อนุทินส่วนตัว ๒๖ ม.ค. ๕๑


KM Workshop กรมทรัพยากรน้ำบาดาล D3/4

อนุทินส่วนตัว  ๒๖ ม.ค. ๕๑ 

ชมนก

          บริเวณหินสวยน้ำใสมีนกมาก    นกโพระดกร้อง โฮกป๊ก โฮกป๊ก โต้ตอบกันไพเราะ ให้ความสดชื่นมาก    นกปรอดและนกอื่นๆ มีมากมาย รวมทั้งกระรอก เพราะมีต้นไม้มาก

  

วิทยากรไม่พูด

         คุยกับคุณธวัช ว่าวิทยากร KM บางคนช่างพูด    มีผลปิดกั้นการแสดงออกของผู้มาเข้า KM Workshop   ทำให้เน้นการบรรยาย    สคส. เน้นจัด KM Workshop แบบที่วิทยากรพูดน้อย    ส่งเสริมให้สมาชิก workshop ได้เรียนรู้จากสัมผัสตรงของตนเอง คือปฏิบัติเอง    แล้วนำข้อเรียนรู้มา ลปรร. กับเพื่อนสมาชิก คล้ายๆ สอนคนอื่น     

KM Workshop กรมทรัพยากรน้ำบาดาล    ที่หินสวยน้ำใส  อ. แกลง  จ. ระยอง  D3/4 

  • ไฟดับตั้งแต่ตีห้าครึ่ง เพราะรถสิบล้อชนเสาไปล้ม 3 ต้นที่ถนนใหญ่     จึงต้องออกมาตั้งวง ลปรร. นอกห้อง    ไฟมาตอน 11 น.

 

  • ทักษะคุณอำนวย

คุณธวัชขอให้สมาชิกคิดถึงประสบการณ์การเล่าเรื่องใน 2 วันที่ผ่านมา  และสรุปเป็นคำหรือประโยคสั้นๆ   ว่าทักษะที่ดีของคุณอำนวยมีอะไรบ้าง    ได้มาดังนี้

      -          สร้างความมั่นใจ

      -          ประสานประโชน์

      -          ประธาน

      -          วางกฎกติกาก่อนเริ่ม

      -          เชื่อมโยงความคิด

      -          รับฟังข้อเสนอ

      -          กระตุ้นให้สมาชิกกล้าเล่า

      -          ให้ความเสมอภาคเท่าเทียม

      -          ถอดหมวก

      -          เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตัวเอง

      -          ชี้นำแนวทาง

      -          ประนีประนอมความขัดแย้ง

      -          จับประเด็น

      -          ถามเพื่อกระตุ้น

      -          ลืมบทคุณอำนาจ

      -          หาหัวปลา  กำหนดเป้าหมาย

      -          สร้างบรรยากาศ

      -          เป็นผู้ฟังและผู้พูดที่ดี

      -          เป็นกลาง

      -          Positive thinking

      -          ดึงเข้าสู่ประเด็น

      -          มีเทคนิคในการควบคุม 

      -          กล้าตัดสินใจ

      -          ป็นนักประาธิปไ

       -          สร้างอารมณ์ขัน

       -          ชื่นชม ให้กำลังใจ

       -          สร้างสถานการณ์เชิงบวก

       -          สังเกตพฤติกรรม จับอารมณ์ 

       -          ควบคุมเวลา

       -          เข้าใจธรรมชาติของกลุ่ม  

       -          ถามในลักษณะชมเชย

       -          ยืดหยุ่น

       -          พักเบรกเพื่อเปลี่ยนอารมณ์   ถ้ามีความขัดแย้งเกิดขึ้น

       -          สร้างอารมณ์

       -          แมวมอง  นักปั้น หาคุณกิจเด่นๆ

       -          สรุปเรื่องเล่าได้กระทัดรัดและชัดเจน  และถามสมาชิกว่าใช่หรือไม่

       -          ไม่ทำให้เรื่องเล่าสะดุด 

       -          ป็นักจัดรายการที่ดี

       -          ไม่ยึดติดความคิดของตนเอง

        -          ป็นักหาข้อมูลของผู้เข้าประชุม  และความรู้ทฤษฎี 

        -          ภาษาถูกต้อง ไพเราะชัดเจน

         คุณธวัชขอให้ผมสรุป    ผมถามที่ประชุมว่า คุณอำนวย กับประธานการประชุมต่างกันอย่างไร    ได้คำตอบดังนี้     

  คุณอำนวย ประธาน
ความเป็นกลาง มากกว่า น้อยกว่า
จิตใจ ทำด้วยใจ หัวโขน
บทบาท อำนวยความสะดวก คุณอำนาจ
การพูด คุณกิจพูดมากกว่าคุณอำนวย ประธานพูดมากกว่าคุณกิจ
ทีม กัปตันทีม ผู้จัดการทีม
วาระประชุม ด้นสด กำหนดล่วงหน้า  ดำเนินการตามวาระ

         

              ผมสรุปว่ากิจกรรมในเช้าวันนี้เป็นการสรุป ความรู้มือหนึ่ง จากการปฏิบัติของเราเอง    เป็นความรู้ที่ได้มาจากการปฏิบัติ โดยผู้ปฏิบัติ             

  • ขุมทรัพย์ความรู้ของกรมทรัพยากรน้ำบาดาล

มีการส่งการบ้าน   และเขียนเรื่องเล่าใหม่กันอย่างคึกคัก 

   

  • ประชุมวิชาการแนวใหม่ แนวตลาดนัดความรู้

             ระหว่างอาหารเที่ยง ทีมกรมทรัพยากรน้ำบาดาล วางแผนจะเปลี่ยนวิธีจัดการอบรม เป็นเวที แลกเปลี่ยนเรียนรู้     และเปลี่ยนรูปแบบการประชุมวิชาการ เป็นตลาดนัดความรู้    เอาความรู้นอกตำรา หรือความรู้ปฏิบัติ ที่แต่ละกลุ่มมี มาแลกเปลี่ยนกัน

  • บ่ายเป็นการประชุมกลุ่มเพื่อเล่าเรื่อง    แบ่งกลุ่มตามบันทึกเรื่องเล่าที่ส่งการบ้าน หรือเขียนเมื่อเช้า    จัดกลุ่มโดยทีมจัดกลุ่ม นำโดย ผอ. ชัยวัฒน์   โดยคุณธวัชกำหนดกติกาให้สมาชิกในวงดังนี้

 -          ปิดเสียงโทรศัพท์

-          ฟังอย่างตั้งใจ

-          ฟังอย่างไม่ตัดสินถูกผิด  ใช่-ไม่ใช่

-          ฟังแม้เห็ต่าง

-          ไม่ถามแย้ง ค้าน เสนอแนะ

-          ถามเชิงชื่นชม

-          สบตาผู้เล่า

-          เปิดตา เปิดหู เปิดใจ 

-          คอยจับความคิดแย้ง วางไว้    คือให้ระวัง "เสียงในหัวของตัวเอง"  ให้รู้เท่าทัน

         กติกาต่อผู้เล่า

-          เล่าเหตุการณ์ล็กๆ ที่ประทับใจ

-          เล่าให้กระชับ เฉพาะหัวใจของเรื่อง   อย่าอารัมภบทนาน 

-          เล่าจากเหตุการณ์ไม่ใช่จากจินตนาการ

-          ไม่ตีไข่ใส่สี

-          ไม่ตีความ

-          เล่าให้เห็คน

-          เล่าห็อารมณ์ความรู้สึก ห็สภาพแวดล้อม

-          ไม่เอาหลักวิชาในตำรา มาเล่า   แต่เล่าจากประสบการณ์จริง ของจริง

      

           แบ่งกลุ่มตามเรื่องเล่าที่แต่ละคนเขียน   มี ๔ กลุ่ม คือ

  1. การแก้ไขปัญหาการเจาะบ่อบาดาล
  2. ข้อมูลสารสนเทศน้ำบาดาล
  3. การบริหาร
  4. เรื่องทั่วไป  

            สังเกตเห็นชัดเจนว่า วง ลปรร. มีชีวิตชีวาขึ้นกว่าเดิมอย่างมากมาย    มีอยู่กลุ่มหนึ่งที่ ลปรร. เรื่องเทคนิคการเจาะน้ำบาดาล คุณลิขิต (ดร. เกรียงศักดิ์ ภิระไร) แสดงวิธีจดบันทึกเป็นภาพไดอะแกรม หรือ drawing ช่วยให้สมาชิกกลุ่มเข้าใจง่ายขึ้น    เป็นวิธีทำหน้าที่ คุณลิขิต แบบใหม่เอี่ยมสำหรับผม คือทั้งลิขิตและตีความ อธิบาย  ขุมทรัพย์ความรู้ที่ได้จากการประชุมกลุ่มรอบที่ 3 นี้ เอากลับไปใช้งานของกรมทรัพยากรน้ำได้ เลย    ตรงตามวัตถุประสงค์ของการใช้ KM ของกรม ที่เป้าหมายหลักอย่างหนึ่งคือเก็บความรู้จากผู้มีประสบการณ์สูง ไม่ให้สูญหายไปจากการเกษียณอายุราชการ   

กระบวนการ storytelling ครั้งนี้แตกต่างอย่างไรบ้าง

  •  มีอยู่กลุ่มหนึ่งคุณอำนวยคุมกลุ่มไม่อยู่ เกิดกลุ่มย่อย เพราะพลังของสมาชิกกลุ่มหลั่งไหลออกมามาก    คุณอำนวยไม่รู้ข้อมูลของสมาชิกกลุ่ม    และมีสมาชิกที่เพิ่งเข้าร่วมเช้าวันนี้ จึงไม่เข้าใจวิธีประชุม
  • เกิดการเปิดใจเต็มที่ ได้เรื่องเล่าครบถ้วน มีรายละเอียดo        สมาชิกมุ่งมั่นทุกคน ที่จะเอาความรู้ออกมา
  • เข้าใจ KM ชัดเจนขึ้น
  • ได้เขียนมาก่อน การเล่าจึงราบรื่น เพราะได้เรียบเรียงมาก่อน    คุณลิขิตจึงสรุปได้ง่ายขึ้นo        มีการตั้งใจฟัง เสริม ถาม ให้ได้ครบถ้วน
  • คุ้นเคยกันมากขึ้น พูดภาษาเดียวกัน ลื่นไหลมากขึ้น ได้ความรู้เชิงลึกมากมาย  
  • จัดกลุ่มดี ทำให้ได้คุยเรื่องที่สนใจร่วมกัน
  • การกำหนดหัวปลาในงานด้านบริหาร เรื่องคน จะยากกว่าด้านเทคนิค  

ข้อสังเกตจากทีมจัดหมวดหมู่เรื่องเล่า

  • เห็นความมุ่งมั่น
  • แบ่ง 4 กลุ่ม  

ข้อสังเกตจากผู้เขียนเรื่องเล่า

  •  เขียนตามความถนัดของตน
  •  หัวข้อเล็กๆ เขียนง่ายกว่าหัวข้อใหญ่
  • เขียนเรื่องที่เรารู้ โดยยังไม่กำหนดหัวปลา เขียนง่ายกว่า
  • คิดเรื่องที่เรารู้คิดง่าย ทำได้เร็ว  แต่เวลาเขียนยาก ไม่แน่ใจว่าคนอ่านจะเข้าใจ เขียนให้เชื่อมโยงให้เข้าใจตรงกับที่เราตั้งใจ ยาก 

    

  • ดูหนัง เสียงกู่จากครูใหญ่

          แล้วช่วยกันตีความ ได้ดังนี้

         o        ครูใหญ่มีความมุ่งมั่น

         o        ผู้นำมีความสามารถในการจูงใจ สร้างศรัทธา

         o        มีการวางแผน สร้างแรงจูงใจตนเองโดยคิดถึงชีวิตในอดีตของตนเอง

         o        คำขวัญ การทำงานหนักเป็นดอกไม้ของชีวิต

         o        ทำด้วยตนเองให้ผู้อื่นเห็น เพื่อสร้างความร่วมมือ

         o        ดูหนังดูละครแล้วย้อนดูตัว   นักพัฒนาไม่หวังผลตอบแทน  

         o        รู้จักประเมินชุมชน

         o        สามัคคีคือพลัง

         o        คนเราทำดีไม่หวังผลตอบแทน แล้วจะสำเร็จ

         o        เริ่มจากความจริงใจ   การมีส่วนร่วม 

         o        ผู้นำประเทศให้ความสำคัญแก่ครูใหญ่

         o        ความขาดแคลนไม่ใช่อุปสรรค

         o        ครูใหญ่ไม่รอฟ้าดิน ไม่รอฟ้าประทาน เริ่มด้วยตนเอง   เหมือน KM

         o        ไม่ลดละความมุ่งมั่นแม้จะชวนคนอื่นไม่สำเร็จ

               ผมคิดว่าหนังเรื่องนี้น่าจะช่วยปลุกใจทีมงานของกรมฯ ได้ไม่น้อย    ผมเองเคยดูแล้ว 2 ครั้ง มาดูอีก ยังรู้สึกสะเทือนใจ    เป็นการเอามาให้ดูอย่างสอดคล้องกับการเดินเรื่องของ workshop   

  • ความประทับใจในภาพรวมของผม
หมายเลขบันทึก: 161596เขียนเมื่อ 27 มกราคม 2008 03:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท