การเรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญมาก แต่ปัจจุบันที่เห็นเป็นการสอน..


"หลากหลายวิธีสอน ที่ไม่หลอกหลอนวิธีเรียนรู้"

เมื่อวานเป็นวันครู ผมได้อ่านบันทึกของหลายท่านแล้วน่าใจหายเรื่องการศึกษาของบ้านเราครับ....ผมได้อ่านหนังสือเล่มหนึ่ง ชื่อว่า "หลากหลายวิธีสอน ที่ไม่หลอกหลอนวิธีเรียนรู้" เป็นหนังสือของ คุณครูชาตรี  สำราญ จัดพิมพ์โดย มูลนิธีสดครี-สฤษดิ์วงศ์ พิมพ์ปี 2542 ครับ มีคำนิยมที่น่าสนใจ ของ ศ.นพ.ประเวศ  วะสี ด้วย ผมจะนำมาบันทึกบางส่วนมาช่วยพิจารณากันครับ ว่าเป็นอย่างไรบ้าง .........

"ไม่มีมนุษย์ใด ๆ ในโลกที่เหมือนกัน  แม้แต่ลูกแฝดไข่ใบเดียวกัน  ธรรมชาติของมนุษย์ คือ ความหลากหลาย  หลากหลายเท่ากับจำนวนมนุษย์ทั่วโลกนั่นแหละ   ความรู้สึกนึกคิด  ความชอบ ไม่ชอบ ความสนใจ และความถนัดของแต่ละคนไม่เหมือนกันเลย  แต่ท่ามกลางความไม่เหมือนกันนั้น  แต่ละคนมีเพชร หรือสมบัติอันมีค่าซ่อนอยู่.....ภายใน  ต้องอาศัยกุญแจ....ที่ต้องมาไขกันเอาสมบัตินี้ออกมา  กุญแจแต่ละลูกต่างกัน..... เพราะผู้เรียนแต่ละคนไม่เหมือนกัน  ......

ครูที่ดีจึงสนใจและเข้าใจผู้เรียนเป็นรายบุคคล  ในฐานะความเป็นคนที่เท่า ๆกัน...ซึ่งไม่เหมือนการผลิตวัตถุ....เช่น แก้วหรือขวดที่โขกออกมาเหมื่อน ๆ กัน  ....

ในการเรียนการสอนที่ดี   ครูจึงคำนึงถึงความเป็นคน..ของผู้เรียนแต่ละคนเป็นตัวตั้ง   ถ้าครูเอาตัวครูเอง หรือเอาวิชาเป็นตัวตั้ง  ความเป็นคนของผู้เรียนก็หายไป...

เมื่อความเป็นคนของผู้เรียนหายไปแล้ว วิญญาณก็หายไป  กลายเป็นการเรียนรู้ที่ขาดวิญญาณ การเรียนรู้นั้น จึงขาดความสุขและความสร้างสรรค์ ไป...

เป็นบางตอนในคำนิยมที่ ศ.นพ.ประเวศ วะสี เขียนลงในหนังสือที่กล่าวไว้ข้างต้น  อาจจะไม่ครบถ้วนในเนื้อหา ใจความ เพราะยังมีเรื่อง ความสำคัญของตัวครูเอง และธรรมะของครูชาตรี เองด้วย จึงจะประกอบให้สมบูรณ์ได้ครับ.....

ถือเป็นการ Reschool  ก็แล้วกันครับ

หมายเลขบันทึก: 159817เขียนเมื่อ 17 มกราคม 2008 16:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ดิฉันเห็นด้วยกับข้อความที่ท่านได้นำมาเผยแพร่  แม้ดิฉันจะเป็นครูที่ยังอาวุโสน้อย แต่ขอยืนยันด้วยความสัตย์จริงว่ามีความตั้งใจในที่อยากพัฒนาคุณภาพนักเรียนตามศักยภาพของเขา  บางครั้งอาจสวนทางกับผู้ใหญ่ที่มองคุณภาพครูจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน  แต่ด้วยบริบทของโรงเรียนที่มีลักษณะกึ่งเมืองกึ่งชนบท  ทำให้นักเรียนส่วนใหญ่จะให้ความใส่ใจด้านวิชาการน้อย  แต่มีความสนใจต้องการแสดงออกเกี่ยวกับการบันเทิง  การกีฬา  มากกว่ากิจกรรมวิชาการ  ซึ่งดิฉันได้พยายามจัดหากิจกรรมต่างๆ  การพูดกระตุ้นให้เด็กทำโครงการตามความสนใจ  หาเวทีให้ได้แสดงออก  พยายามคัดกรองเด็กทุกคนด้วยการบันทึกไดอารี่เป็นประจำทุกวัน  โดยยังไม่มีโอกาสจัดทำเป็นเอกสารเล่มสวยแบบคนอื่นๆ  บางคนกลับเห็นว่าไร้สาระมีแต่พานักเรียนเล่น  แต่ขอโทษค่ะ  ท่านไม่ได้ดูกระบวนการตั้งแต่ต้นจนจบ  และต่อว่าโดยดิฉันแทบไม่มีโอกาสได้อธิบาย  แต่นักเรียนกลับมีความสุข  และได้ลุ้นกับกิจกรรมที่ดิฉันได้นำมาบริหารจัดการหลากหลายกิจกรรมเท่าที่จะคิดขึ้นได้  ยังไงขอแรงใจด้วยนะคะ

สวัสดีครับ.......คุณครูแป๋มครับ    สิ่งที่คุณครูเห็น กับที่ผมเห็นก็คงคล้ายกันครับ เพราะเราต้องการเห็นการเรียนที่มีชีวิต มีวิญญาณครับ การเรียนที่มีชีวิตเป็นอย่างไรหรือ? คงตอบได้ว่าเป็นการเรียนที่ได้รู้ในสิ่งที่ควรรู้สำหรับวัย และอยากรู้สำหรับวัยนั้น  ๆ  ....ครับ สำหรับเด็ก คือ วินัย และการรักสามัคคีกันในหมู่คณะ การอ่านออกเขียนได้ ให้ฝึกฝนเอาเองครับ

วันเสาร์ที่ผ่านมาผมได้คุยกับรองนายกอบต.หนองสาหร่าย คุณศิวโรจน์ จิตนิยม  ท่านบอกว่า โรงเรียนทำไม? ถึงปล่อยให้เด็กนักเรียนผ่านชั้นได้ ในขณะที่ นักเรียนยังอ่านหนังสือไม่ออกเลย?........คือจบประถม 3 แล้วยังอ่านหนังสือพื้นฐานไม่ได้ทำนองนี้ครับ

ผมก็บอกว่า อบต.เองก็ต้องเตรียมยุทธศาสตร์ทางการศึกษาของตำบลตนเองให้ดีนะครับ  เพราะไม่อย่างนั้น โรงเรียนที่ถ่ายโอนมาในอนาคตก็สอนเหมือนเดิม  ไม่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ ครู และผู้ปกครอง ก็จะตั้งความหวังไว้ที่เด็กแล้ว ถ้าเด็กทำไม่ได้ .........ใครล้มเหลวครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท