ตาเหลิม
นาย วันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์

ตอนที่ 3 พยายามทำให้ง่าย


ทำอะไรให้มันง่ายๆ และเป็นระบบ

 

 

 

(สามารถคลิกที่คำลิงค์ เพื่อเข้าชมภาพข่าว หรือภาพกิจกรรม)

 

ที่ผ่านมาเกือบเดือนก่อน มีงานมหกรรมเยาวชน 1 วัน 1,000 เรื่องดี <= คลิกเพื่ออ่านข่าว

ที่ีจัดผ่านพ้นไปเมื่อวันที่  27 มกราคม พ.ศ.2551 ณ สวนสันติชัยปราการ ถนนพระอาทิตย์

เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 

 

งานนี้มีเยาวชนกว่า 200 คน จากทั่วประเทศมาร่วมกันจัดนิทรรศการความรู้

จากการทำกิจกรรมของเด็กและเยาวชนที่ได้รับการสนับสนุน

โดย โครงการเยาวชนไทยไม่ทอดทิ้งสังคม "เยาวชน1,000ทาง" ซึ่งเยาวชนที่มาร่วมเป็นเพียงผู้แทน(จำนวนหนึ่ง)

จากเยาวชนที่ดำเนินการทั่วประเทศจำนวน 300 กว่าโครงการ 

 

แต่ละโครงการจะมีน้องเยาวชนรับผิดชอบ(จริงจัง) อย่างน้อยโครงการละ 3 คน

ซึ่งถ้านับ 300 กว่าโครงการแล้วก็จะมีเยาวชนทั่วประเทศ

ในโครงการเยาวชนไทยไม่ทอดทิ้งสังคม กว่า 900 คน  

และมีการจัดค่ายเพื่อพัฒนาศักยภาพ อย่างน้อย 2 ครั้ง

 

โครงการนี้ดำเนินการร่วมระหว่างกระทรวง พม. สภาองค์การพัฒนาเด็กและเยาวชน

และเครือข่ายเยาวชน 14 เครือข่าย  

 

และมีการจัดค่ายถอดบทเรียนให้กับเยาวชนทั้งหมด อีก 1 ครั้ง เมื่อเดือนพฤศจิกายน

ตั้งแต่ พ.ศ.2550 ที่ผ่านมา

 

และในอนาคตจะมีบทเรียนเล็กๆ มาเผยแพร่ให้ได้รับรู้กัน  

 

เยาวชนทั้งหมดที่ดำเนินโครงการ และกิจกรรม ใช้งบประมาณเพียง 8,000 บาท ในการดำเนินโครงการของตัวเองประมาณเดือนกว่าๆ ที่เด็ก เยาวชน อายุ 15-22 ปี

จะได้ดำเนินโครงการเพื่อพัฒนาตนเองและสังคม ตามความสนใจ และแนวคิดของเค้าเอง

จะเรียกได้ว่าเป็นโครงการที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชน

โดยเน้นไปที่การมีส่วนร่วมอย่างสูงสุด 

 

การพัฒนาระบบต่างๆ เพื่อดำเนินการโครงการนี้ตั้งแต่ปี 2550 

ซึ่งโครงการเยาวชน 1,000ทาง ประกอบไปด้วยทีมงาน 10 อนุภูมิภาค

คือ 

1. เหนือตอนบน           2. เหนือตอนล่าง

3. อีสานบน                  4. อีสานล่าง

5. ตะวันออก                6. กทม.

7. กลาง                       8. ตะวันตก

9. ใต้ตอนบน               10. ใต้ตอนล่าง  

 

และแผนงาน 6 ฝ่าย คือ

1. ฝ่ายระบบสนับสนุน ประกอบด้วยระบบที่ปรึกษา ระบบการพิจารณาโครงการ

ระบบพี่เลี้ยงพื้นที่ ระบบการส่งท่อน้ำเลี้ยง สนับสนุนทุน(ฮ่าๆ) ประสานงานเอกสารช่วยน้องๆ

2. ฝ่ายพัฒนาศักยภาพ ประกอบด้วยการออกแบบหลักสูตรอบรมพัฒนาทักษะ 

สำหรับน้องเด็กและเยาวชน และจัดค่ายอบรมต่างๆ รวมถึงพัฒนาทีมงานด้วย

3. ฝ่ายถอดบทเรียน และจัดการความรู้ ต้องอธิบายมั้ยเนี่ย อ่ะ อธิบายนิดหน่อย แผนนี้จะเก็บบทเรียนของทั้งโครงการ 

4. ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ทำหน้าที่ผลิตสื่อ จัดการตระเวณประชาสัมพันธ์ระดับพื้นที่ ตามภูมิภาคต่างๆ ประสานสื่อมวลชนคนหน้าสื่อ

5. ฝ่ายวิจัยและพัฒนานโยบาย ทำหน้าที่วิจัยและสร้างข้อเสนอเยาวชนอลหม่าน

ซึ่งก็มีงานวิจัยออกมาสู่สาธารณะชน ข่าวงานวิจัย คลิกที่นี่

6. ฝ่ายประสานความร่วมมือและเครือข่าย  ประสานความร่วมมือเพื่อขยายแนวคิด การทำกิจกรรมเด็กและเยาวชนให้เกิดในระดับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น

เพื่อให้การสนับสนุนกิจกรรมเกิดขึ้นอย่างเหมาะสมและทั่วถึง  

 

จนโครงการก็กลายเป็นยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนของกระทรวงเลยทีเดียว  รวมถึงขับเคลื่อนสังคมด้วยเงินเพียง 8,000 บาท หลายโครงการเลยทีดียวครับ

อาทิ โครงการนี้   โครงการนั้น   โครงการนู้น   โครงการไหน   โครงการใด

โครงการนู่น   และงานนี้

ก็สามารถเพิ่มเครือข่ายจำนวนมากให้กับสังคมนี้ ทั้ง เครือข่ายสภาเด็กและเยาวชน ในหลายจังหวัด 

 

คืออยากจะบอกว่าทำอะไรให้มันเป็นระบบ แล้วเชื่อเถอะครับว่างานเล็กๆ

ไม่ว่าจะเล็กน้อยเพียงไหน ก็สามารถเป็นเรื่องได้เหมือนกัน

จากความเชื่อของคนกลุ่มเล็กๆ ที่ทำงานกับเด็กและเยาวชน รวมถึงเด็กและเยาวชนที่ทำงานกับเพื่อนๆ

ต่างคาดหวังว่าอยากให้มีโอกาสมากขึ้นในสังคม 

 

แนวคิดเล็กๆ ที่คนกลุ่มเล็กๆ ร่วมกันคิด และผลักดันอย่างต่อเนื่อง มุ่งมั่น

ก็สามารถผลักดันให้เกิดเรื่องราวดีๆ ขึ้นได้

 

ขอเพียงมีความฝัน มุ่งมั่ง ตั้งใจ

ผมเชื่อว่าเรื่องดีๆ

ไม่ว่าเรื่องอะไรก็จะเกิดขึ้นได้ 

หมายเลขบันทึก: 166018เขียนเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2008 21:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • เยี่ยมมากๆๆ
  • ขอเอาใจช่วย
  • ดีใจที่ได้พบเยาวชนคนเก่ง
  • เขียนมาอีกนะครับ

OK เลย เดินไป...เดินไป...เดินไป..อย่าหยุดยั้ง..อย่างที่ตั้งใจ...นะ..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท