คนไทยพลัดถิ่นที่ระนองเห็นว่าสถานพยาบาลปฏิบัติต่อพวกเขา(บางคน) อย่างไร


Soft Research ที่ระนอง คือมาก่อนลงพื้นที่จริงเพื่อเก็บข้อมูลกรณีศึกษาบุคคล วันที่ 6-7 กุมภาพันธ์ 2550 ก่อนอื่นเราต้องไปเยี่ยมเยียนหน่วยงานเป็นกระบอกเสียงให้คนไทยพลัดถิ่น คือ เครือข่ายการแก้ปัญหาคืนสัญขาติคนไทย หน่วยงานนี้มีเว็บไซต์ด้วยที่ http://www.thaipladthin.org/  โดยเอไปเยี่ยมก็ได้รับคำบอกว่า ได้เลือกผู้ป่วยที่เป็นอัมพฤกษ์ ที่เป็นไทยพลัดถิ่น ซึ่งจะต้องไปเยี่ยมบ้านเพราะมาที่สำนักงานไม่ได้

องค์กรของไทยพลัดถิ่นมีการต่อสู้ค่อนข้างสูง และมีจุดยืนชัดเจนว่าสัญชาติไทยที่ได้น่าจะเป็นการ "คืน" สัญชาติ ไม่ใช่ "ให้" สัญชาติ เพราะพวกเขาเชื่อมั่นว่าตนเองก็เป็นลูกหลานไทย (ในประเด็นนี้โปรดดูข้อเสนอของอาจารย์แหวว ที่ ระบุว่ามีคนไทยพลัดถิ่นสองประเภท ประเภทเเรกคือประเภทที่จะได้สัญชาติโดยการแปลงสัญชาติ เเละประเภทที่จะได้สัญชาติโดยการพิสูจน์สัญชาติ ว่าตนเองมีหลักฐานเเสดงความผูกพันกับประเทศไทยอย่างไรhttp://gotoknow.org/blog/2situation/54818#85440)

จากการพูดคุยประเด็นคร่าวๆ ขณะนี้หลักประกันสุขภาพของคนไทยพลัดถิ่นสามารถมีได้โดยวิธีดังต่อไปนี้ (หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ มีการดำเนินการเพื่อให้คนไทยพลัดถิ่นมีหลักประกันสุขภาพ ดังนี้)

1. คนที่ทำบัตรคนไทยพลัดถิ่นเเล้ว สามารถซื้อบัตรประกันสุขภาพที่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระนองออกให้ 1 บัตรใช้ได้ 1 คน มีอายุ 1 ปี ราคา 1300 บาท เมื่อซื้อเเล้วต้องรออีก 2 สัปดาห์จึงใช้งานได้ และเปิดให้ซื้อเป็นช่วงๆ ตามข่าว  อุปสรรคของวิธีนี้คือ บางคนบอกว่าแพงไป ทำไมต้องเก็บ "คนไทย" ในอัตราเดียวกับบัตรสุขภาพเเรงงานข้ามชาติฯ (จะเห็นว่าประเด็นเรื่อง"ความเป็นไทย" มีผลต่อความรับรู้ว่า "แพง" หรือ "ไม่เเพง" ด้วย ) คนไทยพลัดถิ่นให้ข้อมูลว่าพวกเขาได้ค่าจ้างเเละมีรายได้น้อยกว่าคนต่างด้าว  

2. บางคนที่ไม่มีเอกสารพิสูจน์ตน ซึ่งมีมากกว่าคนที่มีเอกสารมาก (ตามที่เครือข่ายฯ แจ้งให้ทราบ) อาจได้รับการอนุโลมจากโรงพยาบาลประจำจังหวัด ให้ซื้อบัตรสุขภาพสำหรับเเรงงานต่างด้าว ในฐานะผู้ติดตาม เป็นรายกรณีตามดุลพินิจของพยาบาลห้องบัตร

พฤติกรรมสุขภาพของผู้ซื้อมักเป็นผู้ที่มีปัญหาสุขภาพเรื้อรัง หรือเป็นโรคที่ต้องรักษาต่อเนื่อง ไม่สามารถเสียค่าบริการเป็นรายครั้งได้

คนที่ไม่มีหลักประกันสุขภาพ จะรักษาตัวตามมีตามเกิด เช่นใช้ยาพื้นบ้าน ซื้อยากินเอง หรือไปพบเเพทย์ตามคลินิก ถนนที่ผู้พักเขียนอยู่ย่านตลาดมีคลินิกประมาณ 4 แห่ง แต่ละแห่งก็มีผู้ใช้บริการค่อนข้างหนาตา โดยเฉพาะผู้ใช้บริการที่ไม่พูดภาษาไทย(แรงงานข้ามชาติ) หากอาการหนัก คนไทยพลัดถิ่นจะไปรับการรักษาที่โรงพยาลเอกชนในจังหวัดชุมพร หรือสุราษฎรธานี

คุณป้าที่โรงแรม พอให้เขียนใบเสร็จนับเงิน ก็เล่าว่า ที่นี่มีคนอพยพมาจากบังคลาเทศ ลองถามดูว่าคนไร้รัฐคืออะไร ป้าตอบว่า "คือคนที่ไม่มีสัญชาติเลยใช่ไหม  เเต่ว่าคนที่มาจากบังคลาเทศเขาเข้ามาทำงาน เเต่ว่ามาจากบังคลาเทศน่ะ ไม่รู้จะไร้รัฐหรือเปล่า" เป็นกลุ่มคนที่ป้าว่า "น่ากลัว" พอๆ กับเเรงงานพม่า

ตอนนี้ต้องเดินทางไปเก็บเคสเเล้วค่ะ เชื่อว่าวันที่ 24-26 ดุเดือดกว่านี้

อ้อมีเรื่อง "ฟ้อง" คือวันนี้ไม่ทราบว่าเพราะเด็กๆ หยุดตรุษจีนหรืออย่างไร ร้านอินเตอร์เน็ทที่เข้ามาเช็คอีเมล์เเละอัพเดทบล็อก ประมาณ 3 ร้านที่เข้ามาช่วง 2 วันนี้ เต็มไปด้วยเด็กๆ ผมยังเกรียน ตัวยังเล็กๆ มาเล่นเกมส์ ระหว่าง 10.30-12.00 น. ซึ่งตามปกติร้านอินเตอร์เน็ตน่าจะไม่ให้เด็กนักเรียนเข้าก่อน 15.00 น.  เอ หรือว่าห้ามเฉพาะเด็กนักเรียนในเครื่องเเบบ ไม่ทราบว่าวันนนี้เป็น "วันหยุด" หรือเปล่า ฝากอาจารย์แหววด้วยค่ะ

หมายเลขบันทึก: 163886เขียนเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2008 11:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤษภาคม 2012 23:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อ่านแล้วจ๊ะ

บันทึกนี้ ทำให้เห็นคนต่างด้าว "ที่หลากหลายสถานการณ์" ในระนอง

ว่างๆ ช่วยเขียนจำแนก "คนต่างด้าวผิดกฎหมายในระนอง" หน่อยซิ

แต่อยากอ่าน "โรงพยาบาลศึกษา" มากกว่า งานนี้ยากนะ เรายังไม่เคยเขียนกันเลยนะ เริ่มต้นได้แล้ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท