การอบรมเกษตรกรผู้ปลูกผักพลายวาส


ผู้ปลูกผัก ต.พลายวาส

                     สว้สดีครับ จากวันที่ 17 มกราคม 2551 คณะนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร อำเภอกาญจนดิษฐ์ นำโดย คุณสายันต์ มะอนันต์ คุณฉัตร ศิริยงค์ คุณสิทธิชัย ช่วยสงค์ คุณอรพันธ์ สิทธิพงษ์ คุณมงคล กังสุกุล นวส. จากศูนย์บริหารศัตรูพืช จังหวัดสุราษฏร์ธานี และกระผมผู้บันทึก ได้เดินทางไปบรรยายเกี่ยวกับ โครงการโรงเรียนเกษตรกรต่อเนื่องตลอดฤดูกาล ประจำปี 2551 โดยมีอุปกรณ์ประกอบการบรรยายดังนี้

1.        สารสกัดจากสะเดาบด

2.        เชื้อไตรโคเดอม่า

3.        เชื้อบาซิลลัส ทูริงเยนซีส

                                                ซึ่งเมื่อบรรยายเสร็จ พอสรุปได้ดังนี้

                    1.  การผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยและได้มาตรฐาน

       โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นแนงทางในการนำไปสู่โครงการ ผลิตพืช GAP และตามแนวทาง From  Farm To Table  เพื่อลดต้นทุนการผลิต ลดการใช้สารเคมี และเน้นการใช้วัตถุดิบภายในท้องถิ่น ซึ่งจะเน้นพืชอาหารจำพวก พืชผักและ พืชบริโภคสดเป็นสำคัญ

                    2.  โครงการโรงเรียนเกษตรกรต่อเนื่องตลอดฤดูกาล ซึ่งในอำเภอกาญจนดิษฐ์นั้น ได้มีมติให้จัด โรงเรียนเกษตรกรต่อเนื่องตลอดฤดูกาล ณ. หมู่ที่ 4 ตำบล พลายวาส เนื่องจากเกษตรกรมีความพร้อม มีความสนใจและ ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการใช้สารเคมี และสารชีวภัณฑ์  โดยมีแปลงของ คุณเสณีย์ ศรีปราชญ์ เป็นแปลงเรียนรู้และแปลงสาทิตย์ ซึ่งแปลงดังกล่างได้มีการปลูกพืชหลายชนิด เช่น ถั่วฝักยาว ข้าวโพด ถั่วพลู แตงกวา เป็นต้น โดยได้ใช้สารชีวภัณฑ์หลายชนิดเช่น ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ ฮอร์โมนไข่ไก่ ที่มีการผลิตอยู่ในพื้นที่ซึ่งได้รับการอบรมวิธีการผลิตและวิธีใช้จาก คุณสิทธิชัย ช่วยสงค์ (นวส. ต.พลายวาสปี 2550) อีกทั้งยังสามารถแจกจ่ายแก่เกษตรกรสมาชิกและเกษตรกรผู้สนใจอีกด้วย 

            คุณมงคล กังสุกุล นักวิชาการเกษตร 6 ว. ประจำ ศูนย์บริหารศัตรูพืช  กล่าวว่า          

     สารชีวภัณฑ์  คือ สารที่ผลิตจากสิ่งมีชีวิตซึ่งนำมาใช้ในด้านการเกษตรเกี่ยวกับ  การป้องกัน การขับไล่ และการกำจัดแมลงศัตรูพืช โดยมีรูปแบบและวิธีใช้ที่แตกต่างกัน ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้         

            - สารชีวภัณฑ์                คือ สารที่ผลิตจากสิ่งมีชีวิต

            - สารจากจุลินทรีย์         คือ สารที่ได้จากเชื้อโรค เช่น ไตรโคเดอม่า บิวเวอเรีย และ BT ซึ่ง ใช้ในการป้องกันกำจัด เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ เพลี้ยจั๊กจั่น เพลี้ยกระโดดสีนำตาล

            - แมลงศัตรูธรรมชาติ    คือ แมลงศัตรูธรรมชาติของแมลงศัตรูพืช ซึ่งอาจเป็นตัวห้ำหรือตัวเบียน(ตัวห้ำคือแมลงที่ฆ่าหรือกินแมลงศัตรูพืชโดยตรง เช่นมวนพิฆาต,มวนเพชรฆาต ส่วนตัวเบียนคือแมลงที่ไม่ใด้ฆ่าหรือกินแมลงศัตรูพืชโดยตรงแต่จะทำไห้ศัตรูพืชตายทางอ้อมเช่นไปวางไข่ในแมลงศัตรูพืชแล้วตัวอ่อนจะเจริญเติบโตและกัดกินแมลงศัตรูพืชจนแมลงศัตรูพืชตายในที่สุด เช่น แตนเบียน)

           คุณมงคล กังสุกุลยังให้แนวคิดเกี่ยวกับ โรงเรียนเกษตรกร ว่าโรงเรียนเกษตรกรมี 3 ประเภทคือ

             1. โรงเรียนเกษตรกรทั่วไป

             2. โรงเรียนเกษตรกรต่อเนื่องตลอดฤดูกาล  เป็นโรงเรียนที่ต้องมีการถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกร 7-8 ครั้ง โดยดูตามระยะเวลาการปลูกผัก ซึ่งแปลงถ่ายทอดความรู้จะมี 3 ประเภท คือ  

                   2.1  แปลงการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน ( IPM )

                   2.2  แปลงแบบอย่างเกษตรกร

                   2.3  แปลงทดลองและศึกษาเฉพาะเรื่อง

             3. โรงเรียนเกษตรเน้นหนักการใช้สารชีวภัณฑ์

      ซึ่งการให้ความรู้แก่เกษตรกรนั้น ควรจะมีการแบ่งกลุ่มเกษตรกร เพื่อสำรวจแปลง IPM และแปลงแบบอย่างเกษตรกร ว่า

                    - พืชปลูกเป็นพืชชนิดใด

                    - แมลงศัตรูพืชมีกี่ชนิด(อะใรบ้าง)

                    - แมลงศัตรูธรรมชาติ มีกี่ชนิด (อะใรบ้าง) ความหนาแน่น 

                    - มีโรคพืชที่ระบาดหรือไม่กี่ชนิด (อะใรบ้าง)

                    - สภาพดินเป็นดินแบบใดและควรมีการวิเคราห์ธาตุอาหารในดินควบคู่ไปด้วย

                    - สภาพอากาศ  ปริมาณน้ำฝน ความเร็วลม ปริมาณแสงแดด

        ซึ่งทั้งหมดนี้จะต้องมีการสุ่มสำรวจเป็นช่วงๆ เช่นช่วงเริ่มปลูกพืช  พืชเล็ก พืชขนาดกลาง พืชใหญ่ และก่อนเก็บเกี่ยว

                   เมื่อได้ข้อมูลทั้งหมดจึงนำมาวิเคราะห์ สถานะการณ์ทั่วไป เช่น หนอนกระทู้ผัก มีการระบาด กี่ตัว/จุด ระยะเวลาการระบาด ช่วงที่ระบาด โรคที่ระบาด ช่วงที่ระบาดของโรคชนิดนั้นๆ ความหนาแน่นของแมลงศัตรูธรรมชาติ  การเจริญเติบโตของพืชปลูก และแนวโน้มการเจริญเติบโต

                   เมื่อวิเคราะห์แล้วจึง  เริ่มการจัดการ 

          ว่า ควรใช้สารชีวภัณฑ์ชนิดใด ให้ตรงกับโรค แมลงที่ระบาด และควรใช้ช่วงไหนเพื่อทำให้ลดต้นทุนมากที่สุด   และใช้สารจากจุลินทรีย์ชนิดใด ควรปล่อยแมลงศัตรูธรรมชาติชนิดใด ปริมาณเท่าใด และควรปล่อยช่วงไหน เป็นต้น

                  ซึ่งการเรียนรู้แบบต่อเนื่องนั้น จะช่วยทำให้เกษตรกร    รู้ปัญหาที่แท้จริง   รู้วิธีแก้ไข     และวิธีการปฏิบัติและวิธีการจัดการแปลงด้วยตนเองและถูกต้อง

                         แล้วเจอกันไหม่ในบันทึกต่อไปนะครับ

                     บายๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆครับ

 

หมายเลขบันทึก: 161363เขียนเมื่อ 25 มกราคม 2008 15:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 10:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

หวัดดีครับ

  • ทำงานเป็นทีมกันดีนะครับ น่าจะอบอุ่น
  • แล้ว แมลงศัตรูธรรมชาติ    คือ.....อะไรเอ่ย..????
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท