แก้กม.ได้ "บำนาญ" ขรก.ติดคุก-ทุจริต


กรมบัญชีกลางช่วยอดีต ขรก. เสนอแก้กฎหมายให้ผู้รับบำนาญที่ถูกศาลตัดสินให้จำคุก หรือเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต มีสิทธิได้รับเงินบำนาญหรือบำนาญตกทอดเหมือนเดิม ชี้โทษจำคุก-ล้มละลายเพียงพอแล้ว      หากตัดสิทธิจะเป็นการเพิ่มโทษเป็น 2 เท่านายมนัส แจ่มเวหา รองอธิบดีกรมบัญชีกลาง ในฐานะโฆษกกรมบัญชีกลาง ให้สัมภาษณ์ เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ว่ากรมบัญชีกลางได้เสนอให้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 เกี่ยวกับการเสียสิทธิการรับบำนาญ โดยแก้ไขให้ผู้รับบำนาญที่ถูกตัดสินให้จำคุก หรือศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายทุจริต ตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย ยังคงมีสิทธิได้รับบำนาญหรือบำเหน็จตกทอดเหมือนเดิม ขณะที่กฎหมายในปัจจุบันเมื่อผู้รับบำนาญถูกตัดสินให้จำคุกหรือเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต จะถูกตัดสิทธิการรับบำนาญหรือบำเหน็จตกทอดทันที โดยขณะนี้ กฎหมายฉบับดังกล่าวอยู่ระหว่างการนำเสนอ เพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีผลบังคับใช้ต่อไปนายมนัสกล่าวว่า การแก้ไขกฎหมายในเรื่องนี้ ก็เนื่องมาจากเห็นว่า บำนาญเป็นเงินที่ทางราชการให้          เพื่อตอบแทนการทำงานที่ผ่านมาแก่ข้าราชการ กรณีที่ผู้รับบำนาญกระทำความผิดและถูกศาลตัดสินให้ถูกจำคุก หรือเป็นบุคคลล้มละลายทุจริตนั้น ถือเป็นการลงโทษไปแล้ว เพื่อความเป็นธรรมและเสมอภาคกับบุคคลโดยทั่วไป จึงไม่ควรที่จะถูกลงโทษเพิ่มด้วยการตัดสิทธิการรับบำนาญหรือบำเหน็จตกทอดอีก "ระหว่างการแก้ไขกฎหมายดังกล่าว ได้มีการถกเถียงกันว่า การเพิ่มสิทธินี้จะเป็นการส่งเสริมให้ผู้รับบำนาญไปกระทำความผิดเพิ่มขึ้นหรือไม่ ทางกรมบัญชีกลางเห็นว่า ข้าราชการเมื่อเกษียณอายุราชการไปแล้วก็เสมือนประชาชนทั่วไป หากกระทำความผิดใด ๆ ก็ย่อมได้รับโทษตามกรณีนั้น ๆ ส่วนการให้บำนาญเป็นการตอบแทนการทำงาน และเป็นเงินยังชีพหลังออกจากราชการ เนื่องจากข้าราชการในขณะรับราชการจะไม่ได้สะสมเงินไว้ใช้ แต่หากตัดสิทธิการจ่ายเงินบำนาญอีกจะเหมือนกับถูกลงโทษ เป็น 2 เท่า" นายมนัสกล่าวนายมนัสกล่าวว่า ที่ผ่านมามีผู้รับบำนาญที่ถูกตัดสิทธิการรับบำนาญ เนื่องจากมีคำพิพากษาศาลให้จำคุก  ในปี 2547 จำนวน 3 ราย  ปี 2548 จำนวน 4 ราย  ปี 2549 จำนวน 5 ราย  ปี 2550 จำนวน 7 ราย  และปี 2551 จำนวน 2 ราย  สำหรับกรณีล้มละลายมีจำนวนไม่มาก ส่วนใหญ่อยู่ระหว่างสั่งพิทักษ์ทรัพย์ จึงยังต้องโอนเงินให้แก่กรมบังคับคดีในฐานะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อยู่  ทั้งนี้ บุคคลล้มละลายทุจริต ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2547 ได้กำหนดความหมายว่า บุคคลล้มละลายที่ถูกศาลพิพากษาว่ามีความผิดตามมาตรา 163 ถึงมาตรา 170 แห่งพระราชบัญญัตินี้ หรือเป็นบุคคลล้มละลายอันเนื่องมาจาก หรือเกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดฐานยักยอก หรือฉ้อโกงตาม ประมวลกฎหมายอาญา หรือการกระทำความผิดอันมีลักษณะเป็นการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน ตามกฎหมายว่าด้วยการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน นายมนัสยังกล่าวถึงการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการคำนวณบำเหน็จตกทอด โดยให้นำเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ มารวมกับบำนาญรายเดือน เพื่อคูณ 30 เท่า เป็นเงินบำเหน็จตกทอด และการปรับเงินบำนาญพิเศษให้ผู้รับบำนาญพิเศษเหตุทุพพลภาพเมื่อรวมกับเงินบำนาญปกติแล้ว ถ้าไม่ถึง 15,000 บาทต่อเดือน ก็ให้ได้รับบำนาญพิเศษฯ เพิ่มจนครบ 15,000 บาท ว่าได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125 ตอนที่ 25 ก ลงวันที่   31 มกราคม 2551มติชน 9 ก.พ. 51
คำสำคัญ (Tags): #บำนาญ#บำเหน็จ
หมายเลขบันทึก: 164609เขียนเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2008 14:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 10:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

พ่อเป็นข้าราชการบำนาญทหารค่ะ ต้องโทษคดีฉ้อโกง ตัดสินเมื่อปี 51 ค่ะ ตอนนี้พ้นโทษแล้ว แต่ไปติดต่อที่กองทะเบียนประวัติ

ข้าราชการบำนาญ ทางนั้นเขาบอกว่างด หมดสิทธิรับเงินเดือน แล้วอย่างนี้ต้องทำยังงัยต่อไปค่ะ จะได้รับสิทธิอะไรบ้าง

ตอนนี้แฟนเป็นข้าราชการบำนาญทหารได้ติดคุกในคดีฆ่าคนตายเมือปี48 ศาลชั้นต้นตัดสินได้เงินบำนาญมาหนึ่งก้อนหลังจากนั้นก็ไม่ได้อีกเลยตอนนี้อยู่ละหว่างฎีกาจะได้รับเงินบำนาญอีกตอนไหนและจะได้รับเงินบำนาญตลอดไปเลยไหม ช่วยตอบด้วยนะคะ


เรื่องนี้เป็นข่าวปีไหนครับ/ปี2560นี้กฎหมายนี้ใช้อยู่ไหมครับ/เพราะข่าวไม่ได้บอกปีที่มีผลใช้บังค้บ

สรุปอยู่ระหว่างกำลังนำเสนออยู่ครับ

ต้องรอ ขรก.บำนาญใหม่ รอประกาศบังคับใช้

ความคิดดีครับ ชื่นชม...


พี่สาวโดนคดีจ้างวานฆ่า ศาลฎีกา ตัดสินแล้ว จะได้รับมั้ย

เกียรติสุรนันท์ ไข่ม่วง

ความจริงควรแก้ไขตั้งนานแล้ว เพราะการที่ข้าราชการบำนาญ ได้รับเงินบำนาญนั้นก็เพราะว่าเขารับราชการทำงานให้กับรัฐฯ และประเทศชาติครบถ้วนตามเงื่อนไขกฏเกณฑ์ที่ทางราชการกำหนด เขาจึงได้รับเงินบำนาญเป็นการตอบแทนจากการที่เขาต้องเสียโอกาสในการประกอบอาชีพอิสระอื่นๆที่อาจสร้างความมั่นคงร่ำรวยให้กับตนเองและครอบครัวได้ เป็นการชดเชยการเสียโอกาสของผู้ที่ต้องเสียสละเข้ามารับใช้ประเทศชาติโดยเฉพาะข้าราชการบางประเภทต้องเสี่ยงอันตรายถึงชีวิต ดังนั้นเมื่อเขาต้องออกจากราชการตามระเบียบของทางราชการโดยได้รับเงินบำนาญนั้นจึงเป็นการถูกต้องและสมควรแล้วที่เขาควรจะได้รับไปตลอดชีวิตของเขา ส่วนเรื่องการที่มากระทำความผิดอาญาจนต้องถูกศาลพิพากษาให้จำคุก หรือตกเป็นบุคคลล้มละลายนั้นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นภายหลังกระบวนการในการที่ได้รับบำนาญแล้ว และก็ถูกลงโทษตามกฏหมายเท่ากับประชาชนทั่วๆไปอยู่แล้ว การที่ไปตัดบำนาญเขาจึงเท่ากับว่าเป็นการบังคับใช้กฏหมายกับประชาชนบางกลุ่มที่ไม่เท่าเทียมกันของรัฐฯ ซึ่งขัดต่อกฏหมายรัฐธรรมนูญที่เป็นกฏหมายสูงสุดของประเทศ ตามที่รัฐธรรมนูญทุกฉบับได้บัญญัติไว้ว่า กฏหมายใดที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ กฏหมายฉบับนั้นเป็นโมฆะ การลงโทษแบบนี้กับกลุ่มข้าราชการบำนาญจึึงเป็นการบังคับใช้กฏหมายกับคนบางกลุ่มเท่านั้นซึ่งขัดต่อหลักกฏหมายโดยทั่วไป ดังนั้นข้าราชการบำนาญที่ถูกลงโทษตัดเงินบำนาญไปแล้วนั้นจึงเท่ากับว่าถูกบังคับใช้กฏหมายแบบเลือกปฏิบัติ อันเป็นการขัดต่อกฏหมายรัฐธรรมนูญ กฏหมายที่ออกมาบังคับใช้ในเรื่องนี้จึงเป็นโมฆะใช้บังคับไม่ได้ นี่คือหลักการในการร่างฯ และบังคับใช้กฏหมายตามรัฐธรรมนูญ ดังนั้นในการแก้ไขกฏหมายดังกล่าวจึงขอเรียนท่านผู้มีอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้โปรดแก้ไขในเรื่องนี้ให้กับเขาด้วย เพราะไหนๆจะแก้ไขแล้วก็ควรแก้ไขให้ถูกต้องสมบูรณ์ในคราวเดียว ไม่ต้องให้เขามาร้องอีก คือกฏหมายที่ให้ตัดเงินบำนาญ กรณีที่ตัวข้าราชการบำนาญถูกจำคุกโดยคำพิพากษาของศาลนั้นเป็นบทบัญญัติที่ขัดต่อกฏหมายรัฐธรรมนูญ การที่เขาเหล่านั้นถูกตัดเงินบำนาญไปแล้วนั้นจึงไม่ชอบด้วยกฏหมายรัฐธรรมนูญ ดังนั้นท่านจึงต้องออกกฏหมายหรือคำสั่งฯให้คืนเงินบำนาญเหล่านั้นที่ตัดมาแล้วให้กับเขา และให้เขาได้รับเงินบำนาญต่อไปตามเดิม จึงจะถูกต้องและชอบด้วยกฏหมาย

ผมเป็นข้าราชการบำนาญคนหนึ่ง และไม่เคยรู้มาก่อนว่ามีกฏหมายแบบนี้อยู่ด้วย กฏหมายที่ให้รัฐฯตัดเงินบำนาญของข้าราชการบำนาญที่ถูกศาลพิพากษาให้จำคุก ผมเพิ่งมารู้ก็ตอนที่มีข่าวแก้ไขกฏหมายเรื่องนี้ นี่เอง

จากผมคนตรงไปตรงมา

ผมเสนอแนะขอให้กรมบัญชีกลางช่วยจ่ายเงิน200000 บาทของผู้รับำนาญอายุ65ปีแล้ว หลังจากจากได้กู้เงินธนาคารมาและใช้ประกันเงินกู้ที่ไม่สมารถรับได้ เพราะได้ใช้การค้ำประกันเงินกู้แล้วเพื่อเป็นการลดอัตราดอกเบี้ยให้ธนาคารลดลงเพื่อแบ่งเบาเงินบำเหน็จที่ได้รับเพิ่มขึ้นใช้จ่ายในชีวิตประจำวันที่สูงครับ

เคยถามหลายครังไม่เคยตอบถามว่า. ข้าราชการเมื่อเกษียณอายุราชการแล้วรับเงินเดือนบำนาญต่อมาถูกศาลพิพากษาจำคุก. เงินเดือนบำนาญท่ีเคยได้รับถูกงดหรือไม

ตาม. พรบ.บำเหน็จบำนาญ(ฉบับที่ 25) พ.ศ. 2551 ประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม125 ตอน33ก เมื่อ13ก.พ. 2551 แก้ไขเพิ่มเติมให้ยกเลิกมาตรา52 ตาม พรบ.บำเหน็จบำนาญ. พ.ศ. 2494.


นาย ยิ่งสักดิ์ โกวิทวณิชชา

ผมอยากถามทุกคนว่าขนาดมีกฎหมายเอาผิดกับอดิตข้าราชการที่ทำผิดหลังเกษียณอายุราชการให้ไม่ได้รับเงินบำนาญต่อเลยเขาเหล่านั้นก็ยังกล้าที่จะทำความผิดอยู่อีกนี่ผมเองไม่อยากคิดเลยว่าตอนที่เขารับราชการอยู่เขาแอบทำความผิดอยู่ด้วยหรือเปล่าต้องเข้าใจให้ตรงกันนะครับว่าลำพังเมื่อคุณเกษียณอายุแล้วคุณก็ยังรับเงินทุกๆเดือนที่เป็นภาษีของราษฎรรวมทั้งคุณก็มีสวัสดิการทุกอย่างเหมือนเดินแทนที่คุณเกษียณอายุอยู่บ้านเฉยๆแล้วได้รับเงินเดือนน้อยลงนิดหน่อยแทนที่จะรู้บุญคุณเงินภาษีที่ประชาชนเขาจ่ายให้กลับรัฐเพื่อจ่ายยังพวกคุณคุณกลับทำผิดกฎหมายซึ่งคุณย่อมรู้กฎหมายดีกว่าผู้อื่นแล้วคุณยังจะเรียกร้องสิทธิที่ไม่ควรเรียกอีกซึ่งถือได้ว่าคุณมิเคยสำนึกที่ดีเลยอย่างนี้สิหน่วยงานต่างๆควรจะตรวจย้อนหลังด้วยว่าที่ผ่านมาของการรับอายุราชการคนเหล่านั้นได้ทำชั่วอะไรไว้บ้างหรือหมกเม็ดเรื่องเลวๆไว้บ้างครับไม่ใช่บอกว่าลงดาบซ้ำสองน่าอายครับน่าอาย

ยิ่งศักดิ์ โกวิทวณิชชา

ก็ถ้าคิดว่าข้าราชการขรธทำผิดหลังปลดเกษียณแล้วรับบำนาญได้ก็แย่แล้วถ้าอย่างงี้ข้าราชการที่ทำผิดแน่แน่แล้วชิงลาออกและรับบำนาญแล้วก็ผิดโดนติดคุกก็รับบำนาญกินอยู่ในคุกใช่เปล่ากฎหมายนี้ออกเพื่อช่วยให้ข้าราชการขี้ข้านักการเมืองเพราะฉนั้นจะเห็นผลเสียอย่างมากมายไม่งั้นคำว่าข้าราชการบำนาญคงต้องตัดไปเรียกว่าโกงได้โกงเอาถ้าเห็นท่าไม่ดีชิงลาออกก่อนและอย่างน้อยติดคุกก็กินบำนาญได้คงสมเพชพิลึกนะครับคงมีเมืองไทยประเทศเดียวเท่านั้นที่จะทำนอกนั้นไม่มีประเทศไหนบ้าจี้ทำหรอก

คำว่า “ข้าราชการ” เป็นแบบอย่างเฉพาะในเวลาราชการ ช่วงก่อนเกษียณรับบำนาญ หรือไม่ครับ ประเทศชาติไทย บ้านเมืองไทย จากข่าวไทยรัฐ เดลินิวส์ มติชน แนวหน้า บ้านเมือง ข่าวสด ไทยโพสต์ สยามรัฐ ผู้จัดการ ข่าวอิศรา เป็นต้น โดยได้นำเสนอข่าวที่ผู้กระทำทุจริตส่วนใหญ่จะมี “ข้าราชการ” ร่วมสมคบคิด วางแผนการไว้อย่างมีขั้นตอนและเป็นขบวนการ ขอเรียนทาง ส.ส. ส.ว. สตง. ป.ป.ช. ป.ป.ท. DSI สคก. สตผ. รัฐบุรุษ องค์มนตรี ศาล ครม. โปรดพิจารณาวางแนวทาง กฎหมาย ยุทธศาสตร์ นโยบายและแผน ว่าจากคำว่า “ข้าราชการ” ควรจะเสมอภาคเท่าเทียมกับคำว่า “ประชาชน” หรือไม่ หากใช่จะถือว่าเป็นธรรมและยุติธรรมต่อความไว้วางใจที่ปวงชนชาวไทยคาดหวังแล้วหรือไม่ เพราะหากเทียบกระบวนการยุติธรรมไทยกับต่างชาติ ขั้นตอน ระยะเวลา ความชัดเจนและโปร่งใส ต่างกันอย่างสิ้นเชิง ถ้าเป็นข้าราชการ เพื่อเข้ามาเป็นผู้รับประโยชน์ มาหวังรวย หวังสุขสบาย หวังเกียรติยศและชื่อเสียง กับ เพื่อเข้ามารับใช้งานประชาชน งานสาธารณะประโยชน์ อย่างไรไหนที่ปวงชนชาวไทยควรสนับสนุนเห็นด้วยมากกว่ากัน

คำว่า “ข้าราชการ” เป็นแบบอย่างเฉพาะในเวลาราชการ ช่วงก่อนเกษียณรับบำนาญ หรือไม่ครับ ประเทศชาติไทย บ้านเมืองไทย จากข่าวไทยรัฐ เดลินิวส์ มติชน แนวหน้า บ้านเมือง ข่าวสด ไทยโพสต์ สยามรัฐ ผู้จัดการ ข่าวอิศรา เป็นต้น โดยได้นำเสนอข่าวที่ผู้กระทำทุจริตส่วนใหญ่จะมี “ข้าราชการ” ร่วมสมคบคิด วางแผนการไว้อย่างมีขั้นตอนและเป็นขบวนการ ขอเรียนทาง ส.ส. ส.ว. สตง. ป.ป.ช. ป.ป.ท. DSI สคก. สตผ. รัฐบุรุษ องค์มนตรี ศาล ครม. โปรดพิจารณาวางแนวทาง กฎหมาย ยุทธศาสตร์ นโยบายและแผน ว่าจากคำว่า “ข้าราชการ” ควรจะเสมอภาคเท่าเทียมกับคำว่า “ประชาชน” หรือไม่ หากใช่จะถือว่าเป็นธรรมและยุติธรรมต่อความไว้วางใจที่ปวงชนชาวไทยคาดหวังแล้วหรือไม่ เพราะหากเทียบกระบวนการยุติธรรมไทยกับต่างชาติ ขั้นตอน ระยะเวลา ความชัดเจนและโปร่งใส ต่างกันอย่างสิ้นเชิง ถ้าเป็นข้าราชการ เพื่อเข้ามาเป็นผู้รับประโยชน์ มาหวังรวย หวังสุขสบาย หวังเกียรติยศและชื่อเสียง กับ เพื่อเข้ามารับใช้งานประชาชน งานสาธารณะประโยชน์ อย่างไรไหนที่ปวงชนชาวไทยควรสนับสนุนเห็นด้วยมากกว่ากัน

มีคนอ้างตนว่าสามารถฝากคนเข้าทำงานการไฟฟ้าได้ ข้าจึงนำลูกหลาน6คนไปฝากซึ่งได้จ่ายเงินให้เขาหลายล้านบาท คนอื่นๆได้ยินก้อมาฝากเช่นเดียวกัน ซึ่งส่วนมากก็รับราชการเช่นเดียวกัน ต่อมาจึงรู้ว่าถูกหลอก พวกที่มาฝากจึงได้ฟ้องศาลและดำเนินคดีกับดิฉันและสามี ทั้งๆที่ดิฉันก็เป็นครูแก่ๆที่ถูกหลอกเช่นกัน ดิฉันต่อสู้ทางศาลมาเป็นเวลาเกือบ5ปี ดิฉันจึงลาออกจากราชการก่อนเกษียณหนึ่งปี โดยขอรับบำนาญ. เพราะทรมาณกับคดีที่ไม่ได้ตั้งใจไปใคร แต่คดียังไม่สิ้นสุด ดิฉันได้ปรึกษาเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการกู้บำเหน็จตกทอด เขาบอกว่าดิฉันไม่มีสิทธิ์ได้รับ มันเป็นการทรมานกับชีวิตเหลือเกิน ใครเป็นผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องนี้บ้างคะ โปรดให้ความกระจ่างดิฉันด้วยค่ะว่ามีสิทธิ์กู้บำเหน็กตกทอดหรือไม่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท