Proceedings มหกรรมจัดการความรู้แห่งชาติ ครั้งที่ ๒ (๓๓)_๑


Proceedings มหกรรมจัดการความรู้แห่งชาติ ครั้งที่ ๒ (๓๓)_๑

ห้องเรียน KM (6)

ประเด็นการนำเสนอ:   การสังเคราะห์เรื่องเล่าที่เป็นแก่นความรู้  (๓)
ผู้ดำเนินรายการ :       ดร.ปฐมพงศ์   ศุภเลิศ   
วัน/เวลา                   วันพฤหัสบดีที่ 1 ธันวาคม 2548  เวลา 13.30 -16.45 น. 

ดร. ปฐมพงษ์   ศุภเลิศ :
         วันนี้ถือว่าเราได้ความรู้จากผู้ที่คร่ำหวอดในวงการตัวจริง  ในต่อไปนี้คงเป็นเวทีของการแลกเปลี่ยนการจัดการความรู้ในช่วงสุดท้าย AAR หรือที่เรียกว่า After Action Review   ต้องขอความอนุเคราะห์ให้ท่านเขียนว่าที่ท่านมาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์อย่างไร มีอะไรที่สมประสงค์ มีอะไรที่ไม่สมประสงค์ อยากจะให้ท่านช่วยเขียนตามต้องการของท่าน ส่วนที่อยู่วงในขอให้ท่านสะท้อนความคิดสั้นๆ คนละ 3 นาที เริ่มจากสุภาพบุรุษก่อน คุณสิทธิพล  พหลทัพ 

อาจารย์สิทธิพล  พหลทัพ : 
          จากประสบการณ์ของการเป็นครู  จะเห็นได้ว่ามีจุดมุงหวังคือนักเรียนของเรา  เทคนิคต่างๆ ที่ได้กับท่านในวันนี้ ขึ้นอยู่กับตัวของท่าน สิ่งที่สำคัญคือ ทำ   แล้วท่านจะได้จากการที่ท่านทำ  ขอบพระคุณครับ

ดร. ปฐมพงษ์   ศุภเลิศ :
         ครับ สั้นๆ แต่มีความหมายคิดได้ต้องทำเลย ท่านต่อไปครับท่านสุภาพสตรี อาจารย์กานดา  ขอเชิญครับ

อาจารย์กานดา  ช่วงชัย : 
         โดยส่วนตัววัตถุประสงค์ที่มาในครั้งนี้เรามาแสดงละคร พยายามทำบทบาทของตนเองให้ดี  อีกวัตถุประสงค์ อยากมาเรียนรู้ไปปรับใช้ในองค์กร คิดว่าในสิ่งที่คาดหวัง จะสำเร็จหรือไม่อยู่ที่การปฏิบัติ 

ดร. ปฐมพงษ์   ศุภเลิศ :
        ท่านต่อไปอาจารย์ ศิริพงษ์  ขอเชิญครับ

อาจารย์ศิริพงษ์  สิมสีดา : 
         จริงแล้วทุกท่านมีคำถามผมว่า อย่างน้อยกลับไปแล้วผมจะทำอะไร  ที่ผมมาร่วมงานนี้ ในปีที่แล้วผมก็มากับ อ.กานดา สิ่งที่ผมสมประสงค์คือ ผมดีใจที่ผมได้เล่าให้ท่านฟัง และดีใจที่หลายท่านฟังในสิ่งที่ผมพูด เพราะครูส่วนมากชอบพูด ไม่ค่อยฟังเป็นปัญหาใหญ่  สิ่งที่ผมไม่สบายใจคือ อยากให้ข้างหน้าได้พูดบ้าง ถ้ามีโอกาสข้างหน้าอยากให้ทุกคนเป็นพระเอกหมด  อยากให้ได้พูดทุกคน  อย่าเอาเวลามาผูกคอมาก  อย่าจมกับเวลา เหมือนครูบางคนที่ถามว่าครูปัจจุบันทำอะไร  ครูทุกวันนี้สอนจนเด็กไม่ได้เรียน นี่ก็เหมือนกันเราห่วงเวลาจนแทบไม่ได้อะไร ถ้าห่วงเวลามากก็ยุ่งเหมือนกัน  ถ้าท่านออกจากประตูแล้วท่านจะทำอะไร   อยากฝากว่าการทำงานไม่อยากให้เริ่มที่ปัญหา  เพราะได้ยินปัญหาสมองฝ่อแล้ว  อย่างเช่น พ่อเล็ก ที่สกลนครไม่ได้เริ่มที่ปัญหา  และไปสร้างความตระหนักในองค์กร ว่าในสภาวะปัจจุบันว่าอยากเห็นอะไร มีอะไรต้องการอะไร อยากเห็นองค์กรเป็นรูปร่างหน้าอย่างไร อยากให้มีความรู้สึกตรงนี้ แล้วจะเกิดการสร้างอำนาจการเรียนรู้ ที่เราที่พูดถึงการสนทนากันอย่างไม่มีอำนาจการสั่งการ คือผู้อำนวยการปลดป้ายออก คนถูพื้นโรงพยาบาลก็ต้องเอาไม้ถูพื้นออก แล้วนั่งอย่างเท่าเทียมกัน เพราะทุกคนเกิดพื้นที่แล้วเพราะทุกคนเป็นมนุษย์เหมือนกัน สามารถคิดได้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับคำถาม  คำถามไม่จำเป็นต้องมีคนตอบก็ได้  เมื่อสร้างความรู้ตามตารางอิสระต่างๆ คือกระบวนการสร้างความรู้ แล้วก็ต้องเก็บเกี่ยวความรู้ แล้วสามารถนำไปใช้พัฒนาในองค์กร ซึ่งเกี่ยวกับเป้ามายที่คุยตอนแรกว่าสร้างความรู้สึกขององค์กรว่า จะเอาอย่างไร เหมือนหัวปลาทู ฝากนิดเดียวว่าอย่าเริ่มที่ปัญหา ถ้าเริ่มที่ปัญหา แล้วท่านจะหนักใจ 

ดร. ปฐมพงษ์   ศุภเลิศ : 
         ท่านต่อไปขอเชิญ อาจารย์รัตนา  ครับ

อาจารย์รัตนา  สถิตานนท์ :
         ความรู้สึกที่ได้มาร่วมเป็นวิทยากรในวันนี้รู้สึกว่าโชคดีมาก เพราะได้มีโอกาสการเรียนรู้ด้วย เป็นการตรวจสอบตัวเองด้วย  และได้มาแลกเปลี่ยนด้วย  ได้ศึกษาจาก CD ที่ สคส.ส่งมาให้ ทำให้ทราบว่าความรู้เป็นที่มาของทฤษฎี บางครั้งทฤษฎีก็มีที่มาของการปฏิบัติการ สำหรับตนเอง  สองอย่างนี้ค่อนข้างจะวนไปวนมา คือมาจากทั้งสองอย่างบางครั้งก็เป็นนักสู้ตัวจริงก่อนไปปฏิบัติ  บางครั้งก็เป็นเอามาจากตำราก่อนแล้วนำไปปฏิบัติ    การมาครั้งนี้จึงเป็นการตรวจสอบตัวเองอีกครั้งหนึ่งว่าในส่วนของปลาทั้งตัว สำคัญ  แล้วดูเหมือนว่าจะได้เคยคุ้น ตรงหัว  ตรงกลาง ตรงปลายได้ทำมาแล้วทำให้ชัดเจนขึ้น ได้ผลค่อนข้างดี ความรู้ที่ได้วันนี้คงทำให้มีความมั่นใจมากขึ้น ตอนที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนเครือข่าย จะมีกลอนหนึ่งที่มาฝากพวกเรา  คิดว่าประสบการณ์การทำงานและทฤษฏีทั้งหลายบางอย่างเราเคยทำแล้ว บางอย่างก็ยังไม่เคยน่าลองฝากกลอนช่วยหยิบกระจกว่า

หยิบกระจกมาส่องมองให้ดี
 ดูให้ดีเทียบกับเขาเราแค่ไหน
ถ้าสวยแล้ วดีแล้ว ก็แล้วไป 
ถ้าไม่สวยแต่งใหม่ให้งดงาม   
สวัสดีค่ะ

ดร. ปฐมพงษ์   ศุภเลิศ : 
         หลายคนชอบใจบทกลอนและขอไว้  แล้วจะตีพิมพ์ ใน blog gotoknow ครับ  เรียนเชิญอาจารย์ชัยวัฒน์  เชื้อมั่ง  ครับ

อาจารย์ชัยวัฒน์  เชื้อมั่ง :
         วันนี้ที่ได้รับเชิญมาให้ความรู้ ให้คำแนะนำเกี่ยวกับโรงเรียน   ปรัชญาของของโรงเรียนอาจตรงกับความมุ่งหมายของนักเรียน โรงเรียนได้พยายามจะให้ความรู้เกี่ยวกับ อุดมการณ์ของโรงเรียน เป้าหมายของโรงเรียน เพื่อจะให้ผู้ปกครองได้รับทราบ เพราะนักเรียนที่เข้ามาในโรงเรียนเป็นกลุ่มที่เป็นความหวังของพ่อแม่   เป็นความหวังของผู้ปกครอง โรงเรียนจึงจะพัฒนานักเรียนให้เต็มตามศักยภาพ  โดยหาปัจจัยต่างๆ เครื่องไม้เครื่องมือ มาให้นักเรียน ถ้านักเรียนต้องการสิ่งไหน เราจะหาเพราะว่าเราอยากจะให้นักเรียนกลุ่มนี้ที่เข้ามาในโรงเรียนวิทยาศาสตร์ของเรา ได้พัฒนาให้เทียบกับระดับนานาชาติ อันนี้คือปรัชญาของโรงเรียน ด้วยเหตุนี้นักเรียนที่เข้ามาเราให้เวลา  แต่ครูให้เวลานักเรียนค้นคว้า ครูไม่ได้สอนมากไป ไม่ได้สอนตลอดเวลา  เปิดโอกาสให้นักเรียนหาความรู้จากเรา เมื่อถึงคราวที่นักเรียนต้องการความรู้จากครู  ครูต้องพร้อม  ครูต้อง smart คือครูตอบคำถามได้ นักเรียนมักเชิญครูไปเมื่อต้องการ  ที่โรงเรียนเรียกว่า เป็นหมอที่อยู่ในคลินิกที่เราตั้งไว้ ในแต่ละ concept บางครั้งความรู้นักเรียนหาความรู้ตรงนี้ได้  คนกลุ่มนี้เราไม่ต้องดูแล  แต่มีนักเรียนอีกกลุ่มหนึ่งที่ยังไม่เข้าใจดี จะเชิญครูไปให้คำแนะนำ  ครูทุกคนจะได้รับเชิญไปพูดที่ห้องประชุม สังเกตว่าครูจะได้รับเชิญ ครูจะได้รู้สึกว่าวันนี้มีความภาคภูมิใจ ว่ามีนักเรียนที่เชิญครูไปสอน  เอาเวลาเป็นเกณฑ์ สังเกตว่า  การสอนนักเรียนที่มีความสามารถจะต่างกับนักเรียนโดยทั่วไป จะตรงตามศักยภาพของนักเรียนที่โรงเรียนจัดให้ นักเรียนที่มีศักยภาพสูงทางโรงเรียนจะหาให้ เพื่อนักเรียนจะได้ไปถึงสิ่งที่สูง และจะมีอุดมการณ์ต่างๆ ต่อไป ครับไว้แค่นี้นะครับ

ดร. ปฐมพงษ์   ศุภเลิศ : 
         เราได้ฟังจากอาจารย์ชัยวัฒน์แล้ว ต่อไปอาจารย์กนกพรครับ  

อาจารย์กนกพร   ต่วนภู่ษา :
         ในสถานที่นี้คงไม่ใช่จะมีครูเพียงอย่างเดียวอาจมีพยาบาล มีองค์กร มีบริษัทต่างๆ กันมาก เรามาเน้นในเรื่องของครูกันมาก ลักษณะของเราที่ไม่ใช่ผู้บริหาร เราเป็นผู้ปฏิบัติ  เพราะฉะนั้นเราผ่านอะไรต่างๆ มานานแล้ว เราลงปฏิบัติจริง ทฤษฎีและหลักการต่างๆ บางครั้งไม่สอดคล้องกับเหตุการณ์จริง เราผ่านเหตุการณ์มานานแล้ว เวลาเราทำอะไรสำหรับ KM เราไม่มองหรอกว่า เราจะต้องเอาหลักการ เราเอาสภาพจริงๆ เราเอาประสบการณ์ เอาสภาพที่เป็นจริง หมายความว่า เราต้องหันหน้าเข้าหากัน เอาความรู้ประสบการณ์จริงมาแชร์ความคิดกัน กัน ขออีกครั้งภาวะผู้นำ เพราะเคยใช้กับท่านรัฐมนตรี เพราะเป็นสิ่งที่สำคัญ เป็นสิ่งที่หล่อลื่นในการทำงาน ให้เขาเหล่านั้นทำงานได้ราบรื่น ผลสำเร็จจะตกอยู่กับหน่วยงานที่เราทำ

ดร. ปฐมพงษ์   ศุภเลิศ :
        ท่านฝากไว้เราก็รับฝากแต่ไม่ทราบว่าจะรับฝากได้มากแค่ไหน ขอเชิญอาจารย์ทองดีครับ

อาจารย์ทองดี  แย้มสรวล: 
         เมื่อเช้าที่นำเสนอได้กราบเรียนท่านว่าผมเป็นครูฟิสิกข์แต่ได้ลองทำในเรื่องของสิ่งแวดล้อม เพราะทรัพยากรในโรงเรียนเอื้อให้ทำ ความจริงแล้วผมอยากทำในเรื่องอื่นอีกหลายเรื่อง จุดหนึ่งที่ผมคิดว่าจากประสบการณ์ทำงาน  จุดอ่อนอยู่ที่การนิเทศก์ กำกับติดตามงาน ปัญหาที่เกิดขึ้นคือการพัฒนาบุคลากร ช่วงของการพัฒนาบุคลากรก็มีการกระตือรือร้น  หลังจากนั้นก็หายไป  การจัดการความรู้คงช่วยในเรื่องนี้ได้ จากที่เราใช้  do check action  ปัญหาของเราคือการประเมินผลงาน  ซึ่งวัฒนธรรมองค์กรทำแบบเดิมมักจะโดนปลูกฝังการจับผิด ดังนั้นในส่วนตรงนี้จึงเกิดการจัดการความรู้ค่อนข้างยาก ในหน่วยงานที่เป็นภาครัฐ เรื่องตรงนี้ ผมยังมองในส่วนของ 4 M  คือ man  money  material  ตัวสุดท้ายคือ  management   ซึ่งหมายถึงทุกสิ่งที่เรามี แต่เราขาดการจัดการที่ดีพอ  วันนี้ผมเห็นว่าองค์กรไม่น้อยที่ขาดการจัดการองค์กร  วันนี้ท่านจะเห็นว่าถ้าเรายกกรณีของคุณกิจ 10 คน หรืออาจมองประเด็นคนอื่นที่ได้รับการยกย่องในเรื่องต่าง ถ้ามองให้ดีแล้ว ประเด็นหนึ่งในการทำงานคือความศรัทธา  หรือความจริงใจ ที่จะทำงานตรงนั้น ซึ่งตรงนี้เป็นแหล่งที่เริ่มต้นของบุคคลในหน่วยงานสองบุคคลคือ การเสียสละ อุทิศเวลา จากที่เราเข้ามาตั้งแต่เช้าจะเห็นภาพเช่นนี้ สิ่งที่สำคัญคือการใฝ่เรียนใฝ่รู้ที่จะพัฒนาทั้งตนเอง ทั้งองค์กร สุดท้ายการที่จะให้ตนเองทำงานสำเร็จ โดยไม่ได้รอฝ่ายบริหารอย่างเดียวมากระตุ้นให้เราทำ เช่น รางวัล ค่าตอบแทน แต่เราเห็นว่า สิ่งที่เราทำนี้เกิดขึ้นกับเด็ก เราสามารถตัดสินใจทำตรงนั้นได้เลย  ดังนั้นความศรัทธา ความอุทิศเวลา ความเสียสละ ใฝ่เรียนใฝ่รู้  คิดว่าการจัดการความรู้ก็จะประสบผลสำเร็จ  ขอบคุณครับ

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 16336เขียนเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2006 08:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤษภาคม 2012 15:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท