มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา MPA ครั้งที่ 4


ผมอยากให้ทุกท่านอ่านและแสดงความคิดเห็นที่เป็นเลิศ

ขอต้อนรับ นักศึกษา MPA สวนสุนันทา ทุกท่าน

       ผมรู้สึกยินดีมากที่ได้มาสอนที่สวนสุนันทาอีกครั้งหนึ่ง สำหรับการสอนในครั้งนี้นั้น ถือว่าเป็นการสอนครั้งที่ 4 แล้ว  ผมอยากสร้างให้นักศึกษามีความเป็นเลิศที่มากขึ้น เพราะ ผมก็ได้มีประสบการณ์ในการสอนที่นี่มาแล้ว 3 ครั้ง รุ่นนี้ผมจึงคาดหวังเป็นพิเศษ

            ซึ่งครั้งนี้ ก็เสมือนเช่นทุกครั้งที่อยากให้ทุกท่านได้แสดงความคิดเห็น และส่งการบ้านผ่าน Blog ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน ผมขอเน้นให้ทุกท่านอ่าน และแสดงความคิดเห็นที่เป็นเลิศ  ซึ่งจะเป็นประโยชน์ สำหรับพวกท่าน และคนอื่นที่สามารถเข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นได้มากครับ

                                 จีระ  หงส์ลดารมภ์

 

คำสำคัญ (Tags): #mpa รุ่น 4
หมายเลขบันทึก: 162973เขียนเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2008 09:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2012 14:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

 

อ่านความเห็นนักศึกษาได้ที่

http://gotoknow.org/blog/chirakm/163250

ผมประทับใจรุ่น 4  2 เรื่องใหญ่ ๆ คือ

 1. ความกตัญญูของพวกเราที่มีต่ออาจารย์อัษฎางค์ ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้ผมได้เขียนบทความถึงท่าน

2.  ความพร้อมเพียงและความมีวินัยที่ได้ไปทัศนศึกษากันที่เกาะล้าน ซึ่งผมได้เปิด Blog แล้ว และเห็นว่ามีคนเขียนอย่างลึกซึ้ง และมีจินตนาการที่ดี  ต่อไปผมว่าคงไม่ต้องเรียนทฤษฎี  Blue Ocean แล้ว เพราะการไปเกาะล้านนั้น ก็แสดงให้เห็นว่า คงจะสามารถหาช่องทางใหม่ ๆ และกิจกรรมใหม่ ๆ ที่น่าสนใจได้ตลอดเวลาครับ

จีระ  หงส์ลดารมภ์

นาย สุรัชต์ ชวนชื่น รหัส 50038010014

 

1).ไปทัศนศึกษานอกสถานที่ได้อะไร

ตอบ     เป็นคำถามที่ก่อให้เกิดแนวคิดหลากหลายและมากด้วยมุมมองในด้านความคิดเชิงพาณิชย์ สร้างสรรค์ การพัฒนาท้องถิ่นแต่ละแห่งในทางที่ผ่าน แต่ละแห่ง แต่ละชุมชนและอื่นๆที่คิดไม่ถึงซึ่งเป็นความต่างในความคิดเดิมๆว่าคงจะเป็นอย่างนั้น อย่างนี้ ตามที่ตนเองจินตนาการว่าท้องถิ่นนั้นคงจะแตกต่างจากภายในความทรงจำเมื่อหลายทศวรรษที่แล้ว

            แต่เมื่อมีโอกาสได้ย้อนกลับไปสู่อดีตดังกล่าว สิ่งต่างๆในความทรงจำแทบจะไม่หลงเหลือให้เห็นอีกต่อไป มีแต่สิ่งใหม่ๆเกิดขึ้นในท้องถิ่น แต่ละแห่งมีการพัฒนา (Developing) มีการเปลี่ยนแปลง (Change) ใหม่ กลายเป็นพื้นที่ในมิติใหม่ เศรษฐกิจใหม่ สังคมใหม่ (New Social)

            จากสังคมที่มีแต่ความสงบ-ราบเรียบ,สวย,ร่มเย็น การหยิบยื่นและแลกเปลี่ยนของใช้ของบริโภคร่วมกันในชุมชนนั้นๆเปลี่ยนไปกลายเป็นชุมชนหรือสังคม เศรษฐกิจ,เศรษฐศาสตร์ในครัวเรือน ทุกอย่างต้องแลกเปลี่ยนด้วยทรัพย์,ด้วยเงินตรา

            มุมมองด้านการพัฒนา ด้านคมนาคม ดูเหมือนจะสะดวกสบายและรวดเร็ว,ปลอดภัย กว่าแต่ก่อนมากมาย

            ด้านสังคม ดูเหมือนจะเปลี่ยนแปลงไปมาก เป็นสังคมของการเรียนรู้เอารัดเอาเปรียบ เป็นสังคมที่หลากหลายสายพันธ์,ขนบธรรมเนียม,จารีตประเพณีของท้องถิ่นเปลี่ยนแปลงเป็นสังคม "ที่คนเรานั้นเคารพคบกันที่เงิน"

            วกกลับมาที่กลุ่มเพื่อนๆนักศึกษา ดูเหมือนทุกคนจะกระตือรือร้นที่อยากจะเดินทางไป ต่างติดต่อสื่อสาร จะทำอย่างไร หมายกำหนดการเดินทางมีอะไรเปลี่ยนแปลงใหม่ๆทุกคนใส่ใจเปรียบเหมือน "ปลาอยากได้น้ำใหม่" อดคิดเรื่องปลาไม่ได้ เพราะลงทะเลจากพื้นดินราบ-ไปสู่เกาะแก่งเห็นปลาต่างๆแหวกว่าย "น่าเสียดาย ข้าพเจ้าดูไม่ออกว่าปลาชนิดใด เป็นปลาเค็ม"

 

2).ท่านพึงพอใจหรือประทับใจสิ่งใด

ตอบ     เห็นจะเป็นความพร้อมเพรียงและการประสานให้ความร่วมแรงร่วมใจกับกิจกรรม Study Tours ในครั้งนี้เป็นอย่างดียิ่ง

            เห็นแล้วน่าชื่นชม ความมีน้ำใจ ของผองเพื่อน สนุกสนานเบิกบานใจร้องรำทำเพลงตามจังหวะ ตามเวลาและโอกาสอันสั้นๆเป็นความพอใจในกลุ่มเพื่อนๆ

            แต่ความประทับใจและพึงพอใจที่ยิ่งใหญ่ ที่ได้มาเห็น "คน" ที่หลั่งไหล คลั่งไคล้ มนต์เสน่ห์ ของแผ่นดินสยามประเทศ จากทั่วทุกมุมโลก จำนวนนับหลายสิบล้านคน มาใช้บริการท่องเที่ยวทั่วไทย "เมืองไทยมีของดีและราคาถูก"

            เศรษฐกิจของประเทศเติบโตจากธุรกิจท่องเที่ยวแต่ละปีนับแสนล้านบาทที่สามารถนำเงินตราเข้าประเทศและนำกลับไปพัฒนาท้องถิ่นให้เจริญรุ่งเรืองรุดหน้าตามเวลาของการเปลี่ยนแปลงเป็นสังคมยุคใหม่ ทัดเทียมกับอารยประเทศ

            ความประทับใจที่สำคัญเห็นจะเป็น "ที่เราเป็นคนไทย" มีวัฒนธรรมที่เข้มแข็งยั่งยืนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่ไม่มีแห่งใดในโลกเสมอเหมือน นั่นคือ "รอยยิ้ม" เป็นรอยน้ำใจแห่งมิตรไมตรี แก่ทุกคนทั่วโลกต่างแสวงหา

น.ส.หทัยพัชร์ จุลเจริญ ตัวแทนกลุ่ม 5

เรียน ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  อาจารย์ยม นาคสุข คณะทีมงาน และท่านผู้อ่านทุกท่านค่ะ
      กลุ่ม 5 ได้ช่วยกันอ่าน เนื้อหาจากหนังสือ
The Speed of Trust ของ Stephen R.Covey และพอจะสรุปดังนี้

 

      Stephen R. Covey ได้เปรียบเทียบการสร้างความไว้วางใจเหมือนกันการฝากเงิน นั้นหมายถึงการสร้างความไว้วางใจ

 

พฤติกรรมที่ 5 แสดงความภักดี (Show Loyalty)

 

 ผู้เขียนได้ยกตัวอย่างการแสดงความไม่ภักดีโดยการเล่าเรื่องในระหว่างการรับประทานอาหาร การแสดงความภักดีอยู่บนรากฐานของหลักการแห่งบูรณภาพ ความภักดี การซึ้งใจ การแสดงออกถึงความภักดีมีหลายวิธี ไม่ว่าใหญ่หรือเล็กแต่ผู้เขียนได้เลือกที่จะกล่าวถึง มี 2 วิธี

 

      1. การให้เครดิต (ยกย่อง ชื่นชม) กับผู้อื่น หนทางหนึ่งในการแสดงความภักดีคือให้เครดิตผู้อื่นในการเห็นคุณค่าในการมีส่วนร่วมในการแสดงผลลัพธ์การให้เครดิตไม่เพียงเป็นการยืนยันการทำคุณประโยชน์ของผู้อื่นเท่านั้น หากยังเป็นการสร้างบรรยากาศให้คนในที่ทำงานมีความกระตือรือร้นที่จะใช้ความคิดสร้างสรรค์ ให้ความร่วมมือ และรู้สึกว่าตนมีส่วนร่วมในไอเดียนั้น

 

      2. พูดถึงผู้อื่น ประหนึ่งว่าเขาอยู่ที่นั้น (การไม่นินทาผู้อื่น) ตัวอย่างการรับประทานอาหาร (ตัวอย่างแรก) เป็นตัวอย่างที่ดีในการทำลายความไว้วางใจต่อผู้อื่น แต่หากมีความจำเป็นในการพูดพาดพิงถึงผู้อื่นนั้นควรพูดอย่างตรงไปตรงมา ไม่ควรพูดถึงข้อบกพร่องที่อาจจะมีหรือที่เราคิดไปเอง

 

Give credit to others. Speak about people as if they were present. Represent others who aren’t there to speak for themselves. Don’t badmouth others behind their backs. Don’t disclose others’ private information

 

ให้เครดิตแก่ผู้อื่นเสมอ มองเห็นคุณค่าการมีส่วนร่วมของผู้อื่น พูดถึงผู้อื่น ประหนึ่งว่าเขาร่วมอยู่ที่นั้นด้วยเป็นปากเป็นเสียงแทนผู้อื่น ถ้าเขาไม่มีโอกาสได้ป้องกันตัว อย่านินทาผู้อื่นลับหลัง อย่างเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของผู้อื่น

 

      พฤติกรรมที่ 6 สร้างผลลัพธ์ (Deliver Results)

 

ในยามที่สร้างผลลัพธ์ เราจะเคลื่อนที่จากพฤติกรรมที่อยู่บนรากฐานของคุณลักษณะ ไปบังพฤติกรรมที่อยู่บนรากฐานของฝีมือ พฤติกรรมนี้งอกเงยมาจากหลักการแห่งความรับผิดชอบ การแบกรับความผิด และการทำงานได้ตรงกันข้ามกับการสร้างผลลัพธ์จะเป็นการทำไม่ได้ หรือทำงานไม่สำเร็จ

 

Establish a track record of results. Get the right things done. Make things happen. Accomplish what you’re hired to do. Be on time and within budget. Don’t overpromise and underdeliver. Don’t make excuses for not delivering.

 

สร้างประวัติผลงานแห่งผลลัพธ์ ทำสิ่งที่ถูกต้องให้แล้วเสร็จ ทำให้เกิดผล รับงานใดมาทำ ทำให้เสร็จทันเวลา ไม่เกินงบประมาณ อย่าสัญญาเกินจริงและทำผลลัพธ์ในระดับต่ำ ไม่มีข้อแก้ตัวถ้าไม่มีผลลัพธ์

 

      พฤติกรรมที่ 7 การทำให้ดีขึ้น (Get Better)

 

การทำให้ดียิ่งขึ้นอยู่บนรากฐานการพัฒนาต่อเนื่อง เรียนรู้และเปลี่ยนแปลง คุณจำเป็นต้องมีบูรณภาพในการให้สัญญาว่าจะพัฒนาความสามารถ และผูกมัดรักษาสัญญานั้น คุณจะอยู่ในจุดสูงสุดเมื่อมีเจตนาจะพัฒนาความสามารถเพื่อสร้างประโยชน์เพื่อผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นผู้รับประโยชน์จากฝีมือและทักษะของคุณที่เพิ่มขึ้น การทำให้ดียิ่งขึ้นเกี่ยวข้องกับความสามารถในการสร้าง ขยาย ฟูมฟักความไว้วางใจ การทำให้ดีขึ้น ยิ่งขึ้นเกี่ยวข้องกับผลลัพธ์ ทั้งในแง่การเพิ่มสัดส่วน input/output ในการเรียนรู้ให้ทำดียิ่งขึ้น และมองเห็นความเกี่ยวข้องของการพัฒนาฝีมือกับผลลัพธ์ที่คุณพยายามทำให้สำเร็จ

 

      จะทำให้ดียิ่งขึ้นอย่างไร มีกลยุทธ์ 2 เรื่องคือ เสาะหาผลสะท้อนกลับ และเรียนรู้จาการผิดพลาด

 

1.   เสาะหาผลสะท้อนกลับและนำมาวิเคราะห์ปรับใช้มีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาฝีมือ

 

2.   เรียนรู้จาการผิดพลาดถ้าคุณไม่พร้อมที่จะผิดพลาดคุณไม่มีวันพัฒนาฝีมือได้บ่อยครั้งคนเราไม่เต็มใจที่จะทำผิดอาจเป็นเพราะกลัวเกินกว่าจะล้มเหลว หรือทุ่มความสนใจไปยังการวางท่าสวยให้ดูดี แต่คนฉลาดบริษัทที่ฉลาด ถือว่าการทำผิดเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต มองเห็นความผิดพลาดเป็นผลสะท้อนกลับที่จะช่วยในการพัฒนาฝีมือทำให้เขากลายเป็นผู้เชียวชาญในการเรียนรู้วิธีที่จะเรียนรู้จากความผิดพลาด

 

 

แท้จริงแล้ว บ่อยครั้งเกินไปที่ความล้มเหลวนำเอาไอเดียบรรเจิดและการค้นพบครั้งใหญ่มาให้

 

ความเห็นต่อการประดิษฐ์หลอดไฟ ของแอลวา เอดิสัน กล่าวไว้ว่า ฉันไม่ได้ล้มเหลวหมื่นครั้ง ฉันประสบความสำเร็จในการคัดไส้หลอดไฟและวัสดุที่ใช้งานไม่ได้ออกไปหนึ่งหมื่นประเภท

 

      พฤติกรรมที่ 8 เผชิญหน้ากับความเป็นจริง (Confront Reality)

 

Take issues head on, even the undiscussables Address the tough stuff directiy. Acknowledge the unsaid. Lead out courageously in conversation. Remove the sward from their hands Don’t skirt the real issues. Don’t bury your head in the sand

 

การเผชิญหน้าความเป็นจริง อยู่บนรากฐานของหลักการว่าด้วยความกล้า ความรับผิดชอบ การตระหนักรู้ และความนับถือ

 

      พฤติกรรมที่ 9 ระบุความคาดหวังให้ชัดเจน (Clarify Expectations)

 

Disclose and reveal expectations. Discuss them. Validate them. Renegotiate them if needed and possible. Don’t violate expectations. Don’t assume that expectations are clear or shared.

 

ระบุความคาดหวังให้ชัดเจน จะเป็นการสร้างภาพที่เห็นพ้องต้องกัน และความเห็นชอบ ตกลงกันล่างหน้าก่อนการกระทำใดๆนี้คือพฤติกรรมเรื่องหนึ่งที่คนส่วนใหญ่แทบไม่ได้ใส่ใจ เรียกพฤติกรรมเรื่องหนึ่งที่คนสนใจจะเน้นความสนใจไปที่ “ก่อนทำการใดๆ” หลีกเลี่ยงความปวดใจที่จะเกิดตามมาในภายหลัง ในทางตรงกันข้าม ถ้าไม่ตกลงกันให้ชัดเจนเสียก่อน จะเกิดปัญหาความวางใจในภายหลังซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความรวดเร็วและต้นทุน การระบุความคาดหวังให้ชัดเจนอยู่บนรากฐานของการว่าด้วยความกระจ่าง ความรับผิดชอบ และการกำหนดความรับผิด

สมาชิกกลุ่ม 5

1.       น.ส. หทัยพัชร์ จุลเจริญ              50038010001

2.       น.ส. นงนุช บัวขำ                         50038010012

3.       น.ส. ภัทรพร จึงทวีสูตร              50038010035

4.       น.ส. สายฝน ด้วงทอง                 50038010011

5.       น.ส. ญานิสา เวชโช                      50038010013

6.       น.ส. อมเรศวร์ พฤฒปภพ          50038010023

7.       นาง กัณจนา งามน้อย                 50038020006

8.       น.ส วิวิตรา จุลกรานต์                50038010028

9.       นาย ฉลอง บ่มทองหลาง            50038010008

มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

ขอเชิญเข้าร่วมสัมมนา“ปัจจัยท้าทายประเทศไทยปี 2553 อยู่รอดหรือยั่งยืน?”

วันที่ 8 ธันวาคม 2552

ณ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด แคมปัสพระรามเก้า 

มีรายละเอียดในลิ้งค์นี้

http://gotoknow.org/blog/chiraacademy/317427

มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

ขอเชิญร่วมสัมมนา โปรดคลิกที่นี่เพื่อดูรายละเอียด

 

http://gotoknow.org/blog/chiraacademy/352750

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท