FTA เกี่ยวข้องกับนักส่งเสริมการเกษตรอย่างไร


การสัมมนาการค้าสินค้าเกษตรไทย:โอกาสและความท้ายในตลาดโลก

FTA กับเจ้าที่ส่งเสริมการเกษตร

  

เมื่อวันที่ 10-11  มกราคม 2551 ผมมีโอกาสเข้าร่วมการสัมมนาเรื่องการค้าสินค้าเกษตรไทย: โอกาสและความท้าทายในตลาดโลก ณ.โรงแรมท็อปแลนด์  จังหวัดพิษณุโลก  ซึ่งผมได้นำผู้แทนกลุ่มอาชีพเลี้ยงโคเนื้อ ผู้แทนกลุ่มอาชีพผู้ปลูกผักเพื่อการค้า ผู้แทนกลุ่มอาชีพผู้ปลูกข้าวปลอดภัย(GAP) และผู้แทนกลุ่มอาชีพผู้ปลูกกล้วยไข่คุณภาพ(GAP) ไปเข้าร่วมการสัมมนาในครั้งนี้ด้วย ซึ่งจัดโดยกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ

   

        ส่วนที่1. ทำให้ผู้เข้ารับการสัมมนา ได้รับทราบศักยภาพการผลิตภาคเกษตรของไทยในปี 2549 สินค้าเกษตรไทยที่ส่งออกอันดับ1 ของโลก อาทิยางพารา ข้าว น้ำตาล ไก่ มันสำปะหลัง กุ้ง สับปะรดกระป๋อง และปลาทูน่ากระป๋อง

  

          หากจะคิดเป็นมูลค่าของการส่งออกสินค้าเกษตรที่สำคัญ ในปี 2549 ประกอบด้วย ยางพารา 417,758 ล้านบาท   ข้าว 93,400 ล้านบาท  กุ้ง 78,000 ล้านบาท  ไก่เนื้อ 56,614 ล้านบาท   มันสำปะหลัง 40,285 ล้านบาท สับปะรดกระป๋อง 19,550 ล้านบาท  น้ำตาล 34,600 ล้านบาท   ปาล์มน้ำมัน 5,765 ล้านบาท   ลำไย 4,475 ล้านบาท และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 600 ล้านบาท

   

         ส่วนที่2 ทำให้ทราบเขตการค้าเสรี (FTA) Free Trade Area คืออะไร ซึ่งทำให้ผู้เข้ารับการสัมมนาได้เข้าใจความหมายของFTA คือเขตการค้าเสรีหรือความตกลงการค้าเสรี เรียกย่อๆกันว่า เอฟทีเอ (FTA) เป็นการจับคู่ของประเทศตั้งแต่2 ประเทศขึ้นไป มาทำความตกลงเปิดเสรีการค้าขายระหว่างกัน การจับคู่มีหลายแบบคือ ประเทศหนึ่งกับประเทศหนึ่งเช่นญี่ปุ่นจับคู่เจรจากับไทย หรือประเทศหนึ่งกับกลุ่มประเทศ เช่นจีนจับคู่เจรจากับอาเชี่ยน ที่มีสมาชิก 10 ประเทศหรือ ระหว่างกลุ่มประเทศกับกลุ่มประเทศเช่นอาเชี่ยนจับคู่เจรจากับสหภาพยุโรป ที่มีสมาชิก 27 ประเทศ เป็นต้น

    

        หัวใจของการทำเอฟทีเอ คือ การลด หรือยกเลิก การกีดกันทางการค้า ทุกรูปแบบที่มีอยู่ระหว่างกันให้มากที่สุด เท่าที่จะมากได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การลดภาษีนำเข้าสินค้าให้แก่กันและกันให้เหลือ 0 % หรือให้เหลือน้อยที่สุด โดยแต่ละประเทศคู่เจรจายังคงเก็บภาษีนำเข้าจากประเทศ ที่ไม่ได้ทำเอฟทีเอ ในอัตราปกติ ซึ่งเป็นอันตรายที่ไม่ได้ลดภาษีให้

    

        ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากการทำเอฟทีเอ ประกอบด้วย(1) กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิต     ผลจากการเปิดตลาดสินค้าส่งออกของไทยทำให้มีโอกาสขยายสินค้าได้มากขึ้น และในราคาสูงขึ้น  แต่ขณะเดียวกันจะต้องเผชิญกับการแข่งขันจากสินค้า ที่นำเข้าจากต่างประเทศซึ่งมี2 ส่วน คือ1) สินค้าเกษตรที่นำเข้ามาเป็นวัตถุดิบและ 2) นำเข้าเพื่อบริโภคโดยตรง อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาศักยภาพ และขีดความสามารถของเกษตรกรผู้ผลิตอย่างครบวงจร  เพื่อให้ภาคเกษตรกรไทยมีการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป    (2) กลุ่มผู้ประกอบการ วัตถุดิบนำเข้ามีราคาถูกลง ต้นทุนการผลิตลดลง ทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้น แต่ต้องเผชิญกับการแข่งขันจากสินค้าที่นำเข้า จากคู่เจรจา FTA อย่างไรก็ตาม กระทรวงพาณิชย์ ได้จัดตั้งกองทุน เพื่อการปรับตัวของภาคการผลิต และบริการที่ได้รับผลกระทบจาการเปิดเสรีทางการค้า  เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ผลิตและผู้ประกอบการสินค้าเกษตรแปรรูป สินค้าอุตสาหกรรม และบริการที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรี ให้สามารถปรับตัวรับการแข่งขันได้  (3) กลุ่มผู้ส่งออก  สามารถขยายตลาด และเพิ่มศักยภาพในการส่งออกสินค้าและบริการ  (4) กลุ่มผู้นำเข้า มีแหล่งนำเข้าวัตถุดิบมากขึ้นและราคาถูก  (5) กลุ่มผู้บริโภค ซื้อสินค้าคุณภาพได้ในราคาถูกลง และสินค้ามีความหลากหลาย

            ณ.ปัจจุบันนี้ การทำงานในการพัฒนาการเกษตร ต้องควบคู่กับการพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร จะต้องนำข้อมูลด้านการตลาด ของสินค้าเกษตร โดยเฉพาะสินค้าส่งออกไปต่างประเทศ   เพื่อประกอบการวางแผนการพัฒนางานส่งเสริมการเกษตรในระดับพื้นที่และชุมชน  ซึ่งมีกลุ่มอาชีพด้านการเกษตรที่จดทะเบียนตามพรบ.ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนที่มีศักยภาพการผลิตสินค้าเกษตร   และที่สำคัญของการทำงานจะต้องให้ความสำคัญกับ  องค์กร ภาคี เครือข่าย ที่เกี่ยวข้อง อาทิ ผู้ผลิต  ผู้บริโภค  ผู้จำหน่าย(พ่อค้า) และผู้สนับสนุน ได้เกิดการบูรณาการกันอย่างจริงจัง ถึงจะพัฒนาไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนได้ในอนาคต( เชิญท่านผู้รู้-และมีประสบการณ์ ได้แลกเปลี่ยนเพื่อการเติมเต็มด้วยนะครับ ขอบคุณ ) 

   

หมายเลขบันทึก: 161318เขียนเมื่อ 25 มกราคม 2008 11:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 17:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท