นัยยะของสวัสดิการชุมชนด้านการศึกษา


ในเมื่อ การจัดสวัสดิการชุมชนด้านการศึกษา มีความสำคัญมากกว่าเพียง การสร้างความมั่นคงขั้นพื้นฐานของมนุษย์ แต่ สร้างความมั่นคงขั้นพื้นฐานของสังคมด้วย โดยส่วนตัวจึงอยากเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับด้านการศึกษาลงมามีส่วนร่วมในด้านนี้ให้มากขึ้น

ดังกล่าวแล้วว่า  ความสำคัญของสวัสดิการชุมชน  คือ การสร้างความมั่นคงขั้นพื้นฐาน และการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน   เหตุผลประการหลังนี่เองที่ทำให้สวัสดิการชุมชนมีความหมายมากกว่า "ระบบสวัสดิการสังคม" ธรรมดา ซึ่งหลายประเทศถือว่ารัฐควรเป็นผู้รับภาระบริหารจัดการ

ในกรณี การจัดสวัสดิการชุมชนด้านการศึกษา  นั้น มีความสำคัญยิ่งต่อความเข้มแข็งของชุมชน และต่อสังคมด้วย 

โดยเฉพาะในสังคมไทยที่กลไกตลาด และกลไกรัฐ ล้มเหลวในการจัดระบบการศึกษาไม่ว่าจะเป็นประเด็นประสิทธิภาพของระบบเศรษฐกิจสังคมโดยรวม หรือ ความเสมอภาค จนในที่สุดได้นำไปสู่ความพยายาม "ปฏิรูปการศึกษา"  และต้องเปิดช่องทางของการจัดการศึกษาหลายรูปแบบเพื่อนำไปสู่การสร้างฐานรากที่เข้มแข็งของสังคม

ในเมื่อ การจัดสวัสดิการชุมชนด้านการศึกษา มีความสำคัญมากกว่าเพียง การสร้างความมั่นคงขั้นพื้นฐานของมนุษย์   แต่ สร้างความมั่นคงขั้นพื้นฐานของสังคมด้วย  (โดยเฉพาะการจัดการศึกษานอกระบบหรือตามอัธยาศัย ที่มิใช่เพียงให้ทุนการศึกษาไปศึกษาในระบบ) โดยส่วนตัวจึงอยากเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับด้านการศึกษาลงมามีส่วนร่วมในด้านนี้ให้มากขึ้น 

เขียนถึงตรงนี้ ก็ขอคารวะครูนงเมืองคอนมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ  (ได้คารวะครูชบ ยอดแก้วไปก่อนหน้านี้แล้ว)

หมายเลขบันทึก: 165869เขียนเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2008 09:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 พฤษภาคม 2012 02:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ อ.ปัท

อ่านบันทึกนี้ของ อ.แล้วรู้สึกตื่นเต้นยินดีเป็นพิเศษ เพราะอะไรรู้ไหมคะ?

ไม่ได้พูดเล่นนะคะเนี่ย ที่หายหน้าไป ๒ เดือนก่อน เพราะกำลังเตรียมตัวเริ่มต้นโครงการการศึกษานอกระบบที่นี่ด้วย (ดูเหมือนทำหลายอย่าง แต่มันเรื่องเดียวกันหมดใช่ไหมคะ)

กำลังอยากบันทึกเรื่องนี้อยู่เหมือนกัน เพราะมีบางประเด็นอยากขอคำปรึกษาจากครูนงด้วย

แต่เลือกบันทึกเรื่องการแลกเปลี่ยนชุมชนก่อน เพราะอยากส่งข่าวให้ อ.ทราบด้วยค่ะ แต่ไม่คิดว่า อ.ก็กำลังสนใจเรื่องการศึกษาด้วย ดีใจมากค่ะ จะคอยคำแนะนำของอาจารย์ในบันทึกเรื่องการศึกษานะคะ จะรีบกลับไปเขียนบันทึกเลยค่ะ

ขอบคุณ อ.มากค่ะ สำหรับความรู้สึกนี้ ช่วยให้มั่นใจขึ้นมากเลยค่ะ ว่าไม่ได้จับฉ่ายเกินไป แต่มันเป็นเรื่องเดียวกันใช่ไหมคะ??

 

 

สวัสดีค่ะคุณ pilgrim

ถ้าเราทำงานที่เกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน  เรื่องไหนๆก็เกี่ยวข้องไปหมดค่ะ   แต่มันอยู่ที่ว่าเราจะจัดลำดับความสำคัญของแต่ละเรื่องอย่างไร  ถ้าเราสาวถึงต้นเหตุของปัญหาได้  ก็คงตั้งหลักถูกค่ะว่า เราควรจะเริ่ม หรือไปสร้างจุดเปลี่ยนที่จุดไหน     ภายใต้ข้อจำกัดที่เรามีอยู่ด้วย (ตามหลัก optimality ของเศรษฐศาสตร์เลยค่ะ ว่า ทำดีที่สุด เพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย โดยพิจารณาข้อจำกัดที่มีอยู่ประกอบ) 

ถ้าเป็นเชิงงานพัฒนา ข้อจำกัดที่ว่า ก็เช่น  ศักยภาพของเราเอง  ศักยภาพของชาวบ้าน และข้อจำกัดเชิงสถาบัน เช่น กฎหมาย วัฒนธรรม เป็นต้น ...  เพราะฉะนั้นจะทำเรื่องการแลกเปลี่ยน เรื่องการออม เรื่องการศึกษา ก็เกี่ยวข้องทั้งสิ้นค่ะ   แต่ข้อจำกัดคงจะบอกเราเองว่า สำหรับการเริ่มต้นแล้ว ถึงที่สุดเราคงเริ่มได้ทีละเรื่อง หรือสองเรื่องแค่นั้นเองค่ะ  เลือกเรื่องที่เป็นผลดีกับชาวบ้านและเราถนัด ค่อยๆทำจากที่ง่ายก่อน  ก็จะเกิดผลเป็นกำลังใจทั้งชาวบ้านและตัวเราเองค่ะ 

โชคดีค่ะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท