4 ข้อหาฉกรรจ์สำหรับผู้บริหารก่อนหมดวาระ


"อำนาจคือสิ่งอันหอมหวนชวนดม"

 

 

4 ข้อหาฉกรรจ์สำหรับผู้บริหารก่อนหมดวาระ 

 

                 ในระยะแห่งการเปลี่ยนถ่ายอำนาจการบริหารในองค์กร อำนาจเก่ากำลังจะหมดวาระ  อำนาจใหม่กำลังก้าวเข้ามา  ย่อมเกิดภาวะอันเป็นวัฏจักรแห่งการชิงอำนาจ การพยายามโค่นล้มอำนาจเก่า การบั่นทอนขุมกำลัง ขุดรากถอนโคน ย่อมเกิดขึ้นได้เป็นปกติวิสัย  เพราะ "อำนาจคือสิ่งอันหอมหวนชวนดม"  เมื่อดมแล้วก็ยิ่งติด  ยิ่งติดก็ยิ่งเสพ ติดแล้วก็หลง ยากจะถอนได้  เพราะฉะนั้น  การบั่นทอน หรือโค่นอำนาจจำเป็นต้องอาศัยแรงผลักดันจากมวลชนในองค์กรและ/หรือจากสังคมภายนอกเข้ามาเป็นกำลัง เพื่อให้การบั่นทอนนั้นมีพลังเข้มแข็ง ฝ่ายอำนาจเก่าไม่สามารถกระทำการเถลิงอำนาจได้อีก 

                 แผนการบั่นทอน/โค่นอำนาจจึงเกิดขึ้นด้วยการ "ตั้งข้อหาฉกรรจ์"  ให้อำนาจเก่าต้องฝ่าฟัน แก้ตัวให้ได้ ถ้าไม่ได้จึงจะเป็นความชอบธรรมที่มวลชนในองค์กรจะไม่สนับสนุนและอำนาจใหม่ก็จะก้าวขึ้นมาได้อย่างสง่างาม

                 ต่อไปนี้ คือ  4 ข้อหาฉกรรจ์ ที่อำนาจเก่าถูกกล่าวหา จริงหรือเท็จ ย่อมหาข้อพิสูจน์ได้ไม่ยาก

 

                  1.โกงกินทั้ง "ทวนน้ำ และ  ตามน้ำ"  โดยอาศัยช่องโหว่ของระเบียบ กฎหมาย ที่ตนและพวกพ้องสร้างขึ้น จน "ร่ำรวยผิดปกติ" มีรายได้จนล้นพ้นคอหอย

                  2. เอื้อประโยชน์แก่ลูกเมีย พรรคพวกเพื่อนพ้อง เพื่อสร้างอาณาจักรแห่งผลประโยชน์ โดยอาศัยการวางขุมอำนาจในการอนุมัติทุกจุด เพื่อให้บรรลุในการโกงกิน

                  3. ผลงานย่ำแย่มีแต่ปัญหา บริหารไร้ประสิทธิภาพ โครงการเก่าต่างๆ ที่ดี  ล้มเหลว โครงการใหม่ที่สร้างขึ้นก็ล้มเหลว เพราะมุ่งแต่แสวงหาประโยชน์  งานใดไม่มีผลประโยชน์ ไม่มีเงิน โกงกินไม่ได้ ก็หาใส่ใจไม่ 

                 4. ไม่จริงใจต่อลูกน้องหรือผู้ที่มีท่าทีเป็นปฏิปักษ์ อิจฉาลูกน้องที่ทำดีข้ามหน้า ก่อความแตกแยกในองค์กร ชูแต่ลูกน้องที่ภักดี สนับสนุนญาติพี่น้อง เพื่อนพ้องพรรคพวกของตัวขึ้นเสวยตำแหน่ง แม้ไม่มีฝีมือก็ไม่สนใจ  ขอให้เป็นแต่พวกตัว  ทำให้ "คนดีมีฝีมือหลบลี้หนีหาย  เหลือแต่พวกขี้ข้านายสอพลอล้อมหน้าหลัง" 

                  ยามที่กรุงศรีอยุธยาใกล้แตก สภาพการณ์ไม่ต่างจาก 4 ข้อหาฉกรรจ์นี้เลยแม้แต่นิด  ผู้นำที่มีชนักปักหลัง 4 อันนี้ มีให้เห็นอยู่ทุกยุคสมัย แม้แต่ในองค์กรทุกส่วนของสังคมปัจจุบัน การโค่นอำนาจเก่าจะมีความชอบธรรมยิ่งถ้า  4 ข้อหาฉกรรจ์นี้เป็นความจริง ซึ่งพิสูจน์ได้โดยง่าย  เพียงแต่จะหาผู้กล้ามาประจานและตั้งข้อกล่าวหานี้แก่มวลชนเท่านั้น  

                 องค์กรของท่านกำลังประสบภาวะเช่นนี้บ้างไหม  ถ้าใช่ องค์กรของท่านก็ต้องการผู้กล้าที่จะล้างอำนาจอันไม่ชอบธรรมนั้นทิ้งไป แต่ถ้าไม่ใช่ อำนาจใหม่ที่ก้าวมาก็เสมือนพวกมารที่ต้องการอำนาจนั้นมาเชยชมและต้องถูกกีดกันมิให้ขึ้นมามีอำนาจ  แต่ถ้าเป็นทั้งสองอย่าง คือไม่ว่าอำนาจเก่า หรืออำนาจใหม่ ก็ล้วนเป็นพวกมาร  ก็นับว่าเป็นกรรมของขององค์กรท่านที่จะต้องอยู่ในวัฏจักรอันมืดมนต่อไปอย่างยาวนาน นอกจากจะมี "คนดีศรีองค์กร" เกิดขึ้นครับ

หมายเลขบันทึก: 164059เขียนเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2008 08:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • แอบมาอ่านครับท่านอาจารย์กรเพชร :-)
  • ผมลืมนึกไปครับว่าราชภัฏถึงคราวที่จะต้องจัดการยกเครื่องทีมบริหารพร้อมกันอีกรอบ คงวุ่นกันน่าดูนะครับ
  • คนมีกิเลส ๓ ตัวเหมือนกัน ดังนั้น การบริหารจัดการด้วยกิเลสกับราชภัฏทั่วประเทศจึงน่าจะไม่ต่างกันนะครับ
  • ขอบคุณครับ

ก่อนอื่นขอสวัสดีท่านอาจารย์ที่รักและเคารพก่อน

ไม่ได้มาเยี่ยมเยือนบล๊อกของอาจารย์ตั้งเสียนาน

เพราะต้องทำรายงานส่งภาคนิพนธ์

พออ่านบทความของอาจารย์แล้วรู้สึกว่า

ประเทศไทยเมื่อไหร่จะหลุดพ้นวัฏจักรเเบบนี้เสียที

เพราะที่ผ่านมาประเทศเหมือนจะไม่มีคนดี

เหตุด้วยคนโกงกินเยอะและขับไล่คนดีลง

สารสาระของอาจารย์ที่หยิบยกดีมากคะ

เตือนสตอหนูให้รู้ว่าอย่างน้อยอนาคต

หนูต้องสอนลูกหลานให้เป็นคนดี

ขอบคุณสำหรับข้อความดี ๆ ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท