องค์ความรู้ของภาคอีสาน


เทคโนโลยีสมัยใหม่เป็นเครื่องมือหลักช่วยให้การจัดการความรู้เดินหน้าอย่างรวดเร็ว
 วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2549 อ. ฉลาด จันทรสมบัติ นิสิตปริญญาเอก สาขาวิชาการบริหารและการพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ ม. มหาสารคาม  รศ.ดร. บุญชม ศรสะอาด และ รศ. ดร. วิเชียร ชิวพิมาย ขอเข้าพบ ศ.นพ. วิจารณ์ พานิช ณ ห้องประชุม ส.ค.ส.  เพื่อขอปรึกษาในเรื่อง KM  เนื่องจาก อ. วิจารณ์ เป็นหนึ่งในคณาจารย์ควบคุมวิทยานิพนธ์ในหัวเรื่อง “การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ขององค์กร ชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ”  โดย อ. ฉลาดจะนำคำแนะนำที่ได้ไปแก้ไขและปรับปรุงเพื่อเตรียมสอบ propersal

    อ. ฉลาด นำเสนอรายละเอียดต่างของวิทยานิพนธ์โดยใช้หลักของ KM  ตั้งแต่

  • นำเสนอรูปแบบ KM ของต่างๆ ได้แก่ ของ Prof. Ikujuro Nonak และของ อ. วิจารณ์
  • ความมุ่งหมายของการวิจัย  เพื่อการพัฒนารูปแบบและการทดลองใช้ KM ขององค์กร ชุมชนภาคอีสานโดย พัฒนาด้านการสร้าง-จำแนก-จัดเก็บความรู้ นำความรูไปใช้ การแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการประเมินและปรับปรุงความรู้ โดยมีเป้าหมายสร้างความเชื่อมั่นและพึ่งตนเองได้ ก่อให้เกิดการรวมกลุ่มองค์กรชุมชน
  • คำถามของการวิจัย  รูปแบบ KM
  • ความสำคัญของการวิจัย
  • ขอบข่ายการวิจัย  โดยเลือก 2 บ้านอันได้แก่บ้านน้ำเกลี้ยง และบ้านเหล่าราษฎรพัฒนา อ. วาปีปทุม จ. มหาสารคาม ใช้ระยะเวลาในการศึกษา 9 เดือน ซึ่งเหตุผลในการเลือกเนื่องจากองค์กรชุมชนนี้มีมติบริบทหลากหลาย และแบ่งการจัดการความรู้อยู่ 6 กลุ่ม คือ 
  1. สหกรณ์การเกษตร
  2. กองทุนเงินล้านและขนมจีนสมุนไพร
  3. ปุ๋ยชีวภาพ(ปลอดสารพิษ)
  4. สัจจะออมทรัพย์ 
  5. สมุนไพร/นวดโบราณ ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม
  6. ปุ๋ยชีวภาพ และนวดแผนโบราณ

    อ. วิจารณ์ได้ให้ข้อคิดเห็นดังนี้

  1. ตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนในการนำเสนอ
  2. โจทย์ของการวิจัยนี้เป็นอย่างไร
  3. ตอบคำถามของโจทย์นี้ได้อย่างไร
  4. มีส่วนไหนของรูปแบบ KM ที่ใหม่ๆ และต่างไปจากเดิมสำหรับสังคมไทย อาจเกิดจากการปรับกระบวนการจัดการความรู้ให้สอดคล้องกับองค์กรชุมชนภาคอีสาน และ Model จะต้องชี้เฉพาะและแตกต่างจาก Model เดิม และ อ. วิจาร์เสนอแนะว่าควรจัดการสัมมนาในกลุ่มนิสิตป. เอกด้วยกัน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และหา  model ใหม่ที่ชัดเจนและเหมาะสมกับองค์กรชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งการสัมมนาก็เป็นวิถีทางหนึ่งจะช่วยให้ อ. ฉลาดตีกรอบขอบข่ายงานวิจัยที่ชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อนำไปจัดทำ KM  ในองค์กรต่อไป ข้อนี้ดิฉันมีความเห็นด้วยกับ อ. วิจารณ์ เนื่องมาจากกว่าดิฉันก็เป็นนักวิจัยคนหนึ่งที่ได้ประโยชน์จากการสัมมนามาก เพราะว่าจากการเรียนปริญญาโท ต้องมีการแก้ไขปัญหาอยู่คนเดียวและเมื่อมีการสัมมนากลุ่มย่อย มีอาจารย์ที่ให้คำแนะนำร่วมฟัง และเกิดข้อซักถาม ทำให้ได้ไอเดียใหม่ๆ และในกลุ่มยังช่วยแก้ปัญหาข้อข้องใจของงานวิจัยได้ดีอีกด้วย และนี่คือประโยชน์ของการสัมมนา นอกจากจะเกิดการแลกเปลี่ยนความรู้แล้วยังมีแนวคิดใหม่ๆ ที่เรานึกไม่ถึง ทำให้ย่นระยะเวลาในการวิจัยมากที่เดียว
  5. เขียนข้อสรุปของวิทยานิพนธ์นี้ 1 หน้า โดยต้องตอบคำถามที่ว่าใช้ Model ใดในการจัดการความรู้ครั้งนี้ ปัจจัยใดที่ทำให้ model นี้ประสบผลสำเร็จ และผลที่เกิดจากการใช้ Model (เหตุการณ์ที่สนับสนุน)
  6. การทำวิจัยไม่ใช่แค่สังเกต แต่ยังต้องไปดูการปฏิบัติจริง ด้วยและทำหน้าที่เป็น"คุณอำนวย" เท่านั้น 
  7. การเก็บข้อมูลการวิจัยเป็นสิ่งที่ต้องจัดทำ โดยอาจมีการจดบันทึกขึ้นใน Blog Gotoknowเพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลและเกิดการเรียนรู้ระหว่างกลุ่ม  ซึ่งการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้เป็นเครื่องมือหลัก จะช่วยให้การจัดการความรู้เดินหน้าอย่างรวดเร็ว ควรนำ Success Story มาใช้ในการวิจัย เมื่อมีการทำกิจกรรมแล้วให้คนมีความสุข เปิดโลกทัศน์ให้กลุ่มและเกิดความเข้าใจ  สร้างความภาคภูมิใจให้แก่ผู้เล่าและผู้ได้รับความรู้ ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกิดบรรยากาศใหม่ๆ และต้องมีการจดการบันทึกเพื่อเผยแพร่ให้กลุ่มอื่นๆ ต่อไปเป็นการขับเคลื่อนไปเรื่อยๆ
  8. ขั้นตอนของการ design ระบบข้อมูล และ มีการจัดการอย่างไร วิเคราะห์อย่างไร

      และท้ายสุด อ. วิจารณ์ ได้เชิญ รศ.ดร. บุญชม ศรสะอาด และ รศ. ดร. วิเชียร ชิวพิมาย เข้าร่วมโครงการที่เกี่ยวข้องกับ นวัตกรรมการเรียนรู้ในภาคการศึกษา โครงการ Top star เพื่อให้เกิด Best Practice มีการจัดเวทีนวัตกรรมการเรียนรู้ โดยเชิญโรงเรียนต่างๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5-10 แห่ง ( 1 โรงเรียนต่อ 1 เรื่อง) และให้ส่งตัวแทน 2-3 คนมานำเสนอผลงาน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งมีหลายโรงเรียนที่เป็น Best Practice อันได้แก่ โรงเรียนสวนหม่อม โรงเรียนวานิชพิทยา โรงเรียนหนองแดงครบุรี ในจ.นครราชสีมา และโรงเรียนท่านางแนว จ.ขอนแก่น คาดว่าจะเชิญเพื่อนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย) และเป็นการสร้างกำลังใจของวงการการศึกษา และนำไปสู่เครือข่ายเชื่อมโยง KM ต่อไปภายหน้า และ สคส. อาจจะส่งคนไปร่วมสังเกตการณ์ด้วย    และ อ. ฉลาดจะนำคำแนะนำกลับไปปรับรายละเอียดของวิทยานิพนธ์ต่อไป

      จากร่างวิทยานิพนธ์ของ อ. ฉลาด ต้องขอชื่นชมในความขยันและความตั้งใจของอาจารย์อย่างมากในการรวบรวมความรู้ในเรื่องของ KM อย่างมากมาย ซึ่งมี KM หลายหลาย Model เพื่อสร้างความเข้าใจให้ผู้อ่านและผู้ที่เริ่มทำ KM  ดิฉันขอให้ อ. ฉลาดสร้าง Model  ใหม่นี้เพื่อการพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ขององค์กร ชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำเร็จอย่างรวดเร็วนะคะ และเพื่อเป็นองค์กรชุมชนนำร่องและเป็นเครือข่าย KM ต่อไป

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 16337เขียนเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2006 08:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 21:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

    This is so beautiful. It 's good to see we have our own KM to be applied in every activities in Thailand. 

No one would setup or create the KM model for society better than we do. Do you agree with me? I also want to see the easy-to-apply KM's model for Thai people in order to enrich any aspect of their life whenever knowledge arises.

  Hope KM would enhance our society.

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท