โครงการอบรมวิจัยเชิงคุณภาพ


 

โครงการพัฒนาความรู้และทักษะการวิจัยเชิงคุณภาพในการสร้างสุขภาพชุมชน

แก่พยาบาลและสหวิชาชีพ ปี 2551

 DOWNLOAD โครงการที่นี่

หลักการและเหตุผล

            ปัญหาของระบบสุขภาพในปัจจุบัน คือการลงทุนในด้านการรักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วยไปมาก  และมากขึ้นเรื่อย ๆ  ประชาชนเจ็บป่วยหรือเสียชีวิต  ด้วยโรคและความเจ็บป่วยจากโรคที่ป้องกันได้ ประกอบกับระบบสุขภาพยังให้ความสำคัญกับการบริการแบบตั้งรับ จึงเกิดความสูญเสียมาก แนวทางในการลดความสูญเสียดังกล่าว จึงควรมีการปรับเปลี่ยนระบบบริการเป็นบริการเชิงรุก  และการส่งเสริมสุขภาพในชุมชนแบบมีส่วนร่วมขององค์กรประชาชนและชุมชน การให้ความรู้และความมั่นใจแก่ประชาชนในการดูแลปัญหาสุขภาพที่พบบ่อย การส่งเสริมสุขภาพแก่ประชาชนให้เกิดพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ดูแลความครอบคลุมของงานต่างๆ     ในด้านส่งเสริม ป้องกัน ฟื้นฟูสภาพในชุมชนการสำรวจข้อมูลและประเมินสภาพปัญหา

สุขภาพของบุคคล ครอบครัว ชุมชนทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพและร่วมมือกับชุมชน หน่วยงานอื่นๆ ในการวางแผน ดำเนินการแก้ปัญหาสุขภาพ เพื่อการสร้างสุขภาพดี อันจะนำไปสู่การมี Productivity หรือผลผลิตที่ดี ของประเทศชาติ

         พยาบาลชุมชนเป็นบุคลากรที่มีจำนวนมากที่สุดในทีมสุขภาพ  และปฏิบัติงานอยู่ในสถานบริการ สาธารณสุขหลากหลายระดับ  มีบทบาทหลักในการดูแลสุขภาพทั้งด้านการรักษา  การป้องกัน  การส่งเสริมสุขภาพ และการฟื้นฟูสภาพ  ดังนั้น พยาบาลจึงเป็นกลุ่มคนสำคัญที่จะทำหน้าที่ผลักดันการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ทำงานอยู่ใกล้ชิดกับประชาชน ผู้ป่วย และผู้รับบริการมากที่สุด

        ตามบทบาทใหม่ของพยาบาล ที่ควรเน้นบทบาทในการการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน เพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิดการปฏิรูประบบสุขภาพ  และจากองค์ความรู้เรื่องการส่งเสริมสุขภาพที่สำคัญหลายประการ เช่นกฎบัตรออตตาวา ปี 2529  แบบจำลองการส่งเสริมสุขภาพซึ่งเป็นทฤษฎีทางการพยาบาล เป็นต้น โครงการนี้จะเป็นการทบทวนองค์ความรู้ และการปฏิบัติงานด้านการส่งเสริมสุขภาพ การต่อยอดและพัฒนาขยายองค์ความรู้เรื่องนี้  โดยการพัฒนาทักษะการวิจัยเชิงคุณภาพ  เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการทำงานสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน 

        เนื่องจากในแต่ละพื้นที่ปัจจัยที่เป็นปัญหานั้นแตกต่างกัน   การพัฒนาโดยการนำเครื่องมือการวิจัยเชิงคุณภาพไปประยุกต์ใช้ในการทำงานในชุมชนที่มีประสิทธิภาพ  จะทำให้เกิดความเข้าใจปัญหาที่เป็นองค์รวม  สามารถประเมินผลติดตาม  และเกิดการมีส่วนร่วมกับชุมชนและสหวิชาชีพ  ตรงกับแนวการปฏิรูประบบสุขภาพใหม่   จึงจะทำให้เกิดการทำงานสร้างสุขภาพในชุมชนอย่างมีส่วนร่วม  เป็นองค์รวมต่อเนื่องและจะส่งผลดีต่อการพัฒนาประเทศในโอกาสต่อไป

          จากการดำเนินโครงการพัฒนาความรู้และทักษะการวิจัยเชิงคุณภาพในการสร้างสุขภาพชุมชน มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ 2546- 2550 พบว่าโครงการนี้สามารถสร้างกระบวนทัศน์ใหม่ ในการสร้างเสริมสุขภาพแก่ผู้ร่วมโครงการได้ เกิดการเปลี่ยนแปลงกรอบแนวคิดที่เหนี่ยวนำไปสู่วิถีชีวิตในการทำงานที่เป็นสุข มีกัลยาณมิตรที่ร่วมกันทำงานมากขึ้น และส่งผลกระทบไปถึงสุขภาวะที่ดีต่อประชาชน จึงได้ดำเนินการต่อเนื่องเพื่อเป็นการขยายแนวคิด วิธีการทำงานเชิงรุก ให้มากพอที่จะขับเคลื่อนกระแสการสร้างเสริมสุขภาพของตัวเองและชุมชนและพัฒนาศักยภาพบุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติในชุมชน

 

วัตถุประสงค์

 

1.   เพื่ออบรมหลักการวิจัยเชิงคุณภาพให้แก่แกนนำพยาบาลและสหวิชาชีพ

2.      เพื่อพัฒนากระบวนการและขับเคลื่อนสร้างสุขภาพโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

3.      เพื่อสร้างองค์ความรู้ ขยายผลแก่เครือข่ายพยาบาลชุมชนและผู้เกี่ยวข้อง

 

เป้าหมาย

            พยาบาลชุมชนและสหวิชาชีพที่สนใจ  3 รุ่น ๆ ละ 50  คน  รวม 150 คน 

ขั้นตอนการดำเนินงาน

            1.  นำเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ

          2.  คัดเลือกผู้เข้ารับการอบรม จากการสมัครและส่งโครงร่างการวิจัยการสร้างสุขภาพในชุมชน โดย  คณะกรรมการและผู้ทรงคุณวุฒิ

            3.  ประสานงานวิทยากร  จัดเตรียมหลักสูตรการอบรม        

           4.  เสนอขอหน่วยคะแนนการศึกษาต่อเนื่องสาขาการพยาบาลศาสตร์จากสภาการพยาบาล

            5.  ประสานงาน/แจ้งผู้เข้ารับการอบรม และจัดเตรียมเอกสาร  สถานที่ 

            6.  ดำเนินการอบรม  รายละเอียด  ดังนี้

 

ครั้งที่ 1 พัฒนาองค์ความรู้ / ทักษะการวิจัยเชิงคุณภาพและพัฒนาโครงร่างงานวิจัย 

 (Basic course of Qualitative Research  & Proposal  Development)

รุ่นที่ 1  วันที่  8  - 14   มีนาคม   2551  ณ จังหวัดตาก

รุ่นที่ 2  วันที่ 17 - 23   มีนาคม  2551   ณ จังหวัดน่าน

รุ่นที่ 3  วันที่ 24 - 30   มีนาคม  2551   ณ จังหวัดนครปฐม

 

ครั้งที่  2  การออกแบบการเก็บข้อมูลและการฝึกปฏิบัติการเก็บข้อมูลภาคสนาม

รุ่นที่ 1  วันที่ 26 เมษายน - 2 พฤษภาคม   2551  ณ จังหวัดตาก

รุ่นที่ 2  วันที่ 10 - 16  พฤษภาคม  2551  ณ จังหวัดน่าน

 รุ่นที่ 3  วันที่ 24 - 30  พฤษภาคม  2551  ณ จังหวัดนครปฐม

 

          ครั้งที่ 3 การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลวิจัยเชิงคุณภาพ

            รุ่นที่ 1  วันที่ 21 - 25  มิถุนายน  2551   ณ จังหวัดตาก

            รุ่นที่ 2  วันที่ 14 - 18  มิถุนายน  2551   ณ จังหวัดน่าน

            รุ่นที่ 3  วันที่   5 - 9   กรกฎาคม  2551  ณ จังหวัดนครปฐม

 

          ครั้งที่ 4 การคืนข้อมูลและการจัดทำแผนกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วม

            รุ่นที่ 1  วันที่ 26 - 30  กรกฎาคม  2551    ณ จังหวัดตาก

            รุ่นที่ 2  วันที่ 19 - 23  กรกฎาคม  2551   ณ จังหวัดน่าน

            รุ่นที่ 3  วันที่  8 - 12   สิงหาคม  2551  ณ จังหวัดนครปฐม 

ครั้งที่ 5 นำเสนอผลงานวิจัยแก่ผู้ทรงคุณวุฒิและเครือข่าย

วันที่  8 - 11   พฤศจิกายน  2551  ณ โรงแรมในกรุงเทพมหานคร   

         

          ครั้งที่ 6  การนำเสนอผลงานวิจัยในที่ประชุมวิชาการประจำปี 

          วันที่  16 - 21  มกราคม  2552  ณ โรงแรมในกรุงเทพมหานคร

 

ครั้งที่ 7 การเขียนรายงานการวิจัย

 วันที่  21 - 25  กุมภาพันธ์  2552    โรงแรมในกรุงเทพมหานคร

 

งบประมาณ        

1. ชมรมพยาบาลชุมชนแห่งประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุน 

            2.  จากหน่วยงานต้นสังกัด

-  ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าพาหนะ  ค่าที่พัก  ของผู้เข้ารับการอบรม  โดยขออนุมัติจากกระทรวงสาธารณสุข

 

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

            1.  ชมรมพยาบาลชุมชนแห่งประเทศไทย

            2.  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

            3.  หน่วยงานต้นสังกัดที่อนุมัติให้เข้ารับการอบรม

      4.  สำนักพัฒนาระบบบริการสุขภาพ  กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ

            Load ใบสมัคร และเงื่อนไขได้ที่ www.thainurseclub.net

หมายเลขบันทึก: 163525เขียนเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2008 15:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 10:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท