ทำไมประเทศไทยจะต้องสนใจถึงความคาดหวังของประชาคมระหว่างประเทศในการเคารพ "สิทธิในสุขภาพ (the Right to Health)" ด้วย??


การศึกษาในครั้งนี้เป็นไปเพื่อตอบคำถามของประชาคมระหว่างประเทศที่รัฐไทยเป็นหนึ่งในสมาชิกว่า มาตรฐานด้านสุขภาพของมนุษย์ในสังคมไทยนั้น สูงหรือต่ำกว่าที่เป็นอยู่ในสถานการณ์ของโลกในยุคปัจจุบัน และรัฐไทยจำต้องวางแนวทางปฏิบัติหรือปรับปรุงมาตรการที่มีอยู่อย่างไรบ้าง เพื่อให้มาตรฐานด้านสุขภาพของมนุษย์ในสังคมไทย คู่ขนานไปกับมาตรฐานระดับสากลตามที่วางไว้ในกฎหมายระหว่างประเทศที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น และเพื่อป้องกันมิให้รัฐไทยได้ชื่อว่า เป็น “ผู้ละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศและละเมิดสิทธิมนุษยชน” ในคราวเดียวกัน

สิทธิในสุขภาพ (The Right to Health) เป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่รัฐในประชาคมระหว่างประเทศต่างก็ยอมรับให้เป็นสิทธิเบื้องต้นที่มนุษย์ทุกคนควรจะได้รับอย่างเท่าเทียมกัน สิทธิของมนุษย์ทุกคนที่จะมีสุขภาวะที่ดีนั้น ระบุอย่างชัดเจนในกติการะหว่างประเทศหลายฉบับด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น

(1)   ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ค.ศ. 1948 (the Universal Declaration of Human Rights, 1948);

(2)   กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ค.ศ. 1966 (the International Covenant on Economic, Social, and Cultural Rights, 1966);

(3)   กติการะหว่างประเทศว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ ค.ศ. 1965 (the International Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination, 1965);

(4)   อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีทุกรูปแบบ ค.ศ. 1979 (the Convention on Elimination of All Forms of Discrimination against Women, 1979) และ;

(5)   อนุสัญญาสิทธิเด็ก ค.ศ. 1989 (the Convention of the Rights of the Child, 1989) 

ประเทศไทยเองก็เป็นหนึ่งในรัฐภาคีตามกติกาฉบับต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น แต่หากประเด็นในเรื่องสิทธิในสุขภาพ (The Right to Health) ของมนุษย์ทุกคนที่อยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของรัฐไทยนั้น ก็ยังเป็นข้อถกเถียงจนกระทั่งปัจจุบันว่า สิทธินี้ครอบคลุมไปถึงมาตรการใดบ้างที่รัฐไทยจำต้องจัดหาให้แก่ บุคคล ภายใต้อำนาจอธิปไตยของตนเอง และสิทธินี้ครอบคลุมไปถึง บุคคล ใดบ้าง ทั้งในเชิงหลักการและในความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในการดำเนินชีวิตในแต่ละวัน 

การศึกษาในครั้งนี้เป็นไปเพื่อตอบคำถามของประชาคมระหว่างประเทศที่รัฐไทยเป็นหนึ่งในสมาชิกว่า มาตรฐานด้านสุขภาพของมนุษย์ในสังคมไทยนั้น สูงหรือต่ำกว่าที่เป็นอยู่ในสถานการณ์ของโลกในยุคปัจจุบัน และรัฐไทยจำต้องวางแนวทางปฏิบัติหรือปรับปรุงมาตรการที่มีอยู่อย่างไรบ้าง เพื่อให้มาตรฐานด้านสุขภาพของมนุษย์ในสังคมไทย คู่ขนานไปกับมาตรฐานระดับสากลตามที่วางไว้ในกฎหมายระหว่างประเทศที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น และเพื่อป้องกันมิให้รัฐไทยได้ชื่อว่า เป็น ผู้ละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศและละเมิดสิทธิมนุษยชนในคราวเดียวกัน

หมายเลขบันทึก: 160508เขียนเมื่อ 21 มกราคม 2008 16:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท