ภาษาไทยกับการสื่อสาร


ภาษาไทย.....กับการสื่อสาร.....คือ

 การสื่อสาร  Communication

       การสื่อสาร  หมายถึง  การติดต่อระหว่างมนุษย์ด้วยวิธีต่าง ๆ  ซึ่งทำให้ฝ่ายหนึ่งรับรู้ความหมายจากอีกฝ่ายหนึ่ง และ เกิดการตอบสนอง  ปัจจุบันการสื่อสารมีมากมายหลายวิธี อาจเป็น วิทยุ  โทรทัศน์  หนังสือพิมพ์  โทรศัพท์มือถือ  ดาวเทียม  ระบบโทรคมนาคม หรือ การสื่อสารระบบเครือข่ายที่อาศัยดาวเทียมและสายเคเบิลใยแก้ว เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อินเตอร์เน็ท  ก็ได้

การฟัง  คือ  การรับรู้ความหมายจากเสียงที่ได้ยิน  เป็นการรับรู้สารทางหู  ในชีวิตประจำวันของเรา  เราใช้เวลานการฟัง ทั้งที่ฟังจากบุคคลโดยตรง    และฟังจากจากสื่ออิเล็คทรอนิคส์ต่างๆ  เพราะข่าวสาร ความรู้และศิลปะวิทยาการต่องๆ ที่มนุษย์ถ่ายทอดกันตั้งแต่สมัยโบราณจนถึง ปัจจุบัน  ยังใช้วิธีการพูดอธิบายให้ฟังแม้จะมีหนังสือบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรแล้วก็ตาม

การพูด คือ มีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์เป็นอันมาก  ไม่ว่าจะอยู่  ณ  ที่ใด    ประกอบกิจการงานใด  หรือคบหาสมาคมกับผู้ใด  ก็ต้องสื่อสารด้วยการพูดเสมอ  จึงมักพบว่า  ผู้ที่ประสบความสำเร็จในกิจธุระการงาน   การคบหาสมาคมกับผู้อื่น  ตลอดจนการทำประโยชน์แก่สังคมส่วนรวม    ล้วนแต่เป็นคนที่มีประสิทธิภาพในการพูดทั้งสิ้นส่วนหนึ่งของการพูดสามารถสอนและฝึกได้  อาจกล่าวได้ว่า  การพูดเป็น   " ศาสตร ์"  มีหลักการ และกฎเกณฑ์เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะ ถึงขั้นเป็นที่พอใจอีกส่วนหนึ่งเป็นความสารถพิเศษหรือศิลปะเฉพาะตัวของผู้พูดแต่ละบุคคล  บางคนมีความสามารถที่จะตรึงผู้ฟังให้นิ่งอยู่กับที่จิตใจจดจ่ออยู่กับการฟังเรื่องที่พูด  ผู้พูดบางคนสามารถพูดให้คนฟังหัวเราะได้ตลอดเวลา  ศิลปะเฉพาะตัวนี้

การเขียน    คือ  การแสดงความรู้  ความคิด  ความรู้สึก และความต้องการ  ของผู้ส่งสารออกไปเป็นลาบลักษณ์อักษร  เพื่อให้ผู้รับสาร
                สามารถอ่านเข้าใจ  ได้รับทราบความรู้  ความคิด  ความรู้สึก  และความต้องการเหล่านั้น    การถ่ายทอดโดยวิธีบอกเล่าปากต่อปาก หรือที่เรียกว่า
                " มุขปาฐะ "  อาจทำให้สารตกหล่นหรือคลาดเคลื่อนได้ง่าย  ลายลักษณ์อักษรหรือที่ตัวหนังสือ  ที่แท้จริงคือเครื่องหมายที่ใช้แทนคำพูดนั่นเอง  
                ในการเขียนภาษาไทย  มีแบบแผนที่ต้องการรักษา  มีถ้อยคำสำนวนที่ต้องใช้เฉพาะ  และต้องเขียนให้แจ่มแจ้ง  เพราะผู้อ่านไม่สามารถไต่ถามผู้เขียน
               ได้เมื่อนอ่านไม่เข้าใจ  ผู้ที่จะเขียนให้ได้ดี ต้องใช้ถ้อยคำให้เหมาะสมกับผู้รับสาร  โดยพิจารณาว่าผู้รับสารสามารถรับสารที่ส่งมาได้มากน้อยเพียงใด

หมายเลขบันทึก: 163392เขียนเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2008 22:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 เมษายน 2012 21:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

หนูจ๋าลดความร้อนแรงของสีหน่อยจ้ะ

ขอบคุณค่ะที่เม้นให้หนู
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท