ระเบียบวิธีวิจัย (ยังไม่ใส่ reference pomo)


 ระเบียบวิธีการวิจัย

 

จากใจ "บุคลากรสาธารณสุข" ถึงคนไข้ไร้รัฐ

 

การวิจัยครั้งนี้ต้องการให้เห็นอีกด้านหนึ่งของบุคลากรสาธารณสุข ผ่านการสำรวจสถานการณ์อย่างรวดเร็ว ทั้งในระดับปฏิบัติการ เเละระดับนโยบายระดับจังหวัด ว่ามีท่าที ทัศนคติ อย่างไรกับผู้รับบริการที่เป็นคนไร้รัฐ ศึกษาข้อจำกัดของระบบหลักประกันสุขภาพ ลักษณะประชากรในพื้นที่ที่ปะทะกับความคิด ความฝัน และความตั้งใจของบุคลากรสาธารณสุขที่อยากให้บริการสุขภาพแก่ทุกคน ทว่าในความเป็นจริงต้องดิ้นรนกับระบบสุขภาพที่มีอยู่ เพื่อให้บริการสาธารณสุขกับคนจำนวนมากที่สุด บุคลากรเหล่านี้เป็นผู้เผชิญความเป็นจริงที่น่าอึดอัดว่าการจัดสรรงบประมาณที่ไม่ได้จัดสรรบนพื้นฐานประชากรโดยข้อเท็จจริงในประเทศไทย ก่อให้เกิดปัญหาในการให้บริการต่อโรงพยาบาลและผู้ใช้บริการอย่างไร 

 

การวิจัยนี้ต้องการถ่ายทอดเสียงของแพทย์พยาบาลจำนวนไม่น้อย ที่ต้องการเล่าเรื่องข้อจำกัดของระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึก และการประชุมกลุ่มย่อยบุคลากรที่เกี่ยวข้องในโรงพยาบาลเเละกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด การถ่ายทอดเรื่องเล่าและประสบการณ์ของบุคลากรสาธารณสุข ถึงปัจจัยที่พวกเขาควบคุมไม่ได้ที่เบียดขับให้ทั้งคนไข้ไร้รัฐ ต้องไร้สิทธิในหลักประกันสุขภาพอันเป็นสิทธิมนุษยชนประการหนึ่ง (ต่อเตือน) หลังจากที่ได้ฟังเรื่องของคนไข้ ข้อจำกัดประการหนึ่งของการศึกษาในชุดโครงการนี้ คือเราไม่สามารถเลือกจังหวัดของโรงพยาบาล กับคนไข้ให้เป็นพื้นที่เดียวกัน เพื่อจะได้เปิดเวทีให้กับทั้งสองด้าน ยกเว้นจังหวัดระนอง ซึ่งมีทั้งคนไข้จากระนองในกรณีศึกษาของคนไร้รัฐเเละของโรงพยาบาล

 

ท่ามกลางความน่าอึดอัด ความคับข้องใจ ทั้งจากด้านผู้ให้บริการและผู้รับบริการ ก็ยังมีเเสงสว่างเล็กๆ แม้จะมืดบ้าง สว่างบ้าง ก็แสดงให้เห็นความพยายามที่จะไม่ยอมเเพ้แก่ข้อจำกัด ไม่ยอมจำนนต่อกฎหมาย งบประมาณ ที่ออกแบบมาเพื่อกีดกันมนุษย์ออกจากระบบสาธารณสุขด้วยเหตุเรื่องสัญชาติ (ต่อไหม)การวิจัยนี้หวังว่าจะแสดงให้เห็น "ความสร้างสรรค์" ของบุคลากรในระบบสาธารณสุขที่ลองผิดลองถูก เพื่อหาช่องทางให้คนไร้รัฐไร้สัญชาติได้มีโอกาสมีหลักประกันสุขภาพ แม้ว่าวิธีบางวิธีอาจจะเป็นการเสี่ยงต่อการถูกมองว่าไม่มีกฎหมายรองรับ หรือเป็นวิธีที่เกิดขึ้นเฉพาะที่ คววามสร้างสรรค์เหล่านี้อาจเป็นเครื่องย้ำให้เราเห็นความสำคัญของมนุษย์เหนือข้อจำกัดของระบบ แต่ก็เป็นเรื่อง Best Practice สีหม่นๆ เพราะขณะที่ทำการวิจัย โครงการบัตรสุขภาพทางเลือกของคนไร้รัฐได้ปิดตัวไปอีกหนึ่งโครงการ ไม่ว่าจะเป็นเพราะความไม่เเน่ไม่นอนของบุคลากรท้องถิ่น หรือความไม่เเน่ไม่นอนของนโยบายระดับประเทศ

 

นอกจากเสียงของตัวเเทนระบบสาธารณสุขท้องถิ่นเเล้ว เสียงของผู้ใช้บริการ เเละผู้ให้ความช่วยเหลือผู้ใช้บริการ อันได้เเก่ผู้ไม่มีสัญชาติไทย แรงงานข้ามชาติสามสัญชาติ เป็นกระจกอีกด้านที่สะท้อนให้เห็นทั้งข้อจำกัดเเละความสร้างสรรค์ของการบริการของโรงพยาบาล และการสร้างหลักประกันสุขภาพทางเลือก โครงการวิจัยเลือกการประชุมกลุ่มย่อยกับผู้ใช้บริการที่ไม่มีสัญชาติไทย และแรงงานข้ามชาติฯ ครั้งละ 7-10 คน เพื่อทราบความคิดเห็นเกี่ยวกับระบบสาธารณสุขที่ใช้บริการ ทัศนคติเกี่ยวกับระบบหลักประกันสุขภาพ ทัศนคติเกี่ยวกับความคุ้มค่าของหลักประกันสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพ เเละสนทนาเเลกเปลี่ยนเชิงลึกกับองค์กรชุมชน องค์กรพัฒนาเอกชนในท้องถิ่น  ( โปรดดู ภาคผนวก 1: แบบสอบถาม เเละประเด็นคำถาม เเละ ภาคผนวก 2: รายนามองค์กรที่ประสานงานจัดการประชุมกลุ่มย่อย) ซึ่งเป็นผู้ที่สามารถ "ประเมิน" การให้บริการของโรงพยาบาลได้อย่างดีที่สุด

 

กลุ่มผู้ใช้บริการ มีทั้งได้จากการติดต่อโดยตรง ในกรณีที่มีผู้ใช้บริการเป็นกลุ่มก้อน ผู้วิจัยได้ติดต่อผ่านองค์กรพัฒนาเอกชน เเละใช้การ snowballing กลุ่มผู้เขาร่วมการสนทนา  ให้พนักงานสาธารณสุขต่างด้าว หรืออาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าวแนะนำกลุ่มผู้เข้าร่วมการประชุมกลุ่มย่อย ตามเเนวทางที่ผู้วิจัยกำหนด  (โปรดดูภาคผนวก 1)    เพื่อให้ทันต่อการวิจัยในเวลาจำกัด ในกรณีที่ผู้เข้าร่วมการสนทนาไม่สามารถสื่อสารด้วยภาษาไทยได้ จะใช้ล่ามเพื่อการแปลภาษา

 

ในการเก็บข้อมูลทั้งหมดใช้การบันทึกเสียงเเละถอดการบันทึกเสียงอย่างย่อ ตามประเด็นที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาทำกรณีศึกษา (Kruger อ้างใน ) ในการสัมภาาณ์เชิงลึกเเละประชุมกลุ่มย่อยกับบุคลากรสาธารณสุข ใช้ผู้นำการสนทนาหลักคนเดียวกันทั้งหมด โดยได้รับความกรุณาจาก นพ.สัมฤทธิ์ ศรีธำรงศวัสดิ์ ตามประเด็นคำถามที่ได้รับการพัฒนาเบื้องต้นร่วมกัน ร่วมกับผู้วิจัย เพื่อลดปัญหาการทำความเข้าใจกับประเด็นทางด้านเทคนิค และการวิจัยเอกสารที่ได้รับมาจากหน่วยงานสาธารณสุข ในการสัมภาษณ์เชิงลึกกับองค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรชุมชน เเละผู้ใช้บริการ ใช้ผู้นำการสนทนาคนเดียวกันทั้งหมดคือผู้วิจัย 

 

นอกจากนั้นยังมีการนำเรื่องเล่าสื่อสารกับประชาคมออนไลน์ที่ Blog http://gotoknow.org/blog/health4stateless-a2/ เพื่อเเลกเปลี่ยนเรียนรู้กับประชาคมวิจัย ผู้เชี่ยวชาญ เเละผู้สนใจอื่นๆ (ภาคผนวก: สารบัญบทความที่เผยเเพร่) เพื่อให้ประชาคมวิจัย ผู้มีส่วนร่วม

 

ข้อจำกัดของการศึกษา

ภายในเวลา 45 วันที่ต้องดำเนินการพัฒนากรอบคำถาม วิจัยเอกสาร ประสานงานเก็บข้อมูลภาคสนาม วิเคราะห์ข้อมูล ถอดเทปบันทึกการสนทนา สำหรับ 4 พื้นที่ และเขียนรายงานสรุปเป็นเวลาที่ดูจะน้อยเหลือเกินกับการทำวิจัยเชิงลึก การตรวจสอบข้อมูล เเละการสำรวจในกลุ่มประชากรที่มีขนาดใหญ่กว่าที่กำหนด นอกจากนั้น ข้อมูลเอกสารเกี่ยวกับจำนวนผู้เข้าใช้บริการระบบสาธารณสุขของเเต่ละโรงพยาบาลยังเเตกต่างกันมาก โรงพยาบาลที่อยู่ในเมือง ทันสมัย สามารถดึงข้อมูลจากระบบคอมพิวเตอร์ได้อย่างรวดเร็ว ส่วนโรงพยาบาลในพื้นที่ชายเเดน ยังมีข้อมูลจำกัดเเละไม่ครบถ้วนต่อความต้องการ ดังนั้นการทราบจำนวนเเละความยั่งยืนของระบบผ่านการวิเคราะห์ผลกำไร ขาดทุนจึงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้เฉพาะบางเเห่ง หากเเต่งานวิจัยนี้ไม่ได้ต้องการมองกำไรขาดทุนในเเง่ของตัวเลขเป็นสำคัญ  

 

โรงพยาบาลส่วนมากโดยเฉพาะโรงพยาบาลนอกเขตเมืองยังประสบปัญหาการจำเเนกและมีข้อมูลจำนวนผู้ใช้บริการที่ไม่มีสัญชาติไทย ออกเป็นประเภทต่างๆ ผู้วิจัยจึงอาศัยข้อมูลระดับจังหวัดจากฐานข้อมูลกรมการปกครอง เพื่อชดเชยกับข้อมูลที่บางโรงพยาบาลไม่สามารถจัดให้ได้  

 

ในส่วนของผู้ใช้บริการที่เข้าร่วมการสนทนากลุ่มย่อย ผู้ใช้บริการจำนวนมากไม่มีหลักประกันสุขภาพ เพราะเป็นคนชายขอบของระบบหลักประกันสุขภาพอยู่เเล้ว จึงอาจไม่สามารถให้ความเห็นเชิงลึกเกี่ยวกับระบบหลักประกันสุขภาพได้อย่างชัดเจน เเต่พวกเขาก็สะท้อนให้เห็นความต้องการของระบบสุขภาพ "ในฝัน" ที่รอให้รัฐไทยจัดให้ได้อย่างชัดเจน  

 

การวิจัยครั้งนี้อาจมีชุดความจริงอย่างน้อยสองชุด จากสองมุมมอง ที่ขัดเเย้ง ไม่ลงรอย และผู้วิจัยเชื่อว่าความไม่ลงรอยนี้จะสร้างโอกาสในการตั้งคำถามเเละพัฒนาการวิจัยต่อไปในอนาคต จึงไม่มุ่งหวังจะตรวจสอบว่าความจริงของคนไข้ กับความจริงของโรงพยาบาล ใครจะเล่าเรื่องได้จริงกว่ากัน  (ธงชัย วินิจกุล ประวัติศาสตร์โพสต์ โมเดิร์น และทฤษฎีเรื่องเล่า)

 

ไม่ว่าใครจะเล่าเรื่องอย่างไร ในรายงานนี้ เรื่องทุกเรื่องสะท้อนให้เห็นความจำเป็นของของระบบหลักประกันสุขภาพทางเลือก และเรื่องของคนที่พยายามต่อสู้กับระบบที่กดทับอยู่บนบ่า ที่ทำให้คนเป็นเพียงหุ่นยนต์ จนกว่าเราจะมีระบบสุขภาพถ้วนหน้า เพื่อคนบนแผ่นดินไทย  

หมายเลขบันทึก: 165329เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2008 02:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

โห.. ขอแซวหน่อย ใช้ภาษา 'มานุดวิยา' มั่กๆๆ
แต่ดีจ๊ะ ชอบๆ เหมือนกัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท