คนแบบไหน+ประเทศไหน เสี่ยงฆ่าตัวตายสูง


เป็นที่ทราบกันดีว่า โลกแห่งความเจริญทางวัตถุนั้นมักจะมาพร้อมกับความ "ใกล้ชิดแบบห่างเหิน" หรือต่างคนต่างอยู่มากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้โรคซึมเศร้า และปัญหาการฆ่าตัวตายระบาดไปทั่วโลก วันนี้มีข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้มาฝากครับ

<p>...</p>

เป็นที่ทราบกันดีว่า โลกแห่งความเจริญทางวัตถุนั้นมักจะมาพร้อมกับความ "ใกล้ชิดแบบห่างเหิน" หรือต่างคนต่างอยู่มากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้โรคซึมเศร้า และปัญหาการฆ่าตัวตายระบาดไปทั่วโลก วันนี้มีข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้มาฝากครับ

ท่านอาจารย์ดอกเตอร์แมทติว เค. นอค และคณะ แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เคมบริดจ์ แมสซาชูเซทส์ สหรัฐฯ ทำการศึกษาข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้ใหญ่ 84,850 คนจาก 17 ประเทศ

...

ผลการศึกษาพบว่า คนทั่วโลก 9.2% หรือประมาณ 1 ใน 10 มีความคิดที่จะฆ่าตัวตาย (อย่างน้อยก็สักครั้งในชีวิต) และมีคนที่ลงมือฆ่าตัวตายจริงๆ น้อยกว่า 3% (คนที่ "คิดจริง-ทำจริง" ย่อมจะมีน้อยกว่าคนที่ "คิดจริง-ทำไม่จริง" เสมอ)

อาจารย์นอคศึกษากลุ่มตัวอย่างที่มีความคิดฆ่าตัวตาย (suicidal ideation) 3 ประการ ซึ่งมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นไปตามลำดับได้แก่

  1. คิดฆ่าตัวตาย (suicidal thought)
  2. วางแผนฆ่าตัวตาย (suicidal plan)
  3. ลงมือฆ่าตัวตาย (suicidal attempt)

...

ประเทศที่คนมีความคิดฆ่าตัวตายมากที่สุดได้แก่

  • นิวซีแลนด์ > 15.9% ของประชากรมีความคิดฆ่าตัวตาย
  • สหรัฐอเมริกา > 15.3% ของประชากรมีความคิดฆ่าตัวตาย

...

ประเทศที่คนมีความคิดฆ่าตัวตายน้อยที่สุดได้แก่

  • อิตาลี > 3% ของประชากรมีความคิดฆ่าตัวตาย และ 0.5% พยายามฆ่าตัวตาย
  • จีนและไนจีเรียเป็น 2 ประเทศที่คนมีความคิดฆ่าตัวตายน้อยที่สุดเช่นกัน

...

ปัจจัยเสี่ยงของกลุ่มคนที่มีความคิดฆ่าตัวตายได้แก่

  • เป็นผู้หญิง
  • มีการศึกษาน้อย
  • อายุน้อย
  • ไม่แต่งงาน
  • มีความผิดปกติทางจิต เช่น โรคซึมเศร้า โรคควบคุมอารมณ์ไม่อยู่ (impulse control disorder เช่น โกรธรุนแรง ระเบิดความโกรธใส่คนรอบข้างบ่อย ฯลฯ - ไม่ทราบหัวหน้าหน่วยงานท่านเป็นโรคนี้บ้างหรือเปล่า) โรคเครียดวิตกกังวล (anxiety disorder) ติดยาเสพติด ฯลฯ

...

ข่าวดีสำหรับคนจนตอนนี้คือ ความจนไม่ได้ทำให้คนเราคิดฆ่าตัวตายมากขึ้น นอกจากนั้นเรายังรู้ด้วยว่า ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญอย่างหนึ่งของการฆ่าตัวตายคือ โรคซึมเศร้า ซึ่งแฝงอยู่ในประชากรทั่วไปประมาณ 1 ใน 10

ทุกวันนี้เรามียารักษาโรคซึมเศร้าที่ช่วยให้ชีวิตที่ห่อเหี่ยวกลับมามีชีวิตชีวาได้จริง (ถ้าเป็นโรคซึมเศร้า)

...

นอกจากนั้นการออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำ การออกกำลังแบบตะวันออก เช่น ไทเกก-ไทชิ(ชี่กง) มวยจีน รำกระบองชีวจิต ฯลฯ การใช้ชีวิตแบบพอเพียง โดยเฉพาะการมีหนี้ให้น้อยที่สุด มีส่วนช่วยป้องกันโรคซึมเศร้า

การใช้ชีวิตให้มีค่าเสมอ เช่น ชื่นชมความดีของตัวเราให้ได้อย่างน้อยวันละครั้ง กล่าวชมคนรอบข้างให้ได้อย่างน้อยวันละครั้ง การบริจาคเลือด ฯลฯ มีส่วนช่วยให้เราเคารพตัวเองและคนอื่นมากขึ้น อยู่ร่วมกับคนอื่นได้อย่างสันติมากขึ้น

...

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

...

ข่าวประกาศ                                                    

  • ถ้าผู้เขียนลากิจได้ > จะปลีกวิเวกในระหว่างวันที่ 16-24 กุมภาพันธ์ 2551.
  • ถ้าผู้เขียนลากิจได้ > จะไม่เขียนบล็อกในช่วงนั้นครับ > ขออภัย

ที่มา                                                  

  • Thank Reuters > Anne Harding > Suicide risk factors consistent across nations > [ Click ] > February 6, 2008. / BR J of Psychiatry. Feb. 2008.
  • ข้อมูลและการอ้างอิงในบล็อก "บ้านสุขภาพ" เป็นไปเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ไม่ใช่รักษาโรค
  • ท่านที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาหมอ พยาบาล เภสัชกร หรืออนามัยที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้
  • ขอขอบคุณอาจารย์ณรงค์ ม่วงตานี ศูนย์มะเร็งลำปาง > สนับสนุนเทคนิค iT.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ > 7 กุมภาพันธ์ 2551.

</span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span>

หมายเลขบันทึก: 163994เขียนเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2008 20:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท