แนะนำต้นไม้ที่น่าปลูก


อาชีพ เกษตรกรรม รายได้

สำหรับคนปลูกต้นไม้อยากจะแนะนำพืชที่จะปลูกดังนี้

คนเราจะมีสายป่านที่ยืนยาวต้องมีรายได้มาเจือจุนเพื่อชีวิตนั่นเอง

พืชที่จะปลูกจึงต้องมีรายได้เป็นวันและเป็นเดือนและเป็นปี

เป็นวันคือมีรายได้เกี่ยวกับการครองชีพทุกวัน

เป็นเดือนอาจจะเป็นค่าใช้จ่ายใคเครดิตต่างๆ

เป็นปีเป็นเงินออมหรือใช้จ่ายในความจำเป็นเสริม

พืชรายวัน  สวนครัวต่างๆ  ไม้ประดับกระถาง พริกไทยดีที่สุด

ต้นไม้อื่นก็มีเช่นยางพารา ประดู่แดง ไม้ประดับราคาแพงต่างๆ

คนเราถ้ามีความเพียรและมีใจรักก็จะมีความสุขใครว่าทำการเกษตรแล้วจนผมไม่เชื่อ

รวยมากมายดีก่วาข้าราชการระดับ7อีกที่แน่ๆไม่มีนายตนเองเป็นนายตนเอง

 

หมายเลขบันทึก: 164397เขียนเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2008 09:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 14:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

สวัสดีค่ะ

เป็นเรื่องที่เคยคิดไว้ ว่า ถ้าไม่ได้ทำงานราชการ อยากมีร้านขายต้นไม้ แต่คงใช้ต้นทุนสูง ตอนนี้สะสมพันธุ์ ชวนชมไว้บ้าง  เผื่อสักวันจะได้ใช้ อยากได้ประดู่แดง ไม่รู้ว่าจะหาได้ที่ไหน ไปถามร้านต้นไม้ บอกไม่รู้จัก

กล้าประดู่แดงหรือไม้อื่นขอความอนุเคราะห์ตามศูนย์เพาะชำกล้าไม้ต่างๆเช่นราชบุรีเปิดดูในเว้ปกรมป่าไม้ได้ถ้าใจร้อนก็หาซื้อในเว้ปก็มีเข้าgoogleและพิมพ็กล้าไม้ก็น่าจะมี

ปลูกต้นไม้มาหลายปีตอนนี้ที่ตนเองไม่มีที่ปลูกแล้วเลยมาสนใจการก่อสร้างอยากสร้างบ้านอยู่สักหลังสร้างด้วยตนเองเอาไม้ที่ตนเองปลูกสร้างลักษณะที่เป็นบ้านดินเป็นครูบ้านนอกไม่ค่อยมีเงินเอาเงินไปปลูกต้นไม้หมดบ้านดินทำง่ายลดโลกร้อนด้วย

ปลูกต้นไม้มาหลายปีตอนนี้ที่ตนเองไม่มีที่ปลูกแล้วเลยมาสนใจการก่อสร้างอยากสร้างบ้านอยู่สักหลังสร้างด้วยตนเองเอาไม้ที่ตนเองปลูกสร้างลักษณะที่เป็นบ้านดินเป็นครูบ้านนอกไม่ค่อยมีเงินเอาเงินไปปลูกต้นไม้หมดบ้านดินทำง่ายลดโลกร้อนด้วย

วันนี้ฝนตกทั้งวันเลยกลับมาทบทวนบล็อกรหัส44332211tanapolบันทึกไว้กันลืมอนุญาตให้ใครไปใช้ได้วันนี้ไปทำงานไม่ได้เตรียมตัวให้ลูกๆไปโรงเรียนกันมีลูก4คน

หญิง3ชาย1คนโตเรียนมหิดลสิ่งแวดล้อมตามรอยพ่อเพราะพ่อชอบปลูกต้นไม้ลดโลกร้อนคนรองม6 คนเล็กเป็นชายป2พ่อเป็นผอ.โรงเรียนทำไร่ปลูกไม้ประดับขายมี

หลายอย่างตั้งแต่ปาล็มต่างๆลีลาวดี ตะเบพูย่า ปีบ ในไร่ทำเป็นรีสอร์ทพักได้50คนมี5หลังและห้องแถว4ห้องค่าพัก 2ชั้น 700/วัน ห้องแถว300/วัน คาราโอเกะ500/วัน

บรรยากาศดีติดนำติดเขื่อยอยู่หนองหญ้าปล้องเพชรบุรีโทร081-1908652สำหรับอาหารตามสั่งราคาถูกรสชาติเยี่ยมเคยรับแขกระดับมาแล้วตัวอย่างอาหารทำได้ทุกอย่าง

แต่เน้นอาหารแบบบ้านนอกเช่น แกงป่า ผัดเผ็ด ผัดผัก แกงส้ม ต้มยำ แกงเรียง

ทอดปลา ยำ ลาบ นึ่ง ย่าง อบ

บริษัท ไม้สักหลวงไทย จำกัด

ไม้ตัวใหม่ที่มาแรง ( ไม้ตะกูก้านแดง )
 
www.thaisakluangwood.co.th

Thaisakluangwood  Co.,Ltd.
บริษัท ไม้สักหลวงไทย จำกัด 349 หมู่ที่ 12 ต.เมืองปัก อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา 30150

ในปัจจุบันสถานการณ์การขาดแคลนไม้ทั้งในเมืองไทยและตลาดโลกทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุมาจากการใช้ไม้จำนวนมหาศาลของประชากรโลก ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว   ทำให้จากอดีตจนถึง ปัจจุบัน มีการตัดไม้ธรรมชาติเพื่อนำมาสนองความต้องการ ในการใช้ประโยชน์จากไม้ของมนุษย์ตลอดมา จนเมื่อมาถึงจุดวิกฤติ หลายประเทศได้มีการห้ามตัดไม้ธรรมชาติเพื่อนำมาใช้งาน เช่น ประเทศไทยมีการออกกฏหมายห้ามตัดไม้ในปี พศ. 2532 , ส่วนประเทศในแถบยุโรป, สหรัฐอเมริกา  ,แคนนาดา, และสแกนดิเนเวีย  หลายประเทศออกกฏหมายห้ามตัดไม้มานานหลายสิบปี เมื่อการห้ามตัดไม้เกิดขึ้น ทางออกของการแก้ปัญหา ที่จะตอบสนองอุปสงค์จำนวนมหาศาลเหล่านี้จึงมีอยู่ทางเดียวคือการปลูกไม้ขึ้นเองเพื่อใช้งาน ซึ่งทำให้ในหลายประเทศมีการพัฒนาอุตสาหกรรมสวนป่าเศรษฐกิจขึ้นอย่างมั่นคง โดยได้รับการนับสนุนทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน มีการพัฒนากระบวนการการผลิตอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ   ทั้งในด้านสายพันธุ์พืชและในเรื่องกรรมวิธีการปลูกและดูแลรักษา ต่อเนื่องไปจนถึงเทคโนโลยีในการแปรรูป และการผลิตสินค้าและลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อที่จะสามารถตอบสนองความต้องการใช้ไม้ในตลาดโลกได้ทันเวลานั้น หลายประเทศจึงศึกษาและเสาะแสวงหาพันธุ์ไม้โตเร็วที่มีศักยภาพในการเจริญเติบโตได้ดี เหมาะกับภูมิประเทศและสภาพอากาศในพื้นที่ประเทศนั้นๆ    โดยเนื้อไม้สามารถตอบสนองความต้องการทางเศรษฐกิจได้ ตัวอย่างเช่นไม้สน, มะฮอกกานี,ไม้เพาโลเนีย,ยูคาลิปตัส เป็นต้น ในประเทศไทยนับจากมีการปิดป่าถานการณ์ความเดือดร้อนเนื่องจากการขาดแคลนไม้ใน ตลาดมีเพิ่มมากขึ้นและมีความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการวิเคราะห์ตัวเลขการนำเข้าไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ไม้อื่น ๆ     จากต่างประเทศที่มีมากถึงประมาณปีละ 50,000 ล้านบาท  และเป็นตัวเลขการนำเข้าที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจากคำกล่าวของ นายธานี วิริยะรัตนพร รองอธิบดีกรมป่าไม้ เมื่อหลายปีที่ผ่านมา กล่าวถึงสถานการณ์ไม้เศรษฐกิจว่าหลังจากที่รัฐบาลประกาศยกเลิกสัมปทานป่าไม้ในประเทศไทย ทำให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับไม้บางส่วนต้องนำเข้าไม้จากต่างประเทศมูลค่าสูงถึงปีละ 50,000 ล้านบาท ตัวเลขการนำเข้าไม้จากต่างประเทศ มีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี ถ้าเราไม่หาทางออกไว้แต่เนิ่นๆ เชื่อว่าในอนาคตไทยต้องเจอวิกฤติขาดแคลนไม้เศรษฐกิจแน่ และเมื่อพิจารณาไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ไม้ต่างๆ ที่มีการนำเข้ามาในไทย ส่วนหนึ่งจะนำเข้า จากประเทศที่ยังคงมีทรัพยากรป่าธรรมชาติหลงเหลืออยู่ แต่ก็มีจำนวนลดน้อยลงเรื่อยๆ โดยในอนาคตไม้ที่จะนำเข้ามาในประเทศจะมาจากกลุ่มประเทศที่มีการทำอุตสาหกรรม    สวนป่าเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องเพิ่มมากขึ้น  เช่น สหรัฐอเมริกา, แคนนาดา, กลุ่มประเทศทางสแกนดินีเวีย เป็นต้น ในปัจจุบันการผลิตไม้เพื่อใช้แปรรูปในเมืองไทยมีเพียงไม้ยางพาราแปรรูปเท่านั้นที่มีปริมาณในตลาด ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการตัดโค่นยางพาราที่หมดอายุน้ำยางโดยสามารถผลิต      ป้อนตลาดไม้แปรรูปในประเทศและส่งออกได้ระดับหนึ่ง   แต่ก็เป็นปริมาณที่ไม่พอเพียงเมื่อเทียบกับตัวเลขการนำเข้าในแต่ละปี      แม้ว่ามีการทะยอยโค่นตัดไม้ยางพาราจำหน่ายสำหรับแปรรูปเพื่อทำสินค้าและผลิตภัณฑ์,เครื่องเรือนและเฟอร์นิเจอร์   แต่ปริมาณไม้ยางพาราแปรรูปก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด สาเหตุมาจากไม้ยางพาราแปรรูปที่ผลิตได้ ส่วนมากจะทำการส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศเช่น จีน ซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุด รองลงมาคือ เวียตนาม,ญี่ปุ่น เป็นต้น  เนื่องจากราคาไม้แปรรูปที่ส่งไปยังประเทศดังกล่าว มีราคารับซื้อที่สูงกว่าในประเทศ   แต่ขณะเดียวกันผู้ประกอบการที่ต้องใช้ไม้ในประเทศกลับประสบปัญหาขาดแคลนไม้ใช้งาน โดยอีก    ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ปริมาณไม้ยางพารามีการขาดแคลนและมีความผันผวนก็คือถ้าราคาน้ำยางพาราในตลาดมีราคาสูง  เกษตรกรจะชะลอการตัดโค่นไม้เพื่อแปรรูปในระยะที่กำลังจะหมดน้ำยางและหันมาขายน้ำยางแทน โดยในกรณีนี้เมื่อต้นยางอายุมากถึงจุดหนึ่ง จะถึงอายุที่ต้นยางพาราจะให้น้ำยางในปริมาณน้อยและจะลดลงเรื่อยๆเกษตรกรจะทำการตัดโค่นต้นยางพาราเพื่อขายไม้    แต่หากในช่วงดังกล่าวราคาน้ำยางในตลาดราคาดี เกษตรกรก็จะชะลอการตัดโค่น หันมาขายน้ำยางอีกระยะหนึ่งก่อน  ทำให้จำนวนไม้    ที่ต้องแปรรูปเพื่อป้อนตลาดนั้นชะลอตัวและมีปริมาณลดลง จะเห็นได้ว่าแม้ปริมาณการ ปลูกยางพาราในประเทศจะมีมากก็ตาม แต่ภาวะการขาดแคลนไม้ก็เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะไม้ยางพาราไม่ใช่ไม้สวนป่าโดยตรง แต่การแปรรูปไม้ยางพาราเป็นเพียงผลพลอยได้ของการปลูกสวนยาง   เพื่อใช้น้ำยางเท่านั้นระยะตัดฟันที่แท้จริงต้องรอให้ไม้หมดน้ำยางประมาณอายุตั้งแต่ 25-30 ปีขึ้นไป ซึ่งใช้ระยะเวลาวงจรการโค่นตัดเป็นเวลานาน     และให้ผลผลิตเนื้อไม้ต่อไร่ไม่สูงนัก สถานการณ์การขาดแคลนไม้ในปัจจุบัน มีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการผลิตในวงกว้าง   แม้กระทั่งสมาคมผู้ผลิตเครื่องเรือนและเฟอร์นิเจอร์ในประเทศไทย ที่เคยใช้ไม้ยางพาราเป็นวัตถุดิบหลักสำหรับผลิตเฟอร์นิเจอร์และเครื่องเรือนส่งออก ยังพิจารณาการทำข้อตกลงนำเข้าไม้หลากชนิดจากสหรัฐอเมริกาแทน เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนไม้ ส่วนไม้เบญจพรรณและไม้ชนิดอื่น ก็มีปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบสัดส่วนทางเศรษฐกิจ เนื่องจากผู้ประกอบการไม่สามารถทำส่วนแบ่งการตลาดได้เพราะไม่มีปริมาณไม้ในมือ ทันที สนใจปรึกษาได้ที่  คุณณา  Tel.080-613-4196     E – mail  : [email protected]

บริษัท ไม้สักหลวงไทย จำกัด

ประโยชน์ของตะกู
www.thaisakluangwood.co.th

Thaisakluangwood  Co.,Ltd.
บริษัท ไม้สักหลวงไทย จำกัด 349 หมู่ที่ 12 ต.เมืองปัก อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา 30150

 หลังจากที่ได้ทำความรู้จักกับตะกูมาแล้ว คุณจะปฏิเสธไม่ได้เลยว่า  "ตะกูเป็นไม้ที่คุณควรปลูก" นอกจากคุณลักษณะพิเศษที่เป็นไม้ปลูกง่ายแล้ว ไม้ตะกูยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมได้หลายประเภทไม่ว่าจะเป็น

* ไม้อัด* ไม้บาง ก้านไม้ขีดไฟ* ไฟเบอร์บอร์ด* พาร์ติเคิลบอร์ด* แปรงลบกระดาน* พื้นรองเท้า

* พื้นรองเท้า* เฟอร์นิเจอร์ ตู้โต๊ะเตียง ซึ่งสามารถใช้แทนไม้สักได้เลย   * เฟอร์นิเจอร์ ตู้โต๊ะเตียง ซึ่งสามารถใช้แทนไม้สักได้เลย

* โครงหลังคาบ้าน ตัวบ้าน ฯลฯ

ประโยชน์ ของตะกูที่มีความต้องการในตลาดเศรษฐกิจไม่หมดเพียงเท่านี้ เพราะประโยชน์สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ใช้ในการทำเยื่อกระดาษ ซึ่งประเทศฟิลิปปินส์พบว่า ไม้ตะกู อายุ 3 ปี สามารถทำเยื่อกระดาษเขียนหนังสือ และการดาษหนังสือออฟเสทที่มีคุณภาพดี และเป็นเนื้อเยื่อชั้นดีที่ให้ความเหนียวของกระดาษสูง นอกจากนี้ตะกูยังมีคุณสมบัติเด่นในแง่ตัดแตกหน่อได้ดี จึงเป็นความหวังใหม่ในอนาคตสามารถปลูกเป็นสวนป่า   เพื่อจำหน่ายในรูปไม้ซุงที่มีอนาคตสดใสมากที่สุดชนิดหนึ่งความรู้ครับเพื่อน   ถิ่นกำเนิดและการกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติตะกูพบการกระจายพันธุ์อยู่ในช่วงเส้นรุ้งที่ 9-27 องศาเหนือ ตั้งแต่ประเทศเนปาล ไล่มาทางทิศตะวันออกจนถึงบังคลาเทศ อินเดีย ศรีลังกา  พม่า ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ลงไปจนถึงหมู่เกาะปาปัวนิวกินี   ในประเทศไทยตะกูมีการกระจายพันธุ์แทบทุกภาคของประเทศ โดยพบที่ เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง ตาก แพร่ กำแพงเพชร อุทัยธานี เลย เพชรบูรณ์ นครราชสีมา ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง ชลบุรี ตรัง สตูล และภูเก็ต ขึ้นได้ตั้งแต่ที่ราบริมทะเลไปจนถึงระดับความสูง 1,000 เมตร ปริมาณน้ำฝนรายปี 1,000-5,000 มิลลิเมตร  โดยมักพบต้นตะกูขึ้นเป็นกลุ่มล้วน ๆ ในป่าดั้งเดิมที่ถูกแผ้วถางแล้วปล่อยทิ้งร้างไว้ หรือสองข้างทางรถยนต์ที่ตัดผ่านป่าที่ค่อนข้างชุ่มชื้น เช่นป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง เป็นต้น

ตารางที่ 4  เปรียบเทียบคุณสมบัติของไม้โตเร็วบางชนิดกับไม้ตะกู

ตะกูเป็นไม้ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่  สูง 16-27 เมตร  (สำหรับในประเทศไทย ต้นตะกูที่โตเต็มที่ที่พบในป่าธรรมชาติมีขนาดโตทางเส้นรอบวงเพียงอกประมาณ  280  ซม.  สูงประมาณ  27  เมตร)  เรือนยอดเป็นพุ่มกลม  กิ่งตั้งฉากกับลำต้น  ส่วนใหญ่ลำต้นเปลาตรง มีการลิดกิ่งเองตามธรรมชาติ (บางถิ่นกำเนิดโดยเฉพาะในแถบประเทศอินเดีย ลำต้นจะไม่เปลาตรงเนื่องจากมีกิ่งขนาดใหญ่ การลิดกิ่งตามธรรมชาติมีน้อย) เปลือกสีเทาปนน้ำตาลค่อนข้างเรียบ  เนื้อไม้สีเหลืองอ่อน  ใบเดี่ยวเรียงตัวตรงข้ามเป็นคู่ ๆ มีขนาดประมาณ 5-12  x 10-24 ซม.  ปลายใบมนหรือเป็นติ่งแหลม โคนใบป้าน เนื้อใบค่อนข้างหนา หลังใบมีขนสาก ๆ และมีสีเข้มกว่าทางท้องใบ ท้องใบมีขนนุ่มและจะหลุดร่วงไปเมื่อใบแก่ เส้นแขนงใบมี 7-14 คู่ เห็นชัดทั้งสองด้านดอกตะกูมีขนาดเล็กติดกันแน่นอยู่บนช่อดอกแบบ Head สีขาวปนเหลืองหรือสีส้ม กลิ่นหอมอ่อน ๆ ออกเป็น  ช่อกลมเดี่ยวหรือเป็นกระจุกไม่เกิน  2 ช่อ  อยู่ตามปลายกิ่ง ผลตะกูเป็นผลเดี่ยวโดยเรียงกันแน่นเป็นก้อนกลมอยู่บนช่อดอก เรียกผลแบบนี้ว่า Fruiting Head  มีขนาดความโตวัดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5-6 ซม. ผลแก่มีสีเหลืองเข้ม ในผลหนึ่ง ๆ จะมีเมล็ดขนาดเล็กเป็นจำนวนมากบรรจุอยู่ภายใน เมล็ดมีขนาดประมาณ 0.44 x 0.66 มม. เมล็ดแห้งหนัก 1 กิโลกรัม มีจำนวนเมล็ดประมาณ 18-26 ล้านเมล็ด  ผลแก่เป็นอาหารของสัตว์ป่าจำพวกกวาง เก้ง และนก  ซึ่งสัตว์เหล่านี้ช่วยให้การสืบพันธุ์ตามธรรมชาติ (Natural Regeneration) ของไม้ตะกูเกิดขึ้นได้ง่าย เราจึงสามารถพบเห็นกลุ่มไม้ตะกูขึ้นอยู่ทั่วไปในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ทั้งๆที่บางแห่งอาจจะมองไม่เห็นแม่ไม้ในบริเวณข้างเคียงเลยก็ตาม

ที่มา : กลุ่มงานพัฒนาผลิตผลป่าไม้ สำนักวิจัยการจัดการป่าไม้และผลิตผลป่าไม้ กรมป่าไม้ (2548)

ทันที สนใจปรึกษาได้ที่   คุณณา  Tel.080-613-4196  E – mail  : [email protected]

ดีมากเลย *-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*--*-*-*-*-*-*-*-*-*-**-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-**-*-*-*-*-*-*-*---*ครับ.บ..บ...บ...บ..บบ....บ.....บ.......บบบ.......บ......บ........-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*

*-*-*-------------*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท