ประสบการณ์การทำผลงานของป้าตาล


ทำวิจัยแล้วดี ได้เงิน ได้ความรู้ ได้ผลงาน ชีวิตเจริญก้าวหน้า หน้าตาสดใส

T(uesday) Talk บ่ายสองของวันที่ 29 ม.ค. 51 ตอน ประสบการณ์การทำผลงานวิชาการ โดย คุณป้าตาล ( สวรส ยิ่งถาวร.. ออน ออน ออน ๆๆๆ)

       จาก รายงานการวิจัยเรื่อง การวิเคราะห์สัดส่วนจำนวนทรัพยากรที่มีกับจำนวนการใช้ของฝ่ายหอสมุดคุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร

 

       เรื่องก็มีอยู่ว่า อันตัวข้าพเจ้าในเวลานี้อายุอานามก็ปาเข้าไป 50 แย้ววทุกอย่างกำลังดำเนินไปอย่างสวยงาม ทั้งเรื่องกิจการส่วนตัวและกิจการส่วนรวม ยกเว้นเรื่องเดียวที่มาถึงทางตัน คือเงินเดือนตอนนี้รับต่อเดือน 20,000 กว่าๆ นิดหน่อย เหลือเวลารับราชการอีก 10 ปี แต่เงินเดือนตัน มีโอกาสกินได้แค่ดาว ปีละ 4-5 ดวง รู้สึกไม่ค่อยพอใจเท่าไหร่ (ขนาดกินดาวตั้งหลายดวงแล้ว ยังไม่อิ่มเลย) อือ อืมมม..ทำไงกับเงินเดือนดีนะ ทำให้เงินเดือนเพิ่มขึ้น? นอนคิดอยู่หลายคืน  ปิ๊ง! ไอเดีย ทำงานวิจัยดีกว่า ได้เลื่อนตำแหน่ง และเงินเดือนก็เพิ่มด้วย เข้าท่าดีแฮะ พรุ่งนี้เราไปหาพี่เลี้ยงไว้ปรึกษางานวิจัยดีกว่า   

 

.. เช้าวันใหม่ รู้สึกเช้าวันนี้ท้องฟ้าใสกระจ่างกว่าทุกวัน ความหวังในใจเราต้องเป็นจริงได้ ขนาดท้องฟ้ายังเป็นใจเลย 555 จะไปหาใครก่อนดีนะ พี่เลี้ยง พี่เลี้ยง.. (นึกถึงอริสมันต์ พงษ์เรืองรอง ที่ร้องเพลงเวทีนี้ไม่มีพี่เลี้ยง) แต่เราไม่ไปหาอริสมันต์หรอก ไปหาหัวหน้าฝ่ายดีกว่า เค้าต้องให้คำปรึกษาเราได้แน่นอนเลย ก็เค้าได้ซี 8 ตั้งนานแล้ว      จากวันนั้นถึงวันนี้ที่ฉันมีเธอ. มีความมั่นใจว่าหนูทำได้ มีความขยันอดทน มีพี่เลี้ยงที่ดี (หัวหน้าฝ่าย และ หัวหน้าธุรการ)  และแล้ว วันเวลาล่วงเลยไป 2 ปี ฝ่าๆ งานวิจัยของเราก็คลอดออกมาเป็นรูปเล่มสวยงาม แต่ค่อนข้างไปทางอวบอ้วนเล็กน้อย เพราะแน่นไปด้วยคุณภาพและข้อมูลไง  (ไม่ยอตัวเองเลยเรา)   ตลอดเวลา 2 ปีที่ผ่านมาสอนให้เรารู้ว่า การทำงานวิจัยไม่ใช่เรื่องยากเลย แต่ก็ไม่ง่ายเช่นกัน มีหลักกว้าง ดังนี้  ใครสนใจยึดเป็นแนทางได้นะน้องๆ   ใช้หลักสำคัญ คือ คิด ค้น อ่าน วิจารณ์ เขียน    แค่เนี๊ย. 5 คำ สั้นๆ แต่มีความหมาย  ขอสาธยายเพิ่มเติมค่ะ

  • 1.    คิด  เรื่องที่ทำมีประโยชน์ต่อหน่วยงานหรือไม่  คิดเกี่ยวกับงานประจำของเราว่ามีเรื่องอะไรที่พอจะนำไปเป็นหัวข้อวิจัยได้บ้าง คิดไว้หลายๆ เรื่อง แล้วเลือกเรื่องที่คิดว่าดีที่สุด
  • 2.    ค้น  หลังจากได้หัวข้องานวิจัยแล้ว ควรไปค้นคว้าหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นจากห้องสมุด จากเพื่อนร่วมงาน ถามในเรื่องที่เราไม่รู้ ไม่ต้องอาย ไม่ต้องฟอร์ม ยอมเป็นคนโง่ เพื่อเงินเดือนที่เพิ่มขึ้น เอ้ย เขียนผิด ยอมโง่ก่อนเป็นคนฉลาดค่ะ ใช้เวลาว่างๆ หรือเวลาอยู่เวรหาข้อมูลก็ได้(ผลประโยชน์ 2 ต่อ)
  • 3.    อ่าน  ค้นคว้าได้ข้อมูลแล้วไม่อ่านก็ไม่ได้ ฉะนั้นเราต้องอ่านข้อมูลทั้งหมดที่หามาได้ เรื่องที่เราทำถ้ามีคนเคยทำแล้ว รู้สึกว่าคล้ายๆ กับเรื่องของเรา เล่มนั้นต้องอ่านให้มากๆ หน่อย เอาไว้เป็นแนวทางไว้เขียนงานของเรา (ไม่ได้ลอกนะ) แต่เรื่องการอ่านคือปัญหาของคนที่ไม่ชอบอ่านหนังสือ รวมทั้งบรรดาพี่น้องในห้องสมุดด้วยหรือเปล่า อันนี้ไม่แน่ใจ  ขอเน้นว่าการขยันอ่าน เป็นเรื่องที่จำเป็นมั่ก
  • 4.    วิจารณ์  วิเคราะห์  หลังจากคิด ค้น อ่านแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ การนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ โดยใช้เครื่องมือช่วยในการทำวิจัย ใช้โปรแกรมที่เหมาะสมในการประมวลผลข้อมูล  ป้าใช้โปรแกรม Excel เพราะต้องคำนวณตัวเลข สถิติการใช้ทรัพยากรห้องสมุด ซึ่งแต่ก่อนก็ใช้ไม่ค่อยเป็น ถามเพื่อนตลอด ถามจนเก่งว่างั้นเถอะ (โม้อีกแล้ว)
  • 5.    เขียน  เริ่มเขียนโดยการโยงเนื้อหาต่างๆ เข้าด้วยกัน ใช้ภาษาที่ถูกต้อง กลมกลืน สละสลวย  และการเขียนงานวิจัย ให้เขียนแยกทีละบทก่อน แล้วจึงส่งให้พี่เลี้ยงอ่าน ช่วยแก้ไข ขัดเกลาสำนวนภาษาให้ทีละบท ถ้าส่งให้พี่เลี้ยงอ่านทีเดียวทั้งเล่ม อาจจะต้องชงยาลมให้ เพราะอาจจะเกิดอาการหน้ามืดคล้ายจะเป็นลมได้ อันนี้ต้องระวังให้ดี         พอจะเข้าใจบ้างมั้ยคะ ที่ป้าเล่ามา ป้าผ่านประสบการณ์มาอย่างโชกโชน ถ้าใครมีปัญหา ยินดีให้คำปรึกษา และถ้าใครคิดอยากทำให้ทำเลย ไม่ต้องรอเป็นคนถัดไปนะคะ       สรุปว่า ทำวิจัยแล้วดี ได้เงิน ได้ความรู้ ได้ผลงาน   ชีวิตเจริญก้าวหน้า  หน้าตาสดใส

ขอบคุณที่อ่านจนจบค่ะ  สวัสดีปีชวด……ป้าตาล

นู๋จา ผู้บันทึก

 

หมายเลขบันทึก: 163666เขียนเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2008 11:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

km คือการสร้างองค์ความรู้ อย่างสมานฉันเพื่อสร้างเสริมกำลังใจในการเรียนรู้อย่างมั่นใจและมั่นคง โดยที่ไม่ทิ้งอารมณ์เจือปนกลับบ้านไป

หากมีการวิจารย์เกิดขึ้นมัน มันก็ดีแต่มันจะมีในเรื่องของความไม่พอใจเกิดขึ้น หากเป็นแบบสมานฉันคือให้คำพูดที่เป็นทางบวกค่ะ

ดังนั้น KM แบบแท้ๆ จะไม่มีขั้นตอนการวิจารย์

คำว่า วิจารย์ กับวิเคราะห์ต่างกันมากเลยค่ะ วิจารย์เป็นคำที่รุนแรง ในขณะที่วิเคราะห์เป็นคำที่เต็มไปด้วยหลักการและเหตุผล   สงกะสัยพี่จะใส่ขั้นตอนที่ 4 ผิดค่ะ อิๆๆ

คุณวิพาภร

ขอบคุณมากสำหรับการเข้าไปอ่านการทำ km ของห้องสมุดฯ ซึ่งป้าตาลก็ดีใจมากนะที่คุณวิพาภร ให้ความสนใจและมีข้อเสนอแนะมาให้ก็ขอขอบคุณอีกครั้ง แต่ ก็จะขออธิบายเพิ่มเติมอีกสักเล็กน้อยในเรื่องของ การทำkm ซึ่งทางห้องสมุดฯ จัดทำ km ไม่ได้วิพากวิจารณ์เรื่องของ km เพียงแต่เป็นการให้ ป้าตาล ไปเล่าเกี่ยวกับเรื่องที่ได้ทำผลงานเพื่อเป็นแนวทางให้กับน้อง ๆ ที่ห้องสมุดเท่านั้น ไม่ได้เกี่ยวกับระบบหรือแนวคิด แนวการทำงาน km ซึ่งป้าก็ได้เล่าให้น้อง ๆ ฟังว่า ป้ามีแนวทาง หรือ เทคนิคการทำงานในการทำผลงาน ก็คือ คิด ค้น อ่าน วิจารณ์ เขียน ซึ่งที่ใช้คำว่า วิจารณ์ ก็เพื่อให้คำสอดคล้องกันเท่านั้นเอง ไม่ได้มีผลกระทบกับการทำ km เลยนะ...ก็เลยขอขี้แจงมาให้คุณวิพาภรทราบเพื่อการเข้าใจสักนิดหนึ่งนะคะ..ป้ากลัวว่า จะไปทำ km เค้าเสียภาพพจน์

วันนี้ไปประชุมมา เจอพี่ไหม(นันทพร) จากบัณฑิตวิทยาลัย พี่ไหมได้กรุณาแนะว่า พิมพ์คำว่า Tuesday ผิดค่ะ พิมพ์สลับตัวอักษรกัน

ต้องรีบกลับมาเปลี่ยนเลยค่ะ ...อูย..เผยแพร่ไปแล้วหลายวันด้วย...ท่านที่อ่านผ่านไปแล้ว วันนึงเผื่อว่าเผลอผ่านมาทางนี้ ขอแจ้งว่าพิมพ์ Tuesday ถูกต้องแล้วค่ะ ทราบแล้วเปลี่ยน !

ขอขอบคุณ พี่ไหมไว้ ณ โอกาสนี้ด้วยค่ะ

--

สุดา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท