อนุทินส่วนตัว ๘ ก.พ. ๕๑


วัฒนธรรมข่าวร้าย
         สังคมปัจจุบันถูกยัดเยียดข่าวร้ายโดยสื่อมวลชน     สื่อมวลชนเผยแพร่ข่าวดีไม่เป็น     หรือเชื่อว่าข่าวดีขายไม่ได้    ต้องข่าวร้ายจึงจะขายได้     สภาพสังคมเช่นนี้หล่อหลอมขยายพืชพันธุ์แห่งความชั่วร้ายในสัญชาตญาณของมนุษย์     โลกจะอยู่ไม่ได้     เราต้องการการขยายพืชพันธุ์แห่งความดีที่มีอยู่แล้วในตัวมนุษย์
         วันนี้ ข่าว ๕.๐๐ น. ของวิทยุ เอฟเอ็ม ๑๐๐.๕     บอกว่าตำรวจไปตรวจหอพักใกล้ มรภ. นครราชสีมา พบว่าหอพัก ๓ แห่งสภาพไม่ปลอดภัย  สายไฟเก่า  ห้องพักแคบและการระบายอากาศไม่ดี    ไม่มีใบอนุญาตให้บริการหอพัก    นักศึกษาพักอยู่เป็นคู่ๆ หญิงชาย  มีแต่ส่วนที่เป็นข่าวร้าย ข่าวกลางๆ ก็ไม่มี    ไม่บอกว่าไปตรวจหอทั้งหมดกี่หอ  ที่สภาพดี และอยู่กันเรียบร้อยมีกี่หอ     ไม่บอกว่าหอที่มีนักศึกษาหญิงชายจับคู่อยู่กันนั้น มีทั้งหมดกี่ห้องจากกี่ห้อง     ให้ข่าวคล้ายๆ นักศึกษาที่อยู่หอพักเป็นพวกจับคู่มั่วสุมทั้งหมด
         นี่คือปัญหาระบบ และวัฒนธรรมของสื่อสารมวลชนไทย     วงวิชาการสื่อสารมวลชนคิดอย่างไร   

เรียนรู้จาก MSSRC
         MSSRC = Mekong Sub-region Social Research Center  คณะศิลปศาสตร์  มอบ.  http://mssrc.la.ubu.ac.th 
         MSSRC Review 2000 – 2007   ISBN 978-974-523-169-6, Nov 2007  http://www.mssrc.la.ubu.ac.th/2006/page/MSSRC%20Review2000_2007Final.pdf 
         ผศ. ดร. สุชาดา ทวีสิทธิ์  คณบดีและประธาน
         สนับสนุนโดย RF
         เพื่อสนับสนุนนักศึกษาระดับปริญญาตรี  และโท ด้านแม่โขงภูมิภาคศึกษา  และจัดการศึกษาด้านภาษา จีน ลาว เขมร เวียดนาม
         มีการวิจัยข้ามพรมแดน เรื่อง การท่องเที่ยว  การสื่อสารข้ามวัฒนธรรม  สิ่งแวดล้อม  sexuality,  gender,  migration,  displacement,  statelessness,  health
          GMSRC = Greater Mekong Sub-region Resource Center   http://gmsrc.la.ubu.ac.th Quarterly Newsletter : Mekong Today

ข่าวคณะแพทย์
http://medinfo.psu.ac.th/mednews2 
         ปีที่ 26 ฉบับที่ 154  ประจำเดือนมกราคม 2551
         ผมมีสิทธิ์ภูมิใจและปิติสุขทุกครั้งที่ได้รับจดหมายข่าวนี้ เพราะผมเป็นผู้ริเริ่มเมื่อ 26 ปีที่แล้ว     นี่คือบุญเก่า

สงขลานครินทร์เวชสาร
         ISSN 0125-8435  http://medinfo.psu.ac.th/smj2/smj/htm 
         นี่ก็บุญเก่า รศ. นพ. สุเมธ พีรวุฒิ กับผมเป็นผู้ริเริ่ม    ได้เห็นฉบับปีที่ 26  ฉบับที่ 1  ม.ค. – ก.พ. 2551  ซึ่งออกตรงเวลาและบทความมีคุณภาพในระดับหนึ่ง     แต่สงสัยว่าทำไมไม่ได้รับการยอมรับเข้าในรายชื่อวารสารวิชาการระดับชาติ     ดูเกณฑ์ของคณะอนุกรรมการเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนางานวิจัยของ สกอ. แล้ว เดาว่าคงไม่เข้าเกณฑ์  ในเกณฑ์ใช้ TCI ด้วย

มูลนิธิ สคส.
            ประชุมคณะกรรมการมูลนิธิ   ต่อด้วยการโค้ชวิธีทำงานโดย ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

วัตถุประสงค์
1. สนับสนุนการดำเนินการของ สคส.
2. สร้างเสริมขีดความสามารถให้คนไทยในสังคมในทุกภาคส่วน  ได้แก่ภาคประชาสังคม  ภาคราชการ  ภาคการศึกษา  และภาคเอกชน  ใช้ทุนทางปัญญาทั้งที่มีอยู่ดั้งเดิม และที่พัฒนาขึ้นเพิ่มเติม    เพื่อให้สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้อย่างมีสติ และมีความสุข
3. ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างศักยภาพการเรียนรู้ การแบ่งปันความรู้ การพัฒนาต่อยอดความรู้ และการใช้กระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเอง พัฒนางาน พัฒนาองค์การและสังคม
4. เชื่อมโยงและส่งเสริมให้ภาคีเครือข่ายใช้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้พัฒนาสมรรถนะองค์กรหรือชุมชน จนเกิดเป็นเครือข่ายเรียนรู้ ภาคประชาสังคม ภาคราชการ ภาคการศึกษา และภาคเอกชน ที่ทรงพลัง    เป็นการพัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมอุดมปัญญาได้ในที่สุด
5. ดำเนินการเพื่อสาธารณประโยชน์  หรือร่วมมือกับองค์กรการกุศลอื่นๆ เพื่อสาธารณประโยชน์
6. ไม่ดำเนินการเกี่ยวข้องกับการเมืองแต่ประการใด

หัวใจของการประชุม
         คุยกันเรื่องการทำงานสาธารณประโยชน์แบบหารายได้เลี้ยงตัวเอง     ทำงานเชิงวิชาการหรือปัญญาให้แก่สังคมอย่างมืออาชีพ    และมีความเป็นอยู่ดีพอสมควร    แต่ไม่ใช่มุ่งแสวงหากำไรเอาไปแบ่งปันกัน    จะนำเสนออุดมการณ์และวิธีทำงานต่อสังคมอย่างไร
คำตอบคือนำเสนอเชิงคุณค่า ไม่ใช้ภาษาเชิงมูลค่า

กิจกรรม
         มีหน่วยงานที่ต้องการเรียนรู้ หรือฝึกทักษะด้าน KM ไม่น้อย
     • Smart money :  win – win
     • เราทำเป็น   และจัดทีมภายนอกได้    core competency
     • งานที่ควรรับมากๆ  และที่ไม่ควรรับ
           ไม่ยึดมั่นนิยามที่หน่วยงานที่มาติดต่อยึดถือในเบื้องต้น    แต่หวังความต่อเนื่องขององค์กรที่มาติดต่อเรา     และดำเนินการ KM ต่อเนื่อง
           ควรมีหลักสูตรเริ่มต้น เพื่อประเมินสภาพในองค์กร   
           ต้องมีตำรา  และคู่มือปฏิบัติการ สำหรับหากิน    ได้มาจากการเข้าไปทำงาน
           ทักษะในการสร้าง continuous engagement / longterm relationship ของหน่วยงานที่มาใช้บริการ    มีทักษะในการสร้างความสัมพันธ์ระยะยาว     และสร้างรายได้ไปตลอดทาง     lifelong relationship     ในขณะเดียวก็ selective     ไม่ยัดเยียดสิ่งที่เขาไม่ต้องการ
           มีรายชื่อ “ครูนอก” เอาไว้ส่งไปบางงานที่เหมาะสม 
           ไม่รังเกียจที่จะเข้าไปแก้มิจฉาทิฐิ  ไซโลเลี่ยมทอง
           Core value
           มี regular show & share session ของมูลนิธิ  เชิญหน่วยงานมาร่วม
           มองหน่วยงานที่มารับบริการว่ามีพนักงานที่เป็น talented persons    ที่จะมาร่วมกันสร้างสรรค์   

Human Resource Management ของ สคส.
           ให้สามารถดึงดูดคนดีคนเก่งมาทำงานได้    เป็นคนที่มีความภูมิใจ ดีใจที่ได้มาทำงานนี้ ทำกับกลุ่มคนเหล่านี้    แรงดึงดูดหลักไม่ใช่เงิน    มีรายได้จากสื่อ/ทรัพย์สินทางปัญญา 
            เจ้าหน้าที่ประจำ + แขกรับเชิญเป็นครั้งคราว

เคล็ดลับการทำงาน
            มี internal engine ที่ขับเคลื่อนตัวเองได้    มี platform ให้คนมา interact ข้าม function มองภาพรวมขององค์กร มากกว่ามองงานของตนเท่านั้น
            ทำงานแบบเดินพลวัต  หาทางให้เกิดการจัดการที่ถูกต้องต่อ KM ในหน่วยงานภาคี (ลูกค้า)     ถ้าเกิดขึ้นได้ภายใน ๑ ปี ถือว่าสำเร็จ     ระหว่างนั้นมีรายได้    product ของ สคส. คือ เลยการสร้างทักษะ KM ไปสู่    การจัดการที่ถูกต้อง ที่ทำให้เกิด KM Inside ในองค์กร      สคส. ต้องจัดทำ “บันได ๑๐ ขั้นสู่ KM Inside ในองค์กร”   
            KM คือเครื่องมือเอาความรู้ไป manage    ไม่ใช่เครื่องมือ manage ความรู้    
            มีวันมหากุศล ที่ภาคีเป็นผู้โชว์    ต่อไปจะเกิด corporate sponsors   
            อาจทำ KM Camp เยาวชน 
            ทำงานเป็น organizer
            เน้นทักษะ communicator
            ทำงานแบบ differentiate    แยกแยะลูกค้า   แยกแยะวิทยากร    มีเวทีฝึกแยกแยะ  ลปรร. การแยกแยะ    ตอนฝึกผิดไม่เป็นไร   พัฒนาทักษะด้านนี้
            ใช้เวที workshop เป็นที่มองหา star performers เก็บไว้ใช้เป็นข้อมูลบอกผู้จัดการ  เป็น product เล็กๆ อย่างหนึ่ง
            อย่าลืม entertainment component    มี showmanship มี script 
            คำแนะนำต่อ roadmap ที่เสนอ   ให้โฟกัส    ทำ learning by doing, learning and earning, learning by earning
            เสนอ 2 choice ให้ลูกค้า  
            แทคติกการทำงานขาย โดยหาทางให้ size เป็นประเด็นเลือกแทน prize    วิธีพูด  วิธีวางสินค้า
             งาน change the world    งาน turn around ชาวนา    ทำให้คนมี pride     ถ้าคนไทยมี pride การซื้อเสียงจะไม่ได้ผล 

บริษัท
           ต่อไปอาจต้องคิดตั้งบริษัท ทำธุรกิจเพื่อสังคม    อาศัยนิติบุคคลของบริษัทมาทำงานที่มูลนิธิทำไม่ได้    ที่ต้องการ maximum flexibility และ freedom ให้คนทำงาน    และสนองภาคี (ลูกค้า) ได้ตรงใจเขา    คล้ายๆ พีดีเอ ของคุณมีชัย

หมายเลขบันทึก: 164571เขียนเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2008 09:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มีนาคม 2012 14:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท