งานอาคารสถานที่


การบริหารงานอาคารสถานที่                         อาคารสถานที่เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่ช่วยให้โรงเรียนดำเนินงานไปได้โดยสะดวกอาคารสถานที่เป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำเนินงานของโรงเรียนเช่นเดียวกับบ้านเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของคนจึงควรที่ผู้บริหารจะต้องให้ความสำคัญต่อการบริหารงานอาคารสถานที่ให้เหมาะสมกับความสำคัญของงาน ความสำคัญของการบริหารงานอาคารสถานที่            การบริหารงานอาคารสถานที่  มีความสำคัญโดยสรุป  ดังต่อไปนี้1.                          เป็นการบริหารงานที่ให้ความสะดวกแก่การดำเนินงานหลักของโรงเรียนคืองานวิชาการ2.                          เป็นการบริหารงานที่ส่งเสริมให้  การดำเนินงานด้านต่างๆ  ของโรงเรียนเป็นไปโดยสะดวก  และมีประสิทธิภาพ3.                          เป็นการบริหารงาน  เพื่อเตรียมพร้อมที่จะรองรับความคิด  และความเปลี่ยนแปลงทางการจัดการศึกษา  เช่น  การเพิ่ม  หรือลด  ของจำนวนนักเรียน  หรือความเปลี่ยนแปลงของชุมชน4.                          เป็นการบริหารงานที่ส่งเสริมให้นักเรียนมีความพร้อม  และพอใจในการประกอบกิจกรรมการเรียน5.                          เป็นการบริหารงาน  ที่มีส่วนเสริมสร้างขวัญและกำลังใจของบุคลากรให้พร้อมที่จะปฏิบัติงานในหน้าที่นอกจาก  ความสำคัญโดยสรุปทั้ง  5  ประการแล้ว  ท่านจะเห็นความสำคัญของการบริหารงานอาคารสถานที่ได้จากการศึกษาประโยชน์ของ  อาคารสถานที่  ดังต่อไปนี้ ประโยชน์ของอาคารสถานที่1.            เป็นที่ประกอบกิจกรรมการเรียนการสอนโดยตรง2.            เป็นที่เก็บวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินงานต่างๆ  ของโรงเรียน3.            เป็นสื่อการเรียนที่ดีอย่างหนึ่ง 4.            เป็นที่ประกอบกิจกรรมนอกห้องเรียนของนักเรียนและกิจกรรมอื่นๆ  นอกเหนือจากการเรียนการสอน5.            เป็นที่ประกอบกิจกรรมการดำเนินงานบริหารโรงเรียนทุกงาน6.            มีส่วนในการกล่อมเกลาลักษณะนิสัยของนักเรียน ที่ให้เกิดการเรียนรู้ได้ดี7.            มีส่วนเสริมสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน  โดยการอำนวยประโยชน์แก่ชุมชนในการประกอบกิจกรรมต่างๆ เมื่ออาคารสถานที่  มีประโยชน์ดังกล่าวมาแล้ว  จึงควรที่ผู้บริหารจะต้องให้ความสำคัญต่อการบริหารงานด้านนี้  ให้มากพอสมควรแก่ความจำเป็นของงาน  และแบ่งเวลาให้แก่การบริหารงานด้านนี้ให้มีสัดส่วนพอเหมาะผลสรุป  จากการประชุมระดมความคิด เรื่องบทบาทหน้าที่ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาในเรื่องนี้มีว่า  ผุ้บริหารควรใช้เวลาในการบริหารงานอาคารสถานที่สัปดาห์ละ 3 4 ชั่วโมง  แล้วแต่ขนาดของโรงเรียน  และงานบริหารอาคารสถานที่จะมีความสำคัญในลำดับที่  4  หรือ  5  แล้วแต่สภาพปัญหาของโรงเรียนแต่ละโรง ความหมายของการบริหารงานอาคารสถานที่            การบริหารงานอาคารสถานที่  หมายถึง  การที่ผู้บริหารใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ดำเนินงานอาคารสถานที่  ร่วมกับบุคลากรในโรงเรียนให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ ประเภทและขอบข่ายของงานอาคารสถานที่            อาคารสถานที่ของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ  แบ่งออกเป็น  3  ประเภท  คือ1.            อาคารเรียน  ซึ่งรวมถึงห้องเรียน  และห้องพิเศษต่างๆ  เช่น  ห้องสมุด  ห้องพักครู     ห้องพยาบาล  ห้องวิทยาศาสตร์  ห้องพัสดุ ฯลฯ2.            อาคารประกอบ  หรือสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ  เช่น  อาคารอเนกประสงค์  โรงฝึกงาน         โรงอาหาร  ห้องส้วม  เรือนเพราะชำ  รั้ว  ถังประปา ฯลฯ3.            บริเวณโรงเรียน  เช่น  สนาม  ถนน  ที่พักผ่อนหย่อนใจ  ฯลฯ  การที่ผู้บริหาร  จะสามารถบริหารงานอาคารสถานที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นจำเป็นที่ต้องทราบขอบข่ายของงานว่า  ครอบคลุมถึง  ลักษณะงานใดบ้าง  โดยทั่วไปแล้วงานอาคารสถานที่จะมีขอบข่ายครอบคลุมลักษณะงาน  5  อย่าง  ดังต่อไปนี้1.            การจัดสร้างอาคารสถานที่  อันรวมถึงการวางผังบริเวณที่ตั้งอาคาร  การควบคุมการก่อสร้าง  การตกแต่งจัดระเบียบ  ให้เป็นไปตามหลักการจัดอาคารสถานที่ของโรงเรียนตลอดจนการรื้อถอนอาคารสถานที่2.            การใช้อาคารสถานที่  อันหมายถึง  การกำหนดวางแผนการใช้อาคารสถานที่ให้เกิดประโยชน์ใช้สอยมากที่สุด  ต่อการเรียนการสอนโดยตรง  ต่อการเกิดการเรียนรู้นอกห้องเรียนของนักเรียน  และต่อชุมชน3.            การบำรุงรักษาอาคารสถานที่  การประดับตกแต่งและซ่อมแซมอาคารสถานที่ให้คงสภาพเดิม หรือ  เพิ่มเติมเพื่อให้ประโยชน์  โดยคุ้มค่าที่สุด4.            การควบคุมดูแลอาคารสถานที่  คือ การควบคุมดูแลโดยทั่วไป  เป็นการกำกับติดตามผลการใช้  การบำรุงรักษา  การตกแต่ง  รวมถึงการควบคุมการปฏิบัติงานอาคารสถานที่ให้เป็นไปตามกฏ  ระเบียบ  ข้อบังคับและแบบแผนของทางราชการ ที่เกี่ยวข้อง5.            การประเมินผลการใช้อาคารสถานที่  เป็นการดำเนินการประเมินผลการใช้เพื่อการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงแนวทางการดำเนินงานด้านนี้  ให้เหมาะสมเพื่อประโยชน์สูงสุด  และเพื่อเก็บข้อมูลสำหรับการวางแผนดำเนินงานอาคารสถานที่ของปีถัดไป           

การใช้

การบำรุงรักษา

แผนภูมิแสดงขอบข่ายงานอาคารสถานที่         dkiบริเวณโรงเรียนอาคารเรียนอาคารประกอบ

การประเมิน

ผลการใช้  
การจัดสร้าง
การควบคุมดูแล

และสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ    บทบาทหน้าที่ของผู้บริหารโรงเรียนในการบริหารงานอาคารสถานที่            ในการบริหารงานอาคารสถานที่นั้น  ผู้บริหารโรงเรียนมีบทบาทหน้าที่ในการดำเนินงานตามขอบข่ายงานอาคารสถานที่  ดังกล่าวข้างต้น  เช่น1.            งานจัดสร้างอาคารสถานที่  ผู้บริหารมีบทบาทหน้าที่ดังนี้                        ของบประมาณจัดสร้างอาคารสถานที่                        ควบคุมการก่อสร้างอาคาร  ให้ถูกต้องและเป็นไปตามระเบียบ และกฏหมายที่เกี่ยวข้อง                        ดำเนินการเกี่ยวกับการรื้อถอนอาคารให้ถูกต้อง  ตามระเบียบและกฏหมายที่เกี่ยวข้อง                        จัดการเกี่ยวกับที่ดินของโรงเรียนให้ถูกต้องตามระเบียบว่าด้วยที่ราชพัสดุ                        ร่วมกับบุคลากรในโรงเรียน และชุมชนแก้ปัญหาการขาดแคลนอาคารสถานที่  ในกรณีที่งบประมาณจากทางราชการมีไม่เพียงพอ                        จัดให้มีการตกแต่งอาคารสถานที่ให้เป็นระเบียบ2.            การใช้อาคารสถานที่  ผู้บริหารโรงเรียนมีบทบาทหน้าที่  ดังนี้                        ดำเนินการวางแผนการใช้อาคารสถานที่  โดยให้บุคลากรในโรงเรียนมีส่วนร่วม                        จัดให้มีแผนผังบริเวณโรงเรียน  ห้องเรียน                        จัดให้มีการทำตารางแสดงการใช้อาคารสถานที่                        ให้บริการด้านอาคารสถานที่  แก่ชุมชนในกิจกรรมของชุมชนที่เกี่ยวข้อง3.            งานบำรุงรักษาอาคารสถานที่  ผู้บริหาร  มีบทบาทหน้าที่  ดังนี้                        ตรวจสภาพของอาคารสถานที่อย่างสม่ำเสมอ                        จัดให้มีการซ่อมแซมอาคารสถานที่ที่ชำรุด                        จัดให้มีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบอาคารสถานที่ของบุคลากร                        ส่งเสริมให้นักเรียน  ได้มีส่วนร่วมในการบำรุงรักษาอาคารสถานที่4.            งานควบคุมดูแลอาคารสถานที่  ผู้บริหารโรงเรียน  มีบทบาทหน้าที่  ดังนี้                        จัดเวรยามดูแล  อาคารสถานที่ ให้เป็นไปตามระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัย                        ตรวจตราการใช้อาคารสถานที่ให้เป็นไปตามข้อตกลงร่วมกันระหว่างบุคลากร                        ดำเนินการตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง  เมื่อมีผู้ขอใช้อาคารสถานที่                        ส่งเสริมให้นักเรียนมีส่วนรับผิดชอบในการดูแลรักษาอาคารสถานที่5.            งานประเมินผลการใช้อาคารสถานที่  ผู้บริหารโรงเรียน  มีบทบาทหน้าที่ดังนี้  คือ                        ประเมินผลการดำเนินงานอาคารสถานที่อย่างสม่ำเสมอ                        ให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการเสนอแนะ  เพื่อปรับปรุงการดำเนินงาน                        ส่งเสริมให้นักเรียน  มีส่วนร่วมในการประเมินผลการรักษาอาคารสถานที่เท่าที่นักเรียนจะสามารถมีส่วนร่วมได้                        ใช้เทคนิควิธีการต่างๆ ในการประเมินผลการดำเนินงานอาคารสถานที่  เช่นรับฟังความคิดเห็นจาก ชุมชน กระบวนการบริหารงานอาคารสถานที่            การบริหารงานอาคารสถานที่  จะมีประสิทธิภาพได้โดยการดำเนินการ  ตามขั้นตอนทั้ง 4  ของกระบวนการบริหาร  คือ  การศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหา  การวางแผน  การดำเนินการตามแผน  และการประเมินผล  เช่นเดียวกับการบริหารงานอื่นๆ  ทุกงาน  กระบวนการบริหารงานอาคารสถานที่  มีรายละเอียดในแต่ละขั้นตอน  ดังต่อไปนี้ขั้นตอนที่  1  การศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหา                        ในเบื้องต้นของการบริหารงานอาคารสถานที่  ผู้บริหารต้องปฏบัติให้เป็นไปตามขั้นตอนแรกของกระบวนการบริหาร  โดยรวบรวมข้อมูลด้านอาคารสถานที่  จากระบบข้อมูลของโรงเรียน  และหาข้อมูลสภาพปัญหาเพิ่มเติม  เพื่อให้ได้เป็นปัจจุบันและแน่นอน  ในขั้นนี้ผู้บริหารต้องมีข้อมูลหลายๆ  ด้านที่เกี่ยวข้อง  ซึ่งอย่างน้อยที่สุดจะต้องประกอบไปด้วยข้อมูล  3  ประเภทนี้  คือ  1.1        สภาพปัจจุบันของอาคารสถานที่และทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง  เช่น  จำนวนอาคารสิ่งปลูกสร้างที่มีอยู่แล้ว  พื้นที่บริเวณโรงเรียน  สภาพพื้นที่  จำนวนนักเรียน  จำนวนบุคลากรและเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ  เป็นต้น1.2        แนวโน้มของการเปลี่ยนแปลง  เช่น  การเพิ่ม  หรือลด  ของจำนวนนักเรียน  งบประมาณที่คาดว่าจะได้รับ  การเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ในท้องถิ่นซึ่งเกี่ยวพันถึงโรงเรียนเป็นต้น1.3        ปัญหาและข้อจำกัด  ซึ่งจะได้จากการศึกษาข้อมูลดังกล่าวข้างต้น  เช่น ข้อจำกัดของพื้นที่  ข้อจำกัดของบุคลากร  ข้อจำกัดของงบประมาณ  หรือปัญหาอื่นๆ  ที่ส่งผลต่อการดำเนินงาน  เป็นต้น            เมื่อได้ข้อมูลและปัญหาแล้ว  ก็นำมาวิเคราะห์โดยให้บุคลากรในโรงเรียนมีส่วนร่วมเพื่อสรุปเป็นความต้องการของโรงเรียนที่จะแก้ปัญหา  หรือพัฒนาด้านอาคารสถานที่  เพื่อดำเนินการในขั้นตอนต่อไป ในขั้นตอนที่  1  นี้  ท่านผู้บริหารจะเข้าใจและจำเป็นข้อสรุปได้โดยศึกษาจากแผนภูมิต่อไปนี้ 

รวบรวมข้อมูลและปัญหา

ด้านอาคารสถานที่
วิเคราะห์ข้อมูลและปัญหา
สรุปความต้องการด้านอาคารสถานที่

     
ขั้นตอนที่  2  การวางแผนงานอาคารสถานที่            เมื่อรู้ความต้องการด้านอาคารสถานที่  ว่าจะแก้ปัญหา  หรือพัฒนาอย่างไร  แค่ไหน  จากการปฏิบัติในขั้นตอนที่  1  แล้ว  ก็จักดำเนินการในขั้นที่  2  กล่าวคือ  จัดให้มีการวางแผนและเขียนโครงการเพื่อแก้ปัญหา  เพื่อพัฒนา  หรือ  เพื่อบรรลุความต้องการด้านอาคารสถานที่นั้นๆ  ในการวางแผนด้านอาคารสถานที่  ผู้บริหารต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้2.1        ให้บุคลากรในโรงเรียนและบุคคลในชุมชนผู้ซึ่งมีส่วนในการใช้ประโยชน์และมีส่วนร่วมรับผิดชอบด้านอาคารสถานที่  ได้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังในการวางแผนงานด้านอาคารสถานที่2.2        ในการวางแผนด้านอาคารสถานที่ จะต้องมุ่งให้อาคารสถานที่นั้นๆ  สามารถใช้ประโยชน์ได้หลายๆ ทาง  หากจะเป็นแบบอเนกประสงค์ก็จะทำให้การพัฒนาอาคารสถานที่นั้นๆ ได้ผลคุ้มค่ากับการลงทุน2.3        ให้เป็นการเอื้ออำนวยประโยชน์ต่อการเกิดการพัฒนาการของนักเรียนในด้านต่างๆ ให้มากที่สุด  นั่นคือ  ให้ประโยชน์ต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยตรง  และส่งเสริมสนับสนุนการเรียนการสอน และกล่อมเกลาลักษณะนิสัยให้เป็นไปตามจุดหมายของหลักสูตรโดยทางอ้อม    ขั้นตอนที่  3  การดำเนินการตามแผนงานอาคารสถานที่ในขั้นตอนนี้  ผู้บริหารโรงเรียนจะต้องกำกับ  ติดตาม  และควบคุมดูแลให้การดำเนินงานดำเนินไปตามแผนที่วางไว้ในขั้นตอนที่  2  การดำเนินงานด้านอาคารสถานที่จะดำเนินไปโดยราบรื่นและมีประสิทธิภาพพอสมควร  หากผู้บริหารยึดแนวทางในการปฏบัติงาน  ดังต่อไปนี้                        ปลูกฝังให้บุคลากรในโรงเรียนมีความรู้สึกว่าตนเองมีส่วนเป็นเจ้าของซึ่งต้องมีความรับผิดชอบต่อการดำเนินงานของโรงเรียน                       


คำสำคัญ (Tags): #อาคารสถานที่
หมายเลขบันทึก: 161662เขียนเมื่อ 27 มกราคม 2008 12:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ได้ศึกษาผลงานท่านแล้วได้ประโยชน์มาก....ขอบคุญครับ

ทำไมคุณลุงถึงนามสกุลเหมือนหนูละ   ย่าหนูอยู่นครสวรรค์  ส่วนปู่ของหนูยังไม่เคยเห็นหน้าเพราะปู่ไปอยู่กับลูกที่ พิจิตร ปู่นามสกุล พรมสี

 

อธิบายเนื้อหาได้ชัดเจน ดีมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท