KM ต่างจาก R2R


KM เป็นการจัดการความรู้ ซึ่งต้องมีกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกิดกระบวนการได้ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปที่มีการ share and learn และมี interaction ซึ่งกันและกัน แต่ R2R เป็นการทำวิจัยหรือเป็นการสร้างความรู้จากงานประจำ โดยสามารถทำ R2R ได้ด้วยคนเดียว หาปัญหาและพิสูจน์วิธีการปัญหานั้นด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่มีเหตุและผล ซึ่ง KM เป็นวิธีการหนึ่งที่ผลักดันให้เกิด R2R ได้ แล้วผลพลอยจากงานวิจัยที่เพิ่มขึ้นก็จะตามมา
การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (Routine to Research) เป็นคำที่ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) เป็นผู้บัญญัติขึ้นครั้งแรกให้กับโครงการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ซึ่งโครงการนี้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ พ.ศ. 2547 จนกระทั่งถึงปัจจุบัน และเพื่อให้ง่ายต่อการสื่อสาร จึงมักเรียกการทำงานเช่นนี้ว่า "R2R" อ่านว่า อาร์-ทู-อาร์ ลักษณะการทำงานของโครงการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย หรืออาร์-ทู-อาร์ นี้  เป็นการสนับสนุนการทำงานของทีมที่พัฒนางานประจำในโรงพยาบาลทั้งด้านการศึกษา การรักษา และการบริการให้มีการปรับปรุงการทำงาน โดยใช้กระบวนการวิจัยเป็นเครื่องมือในการทำงานไปสู่การปรับปรุง และพัฒนางานประจำที่ทำอยู่ให้ดีขึ้นมีเรื่องเล่าหลายเรื่อง ในหนังสือหลายเล่ม ที่ได้กล่าวถึงพยาบาลที่ทำงานวิจัย เช่น หนังสือเรื่องเล่าเมื่อพยาบาลทำงานวิจัย ของชมรมพยาบาลชุมชนแห่งประเทศไทย มีข้อความตอนหนึ่งกล่าวว่า จบปริญญาโทมาแล้วทำไมไม่เห็นทำวิจัยอีกเลย คำตอบที่ได้ยินคือจะเอาเวลาที่ไหน ทำงานมากมายขนาดนี้ ไม่รู้จะทำเรื่องอะไร ไม่อยากไปขอทุนยุ่งยาก ทำคนเดียวได้ยาก ต้องมีทีมช่วยหลายคน หัวหน้าไม่ได้ให้ความสำคัญ งานวิจัยมีคนทำเยอะแล้วเอาของเขามาใช้ก็ได้ ไม่ต้องทำใหม่ ร้อยแปดพันเก้า เหตุผล สุดท้ายคือไม่ได้ทำ ชักไม่แน่ใจ คงใช่กระมังที่บอกว่างานวิจัยเป็นของสูง เลยไม่มีใครอยากแตะต้อง แต่อย่างไรก็ตาม กลับมีงาน R2R ออกมาจำนวนมากจากบุคคลที่กล่าวข้อความเบื้องต้น เนื่องจากกระบวนคิดที่เปลี่ยนไป กระบวนการทำงานเปลี่ยนไป อีกทั้งความมุ่งหวังที่จะให้เกิดผลดีต่อผู้ป่วยและประชาชน สิ่งที่เกิดขึ้นกับตนเองได้แก่ความสุข ความปิติที่เกิดขึ้นจากการทำงานร่วมกับผู้อื่น  ความท้าทาย           การสนับสนุนให้เกิด R2R ต้องมีการบริหารจัดการ เช่นเดียวกับการให้บริการซึ่งก็ต้องมีการบริหารจัดการเพื่อให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล   การจัดการให้เกิดการวิจัยจากงานประจำมีเป้าหมายที่สำคัญ คือ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ แต่ที่ผ่านมาพบว่าการทำงานประจำให้เกิดเป็นงานวิจัยไม่ได้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง มีคนอยากทำแต่ไม่ทราบว่าจะเริ่มต้นอย่างไร ดังนั้นจึงต้องสร้างแนวคิดงานวิจัยว่าไม่ใช่เรื่องเหนื่อย ยุ่งยาก สามารถทำร่วมไปกับงานประจำได้ ไม่ต้องใช้เวลามากขึ้นกว่าปกติมาทำงานวิจัย โดยอย่าคิดถึงงานวิจัยเป็นหลัก คิดถึงงานที่ทำอยู่ จะทำอย่างไรให้ดีที่สุด และเมื่อคิดได้แล้วค่อยเอากระบวนการทำวิจัยเข้าไปเสริม ไปอำนวยความสะดวก  งานที่ทำอยู่อาจจะหนัก แต่น่าจะเป็นงานที่ท้าทายเพื่อให้เกิดผลที่ดีขึ้น  และในอนาคตต่อไปข้างหน้า ความหนักของงานที่เคยทำอยู่อาจจะเบาลงได้ เนื่องจากค้นพบวิธีการใหม่ทำให้กระบวนการดูแลคนไข้ดีขึ้น  ทุกปัญหาจากงานประจำ หลายครั้งมีการดำเนินการเพื่อแก้ไขหรือตอบปัญหา สามารถพัฒนาต่อยอดไปเป็นงานวิจัย ทำให้ทราบผลที่ถูกต้อง เชื่อถือได้ และเป็นต้นแบบที่ดี  ดังนั้นคนที่ทำงานอยู่ต้องมีการพัฒนาเรียนรู้ เอาแนวคิด R2R ไปช่วย ทำให้เชิงวิชาการมีคุณภาพขึ้น  และจะเกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ขึ้นได้  เมื่อมีกระบวนการอย่างต่อเนื่องงานวิจัยก็ไม่เป็นภาระเพิ่มขึ้นแต่กลับส่งเสริมการทำงานให้ดีขึ้น และหากสามารถดำเนินการได้ทั่วทั้งองค์กร    สุดท้ายแล้วภาระงานประจำที่หนักก็จะลดลง   คนทำงานมีความสุข ประชาชนมีสุขภาพดีขึ้น                 ท่านคิดอย่างไร ถ้าจะพลิกงานประจำให้เป็นงานวิจัย ท่ามกลางงานที่กองอยู่หน้าท่านทุกเมื่อเชื่อวัน 
คำสำคัญ (Tags): #r2r
หมายเลขบันทึก: 165028เขียนเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2008 13:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤษภาคม 2012 12:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีค่ะอาจารย์แต้ม

การทำ R2R  ในที่ทำงาน ถ้าเราทำเพื่อแก้ปัญหาในงานประจำ และสามารถบริหารจัดการได้ดี งานวิจัยมักจะสำเร็จ

การที่จะทำสำเร็จได้ หัวหน้าโครงการจะต้องมีความรู้เรื่อง  การทำวิจัยและมีความตั้งใจ ขยันหมั่นเพียร มีความรับผิดชอบ มีผู้ร่วมโครงการที่ดี และมีความสุขที่ได้ทำด้วย

สำหรับพยาบาลที่ทำวิจัย นอกจากได้พัฒนาหน่วยงานแล้ว เรายังมีโอกาสไปนำเสนอผลงานในที่ต่างๆทั้งในประเทศและต่างประเทศ  ได้พบปะผู้มีความรู้ มีโอกาสหลายอย่าง ทั้งสามารถนำมาขอผลงานทางิวชาการได้ด้วยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท