286 กลับบ้าน...


ตั้งแต่เกิดมาพ่อแม่ก็มักจะสอนให้ลูกเล่าเรียนหนังสือ เป็นเจ้าเป็นนายคน อย่ามาลำบากทำสวนทำไร่ จึงทำให้ไม่มีคนหนุ่มสาวที่ไหนอยากอยู่ในหมู่บ้าน หากต้องการเปลี่ยนค่านิยมเช่นนี้ก็ต้องเริ่มเปลี่ยนที่ พ่อแม่ต้องสอนลูกให้รักการเกษตร และที่โรงเรียนก็ควรจะมีหลักสูตรการเกษตร สอนให้เด็กรักบ้านเกิด ค่านิยมก็จะค่อย ๆ เปลี่ยน แนวความคิดค่านิยมเก่า ๆ ที่ผิด ๆ จะได้ค่อย ๆ หลุดหายไปจากสังคมเสียที

          กรุงเทพฯ น่ะหรือ...หนุ่ม สาว ที่ไหนๆก็อยากจะไปสัมผัส อย่างน้อยสักครั้ง ค่านิยมนี้ ไม่เฉพาะชนบทในเมืองไทยหรอก แม้ในประเทศลาว ก็ใฝ่ฝันเช่นเดียวกัน ไปดูแสงสี ไปใช้ชีวิตใหม่ ๆ ได้แต่งตัวสวย ๆ มีเพื่อนรุ่นราวคราวเดียวกันเยอะแยะมากมาย    เช่นเดียวกับ สุพรรษา สินธุรักษ์ หรือ น้องษา เยาวชนสาว บ้านหนองสองหาง ต.กุดบาก อ.กุดบาก จ.สกลนคร   เมื่อย้อนไป 5 ปีก่อน  น้องษาใฝ่ฝันอยากจะมีชีวิตแบบนั้นบ้าง เห็นเพื่อน ๆ พี่ ๆ เขาไปกัน ใจของเธอแทบจะไม่อยู่ที่บ้าน พ่อแม่ชวนไปทำนา ทำสวน ก็ไม่สนใจ ทำไปทำไม งานหนัก ตากแดดผิวดำ  สู้ไปทำงานกรุงเทพฯ ดีกว่า ได้แต่งตัวสวย ๆ ได้เดินเที่ยวในห้างแอร์เย็นฉ่ำ   น้องษา ไม่อยากทำสวนทำไร่อีกต่อไปแล้ว   และเมื่อเรียนจบ ม. 6  จึงเดินตามรอยทางเดิม ๆ ของคนหนุ่มสาวชนบทยุคนี้ เข้ากรุงเพทฯ ไปขายแรงงาน

            ชีวิตในกรุงเทพฯ     มีเวลาว่างและสนุกสนานอย่างที่ใฝ่ฝันจริง แต่มันก็ไม่เป็นอย่างที่คิดทั้งหมด  น้องษา ทำหลายงาน โดยเริ่มจากรับจ้างเป็นพี่เลี้ยงเด็กเล็ก งานร้านซุปเปอร์มาร์เกต จะเปลี่ยนงานเมื่อพบว่างานเดิมมีปัญหา และมาจบลงที่งานโรงพิมพ์ งานนี้ทำให้ น้องษา สนุกมีเพื่อนฝูงมากมาย ได้แต่งตัวสวย ๆ ทำงานอยู่ในห้องแอร์ไม่ต้องตากแดด แต่ทว่าค่าครองชีพที่สูงมากในกรุงเทพฯทำให้ น้องษาเริ่มไม่สนุก แม้จะมีรายได้ เห็นเม็ดเงินที่แน่นอนทุกเดือน  แต่ไม่พอรายจ่าย  ไหนจะค่าเช่าบ้าน  ค่ากิน  ค่าเดินทาง ค่าเสื้อผ้า ค่าเครื่องสำอาง และอื่น ๆ อีกจิปาถะ  เมื่อถึงปลายเดือน ต้องมานั่งกังวลว่าทำอย่างไรถึงจะมีเงินพอกับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่มี สุดท้าย ก็ต้องขอเงินจากทางบ้าน ชีวิตในกรุงเพทฯ ก็ไม่ง่าย ทุก ๆ เช้าต้องรีบตื่นเพื่อเดินทางไปทำงานให้ทันเวลา  ต้องอดทนทำงานตามคำสั่งเจ้านาย ทำไม่ดีก็ถูกดุว่า  จิตใจของเธอจึงเริ่มสับสน ตัวเองเข้ามาทำงานในกรุงเพทฯเพื่อหารายได้ แต่กลับต้องขอเงินจากทางบ้านมาใช้เพิ่ม ทำไม!

           แม้ทำงานในกรุงเพทฯ เมื่อถึงช่วงเทศกาลวันหยุดยาวนาน ช่วงเกี่ยวข้าว หรือช่วงงานประเพณีทางบ้าน ก็จะเดินทางกลับบ้าน มาพบญาติพี่น้อง ซึ่งทุกครั้งที่กลับมา พ่อแม่จะเฝ้าเรียกร้องให้กลับมาอยู่บ้านเสมอ ๆ แต่ น้องษา ก็ไม่สนใจ ยังยืนยันตามความใฝ่ฝันเดิม คือ ทำงานในกรุงเพทฯต่อไปแม้ว่าจะพบว่าไม่สวยเหมือนฝันทั้งหมดก็ตาม

           แต่แล้ววันหนึ่งชีวิตก็ต้องเปลี่ยนแปลง พ่อป่วยและอยากให้ น้องษา กลับบ้านมาช่วยดูแล  ในใจนั้นไม่คิดว่าจะกลับมาอยู่บ้านอย่างถาวร การมาดูแลพ่อแม่ผู้เลี้ยงดูมา เป็นเรื่องสำคัญเหนือสิ่งอื่นใด น้องษาจึงยอมลาออกจากงาน เดินทางกลับบ้าน มาดูแลพ่อที่ป่วย แต่มาแบบฝืนใจ เพราะไม่อยากทำงานหนัก ไม่อยากตากแดด กลัวดำ ไม่สวย  และคิดว่าเมื่อพ่อหายป่วยก็จะกลับไปหางานทำที่กรุงเทพอีกครั้ง

           เมื่อพ่อป่วยไม่สามารถที่จะทำนาทำสวนได้อีกต่อไป น้องษา จึงจำใจเข้ามาดูแลสานต่อจากสิ่งที่พ่อทำไว้  จึงได้พบ ได้คิดว่าสิ่งที่ตัวเองไม่เคยชอบ กลับทำให้มีผลผลิตมีรายได้   และทำให้เข้าใจว่าเกษตรผสมผสานไม่ใช่การเกษตรแบบพืชเชิงเดี่ยว น้องษามีงานในสวนทุกวัน และก็ไม่ใช่งานหนักอย่างที่คิด ไม่ต้องรีบตื่นแต่เช้าเหมือนช่วงที่ทำงานอยู่ในกรุงเพทฯ  วัน ๆ อยู่แบบสบาย ๆ แค่คอยเก็บเกี่ยวผลผลิตที่พ่อเธอปลูกไว้หลากหลายในไร่ในสวน ก็มีกิน ไม่ต้องไปเสียเงินซื้อ ไม่ต้องดิ้นรนกังวลกับค่าใช้จ่ายปลายเดือนว่าจะพอใช้หรือเปล่า ผลผลิตที่เหลือก็เก็บเอาไปขาย มีรายได้ อาจจะเห็นตัวเงินไม่มากเมื่อเทียบกับรายได้จากการทำงานเป็นลูกจ้างในกรุงเทพฯ  แต่เงินที่ได้มาก็ไม่ต้องไปจ่ายค่าเช่าบ้าน ค่ารถ หรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ  เป็นเงินเก็บล้วน ๆ และยังมีอิสระ  ไม่ต้องถูกเจ้านายดุด่า อยากทำอะไรก็ทำตามแบบที่ตัวเองพอใจ พอเพียง   น้องษา ไม่ได้อยากแต่งตัวสวย ๆ ให้ใครดูอีกต่อไป เพราะไม่รู้จะแต่งไปให้ใครดู แต่ก็ดูสดใสสะสวย สวยงามแบบธรรมชาติ  โดยที่ไม่ต้องเติมเสริมแต่งใด ๆ

             นอกจากการทำเกษตรผสมผสาน  น้องษา ยังพอมีเวลาเหลือ จึงได้เข้าร่วมกิจกรรมกับเครือข่ายอินแปง   ในโครงการภูพานเขียวขจี  ได้รับมอบหมายให้เป็นนักนิเวศวิทยาชุมชนหนึ่งใน 80 คน รับผิดชอบศึกษานิเวศวิทยาในพื้นที่  80 ตำบล ทำให้มีเพื่อนร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และได้พบว่า ชีวิตในชนบทที่ตัวเองเคยดูถูก  มีหลาย ๆ สิ่งที่น่าสนใจศึกษาเรียนรู้ และมีประโยชน์มากมาย ที่ในอดีตตัว น้องษา เองไม่เคยสนใจ ไม่เคยได้คิด ได้รู้ มาก่อนทั้งที่เป็นเรื่องใกล้ตัว เช่น ชื่อต้นไม้ และประโยชน์ของต้นไม้ชนิดต่างๆ  เมื่อมีส่วนร่วมในการศึกษา จึงรู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า และพอใจกับการใช้ชีวิตอยู่กับบ้านเกิด โดยไม่คิดที่จะกลับไปใช้ชีวิตที่กรุงเทพฯ อีกต่อไป

           เธอให้แง่คิดที่น่าสนใจเกี่ยวกับค่านิยมของการไปใช้ชีวิตที่กรุงเทพฯว่า....ตั้งแต่เกิดมาพ่อแม่ก็มักจะสอนให้ลูกเล่าเรียนหนังสือ เป็นเจ้าเป็นนายคน อย่ามาลำบากทำสวนทำไร่ จึงทำให้ไม่มีคนหนุ่มสาวที่ไหนอยากอยู่ในหมู่บ้าน หากต้องการเปลี่ยนค่านิยมเช่นนี้ก็ต้องเริ่มเปลี่ยนที่ พ่อแม่ต้องสอนลูกให้รักการเกษตร  และที่โรงเรียนก็ควรจะมีหลักสูตรการเกษตร สอนให้เด็กรักบ้านเกิด  ค่านิยมก็จะค่อย ๆ เปลี่ยน  แนวความคิดค่านิยมเก่า ๆ ที่ผิด ๆ จะได้ค่อย ๆ หลุดหายไปจากสังคมเสียที

              เราไม่ได้เรียกร้องให้หนุ่มสาวทุกคนกลับบ้านเกิด  เพราะเงื่อนไขแต่ละคน แต่ละครอบครัวแตกต่างกัน แต่หากจะเหลียวหลังดูกำพืดเราบ้าง และลองพิจารณาอย่างที่น้องษาพิจารณาแล้ว เห็นความจริงแล้วนั่นแหละ ชนบทบ้านเกิดยินดีต้อนรับกลับถิ่นของเรา.... 

-------------------

ข้อมูลบางส่วนจากเอกสาร ฅนฟื้นฟู โครงการ คฟป. เดือน ต.ค.-ธ.ค. 2549 

หมายเลขบันทึก: 165471เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2008 18:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 13:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

จริงๆค่ะพี่บู๊ท  รุ่นหนิงก็ยังได้ยินค่ะ ว่า พ่อแม่ก็มักจะสอนให้ลูกเล่าเรียนหนังสือ เป็นเจ้าเป็นนายคน อย่ามาลำบากทำนา 

เฮ้อ...หารู้ไม่  เป็นมนุษย์เงินเดือนนี่ ลำบากทั้งกายและใจ  กว่าทำนาอีกนะคะ 

สวัสดีค่ะพีบางทราย

  ถ้ามีน้องษา มากๆคงจะเป็นแบบอย่างที่ดี บางครั้งประสบการณ์ ก็ทำให้เกิดบทเรียน ขอปรบมือให้น้องษา คนรักบ้านเกิดค่ะ ชอบคำนี้มากๆ

 

Sasinanda


การพัฒนาชนบท เป็นเรื่องที่น่าสนับสนุนมากๆค่ะ

เราน่าจะคุณภาพชีวิตของคนชนบทมากกว่าความเจริญทางกายภาพแบบเมืองนะคะ

แต่  คุณภาพชีวิตชนบท อยากให้รวมถึงระดับการศึกษา สาธารณสุข และเสรีภาพทางการเมือง เป็นต้นด้วยค่ะ

เราน่าจะ พัฒนา ค่ะ

สวัสดีค่ะ อ.บางทราย

วันนี้ป้าแดง ไปดูหมอดู แล้วถามหมอดูถึงอาชีพเสริม หมอดูถามว่า ท่าทางคงทำการเกษตรไม่เป็น น่านนะสิ แค่ปลูกกล้วยไม้แล้วฝากเทวดา ยังไม่ค่อยงามเลย จะทำการเกษตรได้มั้ยเนี่ย

แต่ในความรู้สึกนะคะ อยากทำการเกษตร แบบผสมผสานมากเลยค่ะ ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไรดี

กลับบ้านเรา รักรออยู่

สู่อ้อมใจ ของบ้านเกิด

สวัสดีครับ

หากเราคิดให้ดีแล้ว ชีวิตก็เหมือนน้องษา ดิ้นรนเข้ากทม.หางานทำ แล้วไม่พอใช้ สู้อยู่บ้านนอกไม่ได้ เหมือนผมเจ้านายจะให้ไปอยู่กทม.แต่ผมขออยู่ต่างจังหวัด ผมไม่ชอบชีวิตที่เร่งรีบแบบคนกทม. ผมชอบบ้านนอก หลังจากหลุดจากกทม.เมื่อปี ๒๕๒๗ ผมขออยู่ต่างจังหวัดตลอด เจ้านายบอกว่าอยากให้ไปก้าวหน้าที่กทม.แต่ผมขออยู่อย่างเป็นหัวหมา ดีกว่าเป็นหางราชสีห์ อิอิ

น้องหนิงครับ P 1. DSS "work with disability" ( หนิง )

จริงๆค่ะพี่บู๊ท  รุ่นหนิงก็ยังได้ยินค่ะ ว่า พ่อแม่ก็มักจะสอนให้ลูกเล่าเรียนหนังสือ เป็นเจ้าเป็นนายคน อย่ามาลำบากทำนา 

เฮ้อ...หารู้ไม่  เป็นมนุษย์เงินเดือนนี่ ลำบากทั้งกายและใจ  กว่าทำนาอีกนะคะ 

 

อิอิ..น้องหนิง งานทุกอาชีพมีปัญหา อุปสรรคทั้งนั้นแหละ มากน้อย หนักเบา ชอบ ไม่ชอบ เท่านั้น

จริงๆมนุษย์เงินเดือนก็วุ่นๆอย่างน้องหนิงว่านั่นแหละ ระเบียบ ข้อบังคับมากมาย มากเกินไป และมีแต่มากขึ้น ไม่มีน้อยลง ทำไงได้ มันก้าวมาแล้วน่ะครับ

น้องรุ่งครับ P 2. ตันติราพันธ์


 ถ้ามีน้องษา มากๆคงจะเป็นแบบอย่างที่ดี บางครั้งประสบการณ์ ก็ทำให้เกิดบทเรียน ขอปรบมือให้น้องษา คนรักบ้านเกิดค่ะ ชอบคำนี้มากๆ

ใช่ครับ บทเรียนมาจากประสบการณ์ เหลือแต่ว่า มีประสบการณ์แล้วสรุปบทเรียนกันหรือเปล่าเท่านั้น  ไอ้หนุ่ม อีสาว กลับบ้านทุกปี แล้วก็หรอยกลับเข้ากรุงเทพฯคืนเป็นส่วนใหญ่ อิอิ..มันติดซะแล้ว..  แต่ก็มีหลุดมาแบบน้องษา นี่บ้างครับ

ท่านพี่ใหญ่ Sasinanda


การพัฒนาชนบท เป็นเรื่องที่น่าสนับสนุนมากๆค่ะ

เราน่าจะพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนชนบทมากกว่าความเจริญทางกายภาพแบบเมืองนะคะ

หน่วยงานของรัฐเองพยายามทำอยู่ครับ แต่ผลที่เกิดน้อยมากๆ มีหลายเหตุผลครับ การมีองค์กรอื่นๆเข้ามาเสริม เป็นสิ่งที่ดี และน่ากระทำ ในต่างประเทศประชาชนเขาบริจาคให้หน่วยงานองค์กรพัฒนาเอกชนระดับนานาชาติปีละนับพันล้านบาท เช่น Foster Parent Plan International, World Vision, Save the Children(USA), Save the Children(UK) Care ฯลฯ ซึ่งองค์กรพัฒนาเอกชนในประเทศไทยที่ยกตัวเองให้เป็นแบบต่างประเทศก็มีครับคือ PDA ของท่านมีชัย วีระไวทยะ  ที่สามารถระดมทุนภายในประเทศได้ และเอาทุนนี้ไปสร้างงานพัฒนาในชนบท ในทัศนะผมหน่วยงานแบบนี้ทำงานได้ผลมากกว่าครับ เพราะมีความคล่องตัวมากกว่า ระเบียบข้อบัลคับต่างๆ ไม่รัดตรึงมากเหมือนราชการ เสียแต่ว่าประชาชนไทยยังให้การบริจาคแก่องค์กรแบบนี้น้อยครับ

คุณภาพชีวิตชนบท อยากให้รวมถึงระดับการศึกษา สาธารณสุข และเสรีภาพทางการเมือง เป็นต้นด้วยค่ะ

ครับ  ตอนนี้งานพัฒนาชนบทมีแตกแขนงไปกว้างขวางมาก เพียงแต่ว่าไม่ได้เบ็ดเสร็จอยู่ในโครงการเดียวกัน แต่องค์กรโน้นทำเรื่องเด็ก องค์กรนี้ทำเรื่องสิทธิสตรี  ทำนองนี้ครับ..

ขอบคุณมากครับ

ป้าแดงครับ P 5. pa_daeng

วันนี้ป้าแดง ไปดูหมอดู แล้วถามหมอดูถึงอาชีพเสริม หมอดูถามว่า ท่าทางคงทำการเกษตรไม่เป็น น่านนะสิ แค่ปลูกกล้วยไม้แล้วฝากเทวดา ยังไม่ค่อยงามเลย จะทำการเกษตรได้มั้ยเนี่ย

อิอิ..ป้าแดงครับ การปลูกพืชนั้นไม่ใช่ว่าใครๆก็ปลูกได้นะครับ ไม่เป็นไรหรอก ป้าแดงไม่มีเวลาต่างหาก หากมีเวลาเอาใจให้เขาบ้าง เดี๋ยวเขาก็งามดังใจปอง.. ฟันธง....

แต่ในความรู้สึกนะคะ อยากทำการเกษตร แบบผสมผสานมากเลยค่ะ ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไรดี

เริ่มอย่างนี้ครับ หาที่ดินสัก 1-2 ไร่ หากมีแล้วก็ให้เวลากับเขา แล้วก็อยากกินอะไรก็เอาไปปลูก ขุดสระน้ำเล็กๆ หรือเจาะน้ำบาดาลครับ ให้น้ำ ปลูกอีก ปลูกทุกอย่างที่อยากกิน เผลอๆไม่กี่ปี เต็มสวนเลยครับ  ปัญหาคือ ช่วงวัยของเรานั้นเวลาส่วนใหญ่อยู่ในห้องทำงานครับ  ชาวบ้านเขานั้นมีห้องทำงานเหมือนกันคือ สวน หรือแปลงพืชผักของเขา นั่นแหละห้องทำงานของเขาหละ...

ในชีวิตของเราอย่างนี้ หากเราไม่ให้เวลาแปลงพืชบ้างก็ต้องคอยช่วงเราออกจากราชการแล้วไปเริ่มนั่นแหละครับ ก็ได้ 

แต่หากให้เวลาตั้งแต่ช่วงนี้ ออกจากราชการก็ได้เห็นแปลงเกษตรผสมผสานแล้วครับ  มันไม่สามารถเนรมิตรได้หรอกครับ นอกจากมีเวลาให้เขาครับ

เชียร์  เชียร์....

เป็นตัวอย่างที่ดีมากเลยค่ะ  เรื่องเล่านี้อ่านเข้าใจง่ายและเห็นภาพชัดเจน  ชอบค่ะ

กำลังนึกอยากทำหนังสืออ่านง่ายๆให้ศูนย์เรียนรู้ชาวบ้าน  จะสงวนลิขสิทธิ์ไหมคะ ...

น้องออตคนเก่ง P 6. ออต

กลับบ้านเรา รักรออยู่

สู่อ้อมใจ ของบ้านเกิด

บ้านเรานั้นมีพ่อมีแม่ มีพี่น้อง มีเพื่อนบ้าน มีความรัก มีความสนิทสนม มีวัฒนธรรมที่เป็นเนื้อแท้ของเรา นี่คือสวรรค์ครับน้องออต

ท่านอัยการของประชาชนครับ P 7. อัยการชาวเกาะ

 

หากเราคิดให้ดีแล้ว ชีวิตก็เหมือนน้องษา ดิ้นรนเข้ากทม.หางานทำ แล้วไม่พอใช้ สู้อยู่บ้านนอกไม่ได้ เหมือนผมเจ้านายจะให้ไปอยู่กทม.แต่ผมขออยู่ต่างจังหวัด ผมไม่ชอบชีวิตที่เร่งรีบแบบคนกทม. ผมชอบบ้านนอก หลังจากหลุดจากกทม.เมื่อปี ๒๕๒๗ ผมขออยู่ต่างจังหวัดตลอด เจ้านายบอกว่าอยากให้ไปก้าวหน้าที่กทม.แต่ผมขออยู่อย่างเป็นหัวหมา ดีกว่าเป็นหางราชสีห์ อิอิ

เป็นความรู้สึกเหมือนกันครับ เมื่อใดที่หน่วยงานผมเรียกตัวเข้าสำนักงานใหญ่ละก็ วันสองวันไม่เป็นไร แต่หากให้อยู่เป็นปีละก็  หนักใจครับ เพราะไม่ชอบ  แต่ชีวิตเราหลายครั้งเลือกไม่ได้ครับ  หากเลือกได้ก็คงเลือกชนบท หรือต่างจังหวัดครับ

 

สวัสดีครับท่านพี่บางทราย

  • เป็นตัวอย่างที่ดีกับคนรุ่นใหม่ที่คิดจะมาชมแสงสีในเมืองกรุงได้ข้อคิดดีมากๆครับ
  • ผมก็อยากกลับไปอยู่ภูธรเหมือนเดิมแต่ก็ติดภาระของครอบครัว เลยกลับไม่ได้
  • อยากไปทำสวนทำนาเป็นอาชีพเสริมหรืองานอดิเรก แต่ว่าพ่อแม่ก็ขายนาส่งควายมาเรียนหมดแล้ว..อิอิ

ปล.แก้ตัดคำว่า"รับผิดชอบศึกน้องษานิเวศวิทยาในพื้นที่  80 ตำบล" ในบันทึกออกด้วยนะครับ 

ขอบคุณครับ

อาจารย์ครับ P 12. ปัทมาวดี โพชนุกูล ซูซูกิ


เป็นตัวอย่างที่ดีมากเลยค่ะ  เรื่องเล่านี้อ่านเข้าใจง่ายและเห็นภาพชัดเจน  ชอบค่ะ

กำลังนึกอยากทำหนังสืออ่านง่ายๆให้ศูนย์เรียนรู้ชาวบ้าน  จะสงวนลิขสิทธิ์ไหมคะ ...

 

ขอบคุณมากๆครับอาจารย์ครับ  ผมไม่ติดขัดใดๆเลยหากจะนำไปเผยแพร่หรือใช้ประโยชน์ใดๆให้เกิดแก่สังคมเรา

ผมจะยินดีมากครับอาจารย์ ไม่ใช่เฉพาะเรื่องนี้นะครับ  เรื่องก่อนๆนี้หากเป็นประโยชน์ก็ยินดีครับ

สวัสดีครับท่าน สะ มะ นึ กะ แซ่เฮ P 15. สะมะนึก แซ่เฮ
  • เป็นตัวอย่างที่ดีกับคนรุ่นใหม่ที่คิดจะมาชมแสงสีในเมืองกรุงได้ข้อคิดดีมากๆครับ
  • ผมก็อยากกลับไปอยู่ภูธรเหมือนเดิมแต่ก็ติดภาระของครอบครัว เลยกลับไม่ได้
  • อยากไปทำสวนทำนาเป็นอาชีพเสริมหรืองานอดิเรก แต่ว่าพ่อแม่ก็ขายนาส่งควายมาเรียนหมดแล้ว..อิอิ

เช่นเดียวกันครับมีคนจำนวนไม่น้อยที่อยากจะทำสวนทำไร่  แต่การเลือกนั้นทำได้ แต่เงื่อนไขการทำให้เป็นจริงนั้นมันติดขัดมากมาย  ผมก็เช่นกันครับ 

เพราะชีวิตเราได้ผูกติดกับการงานที่เราเข้าไปเป็นสมาชิกติดหนับเข้าให้แล้ว ครอบครัวเราผูกติดกับตรงนั้นตรงนี้ไปแล้ว  ยากที่จะทำตามฝัน  นี่คือสายพานชีวิต ที่ผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม ท่านกล่าวไว้ครับ

ขอบคุณครับที่ช่วยตรวจปรุ๊บให้ครับ

เอ คุ้นๆว่าเป็นญาติกันนาเนี่ยะ ก็แซ่เดียวกันน่ะซี อิอิ

สวัสดีครับ อ. ไพศาล ที่รัก

เมื่อวานไปคุยกับ PDA เรื่อง CSR (Cooperate Social Responsibility) น่าสนใจครับ PDA น่าประทับใจมากเรื่องแนวทางการระดมทุนจากภาคเอกชนเพื่อสนับสนุนชุมชนชนบทเพื่อการพัฒนาที่ยั้งยืน 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท