การใช้ CM


ความปลอดภัยของผู้ป่วยที่มารับบริการเป็นหัวใจของการทำงาน

จริงว่านำข้อมูลการทำทำงานที่เป็น best มาบันทึกนานแล้วแต่ติดภาระกิจหลายอย่างวันนี้ได้มีโอกาส  เลยขออวดความโชคดีจากการพัฒนาคุณภาพบริการมาตลอดว่าได้ผลจริงๆ

การทำงานในยุคปัจจุบัน ถ้าพูดถึงความปลอดภัยใครๆก็ต้องการ จึงเกิดแนวคิดในการพัฒนาให้งานในหน้าที่ความรับผิดชอบ เมื่อพัฒนาแล้วก็มีการนำเสนอในที่ประชุมวิชาการระดับจังหวัดและได้รับรางวัลชนะเลิศ ภูมิใจมาก

ตัวอย่างของการให้บริการที่เป็นBest

การให้บริการตรวจระบบทางเดินปัสสาวะ(ตรวจไต) ด้วยสารทึบรังสีมีขั้นตอนการดำเนินงาน 3 ระยะดังนี้1                 ระยะก่อนได้รับสารทึบรังสี2                 ระยะขณะได้รับสารทึบรังสี3                 ระยะหลังจากได้รับสารทึบรังสี

1                 ระยะก่อนได้รับสารทึบรังสี

1                             ประเมินความพร้อมของผู้ป่วยก่อนการได้รับสารทึบรังสี ทางด้านร่างกาย จิตใจ และความเสี่ยงต่างๆ(พูดคุยกับผู้ป่วยโดยตรงกับตัวผู้ป่วย)

-         ซักประวัติผู้ป่วยว่าเคยตรวจด้วยสารทึบรังสีมาก่อนหรือไม่ เพราะถ้าเคยตรวจมาแล้ว ผู้ป่วยมีโอกาสแพ้มากกว่าปกติ, ประวัติการแพ้อาหารทะเล ,ประวัติการแพ้ยา, หากผู้ป่วยเคยมีประวัติแพ้ มาก่อนเช่นรู้สึกร้อน คลื่นไส้ อาเจียน  อาจให้ยาแก้แพ้ ก่อนใช้สารทึบรังสีชนิดแตกตัว-         ซักประวัติการมีโรคประจำตัวต่างๆ เช่นโรคหอบหืด,โรคน้ำท่วมปอด,โรคล้มบ้าหมู,โรคภูมิแพ้ ,โรคหัวใจ,โรคไต,โรคเบาหวานที่มีภาวะไตบกพรอง(Serum creatinin มากกว่า 1.5 mg/dl  ถ้ามีประวัติโรคต่างๆนี้ อาจส่งผลให้มีการแพ้สารทึบรังสีชนิดแตกตัวได้ -         ประเมินผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ(การตรวจเลือด)ได้แก่ค่า BUN ,Cr  เพื่อป้องกันการถูกทำลายของของไตจากการใช้สารทึบรังสี เพราะถ้าพบว่าผู้ป่วยมี ภาวะการ ทำงานของไตบกพร่องอยู่ ควรพิจารณาใช้การตรวจด้วยวิธีอื่นแทน เช่นการตรวจอัลตราซาวด์ หรืออาจใช้สารทึบรังสีที่เป็นสารทึบรังสีที่ไม่แตกตัว (nonionic) แทน-         ประเมินสภาพผู้ป่วยว่ารู้สึกตัวดี หรือไม่รู้สึกตัวและไม่ทราบประวัติการแพ้ต่างๆ2      ผู้ป่วยที่มีประวัติการแพ้  เช่นภูมิแพ้ หอบหืด แพ้อาหารทะเลหรือแพ้สารทึบรังสี  จะเป็นผู้ป่วยที่มี  ความเสี่ยงสูง ต้องทำการปรึกษาแพทย์ และได้ยาแก้แพ้ก่อนฉีดสารทึบรังสี (แล้วแต่แพทย์)   และอาจเลือกใช้สารทึบรังสีแบบไม่แตกตัว (nonionic)3      แนะนำผู้ป่วยงดน้ำงดอาหารอย่างน้อย 4 -6  ชั่วโมง ก่อนส่งตรวจ เพื่อป้องกันการสำลักหากได้รับสารทึบรังสีแล้วมีการอาเจียน  และแนะนำให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมากๆหากเป็นผู้ป่วยนอก และ          สำหรับผู้ป่วยในแพทย์จะทำการให้สารน้ำมาก่อนฉีดสารทึบรังสี 4     ประเมินสภาพผู้ป่วยว่าขณะนั้นมีสภาพวิตกกังวลหรือไม่  หากมีความวิตกกังวลตื่นเต้นต้องปรึกษา   แพทย์   แพทย์อาจให้ยาคลายกังวลก่อนมาทำการตรวจ

 5     ให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยและญาติให้ทราบถึงขั้นตอนการตรวจ ผลของสารทึบรังสีที่อาจเกิดขึ้นได้และ การปฏิบัติตัวต่างๆขณะเข้ารับการตรวจ  เพื่อขอความร่วมมือในการตรวจและคลายความวิตกกังวล     

6                  เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยและญาติซักถามข้อสงสัยต่างๆ

7                 ออกใบนัดผู้ป่วยพร้อมแนบวิธีการเตรียมตัวผู้ป่วยให้ผู้ป่วยพร้อมเบอร์โทรศัพท์เพื่อถ้าผู้ป่วยมีข้อสงสัย โทรมาสอบถามได้

8                 เมื่อผู้ป่วยเข้าใจ ให้ผู้ป่วยเซ็นใบยินยอมรับการตรวจด้วยสารทึบรังสี ถ้าผู้ป่วยปฏิเสธการตรวจให้ผู้ป่วยเซ็น บไม่ยินยอมรับการตรวจ แล้วส่งพบแพทย์เพื่อพิจารณาตรวจวิธีอื่นๆ 9                 การจัดเตรียมความพร้อมที่จะทำการตรวจด้วยสารทึบรังสี

อุปกรณ์และยาต่างๆในรถฉุกเฉินต้องมีการตรวจสอบชนิดจำนวน และวันหมดอายุอย่าง สม่ำเสมอและนักรังสีการแพทย์ต้องได้รับการฝึกอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพหรือการช่วยเหลือผู้ป่วยแพ้สารทึบรังสีเป็นประจำด้วย

1.             จัดเตรียมรถฉุกเฉินพร้อมอุปกรณ์ช่วยชีวิตให้พร้อมได้แก่ ออกซิเจน พร้อมชุดให้ออกซิเจน และสายทั้ง canula และ/หรือ mask  ชุดให้สารละลาย,เข็ม,กระบอกฉีดยา  เครื่องมือในการใส่ท่อหายใจ(laryngoscope) และท่อหายใจ (endotracheal tube) ขนาดต่างๆ oral airway  2.             ความพร้อมเครื่องดูดเสมหะ พร้อมอุปกรณ์    3.             เครื่องวัดสัญญาณชีพ4.             Ambu bag5.             ยา ต่างๆ เช่น สารละลาย NSS , ringer solution ,adrenaline,diazepam

6.             ทำการตรวจสอบสารทึบรังสีโดยตรวจสอบวันที่หมดอายุ ตรวจดูลักษณะของสารทึบรังสีก่อนใช้ว่ามีตะกอนเปลี่ยนสี หรือไม่ ถ้าใช้สารทึบรังสีที่มีความหนืดมากๆควรอุ่นให้ได้อุณหภูมิ 37 องศาเซนเซียส ก่อนฉีด เพื่อง่ายต่อการฉีดและลดอาการปวดของผู้ป่วย

10              กลุ่มงานรังสีวิทยา ได้จัดทำกริ่งฉุกเฉิน ที่สามารถกดตามแพทย์และพยาบาลจากตึกอุบัติเหตุให้มาช่วย

           เหลือหากเกิดภาวะฉุกเฉินกับผู้ป่วยขณะตรวจเอกซเรย์ได้

2                 ระยะขณะได้รับรังสี

1                 จัดเตรียมเครื่องมือเครื่องใช้ในการฉีดสารทึบรังสีด้วยหลักปราศจากเชื้อ2                 เตรียมรถช่วยชีวิตฉุกเฉินพร้อมอุปกรณ์ มาไว้ใกล้ ๆ3                 เชิญพยาบาล มาทำการฉีดสารทึบรังสี 1.             พยาบาลมาพูดคุยแนะนำผู้ป่วยเรื่องการฉีดสารทึบรังสี   ทำการวัดความดันโลหิต ประเมินความกลัวและวิตกกังวลของผู้ป่วย 2.             ทำการฉีดสารทึบรังสี จนหมดตามขนาดและน้ำหนักของผู้ป่วย 3.             ผู้ป่วยอยู่ในท่านอนในการฉีดสารทึบรังสีเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ หากผู้ป่วยเกิดอาการผิดปกติ4.             นักรังสีการแพทย์ สังเกตุอาการผิดปกติต่างๆขณะฉีดสารทึบรังสีและพูดคุยซักถามผู้ป่วยเป็นระยะๆ

5.             สังเกตอาการถ้าผู้ป่วยปวดมาก บวม แดง  บริเวณที่ฉีดสารทึบรังสี หยุดฉีดและพยาบาลจะเลือกบริเวณอื่นแทน  หากเกิดอาการผิดปกติขั้นรุนแรงให้หยุดฉีดและรีบรายงานแพทย์

 

                      3     หลังจากฉีดสารทึบรังสีเสร็จ  ทำถ่ายภาพเอกซเรย์ ตามหลักวิชาการโดยการถ่ายภาพรังสีใช้เวลา 5 นาที        20 นาทีท่านอนคว่ำ   30 นาที  ขณะตรวจทำการปรึกษารังสีแพทย์เป็นระยะ และถ่ายภาพตามเวลาที่  รังสีแพทย์ต้องการจนสุดท้าย หลังจากปัสสาวะออกหมด ในตลอดการตรวจต้องคอยสังเกตผู้ป่วยตลอด  เวลา และให้ผู้ป่วยนอนนิ่งๆบนเตรียง และถ้ามีการขยายเวลาที่จะทำการถ่ายภาพออกไปอีกเป็น 30,60     นาที ให้ผู้ป่วยรอบริเวณที่ไกล้ๆ ที่สามารถช่วยผู้ป่วยได้ทัน เพราะมีการรายงานจากที่อื่นๆ ผู้ป่วย   เกิดอาการแพ้หลังจากรับสารทึบรังสีไปแล้ว 60 นาที

3                 ระยะหลังได้รับสารทึบรังสี

1                 นักรังสีเทคนิคต้องสังเกตอาการใกล้ชิดใน 5 นาทีแรก และสังเกตอาการต่อไปอีก 30-60 นาที เพื่อระวังการแพ้ที่อาจตามมา

2                 ทำการตรวจวัดสัญญาณชีพและสังเกตอาการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยก่อนและหลังการได้รับสารทึบรังสี3                 หากพบว่ามีอาการข้างเคียงหรือแพ้เกิดขึ้นให้บันทึกอาการต่างๆโดยละเอียดในใบบันทึกการแพ้สารทึบรังสี พร้อมทั้งให้คะแนะนำแก่ญาติให้ทราบเพื่อป้องกันและหลีกเลียงการได้รับสารทึบรังสีชนิดเดิม 4                 ให้คำแนะนำผู้ป่วยให้ดื่มน้ำมากๆ 5                 ให้เบอร์โทรศัพท์แก่ผู้ป่วยเพื่อติดต่อเมื่อมีอาการผิดปกติ(ผู้ป่วยนอก)

6                 ถ้าผู้ป่วยมีอาการแพ้ยา ต้องทำการส่งผู้ป่วยไปซักประวัติการแพ้ยาที่กลุ่มงานเภสัชกรรม ตามระบบ

นี่คือความภาคภูมิใจที่ไดทำการพัฒนา แล้วผลคือทำให้พบผู้ที่มีความเสี่ยงก่อนการให้บริการและหลังให้บริการไม่เกิดความเสี่ยงแก่ผู้ป่วยคือผู้ป่วยปลอดภัย(เนื้อหาตัดตอนมา)  

 

คำสำคัญ (Tags): #หัวใจการบริการ
หมายเลขบันทึก: 160291เขียนเมื่อ 20 มกราคม 2008 16:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 17:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท