GotoKnow

บทเรียนการบริหารนวัตกรรมของโทเร (1)

นาย นเรศ ดำรงชัย
เขียนเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2549 10:15 น. ()
แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2555 14:26 น. ()
โทเรต้องจ่ายค่า royalty fee ให้แก่ Dupont เป็นมูลค่ามหาศาล ทั้งในรูปแบบของเงินก้อน และยังถูกหักเปอร์เซนต์ จากรายได้ ทุกครั้งที่จำหน่าย ผลิตภัณฑ์ไนล่อนอีกด้วย

ฟ้าครับ

รู้ัจักโทเรใช่ไหมครับ?

โทเรเป็นบริษัทเคมีรายใหญ่ของญี่ปุ่น มียอดขายปีที่แล้วทั้งหมด 1.4 ล้านล้านเยน

พนักงานราว 34,000 คน ทำงานอยู่ในสาขารวมทั้งบริษัทลูกทั่วโลก 21 ประเทศ

เมื่อวานนี้ได้มีโอกาสฟัง Mr. Tamada ผู้บริหารของเขาเล่าเรื่องราว ความสำเร็จและความล้มเหลวของโทเร น่าสนใจมากครับ ก็เลยหยิบติดไม้ติดมือ กลับมาเล่าให้ฟ้าฟังเท่าที่จำได้

เริ่มด้วยบทเรียนตั้งแต่สมัยที่บริษัทเพิ่งจะหัดตั้งไข่เมื่อ 50 ปีมาแล้ว

Mr. Tamada เล่าว่าช่วงนั้นโทเรคิดค้นกระบวนการผลิตไนล่อนขึ้นได้ แต่ไม่ได้นำไปจดสิทธิบัตร ไม่นานนักบริษัท Dupont ก็เปิดเผยสิทธิบัตรในขั้นตอนการผลิตไนล่อนในลักษณะเดียวกัน

ของอย่างเดียวกัน โทเรไม่มีสิทธิบัตร แต่ Dupont มี

ผลก็คือโทเรต้องจ่ายค่า royalty fee ให้แก่ Dupont เป็นมูลค่ามหาศาล ทั้งในรูปแบบของเงินก้อน และยังถูกหักเปอร์เซนต์จากรายได้ ทุกครั้งที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ไนล่อนอีกด้วย

ไหนจะเก็บเกี่ยวรายได้จากการลงทุนวิจัยไม่ได้ มิหนำซ้ำต้องมาจ่ายเงิน ซื้อเทคโนโลยีที่ตัวเองก็คิดค้นขึ้นอีก แทนที่จะเป็นฝ่ายได้รับเงินจากคนอื่นเป็นค่าใช้สิทธิบัตร

เรียกว่าซวยสองต่อสามต่อ

ถึงแม้จะกระเทือนหนักจนแทบล้มทั้งยืน บริษัทเกือบล้มละลาย แต่ก็ถือเป็นบทเรียนสำคัญ ที่ทำให้บริษัทมุ่งมั่นทำวิจัยและนวัตกรรมต่อไป

จนถึงวันสำเร็จในเวลาต่อมา



ความเห็น

ยังไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท
ภาษาปิยะธอน (Piyathon)
เขียนโค้ดไพทอนได้ด้วยภาษาไทย