พัฒนานโยบายและกฎหมายเพื่อควบคุมโรค (2)


ต่อจากตอนที่แล้ว

กฎหมายเกี่ยวกับการห้ามใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับรถของต่างประเทศ 7 แห่ง อังกฤษ ออสเตรเลีย  อเมริกา เยอรมัน สเปน สิงคโปร์ และญี่ปุ่น

       ไทยเรามีอุบัติเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากการใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับรถ  ปัจจุบันจึงได้มีการแก้ไขพรบ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 โดยระบุห้ามมิให้การใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับรถ มิฉะนั้นจะมีความผิดถูกปรับ 400-1000 บาทยกเว้นตามที่ ตร. กำหนด แต่ให้ใช้ Hand Free ได้ซึ่งมีข้อเสนอแนะ ว่า

-ควรยกเว้นกรณีฉุกเฉินที่ไม่สามารถจอดรถก่อนได้ และ

-แนวทางปฏิบัติในการบังคับใช้กฎหมายควรชัดเจน

-ควรศึกษาวิจัยว่าการใช้ Hand Free จะเป็นอันตรายหรือไม่ เพื่อพัฒนากฎหมายในอนาคต

          กฎหมายเกี่ยวกับอุตสาหกรรมอาหารในประเทศไทยและต่างประเทศ  เป็นที่น่าตกใจว่า ไทยเรามีกฎหมายเกี่ยวกับอาหารเยอะมาก แต่ขาดเอกภาพ เพราะมีกระทรวงที่เกี่ยวข้องเยอะ แต่ละหน่วยงานจึงควรมาคุยกันเพื่อวิเคราะห์หาจุดแตกต่าง และคล้ายคลึงกันเพื่อทำความเข้าใจในกระบวนการ และการตีความกฎหมายไม่ให้มีการทับซ้อนกันในทางปฏิบัติ และควรมีกฎหมายหลัก ซึ่งเน้นมาตรฐานขั้นต่ำทุกเรื่อง แล้วจึงให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปออกกฎหมายเฉพาะของตน

            -ต้องร่วมกันสร้างระบบ คุ้มครองผู้บริโภค ที่มีลักษณะดังนี้

                   1. กระจายหน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภคเป็นสาขา ( Agencies)

                   2.มีกฎหมายกำหนดให้อำนาจต่อรองกับประชาชนที่ชัดเจน เช่น การฟ้องคดีแบบกลุ่ม,การดำเนินการให้มีองค์กรอิสระของผู้บริโภคที่ชัดเจน (รัฐะรรมนูญ พ.ศ.2550มาตรา 61) หรือการแก้ไขกฎหมายให้ผู้ผลิตต้องรับผิดแบบ Strict Liability”

กรณีสลากอาหาร ต้องปรับปรุงประกาศกระทรวงฯ เกี่ยวกับ GMOs ให้ตรงกับมาตรฐานสากล โดยต้องคำนึงถึง ผลกระทบกับหลักการของ WTOและข้อตกลงFTA ด้วย

กรณีข้อมูลทางโภชนาการ 

        -แก้ไขให้การขอขึ้นทะเบียนอาหารจะต้องมีการแจ้งรายละเอียดทางโภชนาการด้วย

        -เพิ่มโทษปรับให้สูงขึ้น คือขั้นต่ำ 100,000 บาทขึ้นไป

        - กำหนดให้ผู้ประกอบการจะต้องจ่ายค่าเสียหายแก่ผู้ได้รับผลกระทบทั้งโดยชัดเจน และผลจากการสะสม  รวมทั้งให้สิทธิผู้เสียหายฟ้องร้องได้ด้วยตนเอง

..........อย่างไรก็ดี.....

ถ้าคนมีจิตสำนึกที่ดี   กฎหมายก็ไม่จำเป็น

บริบทของสังคมเปลี่ยนไป ......แต่ละสังคมก็มีจิตวิญญาณของตนเอง อาจเปรียบเทียบกันไม่ได้

ควรแก้ปัญหาโดยวิธี Interdisciplinary Study เพราะกฎหมายอย่างเดียวแก้ปัญหาไม่ได้  

 

หมายเลขบันทึก: 162174เขียนเมื่อ 29 มกราคม 2008 20:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น
มาเยี่ยมปิ่งค่ะ   ไม่ค่อยรู้เรื่องกฏหมายค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท