เด็กน้อย เหยือของความเมามาย ขาดสติ


มีเด็กจำนวนมากมักถูกทำร้าย โดยคนใกล้ๆตัว คนเป็นแม่จะต้องเผ้าระวัง สังเกตการเปลี่ยนแปลงของเด็ก ตลอดจนสังเกต รอยจ้ำๆ ตามตัวเด็ก

ช่วงหลังปีใหม่นี้ รู้สึก สลดใจที่อ่านข่าว เด็กน้อย  ตกเป็นเหยือของความประมาท และ ความเมามาย  อย่างเช่น วันก่อนที่พ่อถอยรถมาทับลูกตาย  ก็น่าเศร้าใจในความประมาทของคนเป็นพ่อ  

วันนี้มีข่าว พ่อ กินเหล้า เมามายทะเลาะกับแม่  แล้วทำร้ายโดยใช้ค้อนทำร้ายภรรยา  แต่กลับไปโดน ลูกที่แม่กำลังอุ้มอยุ่   

ประเด็นที่น่าสนใจก็คือ เืรืองของ ความรุนแรงในครอบครัว  (Domestic Violence) ซึ่งปัญหานี้ เป็นปัญหาที่เงียบ เหมือนไม่รุนแรง แต่ก็มีข่าวใ้ห้เห็นเกือบทุกวัน  สังเกตว่า  

เด็กมักถูกทำร้าย โดยคนใกล้ตัว  เช่น พ่อ แม่ พ่อเลี้ยง

เด็กมักถูกข่มขืน โดยคนใกล้ตัว  เช่น พ่อเลี้ยง ปู่ ตา น้า อา หรือ ลูกพี่ลูกน้อง เป้นต้น

ด้วยความที่เป็นเด็ก และกลัวคำขู่ จึงทำให้ไม่กล้าบอกคนเป็นแม่   ดังนั้น พ่อ แม่ ควรสังเกตหากพบว่า ลูกซึม หรือ หวาดกลัว อย่างผิดสังเกต   ตลอดจนใช้เวลาในการสำรวจ ตามร่างกายของเด็กว่ามีรอยจ้ำ จากการถูกทำร้ายหรือไม่ 

เด็กคือผ้าขาว บริสุทธิ์ ดังนั้นจึงควรได้รับการดูแล และปกป้องจากภ้ยรอบตัว หรือแม้กระทั่งภัยในบ้าน 

 

 

หมายเลขบันทึก: 160732เขียนเมื่อ 22 มกราคม 2008 15:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 เมษายน 2012 11:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

สวัสดีค่ะอาจารย์น้องชาย

  • สังคมส่วนหนึ่งของไทย  กำลังดิ่งลงสู่ สิ่งเลวร้าย   ที่เราท่านอาจคาดไม่ถึงก็ได้  จนกว่า  เรื่องนั้นจะถูกเปิดเผยออกมาต่อสังคม
  • บางเรื่อง  แทบไม่น่าเชื่อว่า  การตัดสินใจของนักเรียนชั่ววูบด้วยความโกรธที่ไม่มีการอดกลั้น  เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา  เพียงแค่เพื่อนกระเซ้าเย้าแหย่เท่านั้น
  • ครูอ้อยอยู่กับนักเรียน ป.4  ครูอ้อยชินกับการฟ้องของนักเรียน  จะไม่รับคำฟ้อง  เราเป็นครูก็จะไม่รู้เรื่องของนักเรียน
  • จะฟังบ่อยๆ  ก็รำมะคาญ  เสียเหลือเกินค่ะ
  • ช่วยๆกันไป เท่าที่จะช่วยได้ค่ะ...วันนี้มีเรื่อง..เพศศึกษาในวัยประถมอีกนะคะ..อิอิ

ขอบคุณค่ะ ที่เยี่ยมไข้ด้วยตัวหนังสือ  ที่แสนประทับใจ  หายไข้  แต่ยังเจ็บคอ  sore throat  ..เอิ๊กเอิ๊ก

หวัดดีครับ  ครูอ้อย

นั่นดิครับ สังคมไทยกำลังถึงจุดวิกฤตจริงๆ  ความเร่งรีบทำมาหากินทำให้พ่อแม่  ไม่มีเวลามาดูแลลูก  เลยทิ้งเด็กให้กับคนข้างบ้าน  ทีวี  เกม และอินเตอร์เน็ต

ตลอดจนความยากลำบากในการทำมาหากิน ทำให้ต้องมีการอพยพไปย ังเมืองใหญ่   แล้วไปสร้างครอบครัวใหม่ๆ แบบขาดๆ เกินๆ

สุดท้ายก็ต้องหอบเอาหลานมาให้ผู้เฒ่าที่บ้านเลี้ยง

ไม่ทราบว่าครูอ้อย เคยได้ยิน คำกล่าวว่า  "เด็กน้อยเอากัน ผู้เฒ่าเลี้ยงหลาน" ไหมครับ 

ที่ต่างประเทศ  เขาก็เป็นไหมคะ

หรือว่า  คนไทย เป็นเร็วกว่า

หรือว่า  คนไทยเคยดี  แล้วกลับกลายไม่ดี

อูยยยยย  ต่อๆไปจะเป็นอย่างไรหนอนี่

อรุณสวัสดิ์ครับ ครูอ้อย

จริงแล้วปัญหาสังคม บ้านไหน เมืองไหนเขาก็มีครับผม  เพียงแต่ว่ารูปแบบการป้องกัน และช่วยเหลือ แตกต่างกันออกไป  อย่างเมืองนอก  เวลาเขาเห็นพ่อแม่ตี หรือทำร้ายลูกอย่างไม่เป็นธรรม เขาก็โทรแจ้งตำรวจเพือเอาผิดกับพ่อแม่  

ถามว่า ถ้าบ้านเราเจอเหตุการณ์แบบนี้ จะทำยังไงละครับ

"ไม่เอา ไม่ใช่เรืองของเรา"
"รักผัวให้ผูก รักลูกให้ตี"
"เฮ่อ  เป็นเวรกรรมของเด็ก"

ไอ้ความเชือแบบนี้แหละครับ ที่ทำให้ปัญหาสังคมไทย ไม่ได้รับการแก้ไข เพราะคนไทยจำนวนมาก ยังปล่อยวิถีชีวิตให้เป็นไปตาม พรหมลิขิต หรือเวรกรรม   มากเกินไป  

ภาษาจิตวิทยาบอกว่า  External Locus of Control  คือ การปล่อยให้สิ่งแวดล้อมรอบตัว มากำหนดชีวิต   มากกว่าที่จะลุกต่อสู้เพือชีวิต 

 สวัสดีค่ะ อ.recovery  และคุณครู พี่อ้อย

คนเป็นพ่อ เป็นแม่ ก็เป็นผลิตผล ที่บิดเบี้ยวไม่ได้มาตรฐานมาจากผู้ผลิต และ ผลพวงจากสิ่งแวดล้อมเชิงสังคมอีก ต่อหนึ่ง

จะอธิบายให้เกิดความสบายใจขึ้น คงต้องคิดว่า "เกิดแต่กรรม" แล้วล่ะค่ะ  สัคว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรมจริง ๆ

ขอบคุณที่นำมุมมองดี ๆมาแลกเปลี่ยนค่ะ
 ขอบคุณครับคุณ  coffee mania

พูดเรือง  "เกิดแต่กรรม"  มีเรืองต้องคุยยาวอีกครับ

คำว่า  กรรม คือ การกระทำ

ดังนั้นในทางจิตวิทยา    ทุกอย่างเป็นผลจากกรรม หรือ การกระทำ

น่าเสียดาย  คำว่า   กรรม  มักถูกคนเข้าใจว่า  เป็นผลการกระทำเมือชาิติปางไหนๆๆ  แล้วส่งผลให้มาเป็นแบบนี้

จะว่าดีก็ดี   เพราะคนจะได้ทำกรรมดีมากๆๆๆๆๆๆ ในชาตินี้ เพื่อผลดีในชาิติหน้า

แต่คนอีกจำนวนมาก  งอมืองอเท้า ไม่ทำไร เพราะคิดว่า ตัวเองไม่สามารถแก้กรรมเก่าได้  เลยต้องพึงไสยศาสตร์ และการบนบาน ไหว้สิ่งศักดิ์ไปทั่ว

อันนี้เป็นตัวอย่างของคนที่มีลักษณะแบบ  external locus of control 

ในกิจกรรมการเปลี่ยนพฤติกรรม หรือ  การให้สุขศึกษา จึงต้องเน้นให้คนเกิด internal locus of control  ให้มากๆ 

ในแง่ของบริการสุขภาพ   เราจึงต้องทำให้คนไข้รู้ึสึกว่า  เขาสามารถมีสุขภาพดีได้ ด้วยตัวของเขาเอง  ไม่ใช่เรืองของเวรกรรม หรือ รอรับบริการจากทางสาธารณสุขอย่างเดียว

จึงมีงานวิจัยในเมืองไทยหลายชิ้น พูดถึงเรือง  internal locus of control กับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ  เช่น

จำได้ว่า  มีการสอนสุขศึกษาโดยเน้น  internal locus of control  ในกลุ่มชาวไทยภูเขา เพือส่งเสริม การแปรงฟัน   แล้วพบว่า  ชาวเขาแปรงฟันมากขึ้นหลังการสอน

ขอบคุณสำหรับการแลกเปลี่ยน  ผมมีเพลงให้ฟัง เพราะคิดว่า เข้ากับเรืองที่เรากำลังคุยกัน

เพลง ต้องสู้  ครับผม

ทำงานให้สนุกนะครับผม


สวัสดีค่ะ อ. recovery

  • อาจารย์ตอบ comment ได้ยาวกว่าเนื้อหาอีก อิอิ
  • ความจริงประเด็นนี้ อาจารย์น่าจะเอาไป ขึ้นเป็นอีกหนึ่งบทความได้เลยนะคะ
  • เพราะน่าสนใจ  และน่าแลกเปลี่ยน
  • สวัสดีตอนเช้า ๆ ค่ะ

ขอบคุณมากครับ คุณ  coffee mania  อีกไม่กี่วันผมจะกลับไทยไปทำวิจัยที่เชียงใหม่  คงจะมีโอกาสได้ไปเที่ยวแม่ฮ่องสอน 

ว่าจะแวะไปขอจิบกาแฟด้วยคน  ได้ไหมครับ 

นึกว่าอาจารย์ อยู่เมืองไทยซะอีก

แหะๆ

ถ้าแวะ มาก็ยินดีค่ะ  ปางมะผ้า มีร้านกาแฟ ดี ๆ เยอะค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท