ลุ่มแม่น้ำมูล


พูดถึงเรื่องเขื่อน

ลุ่มแม่น้ำมูล
        พูดถึงเรื่องเขื่อน  เขื่อนนี้ก็เหมือนทุกเขื่อนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ (กฟผ.) ที่จะ ต้อง มีคำว่าอเนกประสงค์ต่อท้าย อันที่จริงทิวทัศน์บริเวณสร้างเขื่อนนี้ก็สวยงาม แปลกตา แต่ยังไม่ทันที่ กฟผ.จะตบแต่งบริเวณเขื่อนให้เป็นบ้าน พักตากอากาศ และ สวนหย่อม ชาวบ้านสมัชชาคนจนก็เข้ายึดตั้งเป็นหมู่บ้านเสียก่อน

        เนื่องจากเขื่อนปากมูลเป็นเขื่อนผลิตไฟฟ้าโดยใช้เทคโนโลยีแบบน้ำไหล run of river เขื่อนนี้จึง ยังคงดูเป็น แม่น้ำ ไม่ใช่ทะเลสาบแบบทุกเขื่อนที่เห็น เพียงแต่เป็นแม่น้ำที่มีระดับน้ำสูงขึ้น มีแท่งคอนกรีต ขนาดยาวและใหญ่มา ขวางกั้น แม่น้ำมูลไว้เท่านั้น และนั่นทำให้ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้น แก่งต่างๆ ที่อยู่เหนือ เขื่อนที่เป็นฝายน้ำล้นตามธรรมชาติ และเป็น วังปลาก็ถูกน้ำท่วม แก่งบริเวณเขื่อนนั้น ถูกระเบิดไปเรียบ ร้อยตอนสร้าง เปลี่ยนสภาพจากฝายน้ำล้นตาม ธรรมชาติ ให้กลาย เป็นเขื่อนที่มนุษย์เป็นผู้ควบคุมน้ำ 
        ระดับน้ำเหนือเขื่อนที่เพิ่มสูงขึ้น จึงเป็นที่มาของการเรียกร้องค่าชดเชยของชาวบ้านลุ่มน้ำนี้ และ ปัญหานี้ดู เหมือน จะคลี่คลายไปได้ระดับหนึ่งด้วยเงินค่าชดเชยที่ชาวบ้านมิอาจปฏิเสธได้ ทว่า สิ่งที่สำคัญ ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าที่ ดิน ที่ถูกน้ำท่วมคือ ปลาที่สูญหายไปพร้อมกับการมาของเขื่อน ที่ไม่เพียงแต่ทำลายแก่ง ต่างๆ อันเป็นที่อยู่ของปลา ยังสกัด กั้นการเดินทางของ ปลาจากแม่น้ำโขงที่อยู่ท้ายเขื่อนไปไม่มีกี่กิโลเมตร เพื่อมาวางไข่เหนือเขื่อนในแม่น้ำมูล และนั่น หมายถึงอาชีพและภูมิปัญญา ของชาวบ้านปากมูล ที่ต้อง สูญเสียไปพร้อมกับปลาอย่างมิอาจประเมินค่าได้ 
       จากพันธุ์ปลาในแม่น้ำมูล ที่มีการบันทึกไว้ในปี 2537 จำนวน 265 ชนิดนั้น มีปลา 77 ชนิดที่เป็นปลาอพยพ 35 ชนิดเป็นปลาที่อาศัยอยู่ตามเกาะแก่งต่างๆ หากแต่การสำรวจล่าสุดหลังการสร้างเขื่อน พบว่า เหนือเขื่อนมีปลาเหลือเพียง 96 ชนิด และมีพันธุ์ปลาถึง 56 ชนิดที่ไม่ปรากฏว่าจับได้อีกเลย
       อุปกรณ์จับปลาที่เรียงรายอยู่บนเวทีการแสดงของหมู่บ้านนับร้อยนับพันชนิด อันเป็นเครื่องยืนยันว่าพวกเขา ไม่ได้ ใช้อุปกรณ์เหล่านี้แล้ว
       เราพาตัวเองเดินจากฝั่งลงไปตามตลิ่งท้ายเขื่อน เนื่องจากเป็นวันหยุดจึงมีเด็กราวๆ 20 คน เล่นน้ำอยู่กับสวน สนุก ราคาหลายพันล้านที่ กฟผ. เรียกว่า บันไดปลาโจน ก็บันไดปลาอันเดียวกับที่ กฟผ. ใช้โฆษณาทางทีวีว่ามันเป็น เครื่องมือ ที่จะทำให้ "ปลาแดกบ่หมดไห" นั่นแหละ แต่สำหรับเด็กๆ น่าจะพอ ใจที่จะเรียกมันว่าสวนสนุกมากกว่า ตะไคร่น้ำที่เกาะ อยู่ข้างบันไดอันลาดชัน เป็นเครื่องหล่อลื่นอย่างดี สำหรับเด็กๆ จะใช้โรยตัวลื่นไหลลงมาอย่างสนุก สนาน สำหรับเด็กผู้ชาย ดูจะชอบปีนป่ายไปตามความลาด ชันของบันไดที่มีน้ำเชี่ยวไหลลงมาตลอดเวลา ซึ่งควรจะเป็น ทางสำหรับการปีนป่าย ของปลามากกว่า
       ด้วยความสูงของบันไดปลาโจนประมาณ 15 เมตร ก็ทำให้เด็กบ้านป่าหลายคนที่ปีนป่ายสายน้ำเชี่ยวเหนื่อย ได้ อย่าง ไม่ต้องสงสัย แต่เราสงสัยเหลือเกินว่า ปลาจะต้องใช้กำลังมากเท่าใดถึงจะอุ้มท้อง ไต่ระดับไปตามบันไดอัน เปรียบ เป็น สะพานน้ำข้ามเขื่อนคอนกรีตสูงใหญ่เพื่อไปวางไข่เหนือเขื่อน
       แน่นอน สำหรับเราที่ไม่มีใครมีความรู้เรื่องวิศวกรรมหรือการออกแบบใดๆพร้อมใจกันเรียก บันไดนี้อย่าง ประชด ใส่ว่า สิ่งมหัศจรรย์ของมนุษย์ ก็เพราะคงต้องอาศัยความ "กล้า" ไม่น้อยที่สร้างบันได ปลานี้ขึ้นโดยหลอกตัวเอง อยู่ตลอดว่า มันทำงานอย่างได้ผล ที่สำคัญ บันไดปลาโจน น่าจะเป็นสัญลักษณ์ ของความรู้ทางวิชาการแบบผิดๆ ได้เป็น อย่างดี
       นี่เองที่ทำให้ กฟผ. ต้องหมดงบประมาณไปไม่น้อยเพื่อปล่อยพันธุ์ปลาลงแม่น้ำมูล เพื่อทำให้ปลาร้าไม่หมด ไห เพื่อทำให้บันไดปลาโจนไม่ใช่สวนสนุก เรากังวลอยู่ไม่น้อยว่า กฟผ.จะอ้างว่า ที่ปลาไม่ ปีนบันไดเพราะเด็กๆไป เล่นน้ำ เหมือนกับที่เคยอ้างและอ้างอยู่ตลอดว่า ปลาหมดเพราะชาวบ้านไปดัก จับปลาตรงบันได
แหล่งที่มาของข้อมูล:
http://www.searin.org/Th/PMD.htm

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 16101เขียนเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2006 09:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 01:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อยากรู้ว่ามีกฏหมายหรือพรบ.ใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเขื่อนปากมูลนี้และมีผลกระทบใดที่สร้างความรุนแรงให้กับชาวบ้านที่อยู่บริเวณนั้นแล้วจะมีวิธีการใดในการช่วยเหลือชาวบ้านที่ประสบปัญหานั้นหรือจะให้ชาวบ้านที่อยู่ในบริเวณนั้นต้องทนอยู่อย่างนั้นโดยไม่มีทางแก่ไขและต้องเจอแบบนี้ตลอดไป??????????????????????????????????????????????

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท