีก 1 ชนิดในขณะย่อยสลายเชื้อราไตรโดเดอร์ม่าจะทำหน้าที่ในการควบคุมเชื้อราที่เป็นสาเหตุโรคพืชได้และเมื่อเป็นปุ๋ยหมัก เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าก็ยังคงทำหน้าที่ในการควบคุมเชื้อราที่เป็นโรคพืชต่อไป หัวเชื้อนี้ผลิตขึ้นมาเพื่อตอบสนองต่อมนุษย์ซึ่งจะเหมาะสำหรับบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ชุมชน เทศบาล อ.บ.ต. ตลาดสด ร้านอาหารที่มีความต้องการจะลดปัญหา แก้ปัญหาขยะอย่างถาวรยั่งยืน ไม่เป็นที่รังเกียจต่อไป อีกทั้งยังสามารถนำมาใช้เป็นปุ๋ยหมักทดแทน หรือลดการใช้ปุ๋ยเคมี

คำสำคัญ (Tags): #ขยะ
หมายเลขบันทึก: 166153เขียนเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2008 12:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 เมษายน 2012 22:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

หวัดดีครับ

  • เมื่อเช้าดูข่าว สรยุทธ์ ท่านอาจายร์พยอม บอกว่า ขยะขายได้ปีละหลายล้าน น่าสนใจครับ
  • หนุ่ม ร้อยเกาะ คนเก็บขยะใครว่าจน (จริง)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท